ส่อง Data รูป “หมับเข้าให้” คนไทยคิดอย่างไรกับ ‘การคุกคามทางเพศ’

19 เมษายน 2567 - 10:36

spacebar สเปซบาร์, สงกรานต์, หมับเข้าให้, หยุมนม, คุกคามทางเพศ, sexual harrassment
  • ข้อมูลเชิงลึกหลังบ้าน SPACEBAR VIBE ระบุว่า โพสต์อัลบั้มรูป “หมับเข้าให้” มีการเข้าถึง (Reach) 9,970,599 ครั้ง

  • ความคิดเห็น (comment) ที่คนมีต่อภาพที่เกิดเหตุ ส่วนใหญ่เป็นความเห็นเชิงคัดค้านและต่อต้านพฤติกรรมในภาพมากกว่าให้การสนับสนุน

“หมับเข้าให้”

ชาวเน็ตเขียนข้อความบรรยายรูปถ่ายใบหนึ่งของ SPACEBAR VIBE ที่กลายเป็นไวรัลในช่วงสงกรานต์ (13 เมษายน) ที่ผ่านมา

รูปใบนี้เป็นภาพหนึ่งในอัลบั้ม ประมวลภาพสงกรานต์ 2024 ย่านสีลม เป็นภาพ (คาดว่าน่าจะ) ผู้หญิงคนหนึ่งเอื้อมมือไปหยุมหัวนมชายหนุ่มหุ่นแซ่บกล้ามโต

spacebar สเปซบาร์, สงกรานต์, หมับเข้าให้, หยุมนม, คุกคามทางเพศ, sexual harrassment
Photo: รูปที่เกิดเหตุ “หมับเข้าให้” 13 เมษายน 2567

เพียงไม่กี่ชั่วโมงหลังเผยแพร่ รูปนี้ก็กลายเป็นไวรัล โดยมีคนเข้ามาถกเถียงถึง ‘ความเหมาะสม’ ของพฤติกรรม (คนที่คาดว่าจะเป็น) ผู้หญิงในภาพ และบางส่วนโยงไปถึงประเด็น ‘ความเท่าเทียม’ ระหว่างชายหญิง

ยกตัวอย่างเพจ ศาสดา แชร์โพสต์เชิงตั้งข้อสังเกตว่า

ผู้ชายทำ = ไอ้ลามก, โรคจิต, อุ฿, sexual harassment

ผู้หญิงทำ = หมับเข้าให้, ขอจับหน่อย, แทคเพื่อนสนิท

View post on Facebook

ข้อมูลเชิงลึกหลังบ้าน SPACEBAR VIBE ระบุว่า โพสต์อัลบั้มภาพดังกล่าว มีการเข้าถึง (Reach) 9,970,599 ครั้ง

spacebar สเปซบาร์, สงกรานต์, หมับเข้าให้, หยุมนม, คุกคามทางเพศ, sexual harrassment
Photo: ภาพรวมสถิติโพสต์อัลบั้มที่มีรูปเกิดเหตุ (ข้อมูล ณ วันที่ 17 เมษายน 2567)

หากนับเฉพาะ *รูปเกิดเหตุ* สถิติไปไกลกว่าโพสต์หลักเป็นเท่าตัว มีการกดแสดงความรู้สึก (interaction) 5.1 หมื่นครั้ง แสดงความเห็น (comment) 1.4 หมื่นข้อความ และแชร์ (share) 4.4 หมื่นครั้ง

ท่ามกลางข้อมูลจำนวนมหาศาล ทีม Data ของ SPACEBAR VIBE ได้ใช้เทคโนโลยีเชิงข้อมูลและ Social Listening ฟังเสียงที่ดังเซ็งแซ่อยู่ในภาพถ่ายใบดังกล่าว

หากคุณเคยได้ยินสุภาษิต ‘ภาพถ่ายหนึ่งใบ แทนคำนับพัน’ (A picture is worth a thousand words) ดาต้าที่ได้ยินจากภาพถ่ายใบนี้ อาจแทนคำจำนวนมากกว่านั้น

เสียงหัวเราะที่ “ไม่ตลก”

