JOY LIFE: มานอนกลางวันกันเถอะ! ผลวิจัยชี้ตัวโตๆ นอนกลางวันช่วยให้สมองทำงานได้ดีขึ้น

27 ก.ค. 2566 - 08:01

  • การวิจัยก่อนหน้านี้แสดงให้เห็นว่าการงีบหลับมากเกินไปอาจเป็นอันตรายได้

  • จากการศึกษาครั้งใหม่พบว่า การงีบหลับตอนกลางวันอาจช่วยรักษาสุขภาพสมองเมื่อเราอายุมากขึ้น

Daytime-naps-good-for-brains-SPACEBAR-Thumbnail
ก่อนหน้านี้ หลายคนอาจจะเคยได้ยินมาว่า การงีบหลับมากเกินไป อาจจะเป็นอันตรายของสมองและสุขภาพได้ แต่ดูเหมือนว่า ผลวิจัยครั้งใหม่ ได้ชี้ให้เห็นว่า การงีบหลับตอนกลางวัน อาจจะช่วยรักษาสุขภาพสมองในช่วงที่เรามีอายุได้มากขึ้นนะ 

การวิจัยก่อนหน้านี้แสดงให้เห็นว่าการงีบหลับบ่อยหรืองีบหลับเป็นประจำเป็นระยะเวลานานในระหว่างวันอาจเป็นสัญญาณของภาวะสมองเสื่อมในระยะเริ่มต้นในผู้สูงอายุ 

ผู้สูงอายุที่งีบหลับอย่างน้อยวันละครั้งหรือมากกว่าหนึ่งชั่วโมงต่อวันมีแนวโน้มที่จะเป็นโรคอัลไซเมอร์มากกว่าผู้ที่ไม่ได้งีบหลับทุกวันหรืองีบหลับน้อยกว่าหนึ่งชั่วโมงถึง 40% ตามการศึกษาที่ตีพิมพ์ใน Alzheimer’s and Dementia: The Journal of the Alzheimer’s Association ในเดือนมีนาคม 2022 และในเดือนกรกฎาคม 2022 การศึกษาพบว่าผู้ที่งีบหลับบ่อยๆ มีโอกาสเกิดโรคความดันโลหิตสูงและโรคหลอดเลือดสมองได้มากกว่าด้วย จากการศึกษาพบว่า ผู้ที่มักจะงีบหลับในระหว่างวันมีแนวโน้มที่จะเป็นโรคความดันโลหิตสูง 12% และมีแนวโน้มที่จะเป็นโรคหลอดเลือดสมองเพิ่มขึ้น 24% เมื่อเทียบกับผู้ที่ไม่เคยงีบหลับ 

ความผิดปกติของการนอนหลับมันเชื่อมโยงกับการเพิ่มขึ้นของความเครียดและฮอร์โมนควบคุมน้ำหนัก ซึ่งอาจนำไปสู่โรคอ้วน ความดันโลหิตสูง เบาหวานชนิดที่ 2 ซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงทั้งหมดสำหรับโรคหัวใจ และการงีบหลับเป็นสัญญาณเตือนถึงความผิดปกติของการนอนหลับในบางคนด้วย 

แต่ตามรายงานของนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยคอลเลจลอนดอน (UCL) และมหาวิทยาลัยแห่งสาธารณรัฐอุรุกวัย ระบุว่า การงีบหลับสามารถช่วยลดความเสี่ยงของภาวะสมองเสื่อมและโรคอื่นๆ ที่จะตามมาในช่วงที่อายุมากขึ้นได้ ซึ่งโดยเฉลี่ยแล้ว ความแตกต่างของการทำงานของสมองระหว่างผู้ที่งีบหลับและไม่งีบหลับเท่ากับอายุ 2.5 ถึง 6.5 ปี 

จากผลการวิจัยของ วิตอเรีย การ์ฟีลด์ (Victoria Garfield) นักวิจัยอาวุโสของ UCL ได้ระบุว่า การงีบหลับในเวลาสั้นๆ สำหรับบางคนอาจจะช่วยรักษาสุขภาพสมองเมื่อเรามีอายุมากขึ้น ในผลการวิจัยชี้ว่า ความสามารถในการทำงานของสมองมีเพิ่มขึ้นเล็กน้อยแต่มีข้อจำกัดบางประการสำหรับผู้ที่มีลักษณะทางพันธุกรรมที่เกี่ยวข้องกับการงีบหลับตอนกลางวัน ซึ่งการศึกษานี้ก็น่าสนใจเพราะเป็นการเพิ่มข้อมูลที่บ่งชี้ว่าการนอนหลับมีความสำคัญต่อสุขภาพของสมอง และการงีบหลับสั้นๆ (5 ถึง 15 นาที) ในช่วงบ่ายอาจเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่ต้องการด้วย 

เรื่องเด่นประจำสัปดาห์