ฮาวทูกู้โลกรวน - วิธีที่ 12 โซเชียลดีท็อกซ์ (สังคมที่ทำให้ลำบาก ไม่ต้องมีก็ได้)

17 ม.ค. 2568 - 07:34

    spacebar สเปซบาร์, social detox, โซเชียลดีท็อกซ์, โซเชียลมีเดีย, social media, facebook, โฆษณา, ทาสการตลาด, กังวล, ซึมเศร้า, สุขภาพจิต, mental health

    ฮาวทูกู้โลกรวน ฉบับพูดง่าย ทำยาก

    วิธีที่ 12 โซเชียลดีท็อกซ์ (สังคมที่ทำให้ลำบาก ไม่ต้องมีก็ได้)

    ไถฟีดทีไร ถ้าไม่จิตตก ก็ตกเป็นทาสการตลาด แล้วก็ช้อปเพื่อโลก (ร้อน) กันต่อไป

    แนะนำ: ยุ่งเรื่องชาวบ้านน้อยลง ลดการเปรียบเทียบและฟุ้งเฟ้อ ต้นเหตุภาวะโลกร้อน

    spacebar สเปซบาร์, social detox, โซเชียลดีท็อกซ์, โซเชียลมีเดีย, social media, facebook, โฆษณา, ทาสการตลาด, กังวล, ซึมเศร้า, สุขภาพจิต, mental health

    WHAT (เกิดอะไรขึ้นอ่ะ?)

    ดึกแล้วยังไม่นอน...ไถฟีดโซเชียลมีเดียไปเรื่อยเปื่อย ระหว่างทำงาน...แอบแวะเปิดโซเชียลฯ อัพเดทเรื่องชาวบ้านแก้เซ็งหน่อยดีกว่า หรือไม่รู้ทำไร...รู้ตัวอีกทีก็พบตัวเองเดินเล่นอยู่ในโซเชียลฯ โดยไม่รู้ตัว

    ใครเป็น (เคยเป็น และยังเป็น) แบบตัวอย่างที่ยกมา ไม่ว่ากรณีไหน (หรือทุกกรณี) ยินดีด้วยคุณคือคนหนึ่งที่ช่วยให้ไทยติดอันดับโลก (เรื่องปริมาณการเล่นโซเชียลมีเดียนะ)

    ข้อมูล Digital Stat & Insight 2024 ของคนไทย จัดทำโดย We Are Social ระบุว่า คนไทยออนไลน์ติดอันดับ 10 ของโลก วันละ 7 ชั่วโมง 58 นาที

    “ถ้าคนไทยออนไลน์เยอะขนาดนี้ แสดงว่าเขามีโอกาสเป็นลูกค้าเรา เห็นแอดโฆษณาเราไม่น้อยแน่นอน”

    การตลาดวันละตอน (Everyday Marketing)

    เว็บไซต์และแอปพลิเคชันที่คนไทยใช้เยอะที่สุด คือ โซเชียลเน็ตเวิร์ค (หรือโซเชียลมีเดีย) ถึง 98.6% ใช้เวลาไปกับสิ่งนี้

    spacebar สเปซบาร์, social detox, โซเชียลดีท็อกซ์, โซเชียลมีเดีย, social media, facebook, โฆษณา, ทาสการตลาด, กังวล, ซึมเศร้า, สุขภาพจิต, mental health

    บทความ คนไทยซื้อสินค้าผ่าน ‘โซเชียลมีเดีย’ มากสุดในโลก โดย ลงทุนแมน เพจด้านการลงทุนที่เผยแพร่เมื่อปี 2023 บอกว่า นอกจากจุดประสงค์เพื่อความบันเทิงแล้ว โซเชียลมีเดียยังเป็นช่องทางการช้อปปิ้งหลักของคนไทย

    “คนไทยทุกๆ 100 คน จะมีมากถึง 88 คน มีการซื้อสินค้าผ่านช่องทางโซเชียลมีเดีย สัดส่วนนี้ เรียกได้ว่าเป็น สัดส่วนมากสุดในโลก”

