“เจ้านกน้อยคล้อยบินสู่เวหา เจ้าถลาแล่นลมสมฤดี...”
ภาพจำในวัยเรียนจู่ๆ ก็ผุดขึ้นมาทันที ภาพของนักเรียนกำลังโบกสะบัดและปรบมือเฮกันลั่น เพลงนี้เป็นหนึ่งในเพลงกีฬาสีที่นิยมขับร้องกันเพื่อเชียร์นักกีฬา ใครที่ยังจำไม่ได้ว่าคือเพลงอะไร มันคือเพลงฮิตที่เรียกกันติดปากว่าเพลง ‘สุ่มกาลิกาลิกาลิสุ่ม’ ซึ่งเนื้อเพลงทั้งหมดจริงๆ แล้วไม่มีอะไรนอกจากท่อนเพลงที่กล่าวมาข้างบน จะว่ามีความหมายที่ลึกซึ้งไหม ก็คงพูดได้ไม่เต็มปาก บางทีมันอาจเป็นการพูดถึงอิสรภาพที่โลดแล่นราวกับนกที่บินสู่ท้องฟ้าอันกว้างไกลบางคนบอกว่าเพลงนี้ไม่น่ามีความหมายอะไร และท่อนที่ร้องว่า “สุ่มกาลิกาลิกาลิสุ่ม” ฟังดูเหมือนภาษาชนเผ่า บ้างก็ว่าเป็นการร้องเพื่อให้เข้ากับทำนองไปเฉยๆ แต่น้อยคนจะรู้ว่าเพลงต้นฉบับจริงๆ นั้น เป็นเพลงพื้นเมืองของอิสราเอล และชื่อเพลงจริงๆ คือชื่อ ‘Zum Gali Gali’

Zum Gali Gali นั้นไม่ใช่เพลงเชียร์ และไม่มีความเกี่ยวข้องอะไรกับกีฬาเลยสักนิด แต่ถูกแต่งและมักขับร้องโดยแรงงานชาวอิสราเอลในช่วงปี 1910s ในชุมชนคิบบุตซ์ (Kibbutz) ในภาษฮีบรู แปลว่า “การมารวมกัน การเกาะกลุ่มกัน”
คิบบุตซ์เป็นชุมชนในประเทศอิสราเอลที่ถูกวางรากฐานไว้ให้เป็นชุมชนการเกษตร แต่ในปัจจุบันการทำไร่ทำนาเป็นเพียงส่วนหนึ่งของชุมชนคิบบุตซ์ นอกจากนี้ชุมชนยังสร้างรายได้จากการทำอุตสาหกรรม ตลอดจนถึงการพัฒนางานด้านเทคโนโลยีขั้นสูง คิบบุทซ์เป็นประสมประสานระหว่างสังคมนิยมและยิวชาตินิยม (Socialism and Zionism) โดยหวังให้ชุมชนนี้เป็นชุมชนในอุดมคติ
กลับมาที่เพลงเจ้านกน้อยของเรา ซึ่งบางครั้งเพลงนี้ถูกเรียกว่าเพลงแรงงานชาวอิสราเอล (Israeli Work Song) ไม่มีใครทราบว่าใครเป็นผู้แต่ง ถูกเผยแพร่ในอเมริกาเป็นครั้งแรกในปี 1939 โดย Hebrew Publishing Company สำนักพิมพ์ที่ผลิตสื่อเกี่ยวกับศาสนายูดาย เช่น หนังสือสวดมนต์ และงานเชิงศาสนา ว่ากันว่าเพลง Zum Gali Gali เป็นหนึ่งในเพลงที่ฮิตกันในหมู่ชาวอเมริกันเชื้อสายยิว
ถ้าเรามาดูที่เนื้อเพลง จะพบว่าเนื้อหาของเพลง Zum Gali Gali ไม่มีการพูดถึงนก หรือการเหินเวหาอะไรทั้งนั้น ท่อนเดิมของเพลงนั้นเป็นภาษาฮีบรู แบ่งเป็นสองท่อน ขับร้องด้วยทำนองเพลงที่เรารู้กันว่า
คิบบุตซ์เป็นชุมชนในประเทศอิสราเอลที่ถูกวางรากฐานไว้ให้เป็นชุมชนการเกษตร แต่ในปัจจุบันการทำไร่ทำนาเป็นเพียงส่วนหนึ่งของชุมชนคิบบุตซ์ นอกจากนี้ชุมชนยังสร้างรายได้จากการทำอุตสาหกรรม ตลอดจนถึงการพัฒนางานด้านเทคโนโลยีขั้นสูง คิบบุทซ์เป็นประสมประสานระหว่างสังคมนิยมและยิวชาตินิยม (Socialism and Zionism) โดยหวังให้ชุมชนนี้เป็นชุมชนในอุดมคติ
กลับมาที่เพลงเจ้านกน้อยของเรา ซึ่งบางครั้งเพลงนี้ถูกเรียกว่าเพลงแรงงานชาวอิสราเอล (Israeli Work Song) ไม่มีใครทราบว่าใครเป็นผู้แต่ง ถูกเผยแพร่ในอเมริกาเป็นครั้งแรกในปี 1939 โดย Hebrew Publishing Company สำนักพิมพ์ที่ผลิตสื่อเกี่ยวกับศาสนายูดาย เช่น หนังสือสวดมนต์ และงานเชิงศาสนา ว่ากันว่าเพลง Zum Gali Gali เป็นหนึ่งในเพลงที่ฮิตกันในหมู่ชาวอเมริกันเชื้อสายยิว
ถ้าเรามาดูที่เนื้อเพลง จะพบว่าเนื้อหาของเพลง Zum Gali Gali ไม่มีการพูดถึงนก หรือการเหินเวหาอะไรทั้งนั้น ท่อนเดิมของเพลงนั้นเป็นภาษาฮีบรู แบ่งเป็นสองท่อน ขับร้องด้วยทำนองเพลงที่เรารู้กันว่า
“Hechalutz lema'an avodah,
Avodah lema'an hechalutz”
“Pioneers all work as one,
Work as one all pioneers.
Peace shall be for all the world,
All the world shall be for peace.”
Avodah lema'an hechalutz”
“Pioneers all work as one,
Work as one all pioneers.
Peace shall be for all the world,
All the world shall be for peace.”

ท่อนที่สองขับร้องว่า
เนื้อเพลงที่แปลเป็นภาษาอังกฤษเป็นการพูดการทำงานเป็นหนึ่งอันเดียวกันเพื่อความสงบสุขของโลก จากพระอาทิตย์ขึ้นจนพระอาทิตย์ตก จากพระอาทิตย์ขึ้นยันราตรีมาเยือน ทุกๆ คนล้วนมีการงานให้ทำ ทั้งหมดฟังดูรวมๆ แล้วราวกับเพลงที่ทาสผิวดำมักร้องกันระหว่างการทำงาน เป็นไปได้ว่าวัตถุประสงค์ของเพลงเหล่านี้คือการให้กำลังใจตัวเอง หรือเป็นการสร้างขวัญกำลังใจให้กันชาวแรงงาน ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าแปลกใจดีกับการที่ชาวไทยนำเพลงมาแปลงเนื้อหาให้กลายเป็นเพลงที่ฟังดูน่ารักสดใส
อย่างไรก็ตาม ไม่มีใครรู้ที่มาว่าชาวไทยไปเอาเพลงเขามาแปลงกันตอนไหน หรือเกิดขึ้นในช่วงใด แต่ที่แน่ๆ ท่อนร้อง “Zum Gali Gali Gali Zum” หรือ “สุ่มกาลิกาลิกาลีสุ่ม” ยังคงเป็นท่อนที่ไม่มีความหมายอะไร แม้แต่ในเพลงต้นฉบับเดิม
“Hashalom lema'an ha'amim,
Ha'amim lema'an hashalom”
“From the dawn till setting sun
Every one finds work to be done.
From the dawn till night does come
There's a task for everyone.”
Ha'amim lema'an hashalom”
“From the dawn till setting sun
Every one finds work to be done.
From the dawn till night does come
There's a task for everyone.”
เนื้อเพลงที่แปลเป็นภาษาอังกฤษเป็นการพูดการทำงานเป็นหนึ่งอันเดียวกันเพื่อความสงบสุขของโลก จากพระอาทิตย์ขึ้นจนพระอาทิตย์ตก จากพระอาทิตย์ขึ้นยันราตรีมาเยือน ทุกๆ คนล้วนมีการงานให้ทำ ทั้งหมดฟังดูรวมๆ แล้วราวกับเพลงที่ทาสผิวดำมักร้องกันระหว่างการทำงาน เป็นไปได้ว่าวัตถุประสงค์ของเพลงเหล่านี้คือการให้กำลังใจตัวเอง หรือเป็นการสร้างขวัญกำลังใจให้กันชาวแรงงาน ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าแปลกใจดีกับการที่ชาวไทยนำเพลงมาแปลงเนื้อหาให้กลายเป็นเพลงที่ฟังดูน่ารักสดใส
อย่างไรก็ตาม ไม่มีใครรู้ที่มาว่าชาวไทยไปเอาเพลงเขามาแปลงกันตอนไหน หรือเกิดขึ้นในช่วงใด แต่ที่แน่ๆ ท่อนร้อง “Zum Gali Gali Gali Zum” หรือ “สุ่มกาลิกาลิกาลีสุ่ม” ยังคงเป็นท่อนที่ไม่มีความหมายอะไร แม้แต่ในเพลงต้นฉบับเดิม