รู้ไว้ไม่เสียหาย! แท้จริงแล้ว 'เครื่องกระตุ้นหัวใจ' ไม่ได้ทำให้หัวใจกลับมาเต้น

19 ธันวาคม 2566 - 12:07

Defibrillator-Stop-or-Start-the-Heart-SPACEBAR-Hero.jpg
  • รู้หรือไม่ว่าแท้จริงแล้วเครื่องช็อกไฟฟ้าหัวใจที่เรามักได้เห็นบ่อยๆ ตามสื่อบันเทิง มันอาจจะไม่ได้ทำงานแบบที่เราเข้าใจกัน เพราะนอกจากมันจะไม่ได้มีหน้าที่ในการกระตุ้นให้หัวใจเต้นอีกครั้ง หน้าที่หลักๆ ของมันคือการทำให้หัวใจหยุดเต้นอีกด้วย

แรกเริ่มเราต้องทำความเข้าใจก่อนว่า ในความเป็นจริงแล้วเครื่องกระตุ้นหัวใจ หรือ “Defibrillators” นั้นทำงานโดยการปล่อยพลังงานไฟฟ้าไปทำให้หัวใจหยุดเต้น เพื่อที่จะรีเซ็ทหัวใจที่กำลังเต้นผิดปกติให้กลับมาเต้นให้ถูกจังหวะอีกครั้งตามธรรมชาติ ประกอบกับการปฐมพยาบาลแบบ CPR โดยมากใช้ในกรณีที่ผู้ป่วยเกิดอาการภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะที่เป็นอันตรายถึงชีวิต ชนิดเวนทริคูลาร์ฟิบริลเลชัน (ภาวะหัวใจห้องล่างเต้นแผ่วระรัว) และเวนทริคูลาร์แทคีคาร์เดีย (ภาวะหัวใจห้องล่างเต้นเร็วผิดปกติ) ซึ่งเป็นคนละกรณีทางการแพทย์กับอาการหัวใจวาย ที่ต้นเหตุที่หัวใจขาดเลือดจะคล้ายกับปัญหาท่อประปาที่ถูกอุดตัน แต่ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะจะเป็นปัญหาที่เกิดจากคลื่นไฟฟ้าหัวใจที่ผิดปกติ

Defibrillator-Stop-or-Start-the-Heart-SPACEBAR-Photo01.jpg

ซึ่งการทำ CPR มักเป็นแนวทางแรกของการรักษาภาวะหัวใจหยุดเต้นกะทันหัน โดยจะมีการกดหน้าอกด้วยความแรง ตำแหน่ง และจังหวะที่ถูกต้องเพื่อช่วยให้ของผู้ป่วยเลือดไหลเวียนและทำให้หัวใจสูบฉีด ประกอบกับการช่วยหายใจ ที่ต้องคอยปฏิบัติเพื่อให้ออกซิเจนแก่ปอดและช่วยป้องกันความเสียหายของสมองผู้ป่วย รวมไปถึงการช็อกไฟฟ้าด้วยอุปกรณ์กระตุ้นหัวใจที่มักใช้เพื่อรักษาภาวะหัวใจหยุดเต้นกะทันหันและเพื่อรีสตาร์ทหัวใจที่หยุดเต้น โดยที่ตัวเครื่องเองก็จะสามารถวินิจฉัยได้เลยว่าจากอาการของผู้ป่วยจำเป็นต้องใช้เครื่องกระตุ้นหัวใจด้วยไฟฟ้าหรือไม่ ดั่งคลิปการสอนใช้เครื่องด้านล่าง

จากคลิปเราจะเห็นได้เลยว่าการปฐมพยาบาลด้วยการ CPR คือพระเอกตัวจริงในการทำให้หัวใจกลับมาเต้นได้อีกครั้ง แต่ในขณะเดียวกันการใช้เครื่องช็อตไฟฟ้าก็ยังคงจำเป็นในหลายๆ กรณีที่เกิดขึ้นกับผู้ป่วยที่ประสบกับปัญหาทางด้านหัวใจที่เป็นอันตรายต่อชีวิตแบบกระทันหัน กล่าวคือเมื่อใช้อย่างถูกต้องและถูกวิธี เครื่องกระตุ้นหัวใจสามารถทำให้เกิดความแตกต่างระหว่างความเป็นและความตายของผู้ป่วยที่อยู่ในภาวะหัวใจหยุดเต้นได้ หากมีก็จะทำให้ผู้ป่วยมีโอกาสรอดชีวิตได้ดีขึ้นมากเลยทีเดียว

อ้างอิง

เรื่องเด่นประจำสัปดาห์