เมืองสุขภาวะดี คือหนึ่งในมาตรฐานเมืองยั่งยืนที่ส่งเสริมให้ทุกคนมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดี (Well-being) เพื่อสะสมทุนสุขภาพทั้งทางกายและทางใจไว้ใช้ตอนแก่ นี่คือนิยามที่ผู้เขียนรวบตึงมาให้เพื่อเข้าใจคำว่า “เมืองสุขภาวะดี” ซึ่งวันนี้เราจะมาขยายความคำนี้กัน
จะเป็นอย่างไร ถ้าเรามี “เมือง” ที่เอื้อให้ผู้คนมีคุณภาพชีวิตที่ดี จากสภาพแวดล้อมที่ดี อากาศที่สะอาด มีความปลอดภัย ตอบสนองความต้องการพื้นฐาน ส่งเสริมให้ผู้คนมีสุขภาวะที่ดีแบบรอบด้าน พร้อมทั้งเปิดโอกาสให้ทุกคนมีส่วนร่วมและเข้าถึงได้
เรารู้จักคำว่า Well-being มากแค่ไหน?
คำว่า Well-being หรือความเป็นอยู่ที่ดี คือขั้นกว่าของ “สุขภาพดี” และ “สุขภาวะที่ดี” ที่ไม่ใช่แค่ดูแข็งแรง แต่ต้องดีครอบคลุมแบบองค์รวม ดีแบบยั่งยืน ดีตั้งแต่ภายในถึงภายนอก โดยเราต้องพิจารณาเชื่อมโยงสุขภาพกาย จิตใจ สังคม และปัญญา
ถ้าเปรียบกับคนคือ ไม่ใช่แค่หุ่นดี ร่างกายฟิตแอนด์เฟิร์มแบบนักกีฬา แต่จน! เครียด! กินเหล้า! (คิดถึงโฆษณา สสส.) ทว่าต้องเป็นคนที่ดูสมาร์ทและสุขภาพจิตดี มีความสุข เพราะประกอบครบด้วย
- สุขภาวะทางกาย (Physical Well-being) ร่างกายสมบูรณ์แข็งแรง ไม่เป็นโรค
- สุขภาวะทางจิต (Mental Well-being) มีความพึงพอใจในชีวิต ไม่เครียด
- สุขภาวะทางสังคม (Social Well-being) อยู่ร่วมกันด้วยดี ครอบครัวอบอุ่น ชุมชนเข้มแข็ง เข้าถึงสวัสดิการแบบเท่าเทียม
- สุขภาวะทางปัญญา (Intellectual Well-being) การตระหนักรู้ซึ่งนำมาสู่ชีวิตที่สมดุลและมีความสุข
และหากดูในบริบทของ “เมือง” เมืองสุขภาวะดี ก็คือเมืองที่ทุกคนมีชีวิตแบบ Happy นั่นเอง
Green Space กระตุ้นกิจกรรมทางกาย ช่วยคนเมืองมีสุขภาพดี
การเข้าถึงสวนสาธารณะ สวนหย่อม กระตุ้นให้ผู้คนทำกิจกรรมทางกาย เช่น เดิน วิ่ง ขี่จักรยาน หรือเล่นกีฬา เพราะการมีพื้นที่สีเขียวช่วยให้กิจกรรมทางกายสนุกสนานยิ่งขึ้น ซึ่งส่งผลให้ประชากรมีสุขภาพดี และความเป็นอยู่ก็ดีขึ้นด้วย
ในขณะที่ผลการศึกษาหลายชิ้นระบุตรงกันถึงความสัมพันธ์ของ Green Space พื้นที่สีเขียว (ที่ความจริงรวมถึงสีอื่นด้วย) ต่อสุขภาวะในเชิงบวก ทำให้หลายประเทศทั่วโลกมีเป้าหมายที่จะเพิ่มจำนวนและปรับปรุงคุณภาพพื้นที่สีเขียวในเมือง แต่ต้องยอมรับว่าไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะแต่ละเมืองก็มีข้อจำกัด เช่นเดียวกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในเมืองหลวงของประเทศไทย
พื้นที่แห่งความสุขเล็กๆ สนับสนุนเมืองยั่งยืน
การออกแบบเมืองให้มีพื้นที่สีเขียวเพิ่มขึ้น ก็เหมือนการเพิ่มพื้นที่แห่งความสุข เพิ่มแหล่งสันทนาการ ช่วยให้คนเมืองมีคุณภาพชีวิตที่ดี ทั้งสุขภาวะทางด้านร่างกายและจิตใจ สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน 2 เป้าหมาย ได้แก่ เป้าหมายที่ 3 #SDGs3 - Good health and Well-being สุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี และเป้าหมายที่ 11 #SDGs11 - Sustainable Cities and Communities เมืองและชุมชนที่ยั่งยืน
