พลาสติก...เพื่อนรัก จาก 'ขวดโค้ก' สู่สรรพสิ่งรอบตัว เมื่อการรักษ์โลกมีต้นทุน ใครจ่าย?

11 ต.ค. 2567 - 07:27

  • ปี 2060 ขยะพลาสติกทั่วโลกจะเพิ่มขึ้นเป็น 3 เท่า

spacebar สเปซบาร์, โคคา-โคล่า, โค้ก, ขยะ, พลาสติก, ความยั่งยืน, ประวัติพลาสติก, รักษ์โลก, ความยั่งยืน, sustainability, parkesine

ปี 1978 เป็นปีที่ โคคา-โคล่า ตัดสินใจเปลี่ยนบรรจุภัณฑ์จากขวดแก้วใสที่เป็นเอกลักษณ์ มาใช้ขวดพลาสติก

เราอาจนับปีนั้นเป็นจุดเริ่มต้นของการเปิดประตูให้พลาสติกเข้าแทรกซึมมาอยู่ในชีวิตประจำวันของเรา

spacebar สเปซบาร์, โคคา-โคล่า, โค้ก, ขยะ, พลาสติก, ความยั่งยืน, ประวัติพลาสติก, รักษ์โลก, ความยั่งยืน, sustainability, parkesine
Photo: Pexels.com by Shamia Casiano

จนกระทั่งวันนี้แก้ว จานพลาสติก และอุปกรณ์ที่ใช้แล้วทิ้งชนิดอื่นๆ กลายเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้แล้วในวิถีชีวิตอันเร่งรีบตามสปีดอินเทอร์เน็ตที่เร็วขึ้นอย่างก้าวกระโดด

ข้อมูลจากรายงาน Plastic Atlas ที่ว่าด้วยข้อเท็จจริงและตัวเลขเกี่ยวกับโลกของโพลิเมอร์สังเคราะห์ (พลาสติก) ที่เผยแพร่ปี 2021 ระบุว่า พลาสติกกลายเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตผู้คนหลายพันหลายคนทั่วโลก โดยในแต่ละปีมีการผลิตพลาสติกราว 368 ล้านตัน

spacebar สเปซบาร์, โคคา-โคล่า, โค้ก, ขยะ, พลาสติก, ความยั่งยืน, ประวัติพลาสติก, รักษ์โลก, ความยั่งยืน, sustainability, parkesine, plastic atlas
Photo: รายงาน Plastic Atlas

เพื่อให้เห็นภาพชัดขึ้น 368 ล้านตันก็ราวๆ เอารถยนต์ Tesla Cybertruck ที่หนักคันละ 3,104 กิโลกรัม หรือ 3.1 ตันมากองรวมกัน 118.7 ล้านคัน

ถ้านำรถจำนวนนั้น (ตัวถังรถ กว้าง 2.433 เมตร x ยาว 5.682 เมตร) มาจอดเรียงกัน จะกินพื้นที่ราว 1,627.45 ตารางกิโลเมตร ซึ่งเต็มจนล้นเกินพื้นที่กรุงเทพฯ (1,569 ตร.กม.) ออกไปอีก

อเล็กซานเดอร์ พาร์กส์ (Alexander Parks) นักประดิษฐ์ชาวอังกฤษ ผู้นำเสนอ ‘พาร์คเคซีน’ (Parkesine) ในปี 1862 คงไม่คิดว่า วัสดุที่เขาอ้างว่าเป็นพลาสติกชนิดใหม่ที่ทำโดยมนุษย์ สามารถขึ้นรูปด้วยความร้อน และคงรูปนั้นไว้ด้วยความเย็น จะจุดประกายให้มีการพัฒนาพลาสติกต่อๆ มาจนกระทั่งอีกหลายสิบปีให้หลัง การค้นพบ PVC และการถือกำเนิดอุตสาหกรรมปิโตรเคมีจะทำให้การผลิตพลาสติกแพร่หลายและถูกลง

spacebar สเปซบาร์, โคคา-โคล่า, โค้ก, ขยะ, พลาสติก, ความยั่งยืน, ประวัติพลาสติก, รักษ์โลก, ความยั่งยืน, sustainability, parkesine, tesla

เมื่อเทคโนโลยีพร้อม ต้นทุนได้ หรือผลิตได้มากในราคาถูกลง พลาสติกก็ขยายตัวไปทั่วโลก โดยเฉพาะหลังสงครามโลกครั้งที่สอง หลายประเทศเดินหน้าฟื้นฟูประเทศด้วยอุตสาหกรรม โดยมีพลาสติกเป็นวัสดุสำคัญที่อยู่เบื้องหลังในหลายธุรกิจ

