เมืองเยรูซาเล็มไม่ใช่เมืองที่พระเยซูประสูติ เมืองที่พระองค์ประสูติคือเมืองนาซาเร็ธ เยรูซาเล็มเป็นเมืองที่ถูกพูดถึงอยู่บ่อยครั้งในประวัติศาสตร์ เกิดความโกลาหลอยู่เป็นประจำ ตามบันทึกกล่าวว่าเมืองถูกโจมตีร่วม 52 ครั้ง ถูกยึดครองสลับกันไปมา 44 ครั้ง ถูกล้อมเมืองทำสงคราม 23 ครั้ง และถูกทำลายไป 2 ครั้ง จนหลายคนอาจสงสัยว่าเมืองเยรูซาเล็มคือเมืองอะไร สำคัญอย่างไร และทำไมหลายชนชาติถึงต้องการครอบครอง
เยรูซาเล็ม เมืองโบราณ 6,000 ปี
เยรูซาเล็มถือเป็นหนึ่งในเมืองที่มีอายุเก่าแก่มากที่สุดในโลก เศษซากโบราณสถานในเมืองสืบอายุถึง 4,000 ปีก่อนคริสตกาล สันนิษฐานว่ามีการตั้งรกรากขอกลุ่มชนในช่วง 3,000-2,800 ปีก่อนคริสตกาล และกลายเป็นเมืองใหญ่ใน 2,000 ปีก่อนคริสตกาล ซึ่งเป็นอยู่ช่วงราชวงศ์ตอนกลางของอียิปต์
หลักฐานชี้ว่าชาวคานาอันน่าจะอาศัยอยู่ในบริเวณเยรูซาเล็มตั้งแต่ 3,000 ปีก่อนคริสตกาลแล้ว และเชื่อว่าเป็นต้นสายของทุกชนชาติในดินแดนนั้นทั้งชาวอิสราเอล ชาวปาเลสไตน์ และชนชาติอาหรับอื่นๆ คำว่า ‘เยรูซาเล็ม’ แปลว่า ถิ่นฐานของชาเล็ม (Shalem) หนึ่งในเทพเจ้าของชาวคานาอัน แต่รากศัพท์ของคำภาษาฮีบรูยังให้ความหมายว่า ‘เมืองแห่งความสงบ’ ได้อีกด้วย

เมืองเยรูซาเล็มที่เปลี่ยนผ่านมาหลายช่วง ถ้าไม่นับเรื่องของชาวคานาอัน ชาวอิสราเอล แล้ว ยังมีชาวโรมันที่เคยเข้ามาปกครองใน ค.ศ. 70 โดยสงครามนั้นทำให้เมืองเยรูซาเล็มทรุดโทรม โรมันต้องการยึดครองเยรูซาเล็มเพราะมองว่าเป็นสถานที่ยึดเหนี่ยวทางใจของชาวยิว หากยึดไว้ได้ก็เป็นการแสดงถึงอำนาจของจักรวรรติ เวลาผ่านไปร่วมพันปี เมืองเริ่มทรุดลงไปอีกในปี ค.ศ. 1099 ในช่วงสงครามครูเสด ชาวยุโรปและชาวมุสลิมต้องการยึดเมืองเพราะเมืองมีความสำคัญที่ระบุไว้ในทั้งสองศาสนา และท้ายแต่ไม่ท้ายสุดคือสงครามระหว่างจักรวรรดิออตโตมันกับอังกฤษในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1
ปัจจุบันเมืองยังคงมีเศษซากเมืองเก่าหลงเหลืออยู่บ้าง คาดว่าคงทรุดลงเรื่อยๆ หากยังมีสงครามเกิดขึ้นอยู่เนืองๆ ที่แน่ๆ สิ่งยังคงอยู่คือปัญหาระหว่างชาวยิวกับชาวอาหรับที่มีเรื่องราวกันมาหลายพันปีแล้ว โดยเรื่องนี้จำเป็นต้องอธิบายกันทั้งในเชิงศาสนาและประวัติศาสตร์

ชาวอิสราเอล = ชาวคานาอัน?
หากอ้างอิงตามพระคัมภีร์ไบเบิล ชาวอิสราเอลเป็นลูกหลายของลูกชายทั้ง 12 คนของยาขอบ (Jacob) หลานของอับราฮัม (Abraham) ดินแดนแห่งคานาอันเป็นดินแดนพันธสัญญาที่พระเจ้าสัญญาจะมอบให้ หลังจากที่ชาวยิวหรือชาวอิสราเอลได้รับการปลดแอกจากการเป็นทาสในอียิปต์ พวกเขาก็เดินทางเพื่อไปตั้งรกรากในดินแดนนั้น ซึ่งขณะนั้นชาวคานาอันอาศัยมาอยู่ก่อนแล้ว ตามพระคัมภีร์ชาวคานาอันถือเป็นคนนอก เป็นบุตรหลานของฮาม (Ham) ลูกของโนอาห์ (Noah) ที่ถูกขับไล่ ส่วนชาวอิสราเอลเป็นลูกหลานของเช็ม (Shem) ลูกอีกคนของโนอาห์