    ลงทุนแมน

    ถ้าคุณรู้ว่า แพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียต่างๆ มีรายได้หลักมาจากโฆษณา ดังนั้น ไม่แปลกถ้าจุดประสงค์หลักของมัน (นอกจากสร้างความเพลิดเพลินให้เรา) คือการกระตุ้นให้เกิดการบริโภค

    ช้อปเลย! สนใจคลิก! จองด่วน! ลงทะเบียนรับสิทธิพิเศษ! ฯลฯ แต่ละวันมีข้อความโฆษณาทำนองนี้ (รวมถึงโฆษณาแฝงต่างๆ เช่น Advertorial) วิ่งผ่านสายตาผู้คนราว 4,000-10,000 ครั้ง

    และคงไม่แปลกเช่นกัน ถ้าคุณจะตกเป็นเหยื่อการตลาด เผลอกดซื้อบางสิ่งโดยมาคิดได้ทีหลังว่า เราซื้อสิ่งนั้นมาทำไม ใช่, มันเป็นแค่อารมณ์ชั่ววูบ แล้วคุณก็จะตั้งสติได้และคิดว่าจะไม่ซื้อสิ่งที่ไม่จำเป็นอีก เพราะตอนนี้ในห้องหรือบ้านคุณเต็มไปด้วยสิ่งเหล่านั้นกองอยู่ที่มุมใดมุมหนึ่ง และบางส่วนยังไม่ได้แกะออกจากกองพัสดุด้วยซ้ำ แต่หลังจากนั้น คุณก็เผลอไผลให้กับอารมณ์ชั่ววูบอีกครั้ง วนเวียนเป็นวงจรขับเคลื่อนและหล่อเลี้ยงระบบทุนนิยมให้ดำรงอยู่ต่อไป

    วงจรนี้ไม่ได้เกิดขึ้นกับคุณคนเดียว แต่เป็นเรื่องปกติ และเป็นสิ่งที่เจ้าของแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียจงใจออกแบบให้เป็นแบบนั้น

    คนที่เคยดูสารคดีเรื่อง The Social Dilemma จะเข้าใจเรื่องนี้ได้ทันที แพลตฟอร์มต่างๆ ที่ดูเหมือนจะให้พวกเรา “ใช้ฟรี” จริงๆ แล้วมีราคาที่เราต้องจ่ายนั่นคือ “ข้อมูลส่วนตัว” ที่เจ้าของแพลตฟอร์มนำไปค้าขายให้คนที่ต้องการลงโฆษณาอีกต่อหนึ่ง เพื่อให้คนเหล่านั้นยิงสิ่งที่คุณสนใจให้คุณกลายเป็นลูกค้าพวกเขาอีกที

    ส่วนกลไกต่างๆ ในนั้น ไม่ว่าการโพสต์ ไลค์ แชร์ หรือใดๆ ก็ตาม ล้วนถูกคิดและออกแบบตามหลักจิตวิทยา และเล่นกับระบบความคิด จิตใจ และสัญชาตญาณดิบของเรา เพื่อบงการให้ผู้ใช้ทำตามจุดประสงค์ของเจ้าของแพลตฟอร์มโดยไม่รู้ตัว

    ตัวอย่างหนึ่งที่เห็นได้ชัด คือ การอวดโชว์ชีวิต ความสุข ความสำเร็จของผู้คนในนั้น เหมือนจะดี แต่สิ่งนั้นทำให้หลายคนเกิดการเปรียบเทียบ รู้สึกด้อย ขาดพร่อง และจำนวนมากจิตตก ซึมเศร้า ไร้สุข

    ปัญหาสุขภาพจิตที่เกิดจากการใช้โซเชียลมีเดียเกิดขึ้นทั่วโลก โจนาธาน ไฮด์ท (Jonathan Haidt) นักจิตวิทยาสังคม ผู้เขียนหนังสือ The Anxious Generation ให้ยืนยันว่า

