ลองนึกถึงสถานการณ์หนึ่ง ชายหนุ่มคนหนึ่ง สมมติว่าชื่อคุณพี คุณพีมีเพื่อนหลายคน แม้ว่าคุณพีจะพูดภาษาอังกฤษไม่ค่อยแข็ง แต่คุณพีก็มีเพื่อนต่างชาติพอประปราย พอมาถึงวันเกิดของคุณพีก็มีการจัดงานสังสรรค์ตามปกติ แต่ช่วงก่อนวันจัดงาน เพื่อนต่างชาติทักไปถามคุณพีว่าอยากได้อะไรในวันเกิด ด้วยความ “เกรงใจ” คุณพีเลยตอบว่า “ไม่เป็นไร” แต่เพื่อนของเขาก็ยังดั้นด้นจะเอาคำตอบให้ได้ คุณพีเลยกะจะพิมพ์ว่า “ไม่เป็นไรจริงๆ เกรงใจ” ทันทีที่คุณพีนึกถึงคำว่า เกรงใจ เขากลับคิดไม่ออกว่าภาษาอังกฤษมันคืออะไร ลองพิมพ์หาในกูเกิลก็กลับไม่มีคำนี้
นั่นสิ คำว่า “เกรงใจ” ในภาษาอังกฤษมันคืออะไรกันนะ?
เรื่องนี้มีคำตอบ แต่ก็ยังไม่ใช่คำตอบแท้จริงเสียทีเดียว อาจารย์อดัม แบรดชอว์ ครูสอนภาษาอังกฤษหัวใจคนไทยเคยออกมาสอนชาวไทยว่า คำว่า เกรงใจ สามารถใช้คำได้ 3 แบบ อย่างไรก็ตาม อาจารย์ยังคงบอกข้อมูลเพิ่มเติมว่า “คำที่เราจะใช้จะขึ้นอยู่กับกรณีเพราะภาษาอังกฤษไม่มีคำเฉพาะที่สามารถใช้แทนคำว่าเกรงใจได้ทุกกรณี”
นั่นสิ คำว่า “เกรงใจ” ในภาษาอังกฤษมันคืออะไรกันนะ?
เรื่องนี้มีคำตอบ แต่ก็ยังไม่ใช่คำตอบแท้จริงเสียทีเดียว อาจารย์อดัม แบรดชอว์ ครูสอนภาษาอังกฤษหัวใจคนไทยเคยออกมาสอนชาวไทยว่า คำว่า เกรงใจ สามารถใช้คำได้ 3 แบบ อย่างไรก็ตาม อาจารย์ยังคงบอกข้อมูลเพิ่มเติมว่า “คำที่เราจะใช้จะขึ้นอยู่กับกรณีเพราะภาษาอังกฤษไม่มีคำเฉพาะที่สามารถใช้แทนคำว่าเกรงใจได้ทุกกรณี”

กรณีแรกอาจารย์พาไปรู้จักกับคำว่า “considerate” ยกตัวอย่างเช่น “I’m a very considerate person” (ฉันเป็นคนที่เห็นใจหรือแคร์ความรู้สึกคนอื่น) กรณีที่สอง “obligated” ยกตัวอย่างเช่น “I feel obligated” (ฉันรู้สึกเกรงใจ) และกรณีที่สาม “bad” ยกตัวอย่างเช่น “I feel bad” ซึ่งแปลตรงตัวคือรู้สึกไม่ดี ก็สามารถใช้แทนคำว่าเกรงใจได้เช่นกัน
ทั้งสามกรณีเราสามารถใช้แทนคำว่า เกรงใจ ได้อย่างไม่มีปัญหา แต่ถ้าเราดูความหมายของคำกันจริงๆ ทั้งสามคำนี้ไม่มีนัยยะของคำว่า เกรงใจ มาตั้งแต่แรก เริ่มจากคำว่า “considerate” ที่จริงๆ แล้วมีความหมายถึง “การคำนึกถึงจิตใจของผู้อื่น” คำที่สอง “obligated” ยิ่งมีความหมายต่างออกไป เพราะตามความหมายมันคือการรู้สึกเหมือนมีพันธะกับอะไรบางอย่าง ส่วนคำที่สามเป็นคำตรงตัวที่ยังไม่สามารถอธิบายความรู้สึกเกรงใจได้อย่างถูกต้องนัก
