หลายคนคงกำลังมีความรู้สึกเฉยๆ กับสิ่งที่ชอบ รู้สึกเฉยๆ กับอาหารโปรด รู้สึกเฉยๆ กับสิ่งที่ทำแล้วเคยเกิดความสุขในชีวิต ลืมเป้าหมายหรือสิ่งที่เคยวางไว้ ทำอะไรก็ไม่สนุก ไม่เอ็นจอย ดิ่งกับทุกสิ่งในโลก และอยากนอนเงียบๆ บนเตียงคนเดียวโดยไม่ต้องคิดอะไร ถ้าหากอ่านมาจนถึงตรงนี้แล้ว ทุกสิ่งที่กล่าวมาตรงกับตัวเองมากกว่า 70% ต้องรีบรีเช็กตัวเองด่วนๆ เพราะนี่คือสัญญาณที่บ่งบอกว่า คุณกำลังตกอยู่ในภาวะสิ้นยินดี
ภาวะสิ้นยินดี (Anhedonia) เป็นอาการที่มีความรู้สึกไม่ยินดียินร้ายกับอะไรทั้งหมด ไม่เอ็นจอยกับการกระทำ ถึงแม้ว่าสิ่งนั้นจะเคยเป็นสิ่งที่ทำให้เรามีความสุขมากๆ เลยก็ตาม โดยคำว่า Anhedonia (แอนฮีโดเนีย) มีรากศัพท์จากภาษากรีก ประกอบด้วย 2 คำ คือ an- (ปราศจาก) และ hēdonḗ (ความพึงพอใจ) แปลว่า ไร้ซึ่งความพึงพอใจ ภาวะนี้แบ่งออกเป็น 2 ประเภท
สำหรับสาเหตุของการเกิดภาวะดังกล่าวนี้ คาดว่าอาจเป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงของสมองในการผลิตหรือตอบสนองอย่างผิดปกติต่อสารโดปามีน (Dopamine) ซึ่งกระตุ้นให้ร่างกายรู้สึกดีหรือพึงพอใจ ทำให้ผู้ป่วยไม่สามารถรับรู้หรือมีความสุข ส่วนใหญ่แล้วภาวะสิ้นยินดีจะพบได้มากในผู้ที่มีผิดปกติทางจิต และอาจพบได้ในผู้ป่วยโรคเบาหวาน โรคพาร์กินสัน โรคหลอดเลือดหัวใจ หรือผู้ที่ใช้สารเสพติดด้วยเช่นกัน ในส่วนของอาการที่เกิดจากภาวะสิ้นยินดี ในผู้ป่วยแต่ละคน จะมีอาการที่ต่างกันออกไป แต่นี่คืออาการเบื้องต้นส่วนหนึ่งที่ชี้ให้เห็นว่าอาจจะมีส่วนทำให้เป็นภาวะสิ้นยินดีได้
ภาวะสิ้นยินดี (Anhedonia) เป็นอาการที่มีความรู้สึกไม่ยินดียินร้ายกับอะไรทั้งหมด ไม่เอ็นจอยกับการกระทำ ถึงแม้ว่าสิ่งนั้นจะเคยเป็นสิ่งที่ทำให้เรามีความสุขมากๆ เลยก็ตาม โดยคำว่า Anhedonia (แอนฮีโดเนีย) มีรากศัพท์จากภาษากรีก ประกอบด้วย 2 คำ คือ an- (ปราศจาก) และ hēdonḗ (ความพึงพอใจ) แปลว่า ไร้ซึ่งความพึงพอใจ ภาวะนี้แบ่งออกเป็น 2 ประเภท
- ภาวะสิ้นยินดีทางสังคม (Social Anhedonia) ที่ผู้ป่วยไม่ต้องการสร้างปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น
- ภาวะสิ้นยินดีทางร่างกาย (Physical Anhedonia) ที่ผู้ป่วยรู้สึกไม่มีความสุขหรือไม่เพลิดเพลินต่อการทำสิ่งต่างๆ ซึ่งในภาวะปกติสามารถสร้างความพึงพอใจให้ได้ เช่น การรับประทานอาหาร การอยู่ใกล้ชิดกับผู้อื่น การทำกิจกรรม เป็นต้น
สำหรับสาเหตุของการเกิดภาวะดังกล่าวนี้ คาดว่าอาจเป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงของสมองในการผลิตหรือตอบสนองอย่างผิดปกติต่อสารโดปามีน (Dopamine) ซึ่งกระตุ้นให้ร่างกายรู้สึกดีหรือพึงพอใจ ทำให้ผู้ป่วยไม่สามารถรับรู้หรือมีความสุข ส่วนใหญ่แล้วภาวะสิ้นยินดีจะพบได้มากในผู้ที่มีผิดปกติทางจิต และอาจพบได้ในผู้ป่วยโรคเบาหวาน โรคพาร์กินสัน โรคหลอดเลือดหัวใจ หรือผู้ที่ใช้สารเสพติดด้วยเช่นกัน ในส่วนของอาการที่เกิดจากภาวะสิ้นยินดี ในผู้ป่วยแต่ละคน จะมีอาการที่ต่างกันออกไป แต่นี่คืออาการเบื้องต้นส่วนหนึ่งที่ชี้ให้เห็นว่าอาจจะมีส่วนทำให้เป็นภาวะสิ้นยินดีได้
- รู้สึกเฉื่อยๆ เฉยชาหรือไม่มีความรู้สึกต่อสิ่งรอบข้าง
- เก็บตัวหรือแยกตัวออกจากสังคม มีปฏิสัมพันธ์กับผู้คนรอบข้างน้อยลง
- มีอาการของโรคกลัวสังคม (Social Anxiety)
- เกิดความรู้สึกสิ้นหวัง
- มีความคิดด้านลบต่อตนเองและผู้อื่น
- แสดงออกด้านอารมณ์ทั้งทางการกระทำและคำพูดน้อยลง
- ไม่ยิ้มหรือมีความสุขกับสิ่งที่เคยชื่นชอบ
- ฝืนที่จะต้องแสดงอารมณ์ต่างๆ
- ความต้องการทางเพศลดลง
- เกิดความเจ็บป่วยทางด้านร่างกายอยู่บ่อยครั้ง
