What If... แฟชั่นคือกุญแจสู่การกอบกู้วิกฤติทางสภาพภูมิอากาศ

29 ธ.ค. 2565 - 06:39

  • อุตสาหกรรมแฟชั่นเป็นต้นเหตุสำคัญของปัญหาสิ่งแวดล้อม 1 ใน 5 ของมลพิษทางน้ำที่เกิดจากการปล่อยของเสียของภาคอุตสาหกรรมทั่วโลกนั้นมาจากกระบวนการผลิตสิ่งทอ โดยเฉพาะการย้อม

  • ลำพังแค่โรงงานผลิตเสื้อผ้าในจีนสร้างมลพิษทางอากาศจากเขม่ามากถึง 3 พันล้านตัน

  • หรือแฟชั่นจะพลิกวิกฤตนี้เป็นโอกาสที่จะเปลี่ยนแปลงทั้งระบบอุตสาหกรรม

What-if-fashion-industry-is-the-key-of-climate-emergency-SPACEBAR-Thumbnail
เมื่อพูดถึงปัญหาสิ่งแวดล้อมและการเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศขั้นวิกฤต (Climate Crisis) อุตสาหกรรมแฟชั่นมักถูกตราหน้าว่าเป็น ‘วายร้าย’ เสมอ
https://images.ctfassets.net/i3o8p9lzd06f/7IyuQOBxGRrKbh0rfHuNdA/ecbac61bbc645bceba01a28851822887/What-if-fashion-industry-is-the-key-of-climate-emergency-SPACEBAR-Photo01
Photo: ครูเอลลา เดอ วิล ตัวร้ายจากแอนิเมชัน 101 Dalmatians สะท้อนด้านมืดของวงการแฟชั่นในอดีตที่เชิดชูความหรูหรา แต่กลับมองข้ามความโหดร้ายของการทารุณกรรมสัตว์
ข้อกล่าวหานี้ไม่ได้เกินจริงเลย เพราะมีข้อมูล การศึกษาค้นคว้า และงานวิจัยนับไม่ถ้วนเกี่ยวกับผลกระทบจากอุตสาหกรรมสิ่งทอ ทิ้งร่องรอยไว้ตั้งแต่ยุคปฏิวัติอุตสาหกรรมเรื่อยมาจนถึงยุคทองของฟาสต์แฟชั่น (Fast Fashion) แบรนด์ใหญ่แข่งกันผลิตคอลเลกชันใหม่ๆ ให้ทันความต้องการของผู้บริโภค ไปพร้อมกับกระตุ้น ‘ความอยาก’ และ ‘ความกลัวตกกระแส’ (FOMO)
https://images.ctfassets.net/i3o8p9lzd06f/4omwoeWXvHEuTstka6rvv9/883b08640150a727f7ca54bc6678f127/What-if-fashion-industry-is-the-key-of-climate-emergency-SPACEBAR-Photo02
อุตสาหกรรมแฟชั่นส่งผลกระทบต่อโลกอย่างไร? 
  • ผลิตคาร์บอนไดออกไซด์ประมาณ 1.2 พันล้านตันต่อปี 
  • ปล่อยปริมาณก๊าซเรือนกระจกในหนึ่งปี เทียบเท่ากับ ‘เศรษฐกิจทั้งระบบ’ ของประเทศมหาอำนาจอย่างฝรั่งเศส เยอรมนี และสหราชอาณาจักรรวมกัน 
  • ผู้ผลิตเสื้อผ้ารายใหญ่ต้องพึ่งพาโรงไฟฟ้าที่ใช้เชื้อเพลิงถ่านหิน ซึ่งปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ 
  • วัสดุเสื้อผ้าย่อยสลายที่ถูกทิ้งในหลุมฝังกลบจะปล่อยก๊าซมีเทนที่เป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม 
  • 1 ใน 5 ของมลพิษทางน้ำจากภาคอุตสาหกรรมทั่วโลก มาจากกระบวนการผลิตสิ่งทอ โดยเฉพาะการย้อม 
  • เฉพาะโรงงานเสื้อผ้าในจีน ก็สร้างมลพิษทางอากาศจากเขม่ามากถึง 3 พันล้านตัน 
https://images.ctfassets.net/i3o8p9lzd06f/6qRTrUdBcCsTefsi6nr17E/2444d0904e57d1e7791b3b0771f91e8f/What-if-fashion-industry-is-the-key-of-climate-emergency-SPACEBAR-Photo03

สมมติว่าโลกจะเต็มไปด้วยกองขยะเสื้อผ้า จนคนไม่มีที่อยู่? 

ภาพของภูเขาเสื้อผ้ามือสองที่กองพะเนินกลางทะเลทรายอาตากามาในประเทศชิลี สะท้อนให้เห็นว่าสิ่งนี้กำลังเกิดขึ้นจริง ชิลีเป็นศูนย์กลางของแหล่งค้าเสื้อผ้ามือสอง ส่วนใหญ่นำเข้ามาจากฝั่งยุโรปและสหรัฐฯ (แต่ผลิตในประเทศค่าแรงถูกอย่างจีนและบังคลาเทศ) เพื่อขายต่อให้กับชาวบ้าน รวมถึงส่งออกไปยังประเทศแถบละตินอเมริกา 
 
แต่รู้หรือไม่ว่า กว่าครึ่งหนึ่ง ของเสื้อผ้ามือสองที่นำเข้ามากถึง 60,000 ตันต่อปี ถูกทิ้งในหลุมฝังกลบอย่างผิดกฎหมาย และส่งผลกระทบอย่างใหญ่หลวงต่อชุมชน สิ่งแวดล้อม และระบบนิเวศ เพราะขยะเหล่านี้ไม่สามารถย่อยสลายได้ตามธรรมชาติ แถมยังมีส่วนผสมของสารเคมี ทำให้เกิดมลพิษปนเปื้อนในแหล่งน้ำ พื้นดิน และอากาศ 
 
สถานการณ์คล้ายกันนี้เกิดขึ้นในประเทศกำลังพัฒนาอีกหลายแห่ง เช่น ทางตอนเหนือของกรุงอักกรา เมืองหลวงของประเทศกานา บรรดาเสื้อผ้ามือสองและบรรดาขยะอิเล็กทรอนิกส์จำนวนมากถูกกองทิ้งบริเวณทะเลสาบ Korle Lagoon เดือดร้อนไปถึงชุมชนแออัดกว่าแสนชีวิตที่อยู่แถบนั้น 
https://images.ctfassets.net/i3o8p9lzd06f/F5COvix5BIWHlyZMEnKy2/7d9ad0a44b342969631423581651f544/What-if-fashion-industry-is-the-key-of-climate-emergency-SPACEBAR-Photo04

ถึงเวลาปฏิรูป! 

ภัยพิบัติจากธรรมชาติและจากน้ำมือมนุษย์ที่ทวีความรุนแรงขึ้นทุกปี ทำให้ผู้บริโภคหันมาสนับสนุนแบรนด์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและยั่งยืนกันมากขึ้น โดยเฉพาะคนรุ่นใหม่อย่างเจนซี (Generation Z) ไม่ลังเลจะเลือกเสื้อผ้าที่ยั่งยืนกว่า ผลสำรวจความคิดเห็นในรายงาน Trend 2023 โดย WGSN และ Instagram เผยว่า คนรุ่นนี้ตื่นตัวกับปัญหาสิ่งแวดล้อมและวิกฤติทางสภาพภูมิอากาศ (Climate Crisis) และพร้อมสนับสนุนกับแบรนด์ที่ใส่ใจและมีส่วนร่วมในการแก้ไขเรื่องเหล่านี้จริงๆ สอดคล้องกับการศึกษาของ Sheffield Business School ที่พบว่า เจนซีมักจะพูดถึงฟาสต์แฟชั่นในแง่ ‘ไม่ยั่งยืน’ (unsustainable) ไร้จริยธรรม (unethical) และคุณภาพแย่ (bad quality) 
 