แต่แล้วก็เกิดคำถามขึ้นอีกว่าทำไมคำว่า เกรงใจ ถึงไม่มีในภาษาอังกฤษ และมีแค่ในภาษาไทย เรื่องนี้ต้องทำความเข้าใจว่าภาษาเป็นสิ่งที่สามารถบ่งบอกตัวตนและวัฒนธรรมของแต่ละชาติได้เป็นอย่างดี การศึกษานี้สามารถยืนยันได้จากนักภาษาศาสตร์และนักสังคมวิทยา ซึ่งอาจพูดเป็นนัยๆ ว่าลักษณะนิสัยของชาวยุโรปไม่ค่อยมีการเกรงใจกันแต่แรก เพราะนิยมสื่อสารกันอย่างตรงไปตรงมามากกว่า ในขณะที่ชาวไทยมีนิสัยอ้อมค้อม ไม่ค่อยพูดอะไรตรงไปตรงมา อาจเป็นเพราะกลัวอีกฝ่ายรู้สึกไม่ดี หรือกลัวพูดไปแล้วโดนความเห็นสะท้อนกลับเข้าตัวเองจนทำให้รู้สึกไม่ดี
ไม่มีข้อมูล หรือการศึกษาที่แน่ชัดเกี่ยวกับลักษณะนิสัยขี้เกรงใจของคนไทย ว่ากันว่าพื้นฐานนิสัยคนไทยเป็นเช่นนี้เพราะอยู่ในสภาพสังคมแบบติดหนี้บุญคุณและเห็นแก่ผู้อาวุโส บางคนอาจคิดว่า “แบบนี้คนญี่ปุ่นก็ต้องมีคำว่า ‘เกรงใจ’ บ้างเหมือนกันสิ” น่าแปลกที่คนญี่ปุ่นเองไม่ค่อยนิยมพูดคำว่า เกรงใจ แต่พุ่งไปที่ขอโทษกันมากกว่า
ทั้งสามกรณีเราสามารถใช้แทนคำว่า เกรงใจ ได้อย่างไม่มีปัญหา แต่ถ้าเราดูความหมายของคำกันจริงๆ ทั้งสามคำนี้ไม่มีนัยยะของคำว่า เกรงใจ มาตั้งแต่แรก เริ่มจากคำว่า “considerate” ที่จริงๆ แล้วมีความหมายถึง “การคำนึกถึงจิตใจของผู้อื่น” คำที่สอง “obligated” ยิ่งมีความหมายต่างออกไป เพราะตามความหมายมันคือการรู้สึกเหมือนมีพันธะกับอะไรบางอย่าง ส่วนคำที่สามเป็นคำตรงตัวที่ยังไม่สามารถอธิบายความรู้สึกเกรงใจได้อย่างถูกต้องนัก
แต่แล้วก็เกิดคำถามขึ้นอีกว่าทำไมคำว่า เกรงใจ ถึงไม่มีในภาษาอังกฤษ และมีแค่ในภาษาไทย เรื่องนี้ต้องทำความเข้าใจว่าภาษาเป็นสิ่งที่สามารถบ่งบอกตัวตนและวัฒนธรรมของแต่ละชาติได้เป็นอย่างดี การศึกษานี้สามารถยืนยันได้จากนักภาษาศาสตร์และนักสังคมวิทยา ซึ่งอาจพูดเป็นนัยๆ ว่าลักษณะนิสัยของชาวยุโรปไม่ค่อยมีการเกรงใจกันแต่แรก เพราะนิยมสื่อสารกันอย่างตรงไปตรงมามากกว่า ในขณะที่ชาวไทยมีนิสัยอ้อมค้อม ไม่ค่อยพูดอะไรตรงไปตรงมา อาจเป็นเพราะกลัวอีกฝ่ายรู้สึกไม่ดี หรือกลัวพูดไปแล้วโดนความเห็นสะท้อนกลับเข้าตัวเองจนทำให้รู้สึกไม่ดี
ไม่มีข้อมูล หรือการศึกษาที่แน่ชัดเกี่ยวกับลักษณะนิสัยขี้เกรงใจของคนไทย ว่ากันว่าพื้นฐานนิสัยคนไทยเป็นเช่นนี้เพราะอยู่ในสภาพสังคมแบบติดหนี้บุญคุณและเห็นแก่ผู้อาวุโส บางคนอาจคิดว่า “แบบนี้คนญี่ปุ่นก็ต้องมีคำว่า ‘เกรงใจ’ บ้างเหมือนกันสิ” น่าแปลกที่คนญี่ปุ่นเองไม่ค่อยนิยมพูดคำว่า เกรงใจ แต่พุ่งไปที่ขอโทษกันมากกว่า

ในภาษาญี่ปุ่น ชาวญี่ปุ่น (ไม่ค่อย) นิยมใช้คำว่า “遠慮” (เอ็นเรียว) แต่มักจะใช้กับประโยคทำนอง “ご遠慮ください” (โกะเอ็นเรียวคุดาไซ) แปลว่า รบกวนเกรงใจผู้อื่นด้วย แต่โดยทั่วไปแล้วเป็นคำที่ไม่ได้พบเจอบ่อยเท่ากับคำว่า เกรงใจ ในภาษาไทย แต่ถึงกระนั้นชาวญี่ปุ่นก็มีวิธีการพูดคุยเพื่อหลีกเลี่ยงความตรงไปตรงมาระหว่างผู้อาวุโส
