ส่องประวัติศัพท์พาไปรู้จักที่มาของคำว่า ‘บิดา’ ที่มีรากศัพท์สืบย้อนไปนานถึง 6,000 ปีก่อนคริสตกาล ใครรู้ก็ต้องทึ่งถึงการเดินทางอันยาวนานของคำๆ นี้
‘พ่อ’ เป็นภาษาไทยที่ใช้เรียกชายผู้ให้กำเนิด นอกจากนี้ยังมีคำว่า ‘ป๊า’ หรือ ‘ปะป๊า’ ซึ่งเป็นคำจีนที่ไว้เรียกพ่อ บางคนอาจได้ยินจากเพื่อนที่เป็นชาวไทยเชื้อสายจีน จริงๆ แล้วคำว่า ‘พ่อ’ กับ ‘ป๊า’ หากสืบย้อนภาษาไปตั้งแต่ยุคโบราณก็คือมาจากรากศัพท์เดียวกันคือ ภาษาจีนโบราณ (Old Chinese) ที่อยู่ในตระกูลภาษาจีน-ธิเบต (Sino-Tibetan) โดยคำว่า ‘พ่อ’ แยกออกมาอยู่ในตระกูลภาษาไท (Tai Language) ต้นตระกูลของภาษาไทยทั้งมวล
อีกหนึ่งคำที่คุ้นเคยคือคำว่า ‘บิดา’ ซึ่งเป็นคำสันสกฤต หรือจะเรียกโดยง่าย ‘บิดา’ นั้นเป็นคำศัพท์อินเดียโบราณ แต่ว่าประเทศไทยได้รับคำศัพท์อินเดียมาใช้ตั้งแต่เมื่อไร?
‘พ่อ’ เป็นภาษาไทยที่ใช้เรียกชายผู้ให้กำเนิด นอกจากนี้ยังมีคำว่า ‘ป๊า’ หรือ ‘ปะป๊า’ ซึ่งเป็นคำจีนที่ไว้เรียกพ่อ บางคนอาจได้ยินจากเพื่อนที่เป็นชาวไทยเชื้อสายจีน จริงๆ แล้วคำว่า ‘พ่อ’ กับ ‘ป๊า’ หากสืบย้อนภาษาไปตั้งแต่ยุคโบราณก็คือมาจากรากศัพท์เดียวกันคือ ภาษาจีนโบราณ (Old Chinese) ที่อยู่ในตระกูลภาษาจีน-ธิเบต (Sino-Tibetan) โดยคำว่า ‘พ่อ’ แยกออกมาอยู่ในตระกูลภาษาไท (Tai Language) ต้นตระกูลของภาษาไทยทั้งมวล
อีกหนึ่งคำที่คุ้นเคยคือคำว่า ‘บิดา’ ซึ่งเป็นคำสันสกฤต หรือจะเรียกโดยง่าย ‘บิดา’ นั้นเป็นคำศัพท์อินเดียโบราณ แต่ว่าประเทศไทยได้รับคำศัพท์อินเดียมาใช้ตั้งแต่เมื่อไร?

