ฮาวทูกู้โลกรวน - วิธีที่ 8: จงเป็นสลอธ (โลกยากพอแล้ว ใช้ชีวิตช้าและง่ายหน่อยก็ได้)

9 ม.ค. 2568 - 10:54

  • วิถีชีวิตแบบ จง-อยู่-อย่าง-อยาก เพื่อกำไรสูงสุด กำลังทำร้ายโลกขาดทุนมหาศาล

  • ช้า-เล็ก-เรียบง่าย วิถีชีวิตแบบสลอธ จะช่วยกู้โลกและคืนความสุขให้ชีวิต

spacebar สเปซบาร์, ฮาวทูกู้โลกรวน, ความยั่งยืน, ช้า, เล็ก, เรียบง่าย, สลอธ, Sustainability, the Sloth Club

ฮาวทูกู้โลกรวน ฉบับพูดง่าย ทำยาก

วิธีที่ 8 จงเป็นสลอธ (โลกยากพอแล้ว ใช้ชีวิตช้าและง่ายหน่อยก็ได้)

วิถีชีวิตที่ฟุ้งเฟ้อบ้าคลั่ง เพราะ #ของมันต้องมี กำลังถลุงทรัพยากรโลก

แนะนำ: ใช้ชีวิตให้ช้าลง เรียบง่ายมากขึ้น มีพลังกว่าคำพูดว่า “รักษ์โลก”

spacebar สเปซบาร์, ฮาวทูกู้โลกรวน, ความยั่งยืน, ช้า, เล็ก, เรียบง่าย, สลอธ, Sustainability, the Sloth Club

WHAT (เกิดอะไรขึ้นอ่ะ?)

คนจำนวนมากมีสิ่งของล้นเกินจำเป็น (เดาว่าคุณก็คงมีของเยอะเช่นกัน) เพราะระบบเศรษฐกิจทุกวันนี้ขับเคลื่อนด้วยการกระตุ้นให้เกิดความอยาก ด้วยคาถา จง-อยู่-อย่าง-อยาก เพราะยิ่งอยากก็ยิ่งซื้อ ยิ่งซื้อก็ยิ่งขายได้ ยิ่งขายได้ก็ยิ่งมีกำไร แต่วงจรเช่นนี้กลับทำให้โลกขาดทุนย่อยยับ เพราะทรัพยากรที่มีจำกัดโดนถลุงไปกับสิ่งไร้สาระและความฟุ้งเฟ้อที่เกินจำเป็น

‘ทรัพยากรโดนถลุงมากขึ้นทุกปี’ กราฟการใช้วัสดุ (ทรัพยากร) ทั่วโลกที่จัดทำโดยโครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ (United Nations Environment Programme) ในเอกสาร ทำไมเราไม่ได้อยู่เส้นทางที่จะช่วยโลกและเรา (Why Are We Not on the Road to Save the Earth and Us?) คือหลักฐานที่ยืนยันได้ชัดเจน แม้ปัจจัยหนึ่งจะมาจากประชากรโลกที่มากขึ้น แต่อีกด้านหนึ่ง ก็เป็นเพราะพวกเราบริโภคกันมากเกินความจำเป็นจริงๆ ไปไกลโข

หรือคุณว่า...ไม่จริง?

spacebar สเปซบาร์, ฮาวทูกู้โลกรวน, ความยั่งยืน, ช้า, เล็ก, เรียบง่าย, สลอธ, Sustainability, the Sloth Club
Photo: Source of data: United Nations Environment Programme, International Resource Panel, Global Material Flows Database

WHY (ทำไมโลกร้อนล่ะ, เกี่ยวไร?)

