

























เทศกาลโฮลีในประเทศอินเดียปกติแล้วจะใช้เวลาเฉลิมฉลองแค่ 2 วัน แต่ในพื้นที่ที่เป็นบ้านเกิดของพระกฤษณะ (Krishna) และพระแม่ราธา (Radha) เรียกพื้นที่นี้ว่า ‘Braj area’ (ประกอบไปด้วยเมือง Vrindavan, Mathura, Barsana, Nandgaon, Govardhan, Baldeo และ Gokul) อยู่ในเขต Uttar Pradesh ของประเทศอินเดีย ในพื้นที่เหล่านี้จะเริ่มเฉลิมฉลองโฮลีล่วงหน้า 1 สัปดาห์ ก่อนจะถึงวันโฮลีอย่างเป็นทางการ นอกจากการเฉลิมฉลองด้วยการเต้นรำและสาดผงสีใส่กันแล้ว ยังมีประเพณีที่น่าสนใจหลายอย่างกระจายกันไปในแต่ละวันแต่ละเมือง
- Lathmar Holi (Stick Holi)
Lath แปลว่า ไม้ และ mar แปลว่า ตี เมื่อถึงวันเฉลิมฉลอง ผู้ชายจากต่างเมืองจะเดินทางมา เพื่อสร้างความสนุกสนานและสร้างสีสันให้กับผู้หญิง ส่วนผู้หญิงจะไล่ตีผู้ชายด้วยไม้อย่างสนุกสนาน ผู้ชายที่ถูกจับได้จะต้องนั่งลงแล้วให้ผู้หญิงตี โดยมีโล่ไว้ป้องกันศีรษะ ผู้หญิงบางส่วนจะเดินไปรอบๆ เมืองเพื่อใช้ไม้ตีผู้ชายทุกคนที่เดินผ่าน
- Phoolwali Holi (Flower Holi)
จะมีเฉพาะที่เมือง Vrindavan ซึ่งเป็นหนึ่งในเมืองที่พระกฤษณะ (Krishna) เคยใช้ชีวิตอยู่ การเฉลิมฉลองจะมีขึ้นที่ Banke Bihari Temple โดยจะมีการโปรยดอกไม้หลากสีจำนวนมากแก่ผู้ที่มีจิตศรัทธาเพื่อความเป็นสิริมงคล กิจกรรมทั้งหมดนั้นกินเวลาแค่ประมาณ 10-15 นาทีเท่านั้น
- Chhadi Mar Holi (‘Wand Beating’ Holi)
เมือง Gokul ถือได้ว่าเป็นเมืองที่พระกฤษณะ (Krishna) เคยใช้ชีวิตในวัยเด็ก ดังนั้นการเฉลิมฉลองที่นี่จะมีขบวนแห่ โดยเด็กในเมืองนี้จะแต่งตัวเป็นพระกฤษณะ (Krishna) และพระแม่ราธา (Radha) เดินขบวนไปรอบๆเมือง
- Widow Holi
เมือง Vrindavan ที่ Gopinath Temple เป็นสถานที่เพียงแห่งเดียวในประเทศอินเดียที่ยอมให้แม่ม่ายเฉลิมฉลองโฮลีได้ แม่ม่ายถือว่าเป็นผู้เคราะห์ร้าย เพราะการเสียชีวิตของสามีทำให้พวกเธอไม่ได้รับการยอมรับจากครอบครัว มีชีวิตที่ลำบาก แม่มายส่วนใหญ่เลยเลือกหรือถูกบังคับให้ไปอยู่ที่อาศรม (Ashram หรือ Hermitage Communities) ในเมืองพาราณสี (Varanasi) หรือเมือง Vrindavan เพราะมีแม่ม่ายจำนวนกว่า 6,000 คนอาศัยอยู่ที่นั่น แม่ม่ายได้รับอนุญาตให้ใส่ได้เฉพาะแค่ส่าหรีสีขาวเท่านั้น (ในปัจจุบันไม่ได้เป็นแบบนั้นแล้ว แม่ม่ายสามารถสวมใส่สาหรีได้ทุกสีตามใจ) และไม่ได้รับอนุญาตให้ร่วมงานเทศกาลเฉลิมฉลอง