มีความเป็นไปได้ว่าสังคมการทำงานระหว่างชาวเอเชียกับชาวยุโรปมีความต่างกันอย่างสิ้นเชิง ประสิทธิภาพการทำงานของชาวยุโรปอาจดีกว่าเพราะมีการสื่อสารอย่างตรงไปตรงมา รับฟังความเห็นอย่างไม่ผิดใจกัน และมีการแยกแยะระหว่างเวลาทำงานกับเวลาพักกับเพื่อนร่วมงาน รวมถึงบทสนทนาบนโต๊ะอาหาร ในขณะที่ชาวเอเชียมักมีความเกรงใจต่อกัน โดยเฉพาะกับหัวหน้างาน การทำงานถึงไม่คืบไปข้างหน้าเพราะคำนึงถึงความรู้สึกของฝ่ายตรงข้ามแทนที่จะมีการแสดงความเห็นอย่างตรงไปตรงมาตั้งแต่แรก เช่น การทำงานของชาวไทยนั้นไม่ค่อยมีการแสดงความเห็นต่อเพื่อนร่วมงานกันอย่างจริงจัง จนต้องระบายเรื่องงานบนโต๊ะอาหาร เป็นต้น
มีความเป็นไปได้ว่าสังคมการทำงานระหว่างชาวเอเชียกับชาวยุโรปมีความต่างกันอย่างสิ้นเชิง ประสิทธิภาพการทำงานของชาวยุโรปอาจดีกว่าเพราะมีการสื่อสารอย่างตรงไปตรงมา รับฟังความเห็นอย่างไม่ผิดใจกัน และมีการแยกแยะระหว่างเวลาทำงานกับเวลาพักกับเพื่อนร่วมงาน รวมถึงบทสนทนาบนโต๊ะอาหาร ในขณะที่ชาวเอเชียมักมีความเกรงใจต่อกัน โดยเฉพาะกับหัวหน้างาน การทำงานถึงไม่คืบไปข้างหน้าเพราะคำนึงถึงความรู้สึกของฝ่ายตรงข้ามแทนที่จะมีการแสดงความเห็นอย่างตรงไปตรงมาตั้งแต่แรก เช่น การทำงานของชาวไทยนั้นไม่ค่อยมีการแสดงความเห็นต่อเพื่อนร่วมงานกันอย่างจริงจัง จนต้องระบายเรื่องงานบนโต๊ะอาหาร เป็นต้น

ความรู้สึกเกรงใจเป็นความรู้สึกที่อธิบายได้ทางวิทยาศาสตร์ มันคือความรู้สึกที่เริ่มจากความกลัว ความเป็นปฏิปักษ์ อย่างกรณีเกรงใจ ความรู้สึกของผู้พูดอาจเป็นไปได้หลายอย่างเช่น กลัวว่าตัวเองจะดูไม่ดี กลัวว่าคนรอบข้างจะไม่พอใจ เป็นต้น เพียงบ่ายเบี่ยงต่อความรู้สึกเหล่านี้ เรามีการตอบโต้ด้วยการปฏิเสธ หรือเลื่อนเวลาออกไปเพื่อหลีกเลี่ยงการรับมือสิ่งเหล่านั้น จริงอยู่ว่ามันอาจรู้สึกดี และผ่อนคลายไปในคราวแรก แต่ผลร้ายคือ เมื่อเกิดความรู้สึกนี้ไปเรื่อยๆ ความเครียดอาจสะสมขึ้นได้ และสามารถกลายเป็นปัญหาคาใจจนยาก หรือสายเกินแก้ในภายหลังได้เช่นกัน
หากตัดเรื่องที่มาของคำว่า เกรงใจ ออกไป เราก็จะพบเห็นกับความหลากหลายหรือความสลวยของภาษาไทยที่ไม่มีภาษาใดสามารถแปลได้ แต่ปฏิเสธไม่ได้เลยจริงๆ ว่าคำว่า เกรงใจ สามารถเป็นภาพแทนของชาวไทยเกือบจะทั้งหมดได้ ซึ่งสำหรับบางคนมันอาจเป็นความสวยงาม แต่กับบางคน (ในระยะยาว) มันอาจเป็นเหมือนก้อนมะเร็งที่สามารถลุกลามได้อย่างไม่รู้ตัว
หากตัดเรื่องที่มาของคำว่า เกรงใจ ออกไป เราก็จะพบเห็นกับความหลากหลายหรือความสลวยของภาษาไทยที่ไม่มีภาษาใดสามารถแปลได้ แต่ปฏิเสธไม่ได้เลยจริงๆ ว่าคำว่า เกรงใจ สามารถเป็นภาพแทนของชาวไทยเกือบจะทั้งหมดได้ ซึ่งสำหรับบางคนมันอาจเป็นความสวยงาม แต่กับบางคน (ในระยะยาว) มันอาจเป็นเหมือนก้อนมะเร็งที่สามารถลุกลามได้อย่างไม่รู้ตัว