มากกว่า ใหม่กว่า เร็วกว่า ดีกว่า หรูกว่า และอีกสารพัด ‘กว่า’ ที่เปรียบเทียบเพื่อด้อยค่าสิ่งหนึ่ง และจูงใจให้เราบริโภคสิ่งใหม่ (ที่ดีกว่า) ล้วนนำมาซึ่งโลกที่ร้อนกว่าเดิม

spacebar สเปซบาร์, ฮาวทูกู้โลกรวน, ความยั่งยืน, ช้า, เล็ก, เรียบง่าย, สลอธ, Sustainability, the Sloth Club
Photo: Source of data: Gavin A. Schmidt / NASA’s Goddard Institute for Space Studies (data)

ในโลกที่ไม่รีรอผู้ใดเหมือนสปีดอินเทอร์เน็ตที่แรงขึ้นราวกับไร้เพดาน ความเร็วและความฟุ้งเฟ้อที่เป็นตัวขับเคลื่อนเศรษฐกิจกำลังสนตะพายมนุษย์ให้ผลิตและบริโภคกันอย่างบ้าคลั่ง สังเกตง่ายๆ ได้จากกราฟ (ด้านล่าง) ที่แสดงเทรนด์การผลิตและบริโภคในช่วง 30 ปีที่ผ่าน (ปี 1980-2009)

spacebar สเปซบาร์, ฮาวทูกู้โลกรวน, ความยั่งยืน, ช้า, เล็ก, เรียบง่าย, สลอธ, Sustainability, the Sloth Club
Photo: Global Patterns of Material Flows and their Socio-Economic and Environmental Implications: A MFA Study on All Countries World-Wide from 1980 to 2009
  • ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) สูงขึ้น
  • การใช้วัสดุ หรืออีกนัยหนึ่ง = ทรัพยากร (Material consumption) สูงขึ้น
  • ประชากรโลก (Population) สูงขึ้น
  • ผลผลิตจากวัสดุ (Material productivity) สูงขึ้น

ถ้านำกราฟนี้ไปทาบกับอุณหภูมิโลกในช่วงเดียวกัน จะพบว่า กิจกรรมทางเศรษฐกิจทั้งหมดนี้สัมพันธ์กับ...

  • อุณหภูมิโลกที่ร้อนขึ้น อย่างเห็นได้ชัด

HOW (ทำอย่างไรล่ะทีนี้)

คุณรู้จักสัตว์ชื่อ สลอธ (sloth) ไหม? สัตว์หน้าตาเชื่องๆ ที่เคลื่อนไหวเชื่องช้านั่นแหละ หลายคนรู้จักเจ้าสลอธจากหนังอะนิเมชั่นเรื่อง นครสัตว์มหาสนุก (Zootopia) ที่ออกฉายครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ.2559 แต่รู้หรือไม่ว่า วิถีชีวิตของสลอธ คือกุญแจสำคัญในการแก้วิกฤตโลกร้อนและชีวิตที่ยุ่งยากวุ่นวาย

spacebar สเปซบาร์, ฮาวทูกู้โลกรวน, ความยั่งยืน, ช้า, เล็ก, เรียบง่าย, สลอธ, Sustainability, the Sloth Club
Photo: ตัวละคร ‘สลอธ’ ใน Zootopia

ดร.เคโบะ โออิวะ (Keibo Oiwa) นักมานุษยวิทยาวัฒนธรรมและนักสิ่งแวดล้อมชาวญี่ปุ่น ผู้ก่อตั้ง the Sloth Club เชื่อว่ามนุษย์จะกลับมามีชีวิตที่ดี มีความสุขได้ หากใช้ชีวิตแบบสลอธ

เพราะโลกที่ผ่านมาถูกครอบงำด้วยแนวคิดที่เน้นการเติบโต (ผู้บริหารและคนที่ทำงานบริษัทคงเคยชินกับคำประเภท ปีนี้เราจะ Growth กว่าปีที่แล้ว และปีหน้าต้องเติบโตกว่าปีนี้) ใช่, โลกบอกให้เราต้องเร็วขึ้น ใหญ่ขึ้น รวยขึ้น จนนำมาสู่ความล้นเกินพอดี

ธรรมชาติคือความสมดุล พอสมดุลเสียไป ก็เกิดปัญหา สภาพอากาศจึงผิดเพี้ยน ชีวิตจึงไร้สุข

“ช้า เล็ก เรียบง่าย”