โดยในวันนี้ที่เมือง Vrindavan เหล่าแม่ม่ายจะมารวมตัวกันเพื่อร่วมการเฉลิมฉลองโฮลี กันอย่างสนุกสนาน
- Holika Dahan (Effigy Burning)
ค่ำคืนก่อนที่วันถัดไปที่จะมีการเฉลิมฉลองโฮลีกัน จะมีพิธีที่เรียกว่า ‘โฮลิกาดาฮัน’ ซึ่งก็คือการเผาปีศาจร้ายโฮลิกา เป็นการฉลองชัยชนะที่สามารถปราบปีศาจร้ายได้สำเร็จ ด้วยการเผาปีศาจโฮลิกา (Holika) ในกองไฟ ในช่วงเวลากลางคืนชาวฮินดูจะเฉลิมฉลองเรื่องราวของความดีที่เอาชนะความชั่วด้วยการจุดกองไฟขนาดใหญ่และเผารูปปั้นปีศาจโฮลิกาเพื่อเป็นสัญลักษณ์ของการทำลายล้างความชั่วร้าย
- Holi (Main Day)
วันหลักสำหรับเทศกาลโฮลีประจำปีบางครั้งก็เรียกว่า ‘เทศกาลแห่งสีสัน’ หรือ ‘เทศกาลแห่งความรัก’ โดยในวันนี้จะเป็นวันที่ละเลงสาดผงสีใส่กัน เพื่อเป็นการเฉลิมฉลองตำนานรักของพระกฤษณะ (Krishna) กับพระแม่ราธา (Radha) ตำนานเล่าว่าพระกฤษณะซึ่งมีผิวสีคล้ำ ไปหลงรักนางราธาที่มีผิวกายขาวผุดผ่อง จึงน้อยอกน้อยใจตัดพ้อกับมารดาที่ตนเองมีผิวสีคล้ำ มารดาจึงแนะนำพระกฤษณะให้เอาสีไปป้ายนางราธา เพื่อจะได้มีผิวสีเหมือนๆ กันนั่นเอง
ต้องยอมรับว่าประเทศอินเดียเป็นประเทศที่มีประเพณีวัฒนธรรมและความเชื่อที่หลากหลายจำนวนมาก ‘โฮลี’ เป็นหนึ่งในประเพณีที่สำคัญและได้รับความสนใจจากทั่วโลก ถือเป็นอีกหนึ่งเทศกาลที่ไม่ควรพลาดอย่างยิ่ง
- Lathmar Holi (Stick Holi)
Lath แปลว่า ไม้ และ mar แปลว่า ตี เมื่อถึงวันเฉลิมฉลอง ผู้ชายจากต่างเมืองจะเดินทางมา เพื่อสร้างความสนุกสนานและสร้างสีสันให้กับผู้หญิง ส่วนผู้หญิงจะไล่ตีผู้ชายด้วยไม้อย่างสนุกสนาน ผู้ชายที่ถูกจับได้จะต้องนั่งลงแล้วให้ผู้หญิงตี โดยมีโล่ไว้ป้องกันศีรษะ ผู้หญิงบางส่วนจะเดินไปรอบๆ เมืองเพื่อใช้ไม้ตีผู้ชายทุกคนที่เดินผ่าน
- Phoolwali Holi (Flower Holi)
จะมีเฉพาะที่เมือง Vrindavan ซึ่งเป็นหนึ่งในเมืองที่พระกฤษณะ (Krishna) เคยใช้ชีวิตอยู่ การเฉลิมฉลองจะมีขึ้นที่ Banke Bihari Temple โดยจะมีการโปรยดอกไม้หลากสีจำนวนมากแก่ผู้ที่มีจิตศรัทธาเพื่อความเป็นสิริมงคล กิจกรรมทั้งหมดนั้นกินเวลาแค่ประมาณ 10-15 นาทีเท่านั้น
- Chhadi Mar Holi (‘Wand Beating’ Holi)
