ทางเลือกใหม่สายสุขภาพ!? พบกับ ‘นม’ ที่ผลิตจาก ‘แมลงสาบ’

12 กันยายน 2566 - 04:16

Cockroach-Milk-SPACEBAR-Thumbnail (1)
  • ในยุคที่เทรนด์ซูเปอร์ฟู้ดกำลังมาแรง การเลือกกินอาหารของผู้คนเน้นไปที่อาหารที่มีโภชนาการสูง เพื่อให้การทานอาหารเกิดประโยชน์ต่อสุขภาพให้ได้สูงที่สุด ทศวรรษที่ผ่านมาเราจึงได้เห็นนักวิจัยต่างพากันพยายามค้นคว้าหาอาหารแปลกๆ มากมายที่ไม่ใช่แค่เนื้อสัตว์หรือผักผลไม้ที่มีคุณภาพสูง เพื่อจะมาสรรค์สร้างเป็นซูเปอร์ฟู้ดทางเลือกอื่น ไม่ว่าจะเป็นแมลงแปลกๆ ขนสัตว์ จนไปถึงการวิจัยอาหารสุดประหลาดอย่าง ‘นมแมลงสาบ’

โดยเจ้านมแมลงสาบที่ว่านี้ถูกผลิตขึ้นโดยแมลงสาบพันธุ์ Diploptera punctata ในแถบแปซิฟิค โดยเจ้าแมลงดังกล่าวเป็นสายพันธุ์พิเศษที่ตัวเมียของมันจะสามารถผลิตสารสกัดโปรตีนคล้ายๆ กับ ‘นม’ เพื่อเลี้ยงบรรดาตัวอ่อนที่พึ่งลืมตาดูโลก ซึ่งเจ้า ‘นม’ ที่ว่านี้ได้ถูกวิจัยจากบรรดาผู้เชี่ยวชาญเพราะมันมีแนวโน้มที่จะกลายเป็นซูเปอร์ฟู้ดระดับพรีเมี่ยม จนในปี ค.ศ. งานวิจัยก็ถูกตีพิมใน Journal of the International Union of Crystallograph ซึ่งระบุว่านมแมลงสาบชนิดนี้มีจำนวนแคลอรีมากกว่านมควายถึง 3 เท่า ในขณะที่ตอนนั้นนมควายถูกจัดให้เป็นที่ 1 ของนมที่อุดมไปด้วยแคลอรีมากที่สุดในโลก
https://images.ctfassets.net/i3o8p9lzd06f/lPouNEMxfijLmm1Y9ZuOC/f9fde1513638ee866c7b861b7c5d5fab/Diploptera_punctata_adult__1_
Photo: Wikimedia

นอกจากนี้ในนมแมลงสาบยังอุดมไปด้วยโปรตีน และกรดอะมิโน ซึ่งคุณค่าอย่างยิ่งต่อสุขภาพของมนุษย์ เพราะโปรตีนคือสารอาหารสำคัญที่จะช่วยผลิตและซ่อมแซมเซลล์ที่สึกหรอ และกรดอะมิโนก็ยังจำเป็นต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการในมนุษย์อีกด้วย ว่ากันว่าถ้าหากเราผลิตนมแมลงสาบได้จริง โลกใบนี้จะสามารถแก้ปัญหาการขาดแคลนผลิตภัณฑ์จากนมวัว หรืออาจเป็นทางเลือกใหม่ของผู้ ‘แพ้นมวัว’ ที่มีรายงานว่าทั่วโลกมีผู้คนประสบพบเจอกับอาการนี้ถึง 65 เปอร์เซ็นต์  
แต่ก็เป็นที่น่าเสียดาย เพราะด้วยเทคโนโลยีในปัจจุบัน เรายังไม่สามารถผลิตเจ้านมแมลงสาบนี้ในจำนวนที่สามารถขึ้นมาขายเป็นอาหารได้จริงๆ ในท้องตลาด ด้วยจำนวนนมที่แมลงแต่ละตัวผลิตออกมาได้น้อยมาก แถมเจ้าแมลงก็ตัวเล็กจนไม่สามารถที่จะเข้ากระบวนการรีดนมได้แบบนมวัว หรือ นมแพะ ดังนั้นวิธีที่สามารถทำได้คงจะเป็นการใช้เทคโนโลยีทางพันธุวิศวกรรม เพื่อวิเคราะห์สารประกอบและสร้างเจ้านมชนิดนี้ขึ้นมาเองในห้องทดลอง ซึ่งก็ยังห่างไกลและยังไม่มีใครทำได้สำเร็จ แถมนอกจากนี้ในบทวิจัยที่ตีพิมพ์ก็ยังไม่มีข้อยืนยันว่าเจ้าสารอาหารชั้นเลิศนี้จะไม่มีส่วนประกอบใดก็ตามที่เป็นอันตรายต่อมนุษย์อีกด้วย 
ซึ่งถ้าหากใครสนใจที่จะอ่านงานวิจัยดังกล่าวก็สามารถกดเข้าไปอ่านที่ลิงก์ด้านล่างได้เลย: Structure of a heterogeneous, glycosylated, lipid-bound, in vivo-grown protein crystal at atomic resolution from the viviparous cockroach Diploptera punctata.

เรื่องเด่นประจำสัปดาห์