หลายคนกำลังมีพฤติกรรมที่ชอบดึงผมหรือขนบนร่างกายของตัวเองโดยที่รู้ตัวเองดี และไม่รู้ตัว แต่กระนั้นก็ยังมีคำบ่นติดปากอยู่เสมอว่าผมบาง จนทำให้เกิดความรู้สึกละอายใจและมีความนับถือตนเองต่ำลง
ซึ่งพฤติกรรมเหล่านี้ มีชื่อเรียกว่า ทริกโคทิลโลแมเนีย (Trichotillomania) หรือโรคดึงผมตัวเอง จัดเป็นโรคที่มีความผิดปกติทางจิตเวชในกลุ่มโรคย้ำคิดย้ำทำ โดยอาการหลักของผู้ป่วย คือ พฤติกรรมดึงผม หรือขนตามบริเวณต่างๆ เช่น คิ้ว ขนตาของตนเอง รวมถึงขนบริเวณอวัยวะเพศ เป็นประจำทำให้ผมหรือขนในบริเวณนั้นบางลง หรือแหว่งหายไปเป็นหย่อมๆ และวิธีการของแต่ละคนอาจมีความแตกต่างกัน บางรายอาจใช้มือม้วนผมแล้วดึง ใช้ฟันกัดดึงผม เคี้ยวผม หรือกลืนเส้นผมเข้าไปด้วย
ซึ่งโรคดึงผมตัวเองนี้ แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่รู้ตัวขณะดึงผม เนื่องจากการดึงผมทำให้ผ่อนคลาย หรือทำให้ความเครียด ความกังวลลดลง และกลุ่มที่ดึงผมโดยไม่รู้ตัว ขณะกำลังทำกิจกรรมอื่น และผู้ป่วยโรคนี้ พบได้ 0.5-2% ของประชากรทั้งหมด ส่วนใหญ่พบในวัยรุ่นจนถึงวัยผู้ใหญ่ตอนต้น แต่ในวัยเด็กก็สามารถพบได้เช่นกัน
ภาวะแทรกซ้อนที่ตามมา คือ ผู้ป่วยจะพยายามหลีกเลี่ยงการพบปะผู้คน เพื่อปกปิดบริเวณที่ผมหรือขนหายไป อาจมีการติดเชื้อที่ผิวหนังบริเวณที่ดึง และอาจสูญเสียผมหรือขนบริเวณนั้นอย่างถาวร ซึ่งมักทำให้เกิดปัญหาเกี่ยวกับภาพลักษณ์และความพึงพอใจในตนเอง รวมทั้งอาจส่งผลต่อหน้าที่การงานหรือความสัมพันธ์กับคนอื่นด้วย
สำหรับผู้ป่วยที่ใช้ฟันกัดดึงผม เคี้ยวผม หรือกลืนเส้นผมเข้าไปในร่างกายจำนวนมาก อาจทำให้เกิดภาวะขาดสารอาหารได้ หรืออาจจะทำให้เกิดภาวะลำไส้อุดตัน เนื่องจากขนสะสมรวมกันจนเป็นก้อนอยู่บริเวณกระเพาะอาหารหรือลำไส้ อาจมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง มีเลือดออกผิดปกติ หรือมีปัญหาเกี่ยวกับระบบทางเดินอาหาร
และสาเหตุที่เกิดพฤติกรรมนี้ ยังไม่มีการระบุที่แน่ชัด แต่คาดว่าเป็นผลมาจากปัจจัยในเรื่องความผิดปกติทางอารมณ์และจิตใจ เช่น ความเครียด ความวิตกกังวล โรคซึมเศร้า และโรคย้ำคิดย้ำทำ การไม่พึงพอใจในภาพลักษณ์ของตนเอง หรือความผิดปกติเกี่ยวกับการทำงานของสมองที่เชื่อมโยงระหว่างส่วนที่ควบคุมอารมณ์ การเคลื่อนไหว การสร้างนิสัย ความเคยชิน และความยับยั้งชั่งใจด้วย
ส่วนใหญ่ผู้ป่วยมักไม่ได้ไปรับการรักษากับจิตแพทย์ เนื่องจากรู้สึกอับอาย หรือคิดว่าเป็นเพียงนิสัยที่ไม่ดีที่ทำจนเคยชิน และคิดว่าตนเองไม่ได้ป่วยเป็นอะไร แต่ถ้าหากรู้ตัวและได้รับการรักษาอย่างเหมาะสมและต่อเนื่อง จะมีอาการที่ดีขึ้นและหายขาดจากโรคนี้ได้เช่นกัน
