‘ฉันไม่ผิด เธอต่างหากที่ผิด’
ประโยคยอดฮิตที่มักได้ยินจากปากของคนไม่รู้จักยอมรับผิด ในชีวิตของเรามักมีคนประเภทนี้ปะปนอยู่ด้วยเสมอ อาจมาในรูปแบบของคนสนิท เพื่อนร่วมงาน ญาติผู้ใหญ่ คนในครอบครัว คนที่เพิ่งคบหาดูใจ หรือแฟนที่สานสัมพันธ์กันมาเนิ่นนานก็เป็นได้
การไม่ยอมรับผิด เป็นหนึ่งในอาการของ โรคหลงตัวเอง หรือ Narcissistic Personality Disorder (NPD) ความผิดปกติทางจิตที่จะให้ความสนใจแต่ตัวเอง เห็นตัวเองเป็นศูนย์กลางของทุกสิ่ง ไม่ยอมรับในเหตุผล และคำพูดของคนอื่น ชอบเรียกร้องความสนใจและมีความสุขเมื่อคนอื่นให้ความสนใจตนเอง เพราะรู้สึกว่าตัวเองสำคัญที่สุด
ที่แย่ไปกว่านั้น คือคนประเภทนี้จะไม่รู้ว่าตัวเองมีอาการ หรือกำลังแสดงท่าทีที่ทำให้คนอื่นรู้สึกอึดอัดใจ พวกเขาจะพยายามแสดงให้เห็นถึงความเหนือกว่าในทุกๆ ด้าน ดูถูก ด้อยค่า และพร้อมจะโยนความผิดทุกอย่างมาให้ผู้อื่น
ลองคิดตามดูว่า หากคุณมีหัวหน้างานที่ไม่รู้จักขั้นตอนการทำงาน ขาดทักษะการสื่อสาร ดีแต่คอยโอ้อวดถึงความสามารถ และคิดว่าตัวเองเก่งที่สุด คุณจะสามารถอยู่ร่วมกับคนแบบนี้ได้หรือเปล่า?
ถึงแม้จะดูเป็นเรื่องน่าหงุดหงิดและอึดอัดใจ แต่โรคและอาการเหล่านี้ไม่ใช่สิ่งที่ใครสามารถเลือกที่จะเป็น หรือไม่เป็นได้
ที่แย่ไปกว่านั้น คือคนประเภทนี้จะไม่รู้ว่าตัวเองมีอาการ หรือกำลังแสดงท่าทีที่ทำให้คนอื่นรู้สึกอึดอัดใจ พวกเขาจะพยายามแสดงให้เห็นถึงความเหนือกว่าในทุกๆ ด้าน ดูถูก ด้อยค่า และพร้อมจะโยนความผิดทุกอย่างมาให้ผู้อื่น
ลองคิดตามดูว่า หากคุณมีหัวหน้างานที่ไม่รู้จักขั้นตอนการทำงาน ขาดทักษะการสื่อสาร ดีแต่คอยโอ้อวดถึงความสามารถ และคิดว่าตัวเองเก่งที่สุด คุณจะสามารถอยู่ร่วมกับคนแบบนี้ได้หรือเปล่า?
ถึงแม้จะดูเป็นเรื่องน่าหงุดหงิดและอึดอัดใจ แต่โรคและอาการเหล่านี้ไม่ใช่สิ่งที่ใครสามารถเลือกที่จะเป็น หรือไม่เป็นได้

นักวิจัยส่วนใหญ่เชื่อว่า NPD มีสาเหตุมาจากการกระทบกระเทือนทางจิตใจที่อาจได้รับจากสังคม ประสบการณ์ชีวิตในวัยเด็ก และพันธุกรรมที่ส่งต่อกันมาจากรุ่นสู่รุ่นในครอบครัว แต่ถึงอย่างนั้น สาเหตุส่วนใหญ่ที่พบจากผู้ป่วยในโรคนี้มักเกิดจากปัญหาที่เผชิญในวัยเด็ก อาจเกิดจากการถูกละเลยจากครอบครัวหรือได้รับความเอาใจใส่มากเกินไป ถูกเลือกปฏิบัติ และได้รับคำวิจารณ์บ่อยครั้งจากคนที่รัก โดยโรคหลงตัวเอง จะแบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ
1. คนหลงตัวเองที่เปราะบาง (Vulnerable Narcissist) ผู้ป่วยประเภทนี้จะมีความกังวลสูง ขาดความมั่นใจ และอ่อนไหวต่อคำวิจารณ์เป็นอย่างมาก จึงพยายามสร้างเรื่องโอ้อวด ทำตัวร้ายกาจเพื่อป้องกันตัวจากความเจ็บปวด
2. คนหลงตัวเองแบบยกตนให้ยิ่งใหญ่เหนือผู้อื่น (Grandiose Narcissist) แตกต่างจากผู้ป่วยประเภทแรก คนกลุ่มนี้กลับมีความรู้สึกนับถือและมั่นใจในตัวเองสูง พวกเขาจึงมักโอ้อวด พูดจาด้อยค่าผู้อื่น เพราะรู้สึกว่าตัวเองเหนือกว่าคนอื่น
