‘ปัญหาขยะล้นโลก’ โดยเฉพาะ ‘ขยะพลาสติก’ วัสดุที่มีความแข็งแรง ทนทาน ยืดหยุ่น เป็นหนึ่งในสาเหตุหลักที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม อาทิเช่น เรื่องมลพิษและไมโครพลาสติส (Microplastics) หรือชิ้นส่วนพลาสติกขนาดเล็กที่ปนเปื้อนในแหล่งน้ำต่างๆ โดยวิธีจัดการกับขยะพลาสติกเหล่านี้ที่ดีที่สุดก็คือการ ‘รีไซเคิล’ หรือการนำกลับมาใช้ประโยชน์ และสำหรับวันนี้เราได้รวบรวมองค์กรที่สามารถนำขยะพลาสติกไปบริจาคเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด ตามอ่านต่อได้ในบทความนี้เลย
โดยก่อนจะนำขยะพลาสติกไปบริจาคก็อย่าลืมล้างทำความสะอาดสิ่งสกปรก แล้วตากให้แห้ง โดยคัดแยกขยะตามประเภทพลาสติก ให้สังเกตุจากสัญลักษณ์พลาสติกที่ปรากฏบนบรรจุภัณฑ์์ ก่อนส่งไปให้องค์กรที่รับบริจาคนำไปรีไซเคิลต่อ
โดยก่อนจะนำขยะพลาสติกไปบริจาคก็อย่าลืมล้างทำความสะอาดสิ่งสกปรก แล้วตากให้แห้ง โดยคัดแยกขยะตามประเภทพลาสติก ให้สังเกตุจากสัญลักษณ์พลาสติกที่ปรากฏบนบรรจุภัณฑ์์ ก่อนส่งไปให้องค์กรที่รับบริจาคนำไปรีไซเคิลต่อ
1. โครงการ ‘วน (Won)’

สิ่งที่ต้องการ: รับพลาสติกยืดได้ เช่น ถุงพลาสติก ฟิล์มหุ้มฝาขวดน้ำ พลาสติกกันกระแทก ถุงใส่อาหาร ฯลฯ โดยพลาสติกทุกๆ 1 กิโลกรัม จะคิดเป็นเงิน 5 บาท เพื่อนำไปบริจาคให้กับมูลนิธิด้านสิ่งแวดล้อมอีกด้วย
ที่อยู่: ‘โครงการ วน’ บริษัท ทีพีบีไอ จำกัด (มหาชน) 42/174 หมู่ 5 ต.ไร่ขิง อ.สามพราน จ.นครปฐม 73210
เวลาทำการ: จันทร์ - ศุกร์ เวลา 07.30 - 16.30 น.
เฟซบุ๊ก: Won
ที่อยู่: ‘โครงการ วน’ บริษัท ทีพีบีไอ จำกัด (มหาชน) 42/174 หมู่ 5 ต.ไร่ขิง อ.สามพราน จ.นครปฐม 73210
เวลาทำการ: จันทร์ - ศุกร์ เวลา 07.30 - 16.30 น.
เฟซบุ๊ก: Won
2. โครงการ ‘Green Road’

สิ่งที่ต้องการ: ขยะพลาสติก PE (Polyethylene) และพลาสติก PP (Polypropylene) เช่น ถุงแกงร้อน ถุงนมโรงเรียน ถุงที่ยืดได้ ถุงหูหิ้วพลาสติก และพลาสติกบับเบิลห่อพัสดุ ฯลฯ เพื่อนำไปรีไซเคิลเป็นบล็อกปูถนน 1 ตารางเมตร ใช้ถุงพลาสติกประมาณ 4,000 ใบ
ที่อยู่: ผศ. ดร.เวชสวรรค์ หล้ากาศ (โครงการกรีนโรด) 9/9 ม.1 ต.มะเขือแจ้ อ.เมือง จ.ลำพูน 51000.
เฟซบุ๊ก: GREEN ROAD
ที่อยู่: ผศ. ดร.เวชสวรรค์ หล้ากาศ (โครงการกรีนโรด) 9/9 ม.1 ต.มะเขือแจ้ อ.เมือง จ.ลำพูน 51000.
เฟซบุ๊ก: GREEN ROAD
3. โครงการ ‘ส่งพลาสติกกลับบ้าน’

