หลายคนมีความเข้าใจผิดๆ กับอาการของโรคฮิสทีเรีย ที่หลายคนเข้าใจว่า โรคฮิสทีเรียคือโรคขาดเซ็กซ์ไม่ได้ ขาดผู้ชายไม่ได้ แต่จริงๆ แล้ว โรคฮิสทีเรีย เป็นโรคทางจิตเวชประเภทหนึ่งที่เกิดขึ้นได้ทั้งกับผู้ชายและผู้หญิง และไม่ได้มีความเกี่ยวข้องกับความต้องการทางเพศ หรือการขาดผู้ชายไม่ได้แต่อย่างใด
มาทำความรู้จักกับโรคฮิสทีเรยกันก่อน โรคฮิสทีเรียเกิดจากความผิดปกติของบุคลิกภาพ จะมีการแสดงออกจากอารมณ์ และท่าทางมากกว่าปกติ เพื่อดึงดูดความสนใจของบุคคลรอบตัว ซึ่งผู้ป่วยโรคนี้ จะมีปัญหาด้านการควบคุมอารมณ์ หรือควบคุมความวิตกกังวลของตัวเองไม่ค่อยได้ รวมถึงความสามารถในการควบคุมพฤติกรรมของตนเองก็ทำได้ไม่ดีเท่าคนปกติเช่นกัน
โรคฮิสทีเรียแบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ โรคประสาทฮิสทีเรีย คืออาการของผู้ป่วยที่มีความขัดแย้งทางจิตใจ จะมีอาการก็ต่อเมื่อมีการขัดแย้งทางจิตใจอย่างรุนแรงจนส่งผลให้เกิดความผิดปกติในด้านการเคลื่อนไหว เช่น จู่ๆ ก็พูดไม่ได้ หรือมองไม่เห็น กล้ามเนื้ออ่อนแรง หรือสูญเสียความทรงจำ แต่เมื่อตรวจร่างกายแล้วกลับไม่เจออะไรที่ผิดปกติ เพราะนั่นเกิดจากจิตใจของผู้ป่วยเอง
และประเภทที่ 2 คือ โรคบุคลิกภาพแบบฮิสทีเรีย ซึ่งเป็นอาการที่หลายคนอาจจะเข้าใจผิดว่าเป็นโรคติดเซ็กซ์ และขาดผู้ชายไม่ได้ ซึ่งจริงๆ แล้ว ผู้ป่วยที่มีบุคลิกภาพแบบฮิสทีเรียส่วนใหญ่จะใช้ชีวิตได้อย่างปกติ และเข้าสังคมเก่ง แต่มักใช้ความสามารถนี้เรียกร้องความสนใจเพื่อให้ตนเองเป็นจุดเด่นนั่นเอง
โดยอาการของผู้ป่วยโรคบุคลิกภาพแบบฮิสทีเรียจะมีอาการดังต่อไปนี้
ซึ่งในส่วนของขั้นตอนการรักษาไม่ได้มีอะไรน่ากลัวอย่างที่คิด เพราะแพทย์จะใช้วิธีการจิตบำบัด ซึ่งเป็นการพูดคุยกับผู้ป่วยเพื่อหาสาเหตุของการแสดงพฤติกรรมผิดปกติ และช่วยปรับกระบวนการคิดและเรียนรู้ที่จะอยู่ร่วมกับผู้อื่นด้วยพฤติกรรมอันเหมาะสม
มาทำความรู้จักกับโรคฮิสทีเรยกันก่อน โรคฮิสทีเรียเกิดจากความผิดปกติของบุคลิกภาพ จะมีการแสดงออกจากอารมณ์ และท่าทางมากกว่าปกติ เพื่อดึงดูดความสนใจของบุคคลรอบตัว ซึ่งผู้ป่วยโรคนี้ จะมีปัญหาด้านการควบคุมอารมณ์ หรือควบคุมความวิตกกังวลของตัวเองไม่ค่อยได้ รวมถึงความสามารถในการควบคุมพฤติกรรมของตนเองก็ทำได้ไม่ดีเท่าคนปกติเช่นกัน
โรคฮิสทีเรียแบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ โรคประสาทฮิสทีเรีย คืออาการของผู้ป่วยที่มีความขัดแย้งทางจิตใจ จะมีอาการก็ต่อเมื่อมีการขัดแย้งทางจิตใจอย่างรุนแรงจนส่งผลให้เกิดความผิดปกติในด้านการเคลื่อนไหว เช่น จู่ๆ ก็พูดไม่ได้ หรือมองไม่เห็น กล้ามเนื้ออ่อนแรง หรือสูญเสียความทรงจำ แต่เมื่อตรวจร่างกายแล้วกลับไม่เจออะไรที่ผิดปกติ เพราะนั่นเกิดจากจิตใจของผู้ป่วยเอง