หากแบ่งสัดส่วนการกดแสดง ความรู้สึก (interaction) ในภาพที่เกิดเหตุจำนวน 5.1 หมื่นครั้ง ออกเป็นสัดส่วนของอารมณ์จะแบ่งได้ ดังนี้ 

😂 33,000 ครั้ง (64.7%)

👍 12,000 ครั้ง (23.45%)

😢 4,600 ครั้ง (9%)

😡 680 ครั้ง (1.33%)

😲 272 ครั้ง (0.53%)

❤️ 263 ครั้ง (0.51%)

🤗 249 ครั้ง (0.48%)

ถ้าดูในเชิงปริมาณ อาจตีความได้ว่าว่า ภาพนี้น่าจะเป็นภาพตลกๆ ภาพหนึ่ง เพราะมีสัดส่วนคน หัวเราะ มากถึง 64.7% หรือเกือบ 2 ใน 3

แต่ถ้าดูลึกลงไปภายใต้ยอดการมีส่วนร่วม (engagement) จะเห็นว่า เบื้องหลังรอยยิ้ม มีคนจำนวนมากที่ “ไม่ขำ”

spacebar สเปซบาร์, สงกรานต์, หมับเข้าให้, หยุมนม, คุกคามทางเพศ, sexual harrassment

ทีม Data ได้สำรวจความคิดเห็น (comment) ที่คนมีต่อภาพที่เกิดเหตุ ผ่านการใช้อิโมจิ (emoji) และความคิดเห็นที่คนให้การสนับสนุนมากที่สุด พบว่าเป็นความเห็นเชิงคัดค้านและต่อต้านพฤติกรรมในภาพมากกว่าจะให้การสนับสนุน

เพราะเมื่อดูอิโมจิที่โต้ตอบกันในคอมเมนต์พบว่า นอกจากจะมีการหัวเราะ (เชิงชอบอกชอบใจ) แล้ว ยังมีอิโมจิอีกกลุ่มหนึ่งจำนวนไม่น้อยไปกว่ากันที่แสดงความรู้สึกตรงกันข้าม ไม่ว่าร้องไห้ มองบน เศร้าเซ็ง เบื่อหน่าย

ขณะที่การมีส่วนรวมต่อความคิดเห็น (top engagement comments) 65% เป็นการ แสดงรู้สึกเชิงลบ (negative engagement) ต่อพฤติกรรมในภาพว่า เป็นการคุกคามทางเพศ

“นี่มันเข้าข่ายอนาจารแล้วครับ ไม่ว่าผู้หญิงหรือผู้ชายก็ไม่ควรโดนอะไรแบบนี้ทั้งนั้นนะ”

อีก 35% เป็นการ แสดงรู้สึกเชิงบวกและเป็นกลาง (positive and neutral engagement) มองเหตุการณ์ในภาพเชิงขำๆ และเป็นความบันเทิง รวมถึงไม่แสดงท่าทีเห็นด้วย แต่ก็ไม่ทัดทาน

“หยุมเก่งงงง 😜”

บางคนก็แทคเพื่อนสนิทแล้วบอกว่า

“อยากเห็นภาพนี้จากพี่ๆ ค่ะ 55555”

สำรวจ 10 Top Comments “รูปหยุมนม” บอกอะไร?

ท่ามกลางความคิดเห็น (comment) กว่า 14,000 ข้อความ นี่คือ 10 ความคิดเห็นที่คนมีส่วนร่วม (engagement) มากที่สุด

spacebar สเปซบาร์, สงกรานต์, หมับเข้าให้, หยุมนม, คุกคามทางเพศ, sexual harrassment

อันดับ 1 “ถ้าเป็นผู้ชายจะทำ จะเป็นอีกอารมณ์นึง”

อันดับ 2 “สงสาร”

อันดับ 3 “แจกความเท่าเทียมเลยพ่อหนุ่ม”

อันดับ 4 “ละคนกดขำมีแต่ชะนี ชอบใจเลยดิ อย่าให้เห็นว่า ผญ โดนจับบ้างแล้วไปว่าผู้ชายคุกคามนะ”