เมือง Gokul ถือได้ว่าเป็นเมืองที่พระกฤษณะ (Krishna) เคยใช้ชีวิตในวัยเด็ก ดังนั้นการเฉลิมฉลองที่นี่จะมีขบวนแห่ โดยเด็กในเมืองนี้จะแต่งตัวเป็นพระกฤษณะ (Krishna) และพระแม่ราธา (Radha) เดินขบวนไปรอบๆเมือง
- Widow Holi
เมือง Vrindavan ที่ Gopinath Temple เป็นสถานที่เพียงแห่งเดียวในประเทศอินเดียที่ยอมให้แม่ม่ายเฉลิมฉลองโฮลีได้ แม่ม่ายถือว่าเป็นผู้เคราะห์ร้าย เพราะการเสียชีวิตของสามีทำให้พวกเธอไม่ได้รับการยอมรับจากครอบครัว มีชีวิตที่ลำบาก แม่มายส่วนใหญ่เลยเลือกหรือถูกบังคับให้ไปอยู่ที่อาศรม (Ashram หรือ Hermitage Communities) ในเมืองพาราณสี (Varanasi) หรือเมือง Vrindavan เพราะมีแม่ม่ายจำนวนกว่า 6,000 คนอาศัยอยู่ที่นั่น แม่ม่ายได้รับอนุญาตให้ใส่ได้เฉพาะแค่ส่าหรีสีขาวเท่านั้น (ในปัจจุบันไม่ได้เป็นแบบนั้นแล้ว แม่ม่ายสามารถสวมใส่สาหรีได้ทุกสีตามใจ) และไม่ได้รับอนุญาตให้ร่วมงานเทศกาลเฉลิมฉลอง
โดยในวันนี้ที่เมือง Vrindavan เหล่าแม่ม่ายจะมารวมตัวกันเพื่อร่วมการเฉลิมฉลองโฮลี กันอย่างสนุกสนาน
- Holika Dahan (Effigy Burning)
ค่ำคืนก่อนที่วันถัดไปที่จะมีการเฉลิมฉลองโฮลีกัน จะมีพิธีที่เรียกว่า ‘โฮลิกาดาฮัน’ ซึ่งก็คือการเผาปีศาจร้ายโฮลิกา เป็นการฉลองชัยชนะที่สามารถปราบปีศาจร้ายได้สำเร็จ ด้วยการเผาปีศาจโฮลิกา (Holika) ในกองไฟ ในช่วงเวลากลางคืนชาวฮินดูจะเฉลิมฉลองเรื่องราวของความดีที่เอาชนะความชั่วด้วยการจุดกองไฟขนาดใหญ่และเผารูปปั้นปีศาจโฮลิกาเพื่อเป็นสัญลักษณ์ของการทำลายล้างความชั่วร้าย
- Holi (Main Day)
วันหลักสำหรับเทศกาลโฮลีประจำปีบางครั้งก็เรียกว่า ‘เทศกาลแห่งสีสัน’ หรือ ‘เทศกาลแห่งความรัก’ โดยในวันนี้จะเป็นวันที่ละเลงสาดผงสีใส่กัน เพื่อเป็นการเฉลิมฉลองตำนานรักของพระกฤษณะ (Krishna) กับพระแม่ราธา (Radha) ตำนานเล่าว่าพระกฤษณะซึ่งมีผิวสีคล้ำ ไปหลงรักนางราธาที่มีผิวกายขาวผุดผ่อง จึงน้อยอกน้อยใจตัดพ้อกับมารดาที่ตนเองมีผิวสีคล้ำ มารดาจึงแนะนำพระกฤษณะให้เอาสีไปป้ายนางราธา เพื่อจะได้มีผิวสีเหมือนๆ กันนั่นเอง
ต้องยอมรับว่าประเทศอินเดียเป็นประเทศที่มีประเพณีวัฒนธรรมและความเชื่อที่หลากหลายจำนวนมาก ‘โฮลี’ เป็นหนึ่งในประเพณีที่สำคัญและได้รับความสนใจจากทั่วโลก ถือเป็นอีกหนึ่งเทศกาลที่ไม่ควรพลาดอย่างยิ่ง