และประเภทที่ 2 คือ โรคบุคลิกภาพแบบฮิสทีเรีย ซึ่งเป็นอาการที่หลายคนอาจจะเข้าใจผิดว่าเป็นโรคติดเซ็กซ์ และขาดผู้ชายไม่ได้ ซึ่งจริงๆ แล้ว ผู้ป่วยที่มีบุคลิกภาพแบบฮิสทีเรียส่วนใหญ่จะใช้ชีวิตได้อย่างปกติ และเข้าสังคมเก่ง แต่มักใช้ความสามารถนี้เรียกร้องความสนใจเพื่อให้ตนเองเป็นจุดเด่นนั่นเอง
โดยอาการของผู้ป่วยโรคบุคลิกภาพแบบฮิสทีเรียจะมีอาการดังต่อไปนี้
- ต้องการเป็นจุดสนใจ รู้สึกอึดอัดและทนไม่ได้ หากไม่ได้รับความสนใจ และไม่ค่อยแสดงความห่วงใยหรือนึกถึงความรู้สึกของผู้อื่น
- อารมณ์แปรปรวน และไม่รู้จักควบคุมอารมณ์ ผู้ป่วยโรคนี้มักมีอารมณ์ไม่คงที่และแสดงความรู้สึกออกมาทันทีที่มีเรื่องกระทบจิตใจแม้เพียงเล็กน้อย เช่น ร้องไห้ทันทีเมื่อไม่สบายใจ รู้สึกโกรธมากกับเรื่องผิดพลาดเล็กๆ น้อยๆ เป็นต้น
- การแสดงออกดูเหมือนยั่วยวน พยายามเข้าหาผู้อื่น โดยเฉพาะเพศตรงข้าม ด้วยพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม และใช้ลักษณะภายนอกของตนเองดึงดูดความสนใจจากผู้อื่น เช่น ชอบแต่งตัวยั่วยวนเพื่อให้ตนเองเป็นจุดสนใจ
- แสดงอารมณ์ ลักษณะท่าทางและการพูดเกินจริง โดยอาจมีลักษณะท่าทางและการพูดเหมือนกำลังเล่นละคร
- คล้อยตามสถานการณ์หรือถูกผู้อื่นโน้มน้าวได้ง่าย
- แสดงออกถึงความสนิทสนมกับผู้อื่นมากเกินจริง คิดไปเองว่าสนิทสนมกับอีกฝ่าย ทั้งที่อีกฝ่ายอาจไม่ได้รู้สึกสนิทใจด้วย
- รู้สึกเบื่อหรือหงุดหงิดง่าย เช่น เบื่อหน่ายกิจวัตรประจำวัน อดทนทำสิ่งต่าง ๆ ให้สำเร็จเป็นชิ้นเป็นอันไม่ได้ เป็นต้น
- ด่วนตัดสินใจ ละเลยการไตร่ตรองเหตุผลอย่างรอบคอบ
- ไม่อาจรักษาความสัมพันธ์ให้ยืนยาว มักแสดงพฤติกรรมที่ดูไม่จริงใจ หรือมีความสัมพันธ์กับผู้อื่นเพียงผิวเผิน
- ขู่ว่าจะฆ่าตัวตายเพื่อเรียกร้องความสนใจจากผู้อื่น
- พันธุกรรม ผู้ที่บุคคลในครอบครัวมีบุคลิกภาพแบบฮิสทีเรียอาจเสี่ยงมีบุคลิกภาพเช่นเดียวกันนี้มากกว่าคนอื่นๆ
- การเรียนรู้ โดยเฉพาะเด็กที่สมาชิกในครอบครัวมีบุคลิกภาพแบบฮิสทีเรีย อาจเรียนรู้และเลียนแบบพฤติกรรมโดยไม่รู้ตัว
- ลักษณะการเลี้ยงดู เด็กที่เติบโตโดยไม่ได้รับการอบรมอย่างเหมาะสมหรือไม่ได้รับการดูแลเอาใจใส่เท่าที่ควร อาจเสี่ยงมีบุคลิกภาพแบบฮิสทีเรียได้ เช่น เด็กที่ไม่เคยถูกตักเตือนหรือลงโทษเมื่อทำผิด เด็กที่ไม่ได้รับการเอาใจใส่อย่างสม่่ำเสมอ เป็นต้น
- ปัจจัยส่วนบุคคล เช่น ลักษณะทางจิตวิทยา วิธีจัดการกับอารมณ์และความเครียดของแต่ละคน เป็นต้น
ซึ่งในส่วนของขั้นตอนการรักษาไม่ได้มีอะไรน่ากลัวอย่างที่คิด เพราะแพทย์จะใช้วิธีการจิตบำบัด ซึ่งเป็นการพูดคุยกับผู้ป่วยเพื่อหาสาเหตุของการแสดงพฤติกรรมผิดปกติ และช่วยปรับกระบวนการคิดและเรียนรู้ที่จะอยู่ร่วมกับผู้อื่นด้วยพฤติกรรมอันเหมาะสม