อาจเป็นเรื่องยากหากจะหวังให้ผู้ป่วยโรคนี้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือรับรู้การกระทำร้ายกาจของตัวเองที่มักสร้างความรู้สึกแย่ให้กับผู้คนรอบข้าง เพราะ NPD เป็นอาการป่วยทางจิตที่ส่งผลให้เกิดอาการเหล่านี้ขึ้น และอาจเป็นเรื่องยิ่งใหญ่เกินไปหากจะขอให้เข้าใจผู้ป่วยกลุ่มนี้ เพราะปฏิเสธไม่ได้เลยว่าพฤติกรรมของพวกเขาสามารถทำให้คุณรู้สึกเจ็บแสบ อยากวิ่งหนีไปไกลๆ หรือมีเรื่องด้วยแน่ๆ แต่วิธีเดียวที่จะสามารถอยู่ร่วมกับคนประเภทนี้ได้ คือต้องรู้จักวิธีรับมือกับพวกเขา โดยใช้เทคนิควิธีสื่อสารเฉพาะ ที่เรียกว่า BIFF (Brief Informative Friendly และ Firm)
ในการสื่อสารกับกลุ่มคน NPD ควรหาวิธีพูดคุยให้สั้นกระชับ ได้ใจความสำคัญ ไม่เยิ่นเย้อ ให้ความรู้สึกเป็นมิตร และหนักแน่นเท่านั้น เพื่อรีบจบบทสนทนาและปิดช่องว่างในการถูกโจมตีจากทั้งพฤติกรรมและคำพูดของ NPD
หากเลือกได้คงไม่มีใครอยากเอาชีวิตไปยุ่งเกี่ยวกับบุคคลที่สร้างความ Toxic และให้ Negative Energy แต่หากเจอแล้วก็อยากให้คุณทำความเข้าใจ และหากคุณคือกลุ่มผู้ป่วยในโรคนี้ หรือมีอาการร่วมตามที่กล่าวมาข้างต้น ควรรีบไปปรึกษาแพทย์ เพราะจะหวังแค่ให้คนอื่นมานั่งทำความเข้าใจตัวเองตลอดไปไม่ได้
1. คนหลงตัวเองที่เปราะบาง (Vulnerable Narcissist) ผู้ป่วยประเภทนี้จะมีความกังวลสูง ขาดความมั่นใจ และอ่อนไหวต่อคำวิจารณ์เป็นอย่างมาก จึงพยายามสร้างเรื่องโอ้อวด ทำตัวร้ายกาจเพื่อป้องกันตัวจากความเจ็บปวด
2. คนหลงตัวเองแบบยกตนให้ยิ่งใหญ่เหนือผู้อื่น (Grandiose Narcissist) แตกต่างจากผู้ป่วยประเภทแรก คนกลุ่มนี้กลับมีความรู้สึกนับถือและมั่นใจในตัวเองสูง พวกเขาจึงมักโอ้อวด พูดจาด้อยค่าผู้อื่น เพราะรู้สึกว่าตัวเองเหนือกว่าคนอื่น
อาจเป็นเรื่องยากหากจะหวังให้ผู้ป่วยโรคนี้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือรับรู้การกระทำร้ายกาจของตัวเองที่มักสร้างความรู้สึกแย่ให้กับผู้คนรอบข้าง เพราะ NPD เป็นอาการป่วยทางจิตที่ส่งผลให้เกิดอาการเหล่านี้ขึ้น และอาจเป็นเรื่องยิ่งใหญ่เกินไปหากจะขอให้เข้าใจผู้ป่วยกลุ่มนี้ เพราะปฏิเสธไม่ได้เลยว่าพฤติกรรมของพวกเขาสามารถทำให้คุณรู้สึกเจ็บแสบ อยากวิ่งหนีไปไกลๆ หรือมีเรื่องด้วยแน่ๆ แต่วิธีเดียวที่จะสามารถอยู่ร่วมกับคนประเภทนี้ได้ คือต้องรู้จักวิธีรับมือกับพวกเขา โดยใช้เทคนิควิธีสื่อสารเฉพาะ ที่เรียกว่า BIFF (Brief Informative Friendly และ Firm)
ในการสื่อสารกับกลุ่มคน NPD ควรหาวิธีพูดคุยให้สั้นกระชับ ได้ใจความสำคัญ ไม่เยิ่นเย้อ ให้ความรู้สึกเป็นมิตร และหนักแน่นเท่านั้น เพื่อรีบจบบทสนทนาและปิดช่องว่างในการถูกโจมตีจากทั้งพฤติกรรมและคำพูดของ NPD
หากเลือกได้คงไม่มีใครอยากเอาชีวิตไปยุ่งเกี่ยวกับบุคคลที่สร้างความ Toxic และให้ Negative Energy แต่หากเจอแล้วก็อยากให้คุณทำความเข้าใจ และหากคุณคือกลุ่มผู้ป่วยในโรคนี้ หรือมีอาการร่วมตามที่กล่าวมาข้างต้น ควรรีบไปปรึกษาแพทย์ เพราะจะหวังแค่ให้คนอื่นมานั่งทำความเข้าใจตัวเองตลอดไปไม่ได้