“ตกลงเราเป็นอะไรกัน?”
ถ้าคุณเคยถาม/โดนถามด้วยประโยคทำนองนี้มาก่อน แปลว่าคุณเคยลองมีความรักแบบสมัยใหม่ ไม่ยึดติดกับกรอบสังคมเดิมๆ ที่ต้องจีบ คบ แต่งงาน มีลูก มีรถ มีบ้าน…แต่นั่นอาจไม่ใช่เรื่องน่ายินดีสักเท่าไร
ทุกวันนี้ situationship หรือ ‘คนคุย’ กลายเป็นสถานะที่หลายคนติดใจ และหลายคนก็ติดกับ ความสัมพันธ์แบบคนคุยลึกซึ้งกว่าเพื่อน อาจมีการเดตแบบที่คนสนิทรู้กัน เดินจับมือ คุยกันแทบทุกวัน แต่ก็ไม่เคยมีวันที่บทสนทนาเดินทางไปถึงคำถามว่า “เราเป็นแฟนกันไหม?” และที่บอกว่าหลายคนติดกับก็เพราะในความสัมพันธ์แบบนี้มักมีฝ่ายหนึ่งอยากเลื่อนขั้นไปเป็นคนรัก
ผู้ประสบเหตุช้ำใจจากการเป็นคนคุยอาจเคยคิดเล่นๆ ว่า ถ้าโลกนี้มีแค่เราสองคน ไม่ต้องเผื่อใจ รู้สึกดีก็เดินหน้ากันต่อ ง่ายๆ แค่นั้น เราจะได้คบกันหรือเปล่า
ถ้าจะให้ตอบแบบรวบรัด บอกได้เลยว่าถึงโลกนี้จะมีแค่คุณกับเขา ก็ยังมีเหตุผลอีกมากมายที่ทำให้ใครสักคนไม่อยากตกลงคบหาจริงจัง
“เหตุผลที่ทำให้คนเราไม่อยากผูกมัด
ซับซ้อนพอๆ กับความสัมพันธ์แบบคนคุยนั่นแหละ”

เวลาพูดถึงการตัดสินใจของใครสักคน เรามักมองว่ามันเป็นนิสัยส่วนตัวหรือความต้องการของคนนั้นๆ แต่นิสัยต่างๆ ก็มีที่มาที่ไป ซึ่งความสบายใจในการใช้ชีวิตแบบไม่ผูกมัดอาจมาจาก ‘attachment issue’ หรือปัญหาความผูกพันก็ได้
โดยปกติเด็กจะพัฒนาความผูกพันทางอารมณ์กับผู้เลี้ยงดูตั้งแต่อายุยังน้อย นี่ถือเป็นช่วงเวลาสำคัญที่หากผู้เลี้ยงดูละเลย ทอดทิ้ง ทำร้าย ไม่อาจเป็นที่พึ่งด้านอารมณ์ หรือไม่สามารถตอบสนองความต้องการบางอย่าง เด็กคนนั้นอาจเกิดอาการวิตกกังวล และมีปัญหาด้านการสร้างความผูกพันทางอารมณ์ ซึ่งอาจส่งผลกระทบมาถึงตอนโตได้เลย
ความย้อนแย้งคือคนที่มีบาดแผลทางใจในเรื่องความผูกพันอาจกลัวการโดนทอดทิ้ง จึงชอบมีความสัมพันธ์เพื่อให้ไม่รู้สึกโดดเดี่ยว แต่ขณะเดียวกันก็รู้สึกอยากหนีออกจากความสัมพันธ์นั้นเพื่อไม่ให้ใครมาทำร้ายความรู้สึกเราได้ การหลุดออกจากวงจรนี้อาจทำได้หากเจอคนที่พร้อมทำความเข้าใจปมปัญหา และใช่พอที่จะเดินหน้าไปด้วยกัน หรือบางคนอาจปรึกษาแพทย์ควบคู่ไปด้วย
ผลกระทบอีกทางของการไม่ได้รับความผูกพันในวัยเด็กอาจเป็นการเติบโตมาแบบพึ่งพาตัวเองมากๆ จนรู้สึกว่าชีวิตที่ไม่มีคู่สบายกว่า และสนุกกับการหาความสุขด้วยตัวเองได้โดยไม่ต้องยึดโยงกับใคร ยิ่งปัจจุบันมีความบันเทิงและกิจกรรมมากมายให้ทำก็ยิ่งง่ายเข้าไปใหญ่
