‘หลินซานิตี้’ ปรากฏการณ์ในเกมเอ็นบีเอ ที่ทำให้ความไม่เป็นธรรมต่อสังคมเอเชียได้ถูกพูดถึง

6 ก.พ. 2566 - 07:52

  • ‘เจเลมี ลิน’ จากม้ามืดที่ไม่มีใครสนใจ สู่การ์ดผู้สร้างปฏิหาริย์ที่ใครก็ยากจะหยุด

  • ‘หลินซานิตี้’ ปรากฏการณ์สร้างแรงกระเพื่อมต่อความไม่เป็นธรรมที่มีต่อชาวเอเชีย

jeremylin-linsanity-shocked-the-world-SPACEBAR-Thumbnail
https://images.ctfassets.net/i3o8p9lzd06f/7mh15pbzWqy02BUb3fof8v/fa5a58ab048738831e495a2081625864/jeremylin-linsanity-shocked-the-world-SPACEBAR-Photo01

เจเรมี่ ลิน คือใคร?

เจเรมี ลิน (Jeremy Lin) ปัจจุบันอายุ 34 ปี การ์ดจ่ายใจถึงเจ้าของส่วนสูง 6 ฟุต 4 นิ้ว หรือประมาณ 191 เซนติเมตร ที่ผ่านมาเขาเป็นนักกีฬาอเมริกันเชื้อสายไต้หวันคนแรกที่ได้ตบเท้าสัมผัสพื้น ‘ฮาร์ดวูด’ ในฐานะนักกีฬา ’เอ็นบีเอ’ จากม้ามืดที่ไม่มีใครสนใจ สู่การ์ดผู้สร้างปฏิหาริย์ที่ใครก็ยากจะหยุดเขา 
 
เชื่อว่าเหตุการณ์ที่แฟนบาสนับล้านทั่วโลกไม่มีวันลืม คือการปรากฏตัวของชายที่ชื่อ เจเรมี่ ลิน ณ ‘Madison Square Garden’ สนามเหย้าของทีมนิวยอร์กนิกส์ (Newyork Knicks) เมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2012 ในเกมที่ นิวยอร์กนิกส์ พบกับ นิวเจอร์ซีย์ เน็ตส์  พอยการ์ดหน้าตี๋เชื้อสายเอเชีย จากม้านั่งสํารองที่อยู่ๆ ก็ลงมาระเบิดฟอร์มกระจาย ชนิดที่ว่าผู้ที่ชมเกมในเวลานั้นต่างอึ้งกิมกี่ไปตามๆ กัน หลังจากก่อนหน้านั้นแทบไม่มีใครรู้จัก ‘เจ-ลิน’ ที่แม้แต่รายชื่อเขาใน NBA Draft ปี 2010 ก็ไม่มีใครได้เห็น เนื่องจากไม่มีทีมใดที่สนใจเลือกเขา แม้จะมีผลงานที่ยอดเยี่ยมในระดับมหาวิทยาลัยก็ตาม
https://images.ctfassets.net/i3o8p9lzd06f/68Tr1Ou1g6ehqiMnwPIXIy/74c49622a3a2d92ce1030d9325ba8ecd/jeremylin-linsanity-shocked-the-world-SPACEBAR-Photo02
เหตุผลหลักๆ ที่ทำให้หลินไม่ได้รับความสนใจ นั้นคือเรื่อง ‘เชื้อชาติ’ การเป็น ‘เอเชียนอเมริกัน’ ทําให้เขามักเผชิญปัญหาการสบประมาท และถูกมองข้ามอยู่บ่อยครั้ง ย้อนกลับไป หลินมีผลงานที่น่าทึ่งตั้งแต่สมัยมัธยม และมีมหาวิทยาลัยในฝันอย่าง Stanford และ UCLA แต่เขาก็ไม่ได้รับความสนใจใดๆ ถึงกระนั้น เขาเลยตัดสินใจเข้าศึกษามหาวิทยาลัยที่รวมหัวกระทิอย่าง ‘Harvard’ ซึ่งโค้ชของฮาร์วาร์ดก็ไม่ได้ตื่นเต้นหรือสนใจอะไรกับเขาเช่นกัน จนเมื่อเขาได้แสดงศักยภาพอันโดดเด่นจนได้เป็นผู้เล่นแนวหน้าของทีมในที่สุด ทางโค้ชก็ดันเกิดความกลัวว่ามหาวิทยาลัยในฝันของหลินอย่าง Stanford หรือ UCLA จะมาเสนอทุนการศึกษาให้ซะอย่างนั้น….  
 
