JOY LIFE: กระวนกระวาย ร้อนใจ รู้สึกขาดที่พึ่ง เมื่อไม่ได้จับโทรศัพท์มือถือ มันไม่ใช่เรื่องปกติ!

4 ส.ค. 2566 - 08:27

  • สำรวจตัวเองก่อนจะสาย กลายเป็น โรคขาดมือถือไม่ได้ หรือ Nomophobia แล้วหรือยัง? อยู่ได้ไหมถ้าไม่มีโทรศัพท์มือถือ

JOY-LIFE-Nomophopia-SPACEBAR-Thumbnail
โลกของเราตอนนี้ นับว่าเข้าสู่โลกของยุคดิจิทัลเต็มตัวแล้ว มองไปทางไหน ก็จะมีอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์คอนอำนวยความสะดวกอยู่ทั่วไปหมด ยังไม่รวมไปถึงในตอนนี้ ที่กำลังมีการพัฒนาระบบ AI หรือระบบปัญญาประดิษฐ์ ให้มีความฉลาดและตอบสนองการใช้แบบร้อยเปอร์เซ็นต์ ที่สามารถคิดและตัดสินแทนคนได้ และคาดว่าจะมีให้ใช้ในไม่ช้านี้ แบบสมบูรณ์แบบ 

และแน่นอน เมื่อพูดถึงโลกดิจิทัล หลายๆ คนนึกถึงโลกออนไลน์ที่ผู้คนมากมาย ได้ในโลกออนไลน์เป็นอีกหนึ่งกลุ่มสังคมที่ไม่เห็นหน้า หรือตัวตน เพื่อพูดคุย แลกเปลี่ยนความคิดเห็น เมคเฟรน รวมถึงตามหัวใจกันในโลกออนไลน์ด้วย 

ซึ่งสังคมในโลกออนไลน์ หรือ ที่เรียกกัน โซเชียลเน็ตเวิร์กนั้น กำลังทำให้ใครหลายคน กลายเป็นโรคขาดโทรศัพท์ไม่ได้ หรือในทางการแพทย์เรียกว่า Nomophobia ซึ่งมาจากคำว่า No Mobile ที่แปลว่า ไม่มีโทรศัพท์ และ Phobia ที่แปลว่าโรคกลัวนั่นเอง 

แต่แท้จริงแล้ว โรค Nomophobia นั้นไม่ได้จัดอยู่ในโรคกลัวอย่างที่ใครๆ เข้าใจ แต่จัดเป็นกลุ่มอาการความผิดปกติทางกับจิตใจและอารมณ์รูปแบบหนึ่ง ที่สามารถพบได้ในคนทุกเพศทุกวัยนั่นเอง สำรวจง่ายๆ คือ หากรู้สึกว่าการหยุดใช้โทรศัพท์มือถือเป็นเรื่องยากหรือก่อให้เกิดความกังวลใจ นั่นก็เตรียมเข้าพบแพทย์ได้เลย 

ซึ่งพฤติกรรมเบื้องต้นของผู้ที่จะเป็น Nomophobia นั่นประกอบด้วย  
  • นำโทรศัพท์มือถือมาไว้ใกล้ตัวตลอดเวลาตั้งแต่เวลาตื่นจนถึงเวลานอน 
  • ใช้เวลาไปกับการเล่นโทรศัพท์มือถือหลายชั่วโมงต่อวัน พกโทรศัพท์มือถือติดตัวอยู่ตลอดแม้กระทั่งตอนเข้าห้องน้ำหรือขณะอาบน้ำ 
  • หากไม่มีโทรศัพท์มือถือจะเกิดความรู้สึกไร้ที่พึ่ง  
  • เช็กโทรศัพท์หลายครั้งต่อวันหรืออย่างสม่ำเสมอว่ามือถือยังทำงานได้ปกติและไม่พลาดการแจ้งเตือนต่างๆ 
ซึ่งพฤติกรรมเหล่านี้จะก่อให้เกิดความกังวลและส่งผลต่อสภาพทางจิตใจด้วย ซึ่งหลายคนก็จะเกิดความรู้สึกวิตกกังวล โกรธ ตื่นตกใจ หวาดกลัว บางคนอาจรู้สึกขาดที่พึ่ง กระวนกระวายและร้อนรนเมื่อต้องหยุดใช้โทรศัพท์มือถือหรือเมื่อรู้ว่าจะไม่สามารถใช้โทรศัพท์มือถือได้ในช่วงเวลาใดช่วงเวลาหนึ่ง รวมถึงความมั่นใจในตนเองลดลง รู้สึกเหงา ไม่ปลอดภัยและอาจแยกตัวจากสังคม 