ประเทศไทยเป็นประเทศที่ได้รับวัฒนธรรมอินเดียมากพอสมควร ไม่ว่าจะเป็นอักษรไทย คำศัพท์สันสกฤต คำราชาศัพท์ ไปจนถึงเรื่องศาสนา และความเชื่อ คาดว่าประเทศไทยได้รับอิทธิพลมาตั้งแต่ช่วง พ.ศ. 900-1000 หรือราวคริสตวรรษที่ 4-5 จากราชวงศ์ปัลลาวะ และได้รับอิทธิพลจากอย่างต่อเนื่องในสมัยราชวงศ์โจฬะที่แผ่แผ่อาณาจักรมาถึงเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในช่วงปี พ.ศ. 1800 หรือคริสตศตวรรษที่ 13 ซึ่งตรงกับสมัยอาณาจักรศรีวิชัย เป็นจุดเริ่มต้นของวัฒนธรรมอินเดียที่แผ่ซ่านไปทั้งอาณาจักรไทย สังเกตได้จากธรรมเนียมประเพณีในราชวงศ์ของพระมหากษัตริย์ไทยทั้งอาณาจักรสุโขทัย และอยุธยา ส่งต่อมาถึงอาณาจักรรัตนโกสินทร์
ย้อนกันมาขนาดนี้คิดว่าอินเดียคงเป็น ‘รุ่นพ่อ’ แต่จริงๆ มีรุ่นพ่อมากกว่านั้น
คำว่า ‘บิดา’ เป็นญาติห่างๆ กับภาษาในยุโรปเกือบทั้งหมด ดังนั้นแล้วถ้าจะพูดให้ดี ‘รุ่นพ่อ’ ของคำที่มีความหมายว่า ‘พ่อ’ นั้น ย้อนไปไกลถึง 4,000 ปีก่อนคริสตกาล ในสมัยที่ชาวอินโดยูโรเปียนกำลังเดินทางออกจากทุ่งหญ้าสเตปป์เพื่อหาแหล่งที่อยู่
ทุ่งหญ้าสเตปป์ (Steppe) มีพื้นที่ตั้งแต่ตุรกีปัจจุบันไปจนถึงชายแดนรัสเซีย นักวิชาการให้ข้อมูลว่าชาวอินโดยูโรเปียนน่าจะเดินทางจากทุ่งหญ้าสเตปป์ กระจายตัวออกไปทั่วทิศเหนือใต้ออกตก ที่เห็นได้ชัดคือพื้นที่ทวีปยุโรป ซึ่งมีจำนวนชาวอินโดยูโรเปียนมากที่สุด รวมถึงดินแดนตะวันออกกลางในพื้นที่อิหร่านในปัจจุบันไปจนถึงอินเดียทางตอนเหนือ
ย้อนกันมาขนาดนี้คิดว่าอินเดียคงเป็น ‘รุ่นพ่อ’ แต่จริงๆ มีรุ่นพ่อมากกว่านั้น
คำว่า ‘บิดา’ เป็นญาติห่างๆ กับภาษาในยุโรปเกือบทั้งหมด ดังนั้นแล้วถ้าจะพูดให้ดี ‘รุ่นพ่อ’ ของคำที่มีความหมายว่า ‘พ่อ’ นั้น ย้อนไปไกลถึง 4,000 ปีก่อนคริสตกาล ในสมัยที่ชาวอินโดยูโรเปียนกำลังเดินทางออกจากทุ่งหญ้าสเตปป์เพื่อหาแหล่งที่อยู่
ทุ่งหญ้าสเตปป์ (Steppe) มีพื้นที่ตั้งแต่ตุรกีปัจจุบันไปจนถึงชายแดนรัสเซีย นักวิชาการให้ข้อมูลว่าชาวอินโดยูโรเปียนน่าจะเดินทางจากทุ่งหญ้าสเตปป์ กระจายตัวออกไปทั่วทิศเหนือใต้ออกตก ที่เห็นได้ชัดคือพื้นที่ทวีปยุโรป ซึ่งมีจำนวนชาวอินโดยูโรเปียนมากที่สุด รวมถึงดินแดนตะวันออกกลางในพื้นที่อิหร่านในปัจจุบันไปจนถึงอินเดียทางตอนเหนือ

