JOY LIFE: เช็กอาการ ‘โรคแพนิค’ ภัย(ไม่)ร้าย ที่คุณสามารถรับมือได้!

27 กุมภาพันธ์ 2566 - 07:23

Joy-life- panic-disorder-SPACEBAR-Thumbnail
  • มาเช็กกันว่าคุณมีอาการของ ‘โรคแพนิค’ (Panic Disorder) หรือ โรคตื่นตระหนก หรือไม่?

‘โรคแพนิค’ (Panic Disorder) หรือ โรคตื่นตระหนก เป็นโรคที่เกิดมาจากระบบประสาทอัตโนมัติ (Automatic Nervous System) ทำงานผิดปกติเมื่อคุณรู้สึกวิตกกังวล โดยระบบประสาทนี้เป็นส่วนที่สามารถควบคุมการทำงานของร่างกาย ทำให้มีการหลั่งอะดรีนาลีนกระตุ้นการทำงานในระบบต่างๆ  
 
จึงก่อให้เกิดอาการหลายอย่างร่วมกัน เช่น หัวใจเต้นเร็ว เหงื่ออกมาก ท้องไส้ปั่นป่วน วิงเวียนศรีษะ เป็นต้น ซึ่งเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นได้กับคนในทุกเพศทุกวัย และเป็นสิ่งที่ผู้คนเริ่มตระหนักถึงกันเป็นอย่างมากในยุคปัจจุบัน 
 
โดยอาการแพนิค (Panic Attacks) มักเกิดขึ้นแบบอัตโนมัติฉับพลันโดยไม่จำเป็นต้องมีสาเหตุหรือมีเรื่องทำให้ตกใจ และสามารถเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา ส่งผลให้ผู้ป่วยโรคแพนิครู้สึกกลัวและละอาย เนื่องจากไม่สามารถควบคุมตัวเองหรือดำเนินชีวิตประจำวันได้ปกติ

อาการของโรคแพนิค 

  • หัวใจเต้นแรง หายใจไม่ออก รู้สึกเหมือนขาดอากาศ   
  • หวาดกลัวอย่างรุนแรงจนร่างกายขยับไม่ได้   
  • เวียนศีรษะหรือรู้สึกคลื่นไส้   
  • เหงื่อออกและมือเท้าสั่น   
  • รู้สึกหอบและเจ็บหรือแน่นหน้าอก   
  • วิตกกังวลหรือหวาดกลัวว่าจะตาย รวมทั้งรู้สึกว่าไม่สามารถควบคุมสิ่งต่างๆ ในชีวิตได้   
หวาดกลัวและพยายามหลีกเลี่ยงสถานที่หรือสถานการณ์อันตรายที่ทำให้รู้สึกหวาดกลัวในอดีต 
 
วิธีรับมือกับอาการแพนิค  
โดย ดร.แคลร์ วีกส์ (Claire Weekes) แพทย์ทางเวชปฏิบัติทั่วไปชาวออสเตรเลีย 
1. เผชิญกับอาการแพนิค  
อย่าพยายามหลีกเลี่ยงอาการแพนิคแต่ควรเรียนรู้ที่จะรับมือกับอาการแพนิคอย่างกล้าหาญ ไม่ว่าที่ไหนหรือเมื่อไรก็ตาม โดยไม่ต้องพยายามที่จะ ‘อดทน’ หรือ ‘ทำความคุ้นเคย’ กับอาการต่างๆ ที่เกิดขึ้นซึ่งในที่สุดอาการแพนิคก็จะหมดความสำคัญและไม่มีผลต่อชีวิตประจำวันของคุณอีกต่อไป 

2. การยอมรับอาการแพนิคอย่างใจเย็น  
ยอมรับว่าอาการแพนิคที่เกิดขึ้นเป็นผลจากการการทำงานของระบบประสาท ทำให้มีการหลั่งอะดรีนาลีนกระตุ้นการทำงานในระบบต่างๆ ของร่างกาย ก่อให้เกิดผลลัพของอาการแพนิค เช่น ใจสั่น หัวใจเต้นแรง เวียนศรีษะ หายใจไม่ออก 

3. การลอยตัวเหนืออาการแพนิค 
ไม่ต่อสู้หรือพยายามควบคุมอาการหรือความกลัวด้วยโดยวิธีต่างๆ เพราะยิ่งพยายามทำอะไรก็จะยิ่งทำให้ฮอร์โมนอะดรีนาลีนหลั่งออกมามากขึ้น มีอาการมากขึ้นและเป็นนานขึ้น สิ่งที่ต้องทำก็คือการฝึกให้อยู่นิ่งๆ อย่างสบายๆ ไม่ต้องทำอะไรเลยแม้กระทั่งการพยายามบังคับทำให้ตัวเองผ่อนคลาย ขณะที่จินตนาการว่าตัวเองกำลังลอยไปข้างหน้าโดยไม่มีแรงต้าน ราวกับว่ากำลังลอยอยู่บนก้อนเมฆหรือบนน้ำ คุณจะรู้สึกผ่อนคลายและกล้ามเนื้อ ที่เกร็งอยู่ก็จะผ่อนคลาย 

4. การปล่อยให้เวลาที่ผ่านไปช่วยเยียวยาให้อาการดีขึ้น  
การฟื้นหายจากอาการแพนิคก็เช่นเดียวกับการรักษาโรคทั้งหลายที่ต้องอาศัยเวลา การไม่อดทนรอคอยและต้องการให้ความรู้สึกสงบผ่อนคลายเกิดขึ้นอย่างทันที เป็นอุปสรรคต่อกระบวนการรักษาฟื้นฟู คุณสามารถขจัดอุปสรรคที่สำคัญต่อการรักษาได้เพียงเข้าใจว่าความรู้สึกไวต่อสิ่งเร้าเป็นการะบวนการทำงานของสารเคมีในสมอง ซึ่งต้องใช้เวลาในการปรับสมดุลขของสารเคมีให้กลับเข้าสู่ภาวะปกติ
https://images.ctfassets.net/i3o8p9lzd06f/3CbqpNY8y4NqZiT74Gh9FH/ff791981bddd0ec271c6babe441633bf/INFO-PANIC-ATTACK

เรื่องเด่นประจำสัปดาห์