ดร.เคโบะ โออิวะ พูดถึงหัวใจในการใช้ชีวิตแบบสลอธเพื่อความสุขที่ยั่งยืน

รู้ไหมว่า “การเคลื่อนช้าคือยุทธศาสตร์ในการอยู่รอด” ดร.เคโบะบอกว่า คนมักจะคิดว่าสลอธที่เชื่องช้าน่าจะตกเป็นเหยื่อของสัตว์ผู้ล่าในป่า แต่ความจริงแล้ว ความเชื่องช้าทำให้สลอธอยู่รอด เพราะสัตว์นักล่าจะมีตาคมมาก และไวต่อการจับความเคลื่อนไหว สลอธที่เชื่องช้าหรือดูเผินๆ เหมือนแทบไม่เคลื่อนไหวตัวจึงปลอดภัย

spacebar สเปซบาร์, ฮาวทูกู้โลกรวน, ความยั่งยืน, ช้า, เล็ก, เรียบง่าย, สลอธ, Sustainability, the Sloth Club

ข้อสังเกตอีกอย่าง การใช้ชีวิตแบบสลอธ ทำอะไรช้าๆ เคลื่อนที่ทีละน้อย (เล็กๆ) และวิถีที่แสนเรียบง่าย เป็นการใช้ชีวิตอย่างชาญฉลาด เพราะใช้พลังงานน้อย พอเหนื่อยน้อย ก็กินไม่เยอะ พอกินไม่เยอะ ก็ไม่ต้องเหนื่อยออกอาหาร ซึ่งในมุมหนึ่งก็เสี่ยงต่อการถูกล่า

“สัตว์อื่นต้องแย่งกันหาอาหารที่มีโปรตีนเยอะๆ ทำให้ต้องใหญ่ แข็งแรง วิ่งเร็ว และยุ่งมาก ...คนสมัยใหม่ก็เป็นแบบนั้น” ดร.เคโบะกล่าวและให้ความเห็นได้อย่างน่าสนใจ

“ทุกวันนี้ลัทธิเศรษฐศาสตร์เป็นใหญ่ เงินเป็นใหญ่ ที่ต้องการให้เราแสวงหาเงินมากขึ้น มากขึ้น และมากขึ้น เพื่อให้เศรษฐกิจเติบโต แล้วเราก็ใช้การเติบโตตัดสินคุณค่าทุกอย่าง ถ้าไม่เติบโตเท่ากับเลว เติบโตเท่านั้นถึงดี

“ด้วยเหตุนี้ เราจึงทำลายธรรมชาติ ทำลายบ้านของเรา รวมทั้งทำลายอนาคตของลูกหลานของเรา เพื่อให้เศรษฐกิจเติบโตขึ้น ใหญ่ขึ้น เร็วขึ้น”

spacebar สเปซบาร์, ฮาวทูกู้โลกรวน, ความยั่งยืน, ช้า, เล็ก, เรียบง่าย, สลอธ, Sustainability, the Sloth Club

ข้อสังเกตของ ดร.เคโบะ ชวนให้ฉุกคิดและย้อนกลับมาดูใจตัวเอง เราบริโภคมากเกินไปหรือเปล่า เราเร่งรีบเกินไปหรือเปล่า วิถีชีวิตทุกวันนี้ที่เราใช้ทำให้เราไร้สุขและวิตกกังวลใช่หรือไม่

ถ้าตอบตัวเองว่า ใช่ทุกข้อ บางทีอาจถึงเวลาทบทวนตัวเอง และเริ่มต้นลองใช้ชีวิตในปี 2025 ที่ช้า เล็ก และเรียบง่าย แบบสลอธดูบ้าง

สำหรับใครที่ยังนึกไม่ออกว่าจะเริ่มต้นอย่างไร แนะนำอ่าน อยู่ดี กรีนดี : New Year’s Resolutions 2025 ปีใหม่ คนใหม่ เพื่อโลกใบเดิมที่น่าอยู่ขึ้น

เรื่องเด่นประจำสัปดาห์