
คำว่า ‘Gay’ มีรากมาจากภาษาเยอรมันโบราณ (Old Germanic: gahi) ซึ่งในตอนนั้นมีความหมายว่า ‘รวดเร็ว / ว่องไว’ หลังจากนั้นธรรมชาติของภาษาที่มาพร้อมการหยิบยืม ก็ทำให้คำนี้ไปโผล่ในภาษาฝรั่งเศส โดยแปลงตัวสะกดเป็น ‘gai’ และมีความหมายว่า ‘มีความสุข / ร่าเริง / เบิกบาน’
และในปี 1066 ชาวนอร์มัน (ที่พูดภาษาฝรั่งเศสพื้นเมือง) บุกอังกฤษและได้รับชัยชนะที่เรียกว่า ‘Norman Conquest’ ทำให้ภาษาฝรั่งเศสกลายเป็นภาษาหลักที่ใช้ในการปกครอง และมีอิทธิพลอย่างมากต่อภาษาอังกฤษ
หลังจากนั้นก็มีศัพท์ฝรั่งเศสมากมายไหล่บ่าเข้ามาในภาษาอังกฤษ รวมถึงคำว่า ‘gai’ ที่กลายร่างเป็น ‘Gay’ แต่คงความหมายเดิมที่ว่า ‘มีความสุข / ร่าเริง / เบิกบาน’
และในปี 1066 ชาวนอร์มัน (ที่พูดภาษาฝรั่งเศสพื้นเมือง) บุกอังกฤษและได้รับชัยชนะที่เรียกว่า ‘Norman Conquest’ ทำให้ภาษาฝรั่งเศสกลายเป็นภาษาหลักที่ใช้ในการปกครอง และมีอิทธิพลอย่างมากต่อภาษาอังกฤษ
หลังจากนั้นก็มีศัพท์ฝรั่งเศสมากมายไหล่บ่าเข้ามาในภาษาอังกฤษ รวมถึงคำว่า ‘gai’ ที่กลายร่างเป็น ‘Gay’ แต่คงความหมายเดิมที่ว่า ‘มีความสุข / ร่าเริง / เบิกบาน’

เมื่อ ‘Gay’ เริ่มเกี่ยวข้องกับเพศและความใคร่
“How long have you been gay?”
ครั้งหนึ่งประโยคนี้เคยหมายความว่า “คุณขายบริการมานานเท่าไรแล้ว?”
คำว่า ‘Gay’ เริ่มมีเซนส์เรื่องเพศและความใคร่แทรกเข้ามาในช่วงปลายศตวรรษที่ 1900 ตัวอย่างเช่นปี 1857 มีการตีพิมพ์การ์ตูนเสียดสีในนิตยสาร Punch ด้วยประโยค “How long have you been gay?” ซึ่งตอนนั้นคำว่า ‘Gay’ หมายถึง ‘ผู้ขายบริการทางเพศ’ รวมถึงช่วงทศวรรษ 1890 ที่คำว่า ‘Gay house’ หมายถึง ‘ซ่อง’
กระนั้นความหมายเดิมที่แปลว่า ‘มีความสุข ฯลฯ’ ก็ยังคงอยู่ แต่จะเห็นได้ว่าวิวัฒนาการของความหมายเริ่มเปลี่ยนจากความสุขในเรื่องทั่วๆ ไป เป็นความสุขที่เกี่ยวข้องกับเรื่องเพศมากขึ้น
Gay = Homosexual