ซึ่งพฤติกรรมเหล่านี้ มีชื่อเรียกว่า ทริกโคทิลโลแมเนีย (Trichotillomania) หรือโรคดึงผมตัวเอง จัดเป็นโรคที่มีความผิดปกติทางจิตเวชในกลุ่มโรคย้ำคิดย้ำทำ โดยอาการหลักของผู้ป่วย คือ พฤติกรรมดึงผม หรือขนตามบริเวณต่างๆ เช่น คิ้ว ขนตาของตนเอง รวมถึงขนบริเวณอวัยวะเพศ เป็นประจำทำให้ผมหรือขนในบริเวณนั้นบางลง หรือแหว่งหายไปเป็นหย่อมๆ และวิธีการของแต่ละคนอาจมีความแตกต่างกัน บางรายอาจใช้มือม้วนผมแล้วดึง ใช้ฟันกัดดึงผม เคี้ยวผม หรือกลืนเส้นผมเข้าไปด้วย
ซึ่งโรคดึงผมตัวเองนี้ แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่รู้ตัวขณะดึงผม เนื่องจากการดึงผมทำให้ผ่อนคลาย หรือทำให้ความเครียด ความกังวลลดลง และกลุ่มที่ดึงผมโดยไม่รู้ตัว ขณะกำลังทำกิจกรรมอื่น และผู้ป่วยโรคนี้ พบได้ 0.5-2% ของประชากรทั้งหมด ส่วนใหญ่พบในวัยรุ่นจนถึงวัยผู้ใหญ่ตอนต้น แต่ในวัยเด็กก็สามารถพบได้เช่นกัน
ภาวะแทรกซ้อนที่ตามมา คือ ผู้ป่วยจะพยายามหลีกเลี่ยงการพบปะผู้คน เพื่อปกปิดบริเวณที่ผมหรือขนหายไป อาจมีการติดเชื้อที่ผิวหนังบริเวณที่ดึง และอาจสูญเสียผมหรือขนบริเวณนั้นอย่างถาวร ซึ่งมักทำให้เกิดปัญหาเกี่ยวกับภาพลักษณ์และความพึงพอใจในตนเอง รวมทั้งอาจส่งผลต่อหน้าที่การงานหรือความสัมพันธ์กับคนอื่นด้วย
สำหรับผู้ป่วยที่ใช้ฟันกัดดึงผม เคี้ยวผม หรือกลืนเส้นผมเข้าไปในร่างกายจำนวนมาก อาจทำให้เกิดภาวะขาดสารอาหารได้ หรืออาจจะทำให้เกิดภาวะลำไส้อุดตัน เนื่องจากขนสะสมรวมกันจนเป็นก้อนอยู่บริเวณกระเพาะอาหารหรือลำไส้ อาจมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง มีเลือดออกผิดปกติ หรือมีปัญหาเกี่ยวกับระบบทางเดินอาหาร
และสาเหตุที่เกิดพฤติกรรมนี้ ยังไม่มีการระบุที่แน่ชัด แต่คาดว่าเป็นผลมาจากปัจจัยในเรื่องความผิดปกติทางอารมณ์และจิตใจ เช่น ความเครียด ความวิตกกังวล โรคซึมเศร้า และโรคย้ำคิดย้ำทำ การไม่พึงพอใจในภาพลักษณ์ของตนเอง หรือความผิดปกติเกี่ยวกับการทำงานของสมองที่เชื่อมโยงระหว่างส่วนที่ควบคุมอารมณ์ การเคลื่อนไหว การสร้างนิสัย ความเคยชิน และความยับยั้งชั่งใจด้วย
ส่วนใหญ่ผู้ป่วยมักไม่ได้ไปรับการรักษากับจิตแพทย์ เนื่องจากรู้สึกอับอาย หรือคิดว่าเป็นเพียงนิสัยที่ไม่ดีที่ทำจนเคยชิน และคิดว่าตนเองไม่ได้ป่วยเป็นอะไร แต่ถ้าหากรู้ตัวและได้รับการรักษาอย่างเหมาะสมและต่อเนื่อง จะมีอาการที่ดีขึ้นและหายขาดจากโรคนี้ได้เช่นกัน