    “สมาร์ทโฟนและโซเชียลมีเดียเป็นตัวการที่สร้าง ‘ความทุกข์ทรมาน’ ให้วัยรุ่นทั่วโลกตะวันตก”

    โจนาธาน ไฮด์ท, ผู้เขียนหนังสือ The Anxious Generation

    spacebar สเปซบาร์, social detox, โซเชียลดีท็อกซ์, โซเชียลมีเดีย, social media, facebook, โฆษณา, ทาสการตลาด, กังวล, ซึมเศร้า, สุขภาพจิต, mental health, หนังสือ, the anxious generation
    Photo: หนังสือ The Anxious Generation พิมพ์ครั้งแรก ปี 2024

    หากคุณเป็นนักโฆษณาหรือนักการตลาดจะรู้ว่า การจะทำให้คนซื้อของของคุณ คือการสร้าง ‘ความอยาก’ ด้วยการทำให้คุณรู้สึก ‘ขาด’ เพื่อให้สิ่งนั้นมาเติมเต็ม เพื่อให้คุณเป็นคนที่ดีขึ้น มั่นใจขึ้น หรือแม้กระทั่งเพื่อช่วยให้โลกนี้และสังคมดีขึ้น (ซึ่งเป็นกลวิธีการสื่อสารในยุคหลังที่เน้นเรื่อง 3P - Profit People Planet หรือแนวคิดที่บอกว่า ธุรกิจที่ดี นอกจากทำกำไรแล้ว ต้องทำให้โลกและชีวิตผู้คนดีขึ้นด้วย)

    ขอเดาว่า ตอนนี้คุณน่าจะอ่านข้อความนี้ หลังจากกดลิงค์ในโพสต์บนโซเชียลมีเดีย รวมถึงก่อนหน้านั้นหรือหลังจากนี้ คุณน่าจะเห็นโพสต์ใครบางคนที่ทำให้คุณรู้สึกอิจฉา หรือไม่ก็เห็นโพสต์โฆษณาสินค้าที่คุณกำลังอยากได้อยู่พอดี

    และมีความเป็นไปได้เหลือเกินว่า คุณจะกดซื้อมัน (หรือถ้าพอฝืนใจได้ คุณอาจกดใส่ตะกร้าไว้ก่อนเพื่อตัดสินใจว่าจะซื้อมันอีกทีดีไหม?)

    WHY (ทำไมโลกร้อนล่ะ, เกี่ยวไร?)

    อย่างที่บอกไม่ใช่คุณคนเดียวที่ช้อปของที่บางทีก็งงตัวเองว่า “ซื้อมาทำไม?” เพราะกลไกบนแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดีย ส่งผลโดยตรง (แบบเนียนๆ) ที่จะกระตุ้นความอยากให้เกิดขึ้น พร้อมออกแบบประสบการณ์แบบไร้รอยต่อ (Seamless Marketing) เพื่อให้เราซื้อสินค้าแบบ “รูดปรื๊ด” ภายในเสี้ยววินาที

    ใจกลางของปัญหาโลกร้อนอยู่ตรง ‘การผลิตและบริโภคที่เกินพอดี’ แต่ดูเหมือนสิ่งเหล่านี้จะกลายเป็นเรื่องปกติจนกลายเป็นความเคยชิน

    “80% ของเสื้อผ้าที่ซื้อ จะถูกใส่แค่ไม่กี่ครั้ง แล้วก็ถูกทิ้งให้นอนตู้ นี่คือหนึ่งในตัวอย่างที่เห็นได้ชัด” ซึ่งคุณอ่านเพิ่มเติมได้ใน ฮาวทูกู้โลกรวน - วิธีที่ 5: โละตู้กู้โลก (Fast Fashion เร็ว! แรง! ทะลักตู้!)

    spacebar สเปซบาร์, social detox, โซเชียลดีท็อกซ์, โซเชียลมีเดีย, social media, facebook, โฆษณา, ทาสการตลาด, กังวล, ซึมเศร้า, สุขภาพจิต, mental health

