วันหยุดยาวมาเยือน ชีวิตของ ‘พ่อแม่บ้างาน’ ต้องเลือกระหว่าง ‘การเติบโตของลูก’ และ ‘งานที่ทำ’

9 ธันวาคม 2566 - 08:50

How-to-deal-with-work-and-child-SPACEBAR-Hero.jpg
  • ช่วงปลายปีเป็นช่วงที่งานนั้นจะเดือดที่สุด เพราะมันคือช่วงที่มีเทศกาลหยุดยาวเยอะ จึงทำให้งานที่ต้องทำจึงมีเวลาน้อยลงจำเป็นต้องใช้ช่วงเวลาทั้งหมดไปกับงานจนเบียดเบียนวันหยุด

  • เด็กๆ มักจะมีความหวังที่จะได้ใช้เวลากับพ่อแม่แบบครอบครัวสุขสันต์ไปเที่ยวไปพบเจอแหล่งเรียนรู้ใหม่ๆ ในช่วงวันหยุดจากโรงเรียน แล้วแบบนี้ จะทำอย่างไรดี

อย่างที่ทราบกันดีว่า ช่วงปลายปีเป็นช่วงที่งานนั้นจะเดือดที่สุด เพราะมันคือช่วงที่มีเทศกาลหยุดยาวเยอะ โดยเฉพาะประเทศไทย ซึ่งเมื่อวันหยุดยาวมีเยอะ แน่นอนว่างานที่ต้องทำจึงมีเวลาให้ทำงานน้อยลง จึงจำเป็นต้องใช้ช่วงเวลาทั้งหมดไปกับงาน  

แต่ด้วยความที่มันเป็นช่วงหยุดยาว เหล่าเด็กๆ มักจะมีความหวังที่จะได้ใช้เวลากับพ่อแม่แบบครอบครัวสุขสันต์ไปเที่ยวไปพบเจอแหล่งเรียนรู้ใหม่ๆ ในช่วงวันหยุดจากโรงเรียน โดยเฉพาะวัยอนุบาล และประถม ซึ่งเป็นวัยที่กำลังเรียนรู้สิ่งรอบตัว และเป็นวัยที่ต้องการความรักและความเอาใจใส่จากพ่อแม่มากๆ  

แต่วันหยุดยาวนี้ กลายเป็นว่า พ่อต้องเร่งงานให้ทันคริสต์มาส แม่ก็ต้องปิดดีลลูกค้าก่อนปลายปี ทุกอย่างวุ่นวายไปหมด แล้วเจ้าเด็กน้อยในบ้านจะทำอย่างไรดี งานนี้พ่อแม่มือใหม่ต้องเลือกซะแล้วระหว่าง ‘งานที่สำคัญ’ กับ ‘ลูกที่กำลังอยู่ในวัยเติบโต’ 

วันนี้เราเลยอยากเอาทริคการจัดสรรเวลา เพื่อให้ความสำคัญกับงานและลูกได้อย่างเท่าเทียมโดยที่จะมีไม่ใครน้อยใจว่า ทำไมถึงไม่มีเวลาให้เลย 

แบ่งเวลาที่ชัดเจน งานควรอยู่ที่ทำงาน เมื่อเลิกงานก็ควรวางทิ้งไว้ที่ออฟฟิศ ในเวลาทำงานคือช่วงเวลาทำงาน และเมื่อกลับบ้านก็ควรกลับมาตัวเปล่าพร้อมหัวสมองที่ปลอดงานเพื่อเพิ่มเวลาอยู่กับลูกได้มากขึ้น 

ลองชั่งน้ำหนักความสำคัญก่อนและหลัง ว่าอะไรคือสิ่งที่สำคัญที่สุดของวัน และเรียงลำดับลงมาเพื่อการจัดสรรเวลาในการจัดการได้มากขึ้น 

ให้ความสนใจกับสิ่งที่อยู่ตรงหน้า เมื่อรู้ว่างานเยอะ อะไรที่ไม่สำคัญก็ไม่ควรใส่ใจ แต่ควรโฟกัสกับสิ่งที่อยู่ตรงหน้าให้ดีที่สุด 

แบ่งหน้าที่การใช้เวลากับลูก หากงานมันสำคัญมากจริงๆ จนไม่สามารถทิ้งไว้ทำในเวลางานได้ การแบ่งหน้าที่ในการให้เวลากับลูกควรเกิดขึ้น และในระหว่างนั้น ก็ควรรีบจัดการงานให้ไวที่สุด เพื่อที่จะให้ลูกได้รู้ว่า เขาก็สำคัญกับพ่อแม่เช่นกัน 

พูดคุยกับลูกให้มาก พ่อแม่ยุคใหม่ มักจะให้ลูกได้ใช้โทรศัพท์ในวัยที่รู้เรื่องแล้ว หรือประมาณ 8-11 ปี ซึ่งเด็กๆ สามารถใช้งานสมาร์ทโฟนได้แล้ว การใช้เทคโนโลยีให้เกิดประโยชน์ถึงแม้ว่าจะต้องกลับบ้านดึก แต่เสียสละเวลาสักนิดในการติดต่อกับลูกที่รออยู่ที่บ้านก็นับว่าเป็นการเอาใจใส่อย่างนึงแล้ว 

เนื่องจากเด็กวัย 0-3 ปี เป็นเด็กที่ต้องการการเอาใจใส่จากพ่อแม่มากที่สุด เด็กวัย 4-11 ปี เป็นวัยที่จะลอกเลียนแบบและต้องการการเรียนรู้จากคนรอบตัว โดยเฉพาะพ่อแม่มากที่สุด การให้เวลากับลูกในช่วง 11 ปีแรกจึงเป็นสิ่งสำคัญ และไม่ควรจะละเลย เพราะสุดท้าย เมื่อเขาเข้าสู่ช่วงวัยรุ่นแล้ว เราจะเข้าไปมีบทบาทในชีวิตเขาตอนนั้น มันคงสายไป

เรื่องเด่นประจำสัปดาห์