ถึงวันนี้ คำถามว่ามีอะไรไม่ใช่พลาสติกบ้าง อาจตอบได้ง่ายกว่าให้ตอบว่า สิ่งใดบ้างที่ใช้พลาสติก เพราะไม่ว่าจะมองไปทางไหนรอบตัว เกือบทุกสิ่งล้วนเป็นพลาสติก หรือไม่ก็มีพลาสติกเป็นส่วนประกอบ

ไม่ว่ากาแฟแก้วนั้นที่แวะซื้อตอนเช้าที่คาเฟ่ บรรจุภัณฑ์ใส่อาหารสำเร็จรูปในร้านสะดวกซื้อ ซีลห่อหนังสือที่เพิ่งซื้อมาเมื่อตอนบ่าย ที่ชาร์จแบต macbook และสมาร์ทโฟนที่นอนอยู่ในกระเป๋า กระทั่งแปรงสีฟัน (และหลอดยาสีฟัน) ตั้งแต่ด้ามจนถึงขนแปรง รวมถึงกางเกงในที่ใส่ก็ทำมาจากเส้นใยโพลิเอสเตอร์ที่ทำจากพลาสติก

spacebar สเปซบาร์, โคคา-โคล่า, โค้ก, ขยะ, พลาสติก, ความยั่งยืน, ประวัติพลาสติก, รักษ์โลก, ความยั่งยืน, sustainability, parkesine
Photo: Pexels.com by Jordan Benton
spacebar สเปซบาร์, โคคา-โคล่า, โค้ก, ขยะ, พลาสติก, ความยั่งยืน, ประวัติพลาสติก, รักษ์โลก, ความยั่งยืน, sustainability, parkesine
Photo: Pexels.com by Paul Kerby Genil

“ถ้าไม่มีการปรับเปลี่ยนนโยบายเกี่ยวกับการจัดการพลาสติก เป็นไปได้ว่าภายในปี 2060 ขยะพลาสติกทั่วโลกจะเพิ่มขึ้นเป็น 3 เท่า”

บรูน่า อัลเวส (Bruna Alves) นักวิจัยด้านสิ่งแวดล้อมและความยั่งยืน

บรูน่า อัลเวส (Bruna Alves) นักวิจัยด้านสิ่งแวดล้อมและความยั่งยืน ระบุในบทความ ขยะพลาสติกทั่วโลก ใน statista.com เมื่อมกราคม 2024

หลังจาก โคคา-โคล่า เปลี่ยนบรรจุภัณฑ์จากขวดแก้วใสมาใช้ขวดพลาสติกในปี 1978 ถึงวันนี้, 46 ปีผ่านไป เครื่องดื่มเกือบทุกยี่ห้อในตู้แช่ล้วนอยู่ในรูปขวดพลาสติกเป็นเรื่องปกติ

แต่เป็นความปกติที่ไม่ปกติ เพราะถึงแม้การใช้พลาสติกจะมีต้นทุนถูกกว่า แต่ก็นับว่าแพงเมื่อมองถึงผลกระทบระยะยาว 

แม้จะมีการหันมาปรับกระบวนการผลิตเพื่อลดจำนวนพลาสติกลง เช่น การผลิตพลาสติกรีไซเคิล (Recycled plastic) แต่ก็ยังไม่แพร่หลายมากนัก เพราะมีต้นทุนสูงกว่าการผลิตพลาสติกขึ้นใหม่

spacebar สเปซบาร์, โคคา-โคล่า, โค้ก, ขยะ, พลาสติก, ความยั่งยืน, ประวัติพลาสติก, รักษ์โลก, ความยั่งยืน, sustainability, parkesine
Photo: ข้อมูลจากรายงาน Plastic Atlas

คำถามคือเมื่อต้นทุนในการรักษ์โลกมีราคา ถ้าอยากให้โลกดีกว่านี้ คงต้องมีใครสักคนที่ยอมจ่าย

ผู้บริโภค ผู้ผลิต รัฐบาล หรือทุกภาคส่วนในระดับโลกต้องร่วมมือกัน (ด้วยใจจริง)

โลกร้อนขึ้นทุกวัน เวลามีจำกัด และเหลือน้อยลงทุกที แต่กรรมการยังไม่เป่านกหวีด

เรื่องเด่นประจำสัปดาห์