อันดับ 5 “ได้ข่าวปีก่อนๆ รณรงค์ให้ผู้ชายไม่ลวนลามผู้หญิงในวันสงกรานต์ไม่ใช่เหรอครับ คุณผู้หญิง ☕️”

อันดับที่ 6-10 อ่านสามารถจากภาพประกอบด้านบน

ทั้งนี้ เมื่อแบ่งสัดส่วนคนที่แสดงความเห็นทั้ง 10 อันดับตามเพศสภาพ (ดูจากข้อมูลโปรไฟล์) แบ่งเป็นเพศชาย 6 คน และเพศหญิง 4 คน

ทั้งหมดมีความเห็นไปในทางเดียวกัน คือ “ไม่โอเค” กับพฤติกรรมของคนในภาพที่ “หยุมนม” ชายหนุ่ม

แล้วคุณล่ะ เห็นภาพนี้แล้วรู้สึกยังไง?

สามัคคีเพศต่อต้าน Sexual Harassment 

หากเปรียบคนจำนวนมากที่แห่มาดูและแสดงความเห็นต่อรูปใบนี้เป็น “ไทยมุง” จะพบว่า คำที่คนพูดถึงพฤติกรรมในภาพมากที่สุด คือคำว่า

Sexual Harassment หรือ “การคุกคามทางเพศ”

โดยคนที่เข้ามาแสดงความคิดเห็นต่อประเด็นนี้มากที่สุด แบ่งเป็น 

  • เพศหญิง 15%
  • เพศชาย 38%
  • ไม่ระบุเพศ 47%
spacebar สเปซบาร์, สงกรานต์, หมับเข้าให้, หยุมนม, คุกคามทางเพศ, sexual harrassment

ซึ่งคำที่แวดล้อมคำดังกล่าว เมื่อมีคนเข้ามาแสดงความคิดเห็นจะแสดงถึงความรู้สึกไม่เห็นด้วย เช่น หยุดคุกคาม, ลวนลาม, แย่มาก, สงสาร, โรคจิต, น่าเกลียด เป็นต้น

การคุกคามทางเพศ (sexual harrassment) คือ พฤติกรรมที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งแสดงออกถึงนัยยะทางเพศ ทำให้เหยื่อรู้สึกไม่ดี ถูกคุกคาม ไม่ปลอดภัย หรือถูกลดทอนศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ซึ่งมีผลกระทบต่อร่างกายและจิตใจ

“ไม่ว่าเพศไหนใครจะเป็นคนทำ ถ้าคนถูกกระทำไม่ได้ยินยอม ก็ sexual harassment อยู่ดี”

หนึ่งในความคิดเห็นที่มีต่อรูปที่เกิดเหตุ สะท้อนการคุกคามทางเพศได้อย่างเห็นภาพ

ไม่ว่าคุณจะเป็น เธอ เขา ผม ดิฉัน ชั้น หรือจะใช้สรรพนามใดก็ตาม คงไม่มีใครรู้สึกดีที่ถูกล่วงละเมิดโดยไม่ยินยอม โดยเฉพาะการหยุมนม รวมถึงอวัยวะอื่นๆ บนร่างกาย

“ถ้าเป็นผู้ชายทำ จะเป็นอีกอารมณ์นึง” ความเห็นทำนองนี้เป็นจริง แต่ก็ไม่ใช่ทุกคนจะเห็นจริงตามนั้น

ประเทศไทยเดินมาไกลถึงกฎหมายสมรสเท่าเทียมแล้ว อย่าให้เพศสภาพเป็นกำแพงกั้นระหว่างเรา เพศทุกเพศล้วนมีศักดิ์ศรีอย่างเสมอบ่าเสมอไหล่

แม้โลกความจริงจะไม่เท่าเทียมเหมือนตัวหนังสือในตำรา แต่อย่างน้อยขอให้ความเท่าเทียมนั้นเกิดขึ้นในใจเรา

ไม่ว่าคุณจะนิยามตัวเองว่าเป็นเพศอะไรก็ตาม

เรื่องเด่นประจำสัปดาห์