สิ่งที่ต้องการ: พลาสติกยืดและพลาสติกแข็ง เช่น ถุง กล่องใส่อาหาร ฝาขวด ขวดพลาสติก รวมถึงฟิล์ม ฯลฯ โดยสามารถนำไปบริจาคตาม Drop Point จุดรับพลาสติก โครงการส่งพลาสติกกลับบ้าน หรือช่องทางไปรษณีย์ เพื่อเปลี่ยนเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่อีกครั้งตามแนวคิดระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy)
ที่อยู่: ‘โครงการส่งพลาสติกกลับบ้าน’ บ.ทีเออาร์เอฟ จำกัด 999 หมู่ที่ 1 ต.หนองปรือ อ.บางพลี จ.สมุทรปราการ 10540
โทรศัพท์: 08-1819-0110
เฟซบุ๊ก: ส่งพลาสติกกลับบ้าน
ที่อยู่: ‘โครงการส่งพลาสติกกลับบ้าน’ บ.ทีเออาร์เอฟ จำกัด 999 หมู่ที่ 1 ต.หนองปรือ อ.บางพลี จ.สมุทรปราการ 10540
โทรศัพท์: 08-1819-0110
เฟซบุ๊ก: ส่งพลาสติกกลับบ้าน
4. โครงการ ‘Precious Plastic Bangkok’

สิ่งที่ต้องการ: พลาสติก HDPE (High-density Polyethylene) เช่น ถุงพลาสติก และพลาสติก PP (Polypropylene) เช่น ถุงร้อนและฝาขวดน้ำพลาสติก เป็นต้น โดยมีเป้าหมายเพื่อนำขยะพลาสติกกลับมารีไซเคิล ช่วยกระตุ้นให้ทุกคนหันมาสนใจเรื่องมลพิษและให้ความสำคัญกับการใช้พลาสติกให้เกิดประโยชน์สูงสุด
ที่อยู่: Precious Plastic Bangkok@FREC Bangkok ชั้น 1 เลขที่ 77 ถ.นครสวรรค์ แขวงวัดโสมนัส เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพฯ 10100
เฟซบุ๊ก: Precious Plastic Bangkok
ที่อยู่: Precious Plastic Bangkok@FREC Bangkok ชั้น 1 เลขที่ 77 ถ.นครสวรรค์ แขวงวัดโสมนัส เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพฯ 10100
เฟซบุ๊ก: Precious Plastic Bangkok
5. โครงการ ‘รีไซเคิลเดย์’

สิ่งที่ต้องการ: ซองขนม ซองกาแฟ ฝาถ้วยโยเกิร์ต ฟอยล์ห่ออาหาร กล่องโฟม ช้อนและส้อมพลาสติก ภาชนะบรรจุอาหาร แก้วกระดาษเคลือบพลาสติก แก้วกาแฟ หลอด ฝาโดม ถุงกระสอบ ถุงอาหารสัตว์ หลอดครีมเปล่า ถุงผงซักฟอก ถุงรีฟิลน้ำยา หลอดยาสีฟันเปล่า และแปรงสีฟัน โดยการนำมารวบรวมและคัดแยกก่อนส่งไปเผาทิ้งเพื่อผลิตเป็นพลังงานทดแทนกับ CHULA Zero Waste
ที่อยู่: บริษัท รีไซเคิลเดย์ จำกัด 155/10 ถนนสุขุมวิท21(อโศก) แขวงคลองเตยเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพมหานคร 10110 กรุงเทพมหานคร 10140
เวลาทำการ: 09.00 - 18.00 น.
โทรศัพท์: 09-5090-8899
เฟซบุ๊ก: รีไซเคิลเดย์ Recycle Day Thailand
ที่อยู่: บริษัท รีไซเคิลเดย์ จำกัด 155/10 ถนนสุขุมวิท21(อโศก) แขวงคลองเตยเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพมหานคร 10110 กรุงเทพมหานคร 10140
เวลาทำการ: 09.00 - 18.00 น.
โทรศัพท์: 09-5090-8899
เฟซบุ๊ก: รีไซเคิลเดย์ Recycle Day Thailand