#SDGs3 - Good health and Well-being
1 ใน 17 เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน หรือ Sustainable Development Goals (SDGs) ที่สหประชาชาติ (UN) วางเป็นวาระการพัฒนาระดับโลก และต้องบรรลุให้ได้ภายในปี 2030 คือ “Good health and Well-being” โดยประเด็นนี้จัดอยู่ในเป้าหมายที่ 3 #SDGs3 ว่าด้วยเรื่องของการสร้างหลักประกันการมี “สุขภาวะที่ดี” และส่งเสริมความเป็นอยู่ที่ดีสำหรับทุกคนในทุกช่วงวัย (Ensure Healthy lives and Promote Well-being for all at all ages) ครอบคลุมประเด็นด้านสุขภาวะและความเป็นอยู่ที่ดีในหลากหลายประเด็น
#SDGs11 - Sustainable Cities and Communities
การทำให้เมืองและการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ มีความครอบคลุม ปลอดภัย ยืดหยุ่นต่อการเปลี่ยนแปลง และยั่งยืน (Make cities and human settlements inclusive, safe, resilient and sustainable) คือเป้าหมายที่ 11 ใน SDGs ที่โฟกัสเรื่องของเมืองสุขภาวะดีในทุกมิติชีวิตของประชาชน โดยให้ความสำคัญทั้งด้านความมั่นคงทางเศรษฐกิจ การเข้าถึงที่อยู่อาศัย คุณภาพสิ่งแวดล้อม และคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ที่ดี เช่น การออกแบบเมืองให้เอื้อต่อทุกคน ลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม การจัดให้มีการเข้าถึงพื้นที่สาธารณะ พื้นที่สีเขียว พื้นที่แห่งความสุขที่ปลอดภัย และเข้าถึงได้แบบถ้วนหน้า โดยเฉพาะผู้หญิง เด็ก คนชรา และผู้พิการ
เทศกาลดอกไม้ จุดพักใจคนเมือง
สำหรับวันหยุดสุดสัปดาห์นี้ ใครยังไม่มีแพลนไปเที่ยวที่ไหน แนะนำให้มาตื่นตาตื่นใจกับความงดงามของหมู่มวลดอกไม้ที่บานสะพรั่ง ณ ใจกลางกรุงเทพฯ ที่เซ็นทรัล ชิดลม ในโอกาสพิเศษครบรอบ 77 ปีของการเป็นเดสติเนชั่นแห่งแรงบันดาลใจ ในแคมเปญ “Central 77th Anniversary 2024”
เช็กอินฟินๆ กับทุกสเปซในห้างที่ผลิบานด้วยดอกไม้ ผสานเทคโนโลยีล้ำสมัยในรูปแบบ Immersive Garden ที่จะมอบประสบการณ์การชมดอกไม้แบบที่ไม่เคยมีมาก่อน ผ่านการคอลแลบกับนักจัดดอกไม้และนักพฤกษศิลป์ชั้นแนวหน้าของไทย ไม่ว่าจะเป็น Naraphat, Penlert, give.me.museums, Wasteland, Spirulina Society, 6188 Flowers Bar, GOT A GOOD THING และ Pineapple Print Press ปิดท้ายด้วยอาหารและเวิร์กชอปธีมดอกไม้สุดสร้างสรรค์ที่เปิดโอกาสให้ทุกคนได้มาร่วมกิจกรรมพร้อมเก็บภาพความประทับใจ
เรียกว่างานนี้ส่งเสริมให้คนเมืองมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดี (Well-being) เพื่อสะสมทุนสุขภาพทั้งทางกายและทางใจไว้ใช้ตอนแก่ อย่างเห็นภาพได้ชัดเจน แล้วยังเป็นไอเดียให้หน่วยงานต่างๆ ที่จะจัดอีเว้นต์หรือกิจกรรมเฉลิมฉลองได้นำไปเป็นโมเดลแจกความสุข ให้คนได้ถ่ายรูปสวยๆ และที่สำคัญคือ สุดท้ายแล้ววัสดุในงานก็ไม่ต้องกลายเป็นขยะกำจัดยาก ไม่ทำร้ายโลก ตามมาเช็กอินงานดอกไม้ได้ถึง 28 ต.ค. 2567 ที่ห้างเซ็นทรัล ชิดลม