แม้ว่าความสัมพันธ์ระยะยาวจะมีข้อดี อย่างการที่ต่างฝ่ายต่างทุ่มเทความพยายามในการแก้ปัญหาชีวิตคู่ หรือการสร้างความเชื่อใจและความผูกพันในแบบที่คนคุยระยะสั้นทำไม่ได้ แต่การเป็นคนคุยก็มีข้อดีที่บางคนชอบมากกว่า เช่น การได้โฟกัสกับสิ่งที่ตัวเองทำ และเป็นตัวเองได้เต็มที่โดยไม่ต้องพะวงว่าความสัมพันธ์นี้จะอยู่กับเราไปตลอดไหม
“อยู่แบบนี้ก็มีความสุขดีนี่”
คนพูดประโยคนี้น่าจะมีความสุขกับชีวิตอิสระที่มีใครสักคนเคียงข้าง หากวันหนึ่งเกิดไม่เข้ากันก็แค่เลิกคุยเลิกเจอ ไม่ต้องประกาศครอบครัวหรือเซ็นใบหย่าให้ยุ่งยาก
“อยู่แบบนี้ก็มีความสุขดีนี่”
คนฟังประโยคนี้น่าจะหนักใจ เพราะนั่นหมายถึงความหวังที่จะพัฒนาความสัมพันธ์ต้องดับลง
โดยปกติเด็กจะพัฒนาความผูกพันทางอารมณ์กับผู้เลี้ยงดูตั้งแต่อายุยังน้อย นี่ถือเป็นช่วงเวลาสำคัญที่หากผู้เลี้ยงดูละเลย ทอดทิ้ง ทำร้าย ไม่อาจเป็นที่พึ่งด้านอารมณ์ หรือไม่สามารถตอบสนองความต้องการบางอย่าง เด็กคนนั้นอาจเกิดอาการวิตกกังวล และมีปัญหาด้านการสร้างความผูกพันทางอารมณ์ ซึ่งอาจส่งผลกระทบมาถึงตอนโตได้เลย
ความย้อนแย้งคือคนที่มีบาดแผลทางใจในเรื่องความผูกพันอาจกลัวการโดนทอดทิ้ง จึงชอบมีความสัมพันธ์เพื่อให้ไม่รู้สึกโดดเดี่ยว แต่ขณะเดียวกันก็รู้สึกอยากหนีออกจากความสัมพันธ์นั้นเพื่อไม่ให้ใครมาทำร้ายความรู้สึกเราได้ การหลุดออกจากวงจรนี้อาจทำได้หากเจอคนที่พร้อมทำความเข้าใจปมปัญหา และใช่พอที่จะเดินหน้าไปด้วยกัน หรือบางคนอาจปรึกษาแพทย์ควบคู่ไปด้วย
ผลกระทบอีกทางของการไม่ได้รับความผูกพันในวัยเด็กอาจเป็นการเติบโตมาแบบพึ่งพาตัวเองมากๆ จนรู้สึกว่าชีวิตที่ไม่มีคู่สบายกว่า และสนุกกับการหาความสุขด้วยตัวเองได้โดยไม่ต้องยึดโยงกับใคร ยิ่งปัจจุบันมีความบันเทิงและกิจกรรมมากมายให้ทำก็ยิ่งง่ายเข้าไปใหญ่
“หากไม่ใช่ผลจากตอนเด็ก ก็อาจเป็นผลจากตอนโต”
