ความไม่มั่นใจอย่างหนึ่งของชาว ESL หรือ English as a Second Language (กลุ่มคนที่พูดภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่สอง) คือ การชมหนังเป็นภาษาอังกฤษ ซึ่งถือว่าเป็นด่านปราการสุดท้ายในการพิสูจน์ว่าทักษะภาษาอังกฤษได้ก้าวไปสู่อีกขั้นแล้ว แต่เคยเป็นไหม ไม่ว่าเราจะมั่นใจแค่ไหนก็ตาม ทุกครั้งที่เราดูหนังภาษาอังกฤษ เสียงบทสนทนาในหนังมักจะเบา กระซิบกระซาบ และฟังดูจับประโยคยาก ปัญหานี้ไม่ได้เกิดแค่กับชาว ESL แต่ยังเกิดขึ้นกับ Native Speaker หรือเจ้าของภาษาอีกด้วย พอฟังไม่ได้ใจความจนน่าหงุดหงิด ทางแก้เดียวที่ทำกันได้คือการเปิดซับไตเติ้ล
แต่อะไรคือปัญหาที่ทำให้เสียงบทสนทนาในจอหนังออกมาเบาได้ขนาดนั้น เอ็ดเวิร์ด เวกา (Edward Vega) จาก Vox ได้พาผู้ชมบน Youtube หาคำตอบเกี่ยวกับปัญหาที่ว่านี้จากการพูดคุยกับ ออสติน โอลิเวีย เคนดริก (Austin Olivia Kendrick) นักตัดต่อบทสนทนาจาก Pace Pictures
แต่อะไรคือปัญหาที่ทำให้เสียงบทสนทนาในจอหนังออกมาเบาได้ขนาดนั้น เอ็ดเวิร์ด เวกา (Edward Vega) จาก Vox ได้พาผู้ชมบน Youtube หาคำตอบเกี่ยวกับปัญหาที่ว่านี้จากการพูดคุยกับ ออสติน โอลิเวีย เคนดริก (Austin Olivia Kendrick) นักตัดต่อบทสนทนาจาก Pace Pictures

ทั้งสองคนพูดคุยกันร่วมชั่วโมง แม้ว่าจะมีหลายปัจจัยที่น่าพูดถึง แต่สาเหตุหลักๆ ของเสียงพึมพำในจอหนังเกิดมาจากเรื่องเทคโนโลยี ต่อมาคือเรื่องผู้กำกับ และสุดท้ายคือเรื่องฟอร์แมตของไฟล์เสียงที่ถูกพับลง
ย้อนกลับไปในช่วงต้นของวงการฮอลลีวูด ทีมถ่ายทำหนังมีการใช้ไมค์ตัวเดียวในการอัดเสียง แม้ว่าในฉากนั้นมีนักแสดงมากกว่าหนึ่งคน หลังจากนั้นมีการตัดปัญหาด้วยการใช้ไมค์จ่อไปที่นักแสดงมากขึ้น หรือที่เรารู้จักในชื่อ ‘ไมค์บูม’ (Boom Mic) หนังบางเรื่องมีวิธีการที่ต่างออกไปคือการให้นักแสดงมาพากย์ทับเพื่อให้เสียงมีความชัดเจนมากขึ้น
วงการหนังถูกปรับเปลี่ยนให้มีความสมจริงมากขึ้น นักแสดงเริ่มมีการพูดพึมพำเหมือนในชีวิตจริง การใช้ไมค์บลูมจึงเป็นเรื่องที่ยากมากในการจับเสียงกระซิบหรือพูดในลำคอ บางกองถ่ายจึงมีการใช้ไมค์ขนาดเล็กซ่อนไว้ในเสื้อเพื่อจับเสียงได้ง่ายขึ้น แต่ต่อให้เทคโนโลยีเอื้อมากแค่ไหน นักสร้างบางเรื่องก็ยังจงใจให้นักแสดงใช้บทสนาด้วยน้ำเสียงเบาเพื่อความเป็นธรรมชาติ
