JOY LIFE: นอนตกเหว สัญญาณบ่งบอกถึงความเครียดสะสมที่ไม่รู้ตัว

7 เม.ย. 2566 - 05:55

  • อาการนอนกระตุก หรือ นอนตกเหว ยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด แต่ส่วนใหญ่มักสันนิษฐานว่าอาจเกิดจากความเครียดที่สะสม และโรคบางชนิด

JOY-LIFE-Hypnic-Jerks-SPACEBAR-Thumbnail
หลายคนกำลังเกิดความสงสัย ถึงแม้ว่าอาจจะมองว่ามันเป็นเรื่องปกติ และบางคนอาจจะมองว่าอาจจะเป็นความฝัน แต่การนอนกระตุก หรือ อาการนอนตกเหว หรือมีความรู้สึกว่าตกจากที่สูง แท้จริงแล้วเป็นสัญญาณบ่งบอกสุขภาพที่กำลังจะเป็นปัญหาในอนาคต 

อาการนอนกระตุก หรือทางการแพทย์เรียกว่า Hypnic Jerks เป็นอาการที่ยังหาสาเหตุที่แน่ชัดยังไม่ได้ แต่ส่วนใหญ่มักสันนิษฐานว่า อาจจะเกิดจากการออกกำลังกาย อาหาร โรคประจำตัว และยาบางชนิด รวมไปถึงภาวะเอฟเฟกต์จากการได้รับยาต้านซึมเศร้า  

จากข้อสันนิษฐานจาก Dr.Michael Breus ผู้เชี่ยวชาญด้านการนอนหลับ ได้บอกไว้ว่า อาการ Hypnic Jerks อาจเกิดจากการที่สมองของเรามีการสื่อสารผิดพลาด คือในขณะที่กล้ามเนื้ออยู่ในภาวะผ่อนคลายพร้อมๆ กัน สมองกลับเข้าใจผิดคิดว่าร่างกายกำลังอ่อนแรงทั้งขาและแขน จึงสั่งกลไกของร่างกายให้ทำการป้องกันตัว โดยกระตุ้นให้กล้ามเนื้อเกร็งตัวและกระตุกอย่างรวดเร็ว

ในส่วนของปัจจัยที่อาจจะไม่กระตุ้นให้เกิดอาการนอนกระตุกได้ ประกอบด้วย 

  • ความเครียดและวิตกกังวล 
อารมณ์ทางลบ ไม่ว่าจะเป็นความเครียด ความรู้สึกวิตกกังวล หรือความเศร้า อาจส่งผลต่อการทำงานของสมองจนกระตุ้นให้สมองและร่างกายตื่นตัวเพื่อรับมือกับสิ่งที่กำลังกังวล จึงทำให้ร่างกายเกิดการกระตุกแบบฉับพลัน
 
  • การออกกำลังกาย 
การออกกำลังกายจะส่งผลให้กล้ามเนื้อและสมองทำงานเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะการออกกำลังกายในช่วงค่ำหรือใกล้เวลานอนหลับ ซึ่งทั้งกล้ามเนื้อและสมองอาจทำงานต่อเนื่องหลังหยุดออกกำลังกายไปหลายชั่วโมง จึงอาจทำให้เกิดการกระตุกของร่างกายระหว่างนอนหลับได้
 
  • คาเฟอีน 
อย่างที่ทราบกันดีว่าคาเฟอีนเป็นสารที่ทำให้ร่างกายและสมองเกิดการตื่นตัว ซึ่งในบางครั้งการรับประทานเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนสูงหรือการรับประทานใกล้เวลานอนจะทำให้คาเฟอีนยังคงหลงเหลืออยู่ในร่างกาย จึงอาจไปกระตุ้นการทำงานของระบบประสาทระหว่างนอนหลับและเกิดอาการนอนกระตุกตามมา
 
  • บุหรี่ 
ในบุหรี่นั้นมีสารอย่างนิโคตินที่ทำหน้าที่เป็นสารกระตุ้น โดยนิโคตินจะออกฤทธิ์การเพิ่มการทำงานของสมองจึงทำให้เกิดร่างกายเกิดอาการกระตุกขึ้นมา
 
  • ยาคลายเครียดบางชนิด 
จากการศึกษาชิ้นหนึ่งพบว่ายาเอสซิตาโลแพรม (Escitalopram) ที่เป็นยารักษาภาวะวิตกกังวลและภาวะซึมเศร้าอาจมีส่วนทำให้เกิดการกระตุกของร่างกายขณะนอนหลับ เนื่องจากเป็นยาที่ส่งผลต่อการทำงานของสารเคมีในสมอง 

ในส่วนของวิธีการรับมือจากอาการนอนกระตุก มีดังนี้ 

เปลี่ยนเวลาในการออกกำลังกายไม่ให้ใกล้เวลานอนมากเกินไป 
  • ลดปริมาณคาเฟอีนและงดคาเฟอีนในช่วงบ่ายไปจนถึงก่อนนอน 
  • งดสูบบุหรี่และสารกระตุ้นอื่นๆ อย่างเครื่องดื่มชูกำลัง 
  • งดเล่นเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์ อย่างสมาร์ทโฟน แท็บเล็ต และคอมพิวเตอร์ก่อนเข้านอนอย่างน้อย 30 นาที 
  • ทำกิจกรรมผ่อนคลายเบา ๆ ก่อนนอน เช่น นั่งสมาธิ อ่านหนังสือเพื่อลดความเครียดและความกังวล 
  • หากคาดว่าอาการดังกล่าวมีสาเหตุมาจากยาที่ใช้ ควรปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับยาที่ใช้อยู่ 
ทั้งนี้ทั้งนั้น หากทำตามวิธีการจับมือข้างต้นแล้ว แต่ยังมีอาการหรืออาการยังไม่ลดลง หรือมีความรุนแรงจนกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน ควรรีบปรึกษาแพทย์เฉพาะทาง เพื่อรับการรักษาอย่างถูกต้องต่อไป 
https://images.ctfassets.net/i3o8p9lzd06f/7o7wXYbOGimmy6W1ecNkFM/2680aa2a9d052b61670135d5d09412ec/JOY-LIFE-Hypnic-Jerks-SPACEBAR-Photo01

เรื่องเด่นประจำสัปดาห์