ฝั่งดีไซเนอร์นอกวงการฟาสต์แฟชั่นก็แสดงจุดยืนชัดเจนว่าพวกเขาไม่ได้เพิกเฉยเรื่องนี้ และหยิบยื่นทางเลือกใหม่ๆ แก่ผู้บริโภค ด้วยการใช้วัสดุทดแทนที่ย่อยสลายได้ตามธรรมชาติ เช่น สาหร่ายทะเล (algae) และเส้นใยสับปะรด รวมถึงปรับแนวคิดและกระบวนการผลิต เช่น Upcycling ที่นำวัสดุและเครื่องแต่งกายที่ไม่ใช้แล้วมาแปลงโฉมและสร้างฟังก์ชั่นใหม่ให้กับมัน และการออกแบบที่เรียกว่า Circular Design ที่ใช้วัสดุหมุนเวียนให้เกิดประโยชน์สูงสุด 
https://images.ctfassets.net/i3o8p9lzd06f/3O4rBkhHx4diH4x8SyDtP/ff888b61d1d8f9cbf5f700a047b74745/What-if-fashion-industry-is-the-key-of-climate-emergency-SPACEBAR-Photo05
Dear Denier แบรนด์ชุดชั้นใน ถุงน่อง และแอคทีฟแวร์ คือแบรนด์เดนมาร์กรายเล็กที่คิดการณ์ใหญ่และใส่ใจเรื่องความยั่งยืนตลอดกระบวนการผลิต เช่น ใช้พลังงานหมุนเวียนในการผลิตเท่านั้นเพื่อลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก แถมยังใช้วัสดุรีไซเคิลและวัสดุธรรมชาติเป็นหลัก เช่น ไนลอน ขนสัตว์ ยิ่งไปกว่านั้นผู้ใช้ยังสามารถแกะรอย (trace) ได้ว่าต้นทางของวัสดุและเส้นใยที่ใช้ในการผลิตนั้นมาจากไหน เพื่อให้ลูกค้ามั่นใจว่า ‘ยั่งยืนจริง’ ไม่ฟอกเขียว ใครใส่จนเบื่อแล้วหรือพังเกินใช้งานก็สามารถนำมาหย่อนใส่กล่องรีไซเคิลได้ด้วย เพื่อให้ทางแบรนด์นำไปรีไซเคิลหรือเข้าสู่กระบวนการจัดการขยะนั่นเอง 
 
จนในที่สุดแบรนด์แฟชั่นชั้นนำไม่อาจปฏิเสธกระแสนี้ได้ และตัดสินใจลงนามในกฎบัตรสหประชาชาติด้านอุตสาหกรรมแฟชั่น (Fashion Industry Charter for Climate Action) เพื่อร่วมกันแก้ปัญหาของอุตสาหกรรมตลอดทั้งกระบวนการที่ส่งผลกระทบต่อ Climate Change ด้วยการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลง 30% ภายในปี 2030 ปัจจุบันมีแบรนด์ที่เข้าร่วมลงนามกว่า 90 ราย อาทิ Burberry, H&M Group, Adidas, Gap Inc, Levi Strauss & Co และกลุ่มธุรกิจเจ้าของแบรนด์ Uniqlo 

กุญแจสู่ความยั่งยืนคือประชาธิปไตย 

หนึ่งในแนวทางที่จะช่วยชะลอและลดระดับของวิกฤตการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศไม่ให้ลุกลามไปถึงขั้น ‘หายนะ’ (Climate Catastrophe) ได้ คือ ผู้บริโภคทุกคน ทุกกลุ่ม จะต้องเข้าถึงไลฟ์สไตล์ที่ยั่งยืนได้ ในช่วงแรกแบรนด์อาจจะต้องกัดฟันยอมกดต้นทุนการผลิตให้ถูกลง เพื่อให้ผู้บริโภคซื้อได้ในราคาที่สมเหตุผล และเมื่อดีมานด์ของตลาดแฟชั่นที่ยั่งยืนเพิ่มมากกว่าที่เคย ภาระต้นทุนที่ผู้ผลิตเแบกรับไว้ก็จะลดผ่อนลงเช่นกัน นี่คือแนวโน้มที่เราน่าจะได้เห็นกันมากขึ้นในปี 2023 ตามการคาดการณ์ของสำนักเทรนด์ WGSN 
 
Nearshoring คืออีกหนึ่งแนวโน้มที่จะเกิดขึ้นในอุตสาหกรรมเสื้อผ้า หลังสถานการณ์โควิด-19 แบรนด์ใหญ่ตระหนักว่าการขนส่งนั้นต้องใช้เม็ดเงินและพลังงานมากมาย ด้วยเหตุนี้อุตสาหกรรมแฟชั่นในโลกตะวันตกจึงเริ่มย้ายฐานผลิตกลับเข้ามาในบริเวณพื้นที่ที่ใกล้กับประเทศตนเอง เพื่อลดต้นทุนการขนส่งให้คุ้มค่า และลดมลภาวะจากการขนส่งสินค้าไปมาหลายแหล่ง 
ไปในตัว 

เรื่องเด่นประจำสัปดาห์