ย้อนกลับไปในช่วงต้นของวงการฮอลลีวูด ทีมถ่ายทำหนังมีการใช้ไมค์ตัวเดียวในการอัดเสียง แม้ว่าในฉากนั้นมีนักแสดงมากกว่าหนึ่งคน หลังจากนั้นมีการตัดปัญหาด้วยการใช้ไมค์จ่อไปที่นักแสดงมากขึ้น หรือที่เรารู้จักในชื่อ ‘ไมค์บูม’ (Boom Mic) หนังบางเรื่องมีวิธีการที่ต่างออกไปคือการให้นักแสดงมาพากย์ทับเพื่อให้เสียงมีความชัดเจนมากขึ้น
วงการหนังถูกปรับเปลี่ยนให้มีความสมจริงมากขึ้น นักแสดงเริ่มมีการพูดพึมพำเหมือนในชีวิตจริง การใช้ไมค์บลูมจึงเป็นเรื่องที่ยากมากในการจับเสียงกระซิบหรือพูดในลำคอ บางกองถ่ายจึงมีการใช้ไมค์ขนาดเล็กซ่อนไว้ในเสื้อเพื่อจับเสียงได้ง่ายขึ้น แต่ต่อให้เทคโนโลยีเอื้อมากแค่ไหน นักสร้างบางเรื่องก็ยังจงใจให้นักแสดงใช้บทสนาด้วยน้ำเสียงเบาเพื่อความเป็นธรรมชาติ

ผู้กำกับที่ผู้ชมมีปัญหาในการฟังบทสนทนาในหนังมากที่สุดคือ คริสโตเฟอร์ โนแลน (Christopher Nolan) คนรอบข้างเขา รวมถึงนักวิจารณ์ถึงกับติเรื่องความเบาของเสียงบทสนทนาทั้งจากเรื่อง ‘Interstellar’ หรือ ‘Tenet’ แต่โนแลนให้คำตอบประมาณว่าเขาอยากให้มันออกมาเป็นแบบนี้ และดูไม่มีทีท่าจะเปลี่ยน
ดูเหมือนว่ายิ่งหนังมีความสมจริงเท่าไร เสียงบทสนทนาก็ยิ่งเบาลงเท่านั้น เพราะนี่คือวิธีที่มนุษย์สื่อสารกัน ทอม ฮาร์ดี้ (Tom Hardy) เป็นนักแสดงชาวอังกฤษที่ขึ้นชื่อเรื่องการสวมบทบาททั้งการแสดงและวิธีการใช้ภาษา แต่เขายังขึ้นชื่อเรื่องการพูดพึมพำเป็นธรรมชาติอีกด้วย นั่นทำให้ผู้ชมบางคน (หรือส่วนใหญ่) รู้สึกไม่เข้าใจในสิ่งที่เขาพูดเท่าไรนัก เราอาจกล่าวโดยรวมว่านี่คือวิธีการทำหนัง และเราต้องยอมรับในรูปแบบของมัน
จริงๆ ในยุคปัจจุบัน การบันทึกเสียงทับเหมือนที่เคยทำในยุคก่อนยังคงมีทำอยู่บ้าง ซึ่งที่ไม่นิยมทำกันเป็นเพราะเรื่องเงินทุนที่ต้องจ่ายค่าเสียเวลากับนักแสดงเพื่อให้มาพากย์ทับอีกครั้ง รวมถึงค่าตัวนักตัดต่อค่าเสียเวลามาตัดต่อใหม่ให้เสียงตรงกับปากนักแสดง การพากย์ทับจึงเป็นเหมือนการแก้ปัญหาที่ปลายเหตุ แถมยังเสียเงินทุนมากเป็นเท่าตัว