    สินค้ามากมายถูกผลิตมากเกินจำเป็น ไม่ใช่แค่สินค้าในนิยามที่เราคุ้นเคย แม้แต่คอนเทนต์ที่เราแต่ละคนเป็นผู้ผลิตก็ล้นเกิน (overload) และดาษดื่นด้วยปริมาณมากกว่าคุณภาพ

    ต้นทางของการผลิตคือทรัพยากร ไม่ว่าจะเป็นสินค้า (ทรัพยากรในการผลิต) หรือคอนเทนต์ (พลังงานไฟฟ้า) ล้วนต้องอาศัยทรัพยากรทั้งสิ้น

    ถ้าโฟกัสไปที่โซเชียลมีเดียว่ามีผลต่อโลกร้อนแค่ไหน เราอาจอนุมานแบบบ้านๆ (ไม่ได้อิงผลวิจัยใดๆ) ได้ด้วยการนับจากปี 2004 ที่ยักษ์ใหญ่ด้านโซเชียลมีเดียอย่าง Facebook เกิดขึ้น เทียบเคียงกับแนวโน้มอุณหภูมิเฉลี่ยของโลกหลังจากนั้น

    แน่นอนว่า มันเพิ่มขึ้น!

    spacebar สเปซบาร์, social detox, โซเชียลดีท็อกซ์, โซเชียลมีเดีย, social media, facebook, โฆษณา, ทาสการตลาด, กังวล, ซึมเศร้า, สุขภาพจิต, mental health
    Photo: climate.gov

    HOW (ทำอย่างไรล่ะทีนี้)

    อย่ายุ่งเรื่องชาวบ้านให้มากเกิน เพราะคนเราไม่ได้เติบโตจากการยุ่งเรื่องคนอื่น ดูเหมือนคำสอนนี้เป็นเรื่องที่ทำได้ยากขึ้นหลังโซเชียลมีเดียพาเราข้าม space and time ให้เข้ายุ่งเรื่องคนอื่นได้ง่ายดายเพียงลัดนิ้วมือ

    สำหรับใครที่อยากโซเชียลดีท็อกซ์ ลด-ละ-เลิก โซเชียลมีเดียให้น้อยลง แนะนำลองทำตามขั้นตอนดังนี้ ทีละขั้น ค่อยๆ ทำเท่าที่ทำได้ แล้ววันหนึ่งคุณจะรู้สึกแปลกใจที่อยู่ดีๆ โซเชียลมีเดียกับคุณก็เหลือสถานะเป็นเพียงแค่คนเคยคุ้นหรือเพื่อนเก่าที่ไม่ได้สนิทกันแล้ว

    spacebar สเปซบาร์, social detox, โซเชียลดีท็อกซ์, โซเชียลมีเดีย, social media, facebook, โฆษณา, ทาสการตลาด, กังวล, ซึมเศร้า, สุขภาพจิต, mental health
    Photo: Pexels.com
    1. ลดการโพสต์และแสดงความคิดเห็น รวมถึงการปฏิสัมพันธ์ในโซเชียลมีเดีย
    2. ลบแอปพลิเคชั่น เพื่อให้เข้าถึงได้ยากขึ้น (แต่ก็ยังเข้าถึงได้นะ ถ้าต้องการ แต่เชื่อเถอะ คุณจะพยายามเข้าถึงเท่าที่จำเป็น และคุณจะค้นพบกิจกรรมใหม่ๆ มากกว่าแค่การไถฟีด)
    3. จำกัดเวลาในการเล่นสมาร์ทโฟน (จับโทรศัพท์น้อยลง เชื่อเถอะชีวิตจะดีขึ้น!)

    เพียงแค่ 3 ขั้นตอนเท่านั้น ลองทำดู แล้วชีวิตของคุณจะเรียบง่ายขึ้นเยอะ และมีความสุขมากขึ้นเป็นกอง

    เรื่องเด่นประจำสัปดาห์