ชาวอินโดยูโรเปียน (Indo-European) เป็นกลุ่มเชื้อชาติคอเคซอยด์ที่เรียกได้ว่าเป็นชนเผ่าเร่ร่อน เป็นนักรบที่ตระเวนรุกรานพื้นที่อื่นๆ (Nomad) ใช้ภาษาในกลุ่มโปรโตอินโดยูโรเปียน (Proto-Indo-European) หรือ PIE สิ่งที่เด่นชัด และแสดงถึงอิทธิพลของชาวอินโดยูโรเปียนคือภาษา และศาสนา เราจะเห็นความคล้ายคลึงกันระหว่างเทพเจ้าซุส (Zeus) เทพเจ้าธอร์ (Thor) และพระอินทร์ (Indra) โดยมีภาพลักษณ์เป็นเทพเจ้าแห่งท้องฟ้า และเป็นเทพเจ้าที่ยิ่งใหญ่ที่สุด (ในช่วงแรกพระอินทร์เป็นเทพเจ้าสูงสุดในศาสนาฮินดู) ส่วนภาษานั้นเราสามารถเห็นได้ชัดเจนจากภาษาต่างๆ ในยุโรปที่ยังคงความเหมือนกันอยู่จางๆ

ยกตัวอย่างคำศัพท์ง่ายๆ เช่น คำว่า ‘บิดา’ กับคำว่า ‘father’ มาจากรากศัพท์เดียวกันคือ ph₂tḗr ซึ่งเป็นคำโปรโตอินโดยูโรเปียน (PIE) อ่านว่า ‘แฟะแตร’ ทีนี้ในตระกูลภาษาอินโดยูโรเปียนได้แตกออกไปหลายกลุ่ม กลุ่มหลักๆ คือ ตระกูลอิตาลิก (Italic) ตระกูลเจอมานิก (Germanic) และตระกูลอิราเนียน (Iranian)
คำว่า ‘บิดา’ มาจากภาษาสันสกฤต (ซึ่งอยู่ในตระกูลอิราเนียน) อ่านออกเสียงว่า ‘ปิตรุ’ (คำว่า ปิตุรงค์ ก็มาจากคำนี้เช่นกัน) ส่วนคำว่า ‘father’ มาจากภาษาลาติน (ตระกูลอิตาลิก) ที่อ่านออกเสียงว่า ปาแตร (Pater) เช่นเดียวกันกับภาษาเยอรมัน (ในตระกูลเจอมานิก) คำว่า ‘Vater’ ที่มาจากรากศัพท์ภาษา PIE เหมือนกัน
เพราะฉะนั้นแล้ว เราจะบอกว่าชาวอินโดยูโรเปียนเป็น ‘รุ่นพ่อ’ ของภาษาหลายๆ ภาษาเกือบทั่วโลกก็ว่าได้ ใครจะไปรู้ว่าภาษาอังกฤษกับภาษาสันสกฤตจะมีบรรพบุรุษร่วมกัน และเดินทางมาถึงประเทศไทยอีกต่อ นี่แหละคือความสวยงาม และความน่าทึ่งของภาษา
คำว่า ‘บิดา’ มาจากภาษาสันสกฤต (ซึ่งอยู่ในตระกูลอิราเนียน) อ่านออกเสียงว่า ‘ปิตรุ’ (คำว่า ปิตุรงค์ ก็มาจากคำนี้เช่นกัน) ส่วนคำว่า ‘father’ มาจากภาษาลาติน (ตระกูลอิตาลิก) ที่อ่านออกเสียงว่า ปาแตร (Pater) เช่นเดียวกันกับภาษาเยอรมัน (ในตระกูลเจอมานิก) คำว่า ‘Vater’ ที่มาจากรากศัพท์ภาษา PIE เหมือนกัน
เพราะฉะนั้นแล้ว เราจะบอกว่าชาวอินโดยูโรเปียนเป็น ‘รุ่นพ่อ’ ของภาษาหลายๆ ภาษาเกือบทั่วโลกก็ว่าได้ ใครจะไปรู้ว่าภาษาอังกฤษกับภาษาสันสกฤตจะมีบรรพบุรุษร่วมกัน และเดินทางมาถึงประเทศไทยอีกต่อ นี่แหละคือความสวยงาม และความน่าทึ่งของภาษา