ดูเหมือนว่ายิ่งหนังมีความสมจริงเท่าไร เสียงบทสนทนาก็ยิ่งเบาลงเท่านั้น เพราะนี่คือวิธีที่มนุษย์สื่อสารกัน ทอม ฮาร์ดี้ (Tom Hardy) เป็นนักแสดงชาวอังกฤษที่ขึ้นชื่อเรื่องการสวมบทบาททั้งการแสดงและวิธีการใช้ภาษา แต่เขายังขึ้นชื่อเรื่องการพูดพึมพำเป็นธรรมชาติอีกด้วย นั่นทำให้ผู้ชมบางคน (หรือส่วนใหญ่) รู้สึกไม่เข้าใจในสิ่งที่เขาพูดเท่าไรนัก เราอาจกล่าวโดยรวมว่านี่คือวิธีการทำหนัง และเราต้องยอมรับในรูปแบบของมัน
จริงๆ ในยุคปัจจุบัน การบันทึกเสียงทับเหมือนที่เคยทำในยุคก่อนยังคงมีทำอยู่บ้าง ซึ่งที่ไม่นิยมทำกันเป็นเพราะเรื่องเงินทุนที่ต้องจ่ายค่าเสียเวลากับนักแสดงเพื่อให้มาพากย์ทับอีกครั้ง รวมถึงค่าตัวนักตัดต่อค่าเสียเวลามาตัดต่อใหม่ให้เสียงตรงกับปากนักแสดง การพากย์ทับจึงเป็นเหมือนการแก้ปัญหาที่ปลายเหตุ แถมยังเสียเงินทุนมากเป็นเท่าตัว

ปัญหาสุดท้ายคือเรื่องเทคโนโลยีเสียง และลำโพง ตามมาตรฐานแล้วฟอร์แมตที่ดีในการดูหนังคือ Dolby Atmos ซึ่งเป็นเทคโนโลยีเสียงที่มีหลายช่องทางในการส่งคลื่นเสียงหลายมิติ ต่อให้ต้นทางจะดีมากแค่ไหน คุณภาพเสียงต้องลดลงไปตามแพลตฟอร์ม หรือตามฮาร์ดแวร์ที่เอื้ออำนวย จาก Dolby Atmos จึงถูกลดลงมาเป็น 7.1 หรือ 5.1 ลดลงมาต่ำสุดคือ Stereo และคุณภาพน้อยสุดคือ Mono หรือการส่งเสียงช่องทางเดียว การพับคุณภาพเสียงส่งผลให้ช่องเสียงที่บันทึกบทสนทนาถูกย่นลง และอาจส่งผลทำให้เสียงบทสนทนามีความชัดเจนน้อยลงตามไปด้วย

อีกหนึ่งปัจจัยที่ไม่ควรมองข้ามคือฮาร์ดแวร์ที่เราใช้ ในยุคนี้อุปกรณ์ที่เราใช้ดูหนังเริ่มต่างจากเมื่อก่อน คนยุคนี้เริ่มดูหนังจากโทรศัพท์สมาร์ทโฟนมากขึ้น รวมถึงจากโทรทัศน์ที่มีความบางเบา แต่มีลำโพงเสียงอันน้อยนิด ดังนั้นแล้วจึงเป็นธรรมดาที่เวลาชมหนังจะไม่ค่อยได้ยินเสียงพูดคุยกัน จะเร่งเสียงก็เสียงแตก พอถึงฉากระเบิดก็พากันสะดุ้งจนแทบตกโซฟา
เวกาให้คำแนะนำอยู่ 3 ข้อ คือ หนึ่ง ซื้อเครื่องเสียงลำโพงดีๆ มาใช้ หรือไปชมหนังในโรงภาพยนตร์ สองคือ ทำใจให้ร่มๆ ไม่ต้องใส่ใจหรือพยายามเข้าใจบทสนทนาไปทั้งหมดก็ได้ และสาม เปิดซับไตเติ้ลต่อไป เพราะท้ายที่สุดคนที่ต้องทำใจคือพวกเราเหล่าผู้ชมนั่นเอง
เวกาให้คำแนะนำอยู่ 3 ข้อ คือ หนึ่ง ซื้อเครื่องเสียงลำโพงดีๆ มาใช้ หรือไปชมหนังในโรงภาพยนตร์ สองคือ ทำใจให้ร่มๆ ไม่ต้องใส่ใจหรือพยายามเข้าใจบทสนทนาไปทั้งหมดก็ได้ และสาม เปิดซับไตเติ้ลต่อไป เพราะท้ายที่สุดคนที่ต้องทำใจคือพวกเราเหล่าผู้ชมนั่นเอง