อย่างไรก็ดีเรื่องเหล่านี้ไม่ได้มีการเกิดขึ้นแต่อย่างใด แต่ทั้งคู่ต่างออกมาแสดงความเสียใจและเสียดายที่ไม่ได้เลือกให้ทุนเขาตั้งแต่แรก แม้ หลังจบมหาวิทยาลัย จะไม่มีทีมไหนที่เลือกเขาในการ Draft เลย แต่สุดท้ายไฟแห่งความหวังในการที่จะได้เล่น ‘NBA’ ก็ได้ถูกจุดขึ้นอีกครั้ง เมื่อโกลเด้นสเตท วอร์ริเออร์ ได้ตัดสินใจเซ็นสัญญากับเขาในฐานะฟรีเอเจนต์ ในช่วง กรกฎาคม ปี 2010 ก่อนถูกปล่อยตัวในช่วง ธันวาคมปี 2011 จากอาการบาดเจ็บ
https://images.ctfassets.net/i3o8p9lzd06f/7Iz6AbJic3BsdqQE6dT6eQ/899a6dc046f4fe23cf977355e4b4ac5f/jeremylin-linsanity-shocked-the-world-SPACEBAR-Photo03

4 กุมภาพันธ์ 2012 ‘เกมพลิกชีวิต’ 

เมื่อวันที่ 27 ธันวาคม ปี 2012 เจ-ลิน นั้นได้สัญญาที่ไม่ผูกมัดกับทีม นิวยอร์กนิกส์ เขาสามารถโดนเขี่ยทิ้งเมื่อไหร่ก็ได้ก่อนการตัดตัววันที่ 10 ก.พ. ที่จะถึง โดยนิกส์นั้นกําลังมีฤดูกาลที่ยํ่าแย่ พวกเขาแพ้ 11 เกมจาก 13 เกมก่อนหน้า แต่ทว่าสถานการณ์สร้างฮีโร่เมื่อ พอยท์การ์ดของนิกส์ อย่าง ‘บารอน เดวิส’ (Baron Davis) และ ผู้เล่นกําลังหลักของทีมอย่าง ‘อิมาน ชัมเพิร์ต’ (Iman Shumpert) บาดเจ็บ เขาเลยได้มีรายชื่อเป็นการ์ดสํารองของนิกส์ และทุกอย่างเริ่มขึ้นเมื่อ เขาถูกเปลี่ยนตัวลงมา ในควอเตอร์แรก ที่มีเวลาเหลือเพียง 3.35 นาที โดยสถานการณ์ของทีม นิกส์เวลานั้นตามหลัง นิวเจอร์ซีย์เน็ตส์ อยู่ที่ 16 ต่อ 20 คะแนน เขาเริ่มสร้างจังหวะเพลย์ ต่อ เพลย์ ทั้งจ่ายบอล สตีลบอล และเริ่มตะลุยเข้าหาห่วง กระหน่ำทำแต้มใส่ทีม เน็ตส์ ที่เวลานั้นนําทีมโดย ‘เดรอน วิลเลียมส์’ (Deron William) ยอดพอยท์การ์ดระดับออลสตาร์ของลีก และ หนึ่งในผู้เล่นชุด ‘ดรีมทีม’ ของสหรัฐชุดตะลุยโอลิมปิกที่ลอนดอนในปี 2012  ‘เจลิน’ ทําให้ทุกคนคนต้องอึ้ง แม้แต่สตาร์ของทีมในเวลานั้นอย่าง ‘คาร์เมโล่ แอนโธนี่‘ (Carmelo Anthony) โดยจบเกมเขาทําไปคนเดียว 25 แต้ม 7 แอสซิสต์ และเก็บไปอีก 5 รีบาวด์ ทําให้โลกรู้จักชายที่ชื่อ “เจเรมี่ ลิน” เป็นครั้งแรก พาทีม นิวยอร์กนิกส์ ชนะ นิวเจอร์ซีย์เน็ตส์ ไปอย่างสุดประทับใจด้วยสกอร์ 99 ต่อ 92 คะแนน  
โดยเขาได้ให้สัมภาษณ์ในภายหลัง ว่าก่อนที่เกมในวันนั้นจะเริ่ม เอเจนซีประจําตัวได้บอกกับเขาว่า
 

“นี่อาจเป็นเกมสุดท้ายของนายในเอ็นบีเอ… ถ้านายจะโดนเขี่ยทิ้งทั้งที ก็ใส่ไปเลยไม่ต้องยั้ง” 

ปรากฎการณ์ ‘Linsanity’ และ ผลกระทบต่อสังคม ‘เอเชียนอเมริกัน’ 

