ส่องประวัติศัพท์: จาก ‘การโผล่ออกมา’ สู่ความฉุกเฉินใน ‘emergency room’

19 ม.ค. 2566 - 05:59

  • ส่องประวัติศัพท์ ชวนคุยถึงความเป็นมาของศัพท์ที่น่าสนใจ

  • วันนี้เราจะมาพูดถึงคำว่า emergency room หรือ ‘ห้องฉุกเฉิน’

word-history-emergency-room-SPACEBAR-Thumbnail
https://images.ctfassets.net/i3o8p9lzd06f/2CRMUUolvw4xZ2LK6d7mmG/8819fe0318a2cc148b8ee49cb72112b9/word-history-emergency-room-SPACEBAR-Photo01
“จำศัพท์ต้องจำที่ราก” นี่เป็นเทคนิคหนึ่งที่อาจารย์หรือติวเตอร์หลายๆ คนพร่ำสอน ซึ่งนอกจากจะเป็นการขยายคลังศัพท์ที่รวดเร็วและมีประสิทธิภาพแล้ว ยังทำให้เราเข้าใจที่มาที่ไปของคำ และตระหนักได้ว่าการจำศัพท์สักคำไม่ใช่แค่การท่องจำโดยไม่มีเหตุผลเสมอไป 
 
วันนี้เราจะมาพูดถึงคำว่า emergency room หรือ ‘ห้องฉุกเฉิน’ โดยเราจะขอเริ่มที่คำว่าฉุกเฉิน (emergency) กันก่อน 
 
emergency น. ‘เหตุฉุกเฉิน, ภาวะฉุกเฉิน’ ขยายความได้ว่า สิ่งที่เกิดขึ้นโดยไม่คาดคิด และต้องได้รับความสนใจ/การตอบสนองทันที (ลิงค์ที่คำว่า emergency - https://www.etymonline.com/word/emergency) 
  • emerge 
คำว่า emergency มีรากมาจากคำว่า emerge เป็นคำกริยาที่แปลว่า ‘โผล่ขึ้นมา, ปรากฏออกมาจากสิ่งที่แวดล้อม ปกคลุม หรือปกปิดไว้’ 
 
ซึ่งคำนี้มีรากมาจาก emergere ในภาษาละตินที่แปลว่า ‘ออกมา/ขึ้นมา, นำออกมา, เปิดเผย’ 
สามารถแยกส่วนที่อยู่หน้าคำ (prefix) ออกมาเป็น e- แปลว่า ‘ออก’ และ mergere แปลว่า ‘จุ่ม, จม’ 
แรกเริ่มเดิมทีคำนี้จึงหมายถึงการโผล่ออกมาจากน้ำโดยการลอยตัว (ออกมาจากที่ตอนแรกจมอยู่นั่นเอง!) 
  • -ency 
-ency เป็นส่วนที่ต่อท้ายรากศัพท์ (suffix) ทำให้คำต่างๆ กลายร่างเป็นคำนาม จาก ‘การปรากฏออกมา’ จึงกลายเป็น ‘สิ่งที่ปรากฏออกมา’ นั่นเอง  

“ฉุกเฉิน! ฉุกเฉิน!” เริ่มมาตั้งแต่ยุค 1630 

คำว่า emergency เริ่มถูกนำมาใช้ในความหมาย ‘สิ่งที่เกิดขึ้นโดยไม่คาดคิด และต้องได้รับความสนใจ/การตอบสนองทันที’ โดยเป็นคำที่ผูกติดมากับการแพทย์ตั้งแต่ช่วงทศวรรษที่ 1630 
 
หลักฐานการใช้คำนี้ปรากฏขึ้นในช่วงการปฏิวัติฝรั่งเศสโดย โดมินิก ฌอง แลร์เรย์ (Dominique Jean Larrey) แพทย์ทหารที่คิดค้นระบบลำเลียงผู้บาดเจ็บไปยังสถานีกู้ภัยเพื่อทำการรักษา/ผ่าตัดโดยด่วนที่สุด เป็นช่วงที่มีการใช้คำว่า emergency medicine หรือ ‘ยาฉุกเฉิน’ และภายหลังผู้คนยังกล่าวขานว่า โดมินิก เป็นบิดาแห่งบริการการแพทย์ฉุกเฉิน (the father of emergency medical services) อีกด้วย 
 
room น. ‘ที่ว่าง, ห้อง’ (ลิงค์ที่คำว่า room - https://www.etymonline.com/word/room) 
คำว่า room เริ่มใช้ในความหมายนี้ตั้งแต่ก่อนปี 1200 ในภาษาอังกฤษเก่า (Old English) ใช้คำว่า rūm ซึ่งสืบเนื่องมาจากภาษาเยอรมันสูงเก่า (Old High German) และได้อิทธิพลมาจากคำว่า rur-, rus ในภาษาละตินที่แปลว่า ‘ที่ดินเปล่า’ 
 
ด้วยประการฉะนี้ เมื่อ emergency และ room มาเจอกัน จึงกลายเป็น ‘ห้องฉุกเฉิน’ นั่นเอง 

‘รูม’ ในไทย 

ความจริงไทยเราก็มีคำว่า ‘รูม’ ที่แปลว่า ‘ห้อง’ แฝงอยู่ โดยกลายเป็นคำที่หลายคนเคยชินชนิดที่ว่าหากให้อธิบายเป็นภาษาไทยจริงๆ อาจมีอึกอักกันบ้าง เช่น คำว่า ‘โฮมรูม’ ‘รูมเซอร์วิส’ หรือ ‘รูมเมท’ ซึ่งการใช้คำทับศัพท์เช่นนี้มักทำให้ไม่ต้องเสียเวลาอธิบายยืดยาว เพราะคำต้นฉบับที่ใช้เรียกสิ่งนั้นๆ เป็นสิ่งที่ไทยได้รับมาอีกทีหนึ่ง จึงไม่ได้มีการบัญญัติคำไว้ตั้งแต่แรก 
 
จะเห็นได้ว่าศัพท์เองก็มีรากเหง้าไม่ต่างจากคน เป็นประวัติศาสตร์ที่หากเราลองเข้าไปศึกษา เราอาจเข้าใจและจดจำมันได้ดียิ่งขึ้น 
 
*หมายเหตุ: ความหมายของศัพท์ที่ยกมาเป็นเพียงส่วนหนึ่งเท่านั้น ซึ่งเป็นความหมายที่เกี่ยวข้องกับบริบทที่พูดถึง 
 
https://images.ctfassets.net/i3o8p9lzd06f/2FQfmUHIGeBdsrU7c5swJI/80c7407161f10fbf22ebcb0ada2248c0/word-history-emergency-room-SPACEBAR-Photo02

เรื่องเด่นประจำสัปดาห์