‘You’ ซีรีส์เรื่องดังของ Netflix ที่เดินทางมาสู่ Season 4 บทสร้างจากนิยายของ Caroline Kepnes ที่ว่าด้วยเรื่องราวของ Joe Goldberg (โจ) ชายผู้จัดการร้านหนังสือใน New York ที่เริ่มหลงใหลหญิงสาวนักเขียนคนหนึ่ง และเริ่มพฤติกรรม Stalking(สตอคกิ้ง) เธอ ทั้งการแอบติดตามเฝ้ามองเธอจากที่ต่างๆ การใช้ Social Media สืบค้นและการพยายามเข้าไปแทรกในทุกความสัมพันธ์ของเธอ

จนเรื่องมาถึงซีซันล่าสุดที่ต่อให้โจเปลี่ยนใจไปหาหญิงสาวคนใหม่แล้ว แต่พฤติกรรม Stalking (การสะกดรอยตามใครสักคน) ของเขาก็ยังไม่เปลี่ยนจนชวนให้เราสงสัยจนต้องหาคำตอบว่าความรักทำให้คนเราเปลี่ยนไปแค่ไหน การอยากรู้จักใครสักคนมีลิมิตยังไง เมื่อรู้ตัวอีกทีเราอาจไม่ได้นั่งอยู่ในใจของเขา แต่อาจเข้าไปนั่งอยู่ในบ้านเขาแทน

พฤติกรรมการ Stalking ของ Stalker เป็นอย่างไร ?
แม้ว่าพฤติกรรมการสะกดรอยตามใครสักคนของ Stalker มักจะดูภายนอกคล้ายกันและเกี่ยวข้องกับพฤติกรรมประเภทเดียวกัน แต่เหตุผลที่คนเราเริ่มการสะกดรอยตามใครสักคนนั้นกลับซับซ้อนและมีหลากหลายมิติ มีการเสนอรูปแบบต่างๆ มากมายเพื่อช่วยให้เราเข้าใจพฤติกรรมการสะกดรอยตามและผู้สะกดรอยตามซึ่งสิ่งที่เป็นแพทเทิร์นที่ชัดเจนที่สุดคือประเภทของความสัมพันธ์ก่อนหน้านี้ที่เหยื่อมีกับ Stalker
เช่น จากบทวิจัยต่างๆ ของวารสารนิติวิทยาศาสตร์ สามารถจัดประเภทของ Stalker เป็นอดีตบุคคลใกล้ชิดทางเพศ (อดีตเคยสนิทสนม) คนรู้จัก (รวมถึงเพื่อนและสมาชิกในครอบครัว) หรือคนแปลกหน้า (บุคคลสาธารณะหรือบุคคลภายนอก) รูปแบบตามความสัมพันธ์เหล่านี้สามารถเป็นจุดเริ่มต้นให้เกิดความเสี่ยงและเหมาะกับการสะกดรอยตาม โดยเฉพาะความสัมพันธ์ที่สื่อไปทางโรแมนติกที่ทำให้อาการคลั่งรักเริ่มเดินทางไปสู่อาการป่วย

อย่างใน ‘You’ เอง ตัวละครอย่างโจมักจะเริ่มพฤติกรรม Stalking หญิงสาวผ่าน “ความสนใจร่วม” บางอย่าง เช่น เธอสนใจงานเขียน เขารักหนังสือ จนเขาคิดเอาว่าเธอคือคนที่ใช่สำหรับเขา
แม้ว่า Stalker จำนวนมากจะไม่ได้มีอาการเจ็บป่วยทางจิต แต่ความผิดปกติทางจิตนั้นไม่ใช่เรื่องแปลกในหมู่ Stalker การวิจัยในสหรัฐอเมริกาและออสเตรเลียชี้ให้เห็นว่าอย่างน้อย 50% ของคนกลุ่มนี้มีอาการผิดปกติทางจิตบางอย่าง โดยมีความผิดปกติทางบุคลิกภาพ โรคจิตเภทและโรคจิตอื่นๆ โรคซึมเศร้า และความผิดปกติในการใช้สารเสพติดมากที่สุดด้วย
แม้ว่า Stalker จำนