สี่พยานผู้เชี่ยวชาญ คดีพรรคก้าวไกล ล้มล้างฯ

1 ก.พ. 2567 - 08:25

  • 4 พยานนักวิชาการ และผู้เชี่ยวชาญ ที่ศาลรัฐธรรมนูญเชิญมาให้การ

  • ความเห็นของทั้ง 4 เป็นเพียงข้อมูลประกอบการพิจารณาเท่านั้น

  • การตัดสิน คือเป็นดุลพินิจของตุลาการแต่ละคน

economy-พิพากษาก้าวไกล-SPACEBAR-Hero.jpg

การพิจารณาคดีในศาลรัฐธรรมนูญ ไม่เหมือนศาลยุติธรรม

ศาลยุติธรรมใช้ระบบกล่าวหา โจทก์มีหน้าที่พิสูจน์ว่าจำเลยทำผิดอย่างไร  จำเลยต้องหักล้าง โต้แย้ง ข้อกล่าวหา ศาลนั่งฟัง ควบคุมให้การสืบพยาน หลักฐาน ถูกต้อง เรียบร้อย และตัดสินเท่านั้น  ไม่มีอำนาจไต่สวนพยาน และแสวงหาพยาน หลักฐานเอง

ศาลรัฐธรรมนูญใช้ระบบไต่สวน มีอำนาจค้นหาความจริงไม่ว่าจะเป็นคุณหรือโทษแก่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้ และการวินิจฉัยปัญหาข้อเท็จจริงให้ศาลรับฟังพยานหลักฐานได้ทุกประการ ไม่จำกัดเฉพาะพยานที่ผู้ร้อง และผู้ถูกร้องเสนอ ถ้าสงสัย ไม่เคลียร์เรื่องใด มีอำนาจเรียกผู้รู้ ผู้เชี่ยวชาญมาให้การได้

คดีที่ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า การเสนอแก้ไขประมวล กฎหมายอาญา มาตรา 11  ของพรรคก้าวไกล เข้าข่ายล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข ศาลรัฐธรรมนูญ เรียกนักวิชาการ พยานผู้เชี่ยวชาญที่เป็นกลาง 4 ท่าน มาให้การคือ  

  1. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.รณกรณ์ บุญมี  
  2. ศาสตราจารย์กิตติคุณวิทิต มันตาภรณ์ 
  3. รองศาสตราจารย์ ดร.ภูริ ฟูวงศ์เจริญ 
  4. รองศาสตราจารย์ ดร.ศุภมิตร ปิติพัฒน์

ผศ.ดร.รณกรณ์ บุญมี  เป็นอาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์  เชี่ยวชาญด้านปรัชญาของกฎหมายอาญา  กฎหมายอาญาเปรียบเทียบ และกฎหมายสิทธิมนุษยชน จบการศีกษาปริญญาตรี โท และเอกจากคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ปริญญาโทด้านกฎหมายสิทธิมนุษยชน จากLondon School of Economics and Political Sciences และปริญญาเอก จากมหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์

economy-พิพากษาก้าวไกล-SPACEBAR-Photo02.jpg
Photo: ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.รณกรณ์ บุญมี 

ศ.กิตติคุณ วิทิต  มันตาภรณ์  เป็นศาตราจารย์กิตติคุณและศาสตราภิชาน คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นนักกฎหมายที่เชี่ยวชาญกฎหมายระหว่างประเทศ โดยเฉพาะเรื่องสิทธิมนุษยชน เป็นคนไทยคนที่สองที่ได้รับเครื่องราชอิสรยาภรณ์อันวิเศษยิ่งแห่งจักรวรรดิอังกฤษ จบการศึกษาด้านกฎหมาย ระดับปริญญาตรี และโท จากมหาวิทยาลัยอ๊อกซฟอร์ด เป็นกรรมการด้านสิทธิมนุษยชนของยูเอ็นหลายคณะ

economy-พิพากษาก้าวไกล-SPACEBAR-Photo03.jpg
Photo: ศาสตราจารย์กิตติคุณวิทิต มันตาภรณ์

รศ.ดร.ภูริ ฟูวงศ์เจริญ เป็นคณบดี คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นนักเรียนทุนอานันทมหิดล จบปริญญาตรี สาขาการเมืองการปกครอง จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ปริญญาโท และเอก จากมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์

economy-พิพากษาก้าวไกล-SPACEBAR-Photo01.jpg
Photo: รองศาสตราจารย์ ดร.ภูริ ฟูวงศ์เจริญ

รศ.ดร.ศุภมิตร ปิติพัฒน์ เป็นหัวหน้าภาควิชาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย จบการศึกษาปริญญาตรี และปริญญาเอกจากจุฬาฯ ปริญญาโทจาก American University

economy-พิพากษาก้าวไกล-SPACEBAR-Photo04.jpg
Photo: รองศาสตราจารย์ ดร.ศุภมิตร ปิติพัฒน์

ประมาณเดือนกรกฎาคม ปีที่แล้ว ช่วงที่พรรคก้าวไกลกำลังหาทางจัดตั้งรัฐบาลร่วมกับพรรคเพื่อไทยและพรรคอื่น ๆ อีก 6 พรรค เขาเคยโพสต์เฟซบุ๊ก แนะพรรคก้าวไกล ว่า  ให้รู้จักทำการเมืองให้เป็น การเมืองต้องถ้อยทีถ้อยอาศัย ประนีประนอมหาจุดประสาน แค่ปรับนโยบาย ไม่ถือว่าเสียจุดยืน ไปต่อได้ในฐานะร่วมรัฐบาล เป็นการพิสูจน์ให้เห็นว่า พรรคก้าวไกลสามารถทำงานร่วมกับฝ่ายอื่น ที่ปรารถนาดีต่อการปกครองในระบอบประชาธิปไตย เพื่อให้ตั้งมั่นได้อย่างมั่นคง ไม่เพิ่มปัจจัยเสี่ยงเข้าไปในระบบ ที่จะผลิตผลลัพธ์ อันไม่แน่นอน ตามมาอีกความเห็นของพยานผู้เชี่ยวชาญทั้ง 4ท่าน ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ จะเห็นด้วย คล้อยตาม นำไปประกอบการตัดสินใจ หรือแค่รับฟังเฉย ๆ เป็นดุลพินิจของตุลาการแต่ละคน

เรื่องเด่นประจำสัปดาห์