ในพระคัมภีร์ยังมีกล่าวชัดว่าชาวอิสราเอลไม่ได้ขับไล่ชาวคานาอันไปเสียทีเดียว พวกเขายังอาศัยอยู่ร่วมกันกับชาวอิสราเอลแต่ว่ามีข้อแม้คือต้องถูกใช้แรงงานในแต่ละปี แต่ก็มีบางพื้นที่ของดินแดนพันธสัญญาที่ชาวคานาอันขับไล่ชาวอิสราเอลออกไปได้ บางพื้นที่ชาวคานาอันกับชาวอิสราเอลหลอมรวมเป็นชนชาติเดียวกันโดยนับถือศาสนายูดายเหมือนกัน เพราะฉะนั้นในเรื่องศาสนา ชาวอิสราเอลเป็นคนละชนชาติเดียวกันกับชาวคานาอัน

ในส่วนของประวัติศาสตร์ ชาวอิสราเอลหรือชาวยิว (ฮีบรู) ถือเป็นหนึ่งในกลุ่มชาวคานาอันที่ร่อนเร่จากเมืองไปอาศัยอยู่บริเวณทิศตะวันออก พร้อมกับนำเทพเจ้า (ตอนนั้นคานาอันนับถือเทพเจ้าหลายองค์) ไปบูชาด้วย เช่น เอโลฮิม (Elohim), บาล (Baal) เป็นต้น จุดสำคัญคือพวกเขาเพิ่มเทพเจ้าองค์ใหม่เข้ามาคือยาห์เวห์ (Yahweh) พวกเขาบูชาเทพหลายองค์จนกระทั่งปี 722 ปีก่อนคริสตกาลที่ชาวอิสราเอลเริ่มหันมาบูชาเทพองค์เดียว และพวกเขาเลือกยาห์เวห์ (หรือยะโฮวา) เป็นพระเจ้าองค์เดียวมานับตั้งแต่นั้น
สรุปเยรูซาเล็มเป็นของใคร?
ถ้าว่ากันตามมิติศาสนา ชาวคานาอันเป็นชนกลุ่มแรกที่อาศัยอยู่ในดินแดนนี้ แต่ชาวยิวอ้างว่าดินแดนนี้คือดินแดนพันธสัญญาที่พระเจ้ามอบให้พวกเขา ดังนั้นพวกเขาจึงมีสิทธิ์มาอาศัยอยู่ แต่ถ้าว่ากันมุมมองประวัติศาสตร์ ทุกฝ่ายมีสิทธิ์ในการอาศัยอยู่ แต่ปัญหาคือเรื่องข้อตกลงในการครอบครองพื้นที่ระหว่างคนต่างศาสนา ต่างวัฒนธรรม ถัดจากปัญหาเชิงการเมืองในยุคโบราณ UN เคยออกมติให้ชาวปาเลสไตน์ (อาหรับ) อยู่ร่วมกับชาวอิสราเอล (ยิว) ตามพื้นที่ที่แบ่งจัดสรรไว้ แต่ชาวปาเลสไตน์ไม่ยอมรับข้อตกลง แถมกลุ่มผู้ก่อการร้ายรุ่นหลังอย่างฮามาสเริ่มทวีคูณความรุนแรง โดยเหตุจูงใจมีทั้งการเมือง ประวัติศาสตร์ และศาสนา รวมเข้าด้วยกัน

ปัจจุบันเยรูซาเล็มเป็นเมืองสำคัญแห่งหนึ่งของโลก รุ่มรวยไปด้วยวัฒนธรรมและศาสนา เป็นมรดกโลกที่ควรแก่การรักษา แต่มักตกเป็นเป้าในภาวะสงคราม โดยทั้งหมดเป็นเรื่องของผลประโยชน์และการเมืองเป็นหลัก เพราะนอกจากชนชาติอื่นๆ บริเวณอิสราเอลยังมีประเทศอื่นๆ คอยหนุนหลัง แต่ถึงกระนั้นทุกอย่างเกิดขึ้นจากเรื่องของศาสนา โดยมีเรื่องการเมืองเป็นปัจจัยร่วมอย่างมีนัยยะสำคัญ