JOY LIFE: ปรับมายด์เซ็ตใหม่ ก่อนมะเร็งจะรุกราน หยุดเขินหมอ อย่าอายพยาบาล

2 ตุลาคม 2566 - 03:58

Change-mindset-cancer-in-women-SPACEBAR-Hero.jpg
  • จากข้อมูลของกระทรวงสาธารณสุขในปี 2565 โรคมะเร็งเต้านม และมะเร็งปากมดลูก เพียงโรคมะเร็งแค่ 2 ชนิดนี้ ก็คร่าชีวิตสาวไทยไปมากกว่า 51,515 ราย

  • การตรวจสุขภาพประจำปี เป็นสิ่งสำคัญ และสามารถเริ่มตรวจได้ตั้งแต่อายุ 9 ปีขึ้นไป ทั้งชายและหญิง เพื่อป้องกันการเกิดโรคด้วย

  • การดูแลสุขภาพทั้งร่างกายและจิตใจของผู้หญิงตั้งแต่วัยเด็ก วัยผู้ใหญ่ ตลอดไปจนถึงวัยหมดประจำเดือน ซึ่งไม่เพียงช่วยให้มีสุขภาพดีในระยะยาว แต่ยังช่วยป้องกันการเกิดโรคได้ด้วย โดยวางแผนการดูแลสุขภาพตาม 3 ช่วงวัยหลัก

จากข้อมูลของกระทรวงสาธารณสุขปี 2565 พบว่า หนึ่งในสาเหตุการเสียชีวิตอันดับต้นๆ ของผู้หญิงไทยคือมะเร็ง ซึ่งสำหรับโรคมะเร็งในผู้หญิงนั้น หญิงไทยมีอาการป่วยด้วยโรคมะเร็งเต้านมมากที่สุด โดยในปี 2565 มีจำนวน 38,559 ราย 

แต่ก็ไม่ใช่ว่ามะเร็งอื่นๆ จะมีจำนวนน้อย เพราะโรคมะเร็งที่มีจำนวนรองลงมาคือ มะเร็งปากมดลูก ซึ่งมีจำนวน 12,956 ราย ในปี 2565  

เมื่อตรวจสอบแล้วนั้น เพียงโรคมะเร็งแค่ 2 ชนิด ในปี 2565 ก็คร่าชีวิตสาวไทยไปมากกว่า 51,515 รายเลยทีเดียว และมะเร็งก็นับเป็นภัยเงียบที่ถ้าหากไม่ตรวจตั้งแต่เนิ่นๆ ก็อาจจะไม่รู้ตัว เนื่องจากในระยะแรกมักจะไม่แสดงอาการ ไม่เจ็บ ไม่ปวด และอาจจะเสียชีวิตได้ในที่สุด  

การดูแลสุขภาพทั้งร่างกายและจิตใจของผู้หญิงตั้งแต่วัยเด็ก วัยผู้ใหญ่ ตลอดไปจนถึงวัยหมดประจำเดือน ซึ่งไม่เพียงช่วยให้มีสุขภาพดีในระยะยาว แต่ยังช่วยป้องกันการเกิดโรคได้ด้วย โดยวางแผนการดูแลสุขภาพตาม 3 ช่วงวัยหลัก 

  1. วัยเด็กก่อนมีประจำเดือน แนะนำให้กินอาหารครบ 5 หมู่ ออกกำลังกายสม่ำเสมอเสริมสร้างพัฒนาการให้เหมาะสมแต่ละช่วงวัย นอกจากนี้ยังแนะนำให้รับวัคซีนที่เด็กไทยควรได้รับตามคำแนะนำของแพทย์  โดยเฉพาะวัคซีน HPV เพื่อป้องกันมะเร็งที่เกิดจากเชื้อHPV เช่นมะเร็งปากมดลูก มะเร็งช่องคลอด มะเร็งทวารหนัก มะเร็งในช่องปากและลำคอ ซึ่งฉีดได้ทั้งเด็กหญิงและชายตั้งแต่อายุ 9 ปีขึ้นไป เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันได้อย่างมีประสิทธิภาพที่สุด  

  2. วัยเจริญพันธุ์ หรือวัยที่มีประจำเดือนแล้ว เมื่อถึงวันอันสมควรแนะนำให้ตรวจภายใน ตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกและคัดกรองมะเร็งเต้านมอย่างสม่ำเสมอ ที่สำคัญควรสังเกตความผิดปกติในร่างกาย หากพบความผิดปกติควรปรึกษาแพทย์ทันที  

  3. วัยหมดประจำเดือน วัยนี้ต้องตรวจสุขภาพทุกปี รวมถึงตรวจภายในอย่างสม่ำเสมอ ที่สำคัญควรสังเกตสัญญาณเตือนก่อนวัยทอง อาทิ ประจำเดือนมาไม่สม่ำเสมอ หงุดหงิดง่าย ร้อนวูบวาบ หมดอารมณ์ทางเพศ เป็นต้น 

จากทั้งหมดทั้งมวลที่กล่าวในบทความนั้น สรุปได้ว่า ไม่ว่าจะเป็นเพศไหน ทั้งชายและหญิง การเลือกฉีด วัคซีน HPV เป็นสิ่งสำคัญ ทั้งป้องกันการรับเชื้อและการนำเชื้อไปสู่ผู้อื่นด้วย โดยเริ่มได้ตั้งแต่วัย 9 ปีเป็นต้นไป 

อย่าอายที่จะเข้าพบหมอ เพราะสุดท้าย การตรวจสุขภาพที่เกิดขึ้นนั้น ก็เพื่อให้รู้เท่าทันตนเอง บอกเล่าให้คนใกล้ตัวเข้าใจ และรับมือกับความเปลี่ยนแปลงทางร่างกายและจิตใจไปด้วยกัน  

หยุดฟังความจากคนอื่นต้องไปลองเอง เตียงขาหยั่ง และคีมปากเป็ด ไม่ใช่สิ่งน่ากลัว เพราะทีมแพทย์สมัยใหม่ จะมีตัวช่วยให้เราเจ็บน้อยลง สิ่งนั้นมีชื่อเรียกว่า “เจลหล่อลื่น”

เรื่องเด่นประจำสัปดาห์