เยือนอาคารเรียนมหาวิทยาลัยนันยางสร้างจากไม้ สไตล์ Biophillic ณ ใจกลางเมืองสิงคโปร์

26 กรกฎาคม 2566 - 08:06

wood-building-singapore-SPACEBAR-Thumbnail
  • อาคารเรียน ‘ไกอา’ เป็นอาคารเรียนที่ออกแบบด้วยงานสถาปัตยกรรมแบบไบโอฟิลลิกเพื่อความยั่งยืน ตั้งอยู่ในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีนันยาง หรือเอ็นทียู ประเทศสิงคโปร์

สิงคโปร์เป็นประเทศที่ขึ้นชื่อว่าเป็นเมืองแห่งความยั่งยืน และถูกขนานนามว่าเป็นเมืองสวน (garden city) นับตั้งแต่ยุค 1960s ซึ่งเป็นช่วงขาขึ้นของสิงคโปร์ภายใต้ ลีกวนยู (Lee Kuan Yew) อดีตผู้นำคนสำคัญของสิงคโปร์ ทั้งตึกและอาคารมีการออกแบบเพื่อตอบโจทย์ทั้งในแง่ของผังเมือง และยังคำนึงถึงความสำคัญของธรรมชาติ โดยมีชื่อการออกแบบทางสถาปัตยกรรมว่า ‘ไบโอฟิลลิก’ (biophillic) บางคนให้ความคิดว่า เป็นเหมือนการย้อนกลับไปยังสวนลอยฟ้าของเมืองบาบิลอน
https://images.ctfassets.net/i3o8p9lzd06f/3tdjeD7R5aexfdgVmkIbtp/5f860c0ee395abaf3ffee4c242c118ff/wood-building-singapore-SPACEBAR-Photo01
Photo: NTU Singapore
https://images.ctfassets.net/i3o8p9lzd06f/B7HI7VWbGRRF8xrOO1tbt/2dd7c6ebd28416f4a93abf67a0b033a4/wood-building-singapore-SPACEBAR-Photo02
Photo: NTU Singapore
ดังนั้นเกือบทุกการสร้างอาคารของประเทศสิงคโปร์จะพยายามอยู่ภายใต้คอนเซปต์ของความเป็นไบโอฟิลลิก แม้แต่กับ ‘ไกอา’ (Gaia) อาคารเรียนธุรกิจของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีนันยาง หรือเอ็นทียู (NTU) ซึ่งออกแบบด้วยดีไซน์ไบโอฟิลลิก มีลักษณะแบ่งออกเป็น 6 ชั้น ออกแบบพื้นที่ให้โปร่งโล่งด้วยการทำให้แสงส่องถึง ความโก่งโค้งของวัสดุภายในอาคาร และพืชไม้นานพันธุ์วางในแต่ละจุด ที่สำคัญคือทั้งอาคารพยายามใช้วัสดุจากไม้ให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ ขนาดของตัวอาคารมีทั้งหมด 43,500 ตารางเมตร ตอนนี้กลายเป็นอาคารที่สร้างไม้ที่ใหญ่ที่สุดในเอเชีย  

ไกอาเป็นชื่อตั้งตามชื่อของเทพีแห่งโลกของกรีก โปรเจกต์นี้เริ่มต้นเมื่อเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา ใช้ทุนไปทั้งหมด 125 ล้านดอลลาร์สิงคโปร์ (93 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) ในการสร้าง วัสดุไม้ของอาคารไม่มีการทาสีใดๆ เพื่อต้องการนำเสนอความเป็นธรรมชาติของเนื้อไม้ เจ้าของโปรเจกต์คือ โตโย อิโตะ (Toyo Ito) นักสถาปนิกชาวญี่ปุ่นเจ้าของรางวัลพริตซ์เคอร์ (Pritzker Prize) เมื่อปี 2013 รางวัลที่เปรียบได้กับรางวัลโนเบลในวงการสถาปนิก โดยวางแผนร่วมกับบริษัทออกแบบ RSP ในสิงคโปร์ 
https://images.ctfassets.net/i3o8p9lzd06f/5KkRGAHkBV6YErOwZo9Lij/f012d1295654bc782a028b4d2614afd2/wood-building-singapore-SPACEBAR-Photo03
Photo: NTU Singapore
ภายในอาคารประกอบด้วยห้องออดิทอเรียม 190 ที่นั่ง ห้องเลคเชอร์กว่า 12 ห้อง รวมถึงส่วนอำนวยความสะดวกสำหรับงานวิจัย สำนักงาน และระเบียงกลางแจ้งตากอากาศสำหรับอ่านหนังสือ ทำงาน และนั่งเล่นหย่อนใจ แน่นอนว่าทุกส่วนของอาคารไกอาไม่ได้ทำจากวัสดุไม้ทั้งหมด แต่มีบางส่วนที่หล่อด้วยคอนกรีตตามกฎหมาย ส่วนวัสดุไม้ที่นำมาใช้นั้นเป็นไม้สปรูซที่นำเข้ามาจากประเทศออสเตรีย, สวีเดน และฟินแลนด์ ทุกแผ่นผ่านกระบวนการทำให้อึดทนแข็งแรงก่อนส่งมายังประเทศสิงคโปร์
https://images.ctfassets.net/i3o8p9lzd06f/2pem87czwQbJTGSU85wloU/a6596e12dc4c48a1ab59772ad2070e47/wood-building-singapore-SPACEBAR-Photo04
Photo: Atrium Ljungberg
เทรนด์การสร้างอาคารสถาปัตยกรรมด้วยไม้กำลังเป็นที่นิยมในตอนนี้ อย่างในเมืองสต็อกโฮล์มในประเทศสวีเดนก็มีโปรเจกต์อาคารไม้ทั้งอาคาร โดยจะเริ่มสร้างภายใต้ปี 2025 หวังให้เป็นชุมชนอาคารไม้ หรือเรียกว่า Stockholm Wood City ประกอบด้วยพื้นที่สำนักงาน 7,000 แห่ง และพื้นที่อาศัย 2,000 แห่ง ทั้งหมดตั้งอยู่เขตซิกลา (Sickla) ทางตะวันออกเฉียงใต้ของเมือง พื้นที่รวม 250,000 ตารางเมตร ซึ่งตอนนี้เป็นพื้นที่ชุมชนที่เรียกว่า ‘ชุมชน 5 นาที’ เพราะสามารถเดินเชื่อมถึงกันโดยใช้เวลาเพียง 5 นาที 

เรื่องเด่นประจำสัปดาห์