แผลใจจากความสัมพันธ์แย่ๆ ก็เป็นอีกหนึ่งเหตุผลที่ทำให้คนไม่อยากผูกมัดได้ ถึงจะเหงาแค่ไหนบางคนก็ยอมอยู่คนเดียวดีกว่าต้องไปเสี่ยงกับปัญหาชีวิตคู่ที่ไม่รู้ว่าจะมีอะไรบ้าง นอกจากนี้ยังมีข้อกังวลอีกหลายด้านที่พ่วงมากับการผูกมัด ไม่ว่าจะเป็นการวางแผนอนาคตร่วมกัน การทำงาน การเงิน การเจอครอบครัวของอีกฝ่าย กระทั่งการตัดสินใจมีลูกแม้ว่าความสัมพันธ์ระยะยาวจะมีข้อดี อย่างการที่ต่างฝ่ายต่างทุ่มเทความพยายามในการแก้ปัญหาชีวิตคู่ หรือการสร้างความเชื่อใจและความผูกพันในแบบที่คนคุยระยะสั้นทำไม่ได้ แต่การเป็นคนคุยก็มีข้อดีที่บางคนชอบมากกว่า เช่น การได้โฟกัสกับสิ่งที่ตัวเองทำ และเป็นตัวเองได้เต็มที่โดยไม่ต้องพะวงว่าความสัมพันธ์นี้จะอยู่กับเราไปตลอดไหม
“อยู่แบบนี้ก็มีความสุขดีนี่”
คนพูดประโยคนี้น่าจะมีความสุขกับชีวิตอิสระที่มีใครสักคนเคียงข้าง หากวันหนึ่งเกิดไม่เข้ากันก็แค่เลิกคุยเลิกเจอ ไม่ต้องประกาศครอบครัวหรือเซ็นใบหย่าให้ยุ่งยาก
“อยู่แบบนี้ก็มีความสุขดีนี่”
คนฟังประโยคนี้น่าจะหนักใจ เพราะนั่นหมายถึงความหวังที่จะพัฒนาความสัมพันธ์ต้องดับลง

เลิกกับ ‘คนคุย’ เจ็บมากและนานกว่าเลิกกับ ‘คนรัก’
เจมี บรอนสไตน์ (Jaime Bronstein) ผู้เชี่ยวชาญด้านความสัมพันธ์จากสหรัฐอเมริกากล่าวว่าไม่แปลกเลยที่เราจะเจ็บปวดเวลาเลิกกับคนคุยมากกว่าคนรัก เพราะการเลิกโดยที่ยังไม่ได้ลองทุ่มเทความรักและความพยายามอย่างสุดความสามารถนั้น ทำให้เราสงสัยในความเป็นไปได้ต่างๆ ไม่สิ้นสุด ว่าถ้า…ความสัมพันธ์นั้นจะเป็นอย่างไร
แต่ถ้าอ่านมาถึงตรงนี้แล้วคงเข้าใจมากขึ้นว่าทำไมบางคนถึงไม่อยากผูกมัด และเชื่อว่ายังมีเหตุผลอีกไม่น้อยที่เราไม่ได้กล่าวถึงในบทความนี้ สิ่งที่หลายคนมองข้ามไปคือความจริงที่ว่าโลกนี้มีความรักหลายรูปแบบ บางคนอาจรักมาก ทว่าไม่อยากผูกมัดเพราะเชื่อว่าความรักไม่จำเป็นต้องอยู่ด้วยกันตลอดไป แค่มีกันในช่วงเวลาที่เหมาะสมก็พอแล้ว
ทั้งนี้ทั้งนั้นความรู้สึกก็เปลี่ยนกันได้ จากคนที่คิดว่าชีวิตนี้ไม่อยากลงหลักปักฐาน วันหนึ่งอาจเจอคนที่ทำให้ความคิดเปลี่ยนไป และในทำนองเดียวกัน คนที่อยากผูกมัดแทบตาย วันหนึ่งก็อาจกลายเป็นคนที่โหยหาอิสระสุดๆ ก็ได้
มันอาจฟังดูเห็นแก่ตัวหรือใจร้าย แต่จริงๆ แล้วความรักไม่ทำร้ายใครหรอก การไม่ผูกมัดก็ด้วย สิ่งที่ทำร้ายเราคือความต้องการที่ไม่ตรงกัน การไม่สื่อสาร และการไม่ยอมรับความจริงต่างหาก
ฉะนั้นหากคุณไม่อยากติดกับคนคุย สิ่งที่ทำได้คือซื่อสัตย์กับความรู้สึกตัวเองและสื่อสารกันอย่างตรงไปตรงมา ที่สำคัญคือไม่เอาเปรียบกัน ไม่ว่าจะด้านอารมณ์ หรือด้านไหนก็ตาม