2 คืนต่อมาเขาได้พลิกจากม้านั่งสํารอง ขึ้นมาอยู่ในรายชื่อผู้เล่นตัวจริงของนิกส์ โดย หลินพาทีม นิวยอร์กนิกส์ คว้าชัย 7 เกมรวด แฟนๆ ต่างพร้อมใจตะโกนเรียกเขาว่า ‘MVP’ กันอย่างกึกก้อง และหนึ่งในแมทช์ที่ตราตึงแฟนๆ บาสเกตบอลทั่วโลก เมื่อ นิกส์ เปิดเมดิสันสแควร์รับการมาเยือนของทีมยักษ์ใหญ่อย่าง ‘ลอสแองเจลิส เลเกอร์ส’ ที่นําทีมโดย ‘โคบี ไบรอันต์’ (Kobe Bryant) ที่ก่อนเกมจะเริ่มนั้นเขาได้ให้สัมภาษณ์กับสื่อว่า ‘เขาไม่รู้เลยว่าหลินทำอะไรไปบ้าง’ โดยในเกมนี้ เจ-ลิน งัดฟอร์มสุดเหลือเชื่อออกมา เพื่อตอกย้ำโคบี้ ว่าชื่อของเขาคือ ‘เจเลมี่ ลิน’ ด้วยการใส่สกอร์ให้กับนิกส์ไปถึง 38 คะแนน! โดยหลังเกมโคบี้ได้กล่าวชื่นชมว่า เจ-ลิน ว่าเล่นได้อย่างมหัศจรรย์ แม้ทางเขาและทีมจะเตรียมแผนรับมือมาอย่างดี แต่ก็ไม่มีใครสามารถหยุดเขาอยู่ เขาสามารถฝ่าเข้ามาทําคะแนนได้อย่างง่ายดาย
https://images.ctfassets.net/i3o8p9lzd06f/7iArELpraswndHijCubp6I/d83968e8980c9f44a7d1e8ed52c7923c/jeremylin-linsanity-shocked-the-world-SPACEBAR-Photo04
จาก ‘Jeremy Lin’ ที่ไม่มีใครรู้จัก สู่ฮีโร่ที่เข้ามาพลิกสถานการณ์ให้กับทีม ผลงานอันน่าทึ่งและน่าเหลือเชื่อเหล่านี้ ทำให้แฟนๆ ทั่วโลกต่างประทับใจ และพากันเรียกปรากฎการณ์นี้ว่า “Linsanity” จนทําให้เกิดกระแส ‘ฟีเวอร์’ ต่อคนเอเชีย ทั้งในทางบวกและลบ คนเอเชียหลายคนเริ่มโดนทักว่า ‘เจเรมี่ ลิน’ เหมือนกับ ที่ผ่านมาเคยโดนทักว่า ‘แจ็คกี้ ชาน’ (เฉินหลง) หรือ ‘บรูซ ลี’ หรือการที่บรรดาสื่อต่างๆ ใช้คําพาดหัวที่ไม่ได้สนใจหัวอกชาวเอเชีย อย่างคําว่า ‘ชิ้งฉ่อง’ รามไปถึง การที่มีนักข่าวกีฬาชื่อดังอย่าง ‘Jason Whitlock ‘ ออกมา Tweet ขําขันเชิงล้อเลียน ถึงของลับของ เจเรมี่ ลิน และ ชาว ‘เอเชี่ยนอเมริกัน’ จนสื่อยักษ์ใหญ่อย่าง ‘นิวยอร์กทาร์ม’ ได้ออกมาทําภาพยนตร์สั้นเชิงสารคดีความยาว 14.38 นาที โดยมีชื่อตอนว่า “When Linsanity Happened” โดยได้รวบรวม ชาวเอเชี่ยนอเมริกัน มาบอกเล่าถึงแง่มุมต่างๆ ในสังคมที่ต้องเผชิญ เพื่อเป็นกระบอกเสียงให้ก้บคนเชื้อสาย ’เอเชีย’ ที่อาศัยอยู่ในประเทศ ’อเมริกา’
การมาของ ‘หลิน’ ทําให้ประเด็นต่างๆ เกี่ยวกับชาวเอเชีย ถูกพูดถึงในวงกว้างขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการโดนกดขี่ การถูกเหมารวม Stereotype ร่วมไปถึงการดูถูก ‘ชาติพันธุ์’ เกิดการวิพากษ์และตั้งคำถามต่างๆ ต่อวัฒนธรรมการปฏิบัติต่อคนเอเชีย แต่ในอีกด้าน ปรากฎการณ์ของ เจเรมี่ ลิน นั้นเข้ามาสร้างแรงกระตุ้น และมุมมองที่เปลี่ยนแปลงไป แถมยังเป็นแรงบันดาลใจ ให้เด็กๆ เอเชี่ยนอเมริกัน หรือกระทั่ง เด็กเอเชียจากทั่วโลก กล้าที่จะออกเดินตามฝันเพราะเขาเห็นแล้วว่าครั้งหนึ่ง ‘เจเรมี่ ลิน ทำมันได้!’

เรื่องเด่นประจำสัปดาห์