สำหรับการรักษาอาการและพฤติกรรมที่กำลังเป็น สามารถทำได้ด้วยตัวเอง แต่ถ้าหากคิดว่า ไม่สามารถยับยั้ง และช่วยตัวเองให้หลุดพ้นจากการติดโทรศัพท์มือถือได้ การพบแพทย์เพื่อรับการบำบัดหรือใช้ยา ก็เป็นอีกวิธีที่เหมาะสม  

ส่วนใครที่คิดว่า ตัวเองเข้าข่ายเป็น Nomophobia แน่ๆ อยากจะทดลองควบคุมและปรับพฤติกรรมตัวเองก่อนก็สามารถทำได้ดังนี้  
  • หยุดใช้โทรศัพท์มือถือเป็นเวลาสั้นๆ โดยอาจลองไม่พกโทรศัพท์มือถือติดตัวเมื่อออกจากบ้านไปซื้อของในร้านชำหรือเดินเล่นนอกบ้าน 
  • จำกัดเวลาการใช้เทคโนโลยีในแต่ละวัน สร้างวินัยในการใช้มือถือ จัดสรรเวลาการใช้มือถือติดต่อกับคนอื่นหรือการทำกิจกรรมต่างๆ เท่าที่จำเป็น ลองหาเวลาทำกิจกรรมอื่นที่ไม่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยี เช่น การเดินเล่น อ่านหนังสือ หรือนั่งเฉยๆ เป็นต้น 
  • พักผ่อนอย่างเพียงพอ ปิดหรือไม่ใช้โทรศัพท์มือถือในตอนกลางคืน หากจำเป็นต้องใช้โทรศัพท์มือถือเพื่อตั้งนาฬิกาปลุก ควรวางมือถือไว้ห่างตัวในระยะที่ไม่สามารถหยิบมาเล่นได้ 
  • แบ่งเวลาและหยุดการใช้โทรศัพท์มือถือระหว่างวัน เพื่อเพิ่มการสนทนาแบบตัวต่อตัวให้มากขึ้น  
  • สร้างปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคลใกล้ตัวและกระตุ้นผู้คนรอบข้างให้ใช้เวลาร่วมกัน เช่น การพูดคุยกับเพื่อนร่วมงาน เพื่อนบ้าน เป็นต้น 
นอกจากปัญหาที่จะเกิดขึ้นกับสุขภาพจิตแล้ว การติดโทรศัพท์อาจจะมีปัญหากับสุขภาพกายด้วย ทั้งพักผ่อนไม่เพียงพอ นอนไม่หลับ น้ำหนักตัวลดลงหรือเพิ่มขึ้น แน่นหน้าอก ไม่สามารถหายใจได้ตามปกติ มีอาการสั่น เหงื่อออกมาก หัวใจเต้นเร็ว รู้สึกหน้ามืด วิงเวียนหรือสับสน รวมไปถึงปัญหาภายนอกอย่าง สายตาสั้นลงเพราะแสงสีฟ้าจากหน้าจอ รวมไปถึงการล็อกตามข้อนิ้วมือด้วย ทั้งนี้หากมีอาการควรเข้าพบแพทย์เพื่อรักษาให้ไวที่สุด 

เรื่องเด่นประจำสัปดาห์