แม้คำว่า ‘Gay’ จะเริ่มมีความหมายเชิงเพศ แต่ก็ยังถูกใช้เรียกกลุ่มคนที่เกี่ยวข้องกับการขายบริการ และคนที่มุ่งแสวงหาความสุข (Hedonistic) โดยไม่จำกัดว่าเป็นเพศอะไร
กระทั่งปลายทศวรรษที่ 1940 คำว่า ‘Gay’ เริ่มถูกยึดโยงกับกลุ่มคนรักเพศเดียวกัน (Homosexual) โดยพบได้ในงานเขียน/งานวิจัยเชิงจิตวิทยา และชัดเจนมากขึ้นในช่วงทศวรรษที่ 1970 ก่อนจะค่อยๆ กลายมาเป็นความหมายหลักที่คนรับรู้ทั่วกันว่า
‘เกย์’ = ‘คนรักเพศเดียวกัน’
จากบวกเป็นลบ...และบวกอีกครั้ง
การเดินทางของคำว่า ‘Gay’ จากอดีตจนถึงปัจจุบัน ผ่านความหมายหลากหลายตั้งแต่แง่บวก ไปจนถึงสองแง่สองง่าม และในยุคหลังก็เริ่มมีคนใช้คำว่า ‘Gay’ ในความหมาย ‘โง่ / ไม่ได้เรื่อง’ หรือเรียกง่ายๆ ว่าใช้เป็นคำแสลงแง่ลบ ซึ่งไม่ได้เกี่ยวข้องกับความหมาย ‘คนรักเพศเดียวกัน’ แต่อย่างใด
ปัญหาที่ตามมาคือการเหมารวมและการเชื่อมโยงความหมายแง่ลบกับกลุ่มคนรักเพศเดียวกัน เมื่อคำว่า ‘Gay’ เป็นนิยามของคนกลุ่มนั้น ขณะเดียวกันก็เป็นคำเหยียด จนเป็นที่มาของการรณรงค์ให้เลิกใช้คำ ‘Gay’ ในแง่ลบ ทว่าก็มีบางคนที่มองว่าสามารถใช้ได้ แค่ต้องแยกแยะความหมายทั้งสองออกจากกัน
ในปัจจุบันจะเห็นว่ามนุษย์ก็ยังรับมือกับความ ‘Gay’ ได้ไม่ดีนัก อย่างที่มลรัฐฟลอริดา สหรัฐอเมริกา ก็เพิ่งมีประเด็นกฎหมาย ‘Don’t Say Gay’ ที่ไม่ได้ห้ามพูดคำว่า Gay ในแง่ลบ แต่เป็นการห้ามไม่ให้มีการเรียนการสอนเกี่ยวกับความหลากหลายทางเพศในชั้นเรียน ซึ่งการไม่ให้พูดถึงกลุ่ม LGBTQ+ ก็เหมือนการไม่ให้พื้นที่คนเหล่านี้ได้ยืนในสังคมอย่างสง่างามอย่างที่ควรจะเป็น
เสียงตอกกลับจากสังคมจึงเป็นการเรียกร้องให้กฎหมายนี้ถูกปัดตก และสร้างความตระหนักรู้เรื่องความหลากหลายทางเพศ รวมถึงการใช้คำว่า ‘Gay’ ในฐานะคำแง่บวกที่ทรงพลังคำหนึ่ง
...เราหวังเหลือเกินว่าในอนาคตอันใกล้ โลกจะเป็นมิตรกับความหลากหลาย และคำว่า ‘Gay’ อย่างแท้จริง
“How long have you been gay?”
ครั้งหนึ่งประโยคนี้เคยหมายความว่า “คุณขายบริการมานานเท่าไรแล้ว?”
คำว่า ‘Gay’ เริ่มมีเซนส์เรื่องเพศและความใคร่แทรกเข้ามาในช่วงปลายศตวรรษที่ 1900 ตัวอย่างเช่นปี 1857 มีการตีพิมพ์การ์ตูนเสียดสีในนิตยสาร Punch ด้วยประโยค “How long have you been gay?” ซึ่งตอนนั้นคำว่า ‘Gay’ หมายถึง ‘ผู้ขายบริการทางเพศ’ รวมถึงช่วงทศวรรษ 1890 ที่คำว่า ‘Gay house’ หมายถึง ‘ซ่อง’
กระนั้นความหมายเดิมที่แปลว่า ‘มีความสุข ฯลฯ’ ก็ยังคงอยู่ แต่จะเห็นได้ว่าวิวัฒนาการของความหมายเริ่มเปลี่ยนจากความสุขในเรื่องทั่วๆ ไป เป็นความสุขที่เกี่ยวข้องกับเรื่องเพศมากขึ้น
Gay = Homosexual
แม้คำว่า ‘Gay’ จะเริ่มมีความหมายเชิงเพศ แต่ก็ยังถูกใช้เรียกกลุ่มคนที่เกี่ยวข้องกับการขายบริการ และคนที่มุ่งแสวงหาความสุข (Hedonistic) โดยไม่จำกัดว่าเป็นเพศอะไร
กระทั่งปลายทศวรรษที่ 1940 คำว่า ‘Gay’ เริ่มถูกยึดโยงกับกลุ่มคนรักเพศเดียวกัน (Homosexual) โดยพบได้ในงานเขียน/งานวิจัยเชิงจิตวิทยา และชัดเจนมากขึ้นในช่วงทศวรรษที่ 1970 ก่อนจะค่อยๆ กลายมาเป็นความหมายหลักที่คนรับรู้ทั่วกันว่า
‘เกย์’ = ‘คนรักเพศเดียวกัน’
จากบวกเป็นลบ...และบวกอีกครั้ง
การเดินทางของคำว่า ‘Gay’ จากอดีตจนถึงปัจจุบัน ผ่านความหมายหลากหลายตั้งแต่แง่บวก ไปจนถึงสองแง่สองง่าม และในยุคหลังก็เริ่มมีคนใช้คำว่า ‘Gay’ ในความหมาย ‘โง่ / ไม่ได้เรื่อง’ หรือเรียกง่ายๆ ว่าใช้เป็นคำแสลงแง่ลบ ซึ่งไม่ได้เกี่ยวข้องกับความหมาย ‘คนรักเพศเดียวกัน’ แต่อย่างใด
ปัญหาที่ตามมาคือการเหมารวมและการเชื่อมโยงความหมายแง่ลบกับกลุ่มคนรักเพศเดียวกัน เมื่อคำว่า ‘Gay’ เป็นนิยามของคนกลุ่มนั้น ขณะเดียวกันก็เป็นคำเหยียด จนเป็นที่มาของการรณรงค์ให้เลิกใช้คำ ‘Gay’ ในแง่ลบ ทว่าก็มีบางคนที่มองว่าสามารถใช้ได้ แค่ต้องแยกแยะความหมายทั้งสองออกจากกัน
ในปัจจุบันจะเห็นว่ามนุษย์ก็ยังรับมือกับความ ‘Gay’ ได้ไม่ดีนัก อย่างที่มลรัฐฟลอริดา สหรัฐอเมริกา ก็เพิ่งมีประเด็นกฎหมาย ‘Don’t Say Gay’ ที่ไม่ได้ห้ามพูดคำว่า Gay ในแง่ลบ แต่เป็นการห้ามไม่ให้มีการเรียนการสอนเกี่ยวกับความหลากหลายทางเพศในชั้นเรียน ซึ่งการไม่ให้พูดถึงกลุ่ม LGBTQ+ ก็เหมือนการไม่ให้พื้นที่คนเหล่านี้ได้ยืนในสังคมอย่างสง่างามอย่างที่ควรจะเป็น
เสียงตอกกลับจากสังคมจึงเป็นการเรียกร้องให้กฎหมายนี้ถูกปัดตก และสร้างความตระหนักรู้เรื่องความหลากหลายทางเพศ รวมถึงการใช้คำว่า ‘Gay’ ในฐานะคำแง่บวกที่ทรงพลังคำหนึ่ง
...เราหวังเหลือเกินว่าในอนาคตอันใกล้ โลกจะเป็นมิตรกับความหลากหลาย และคำว่า ‘Gay’ อย่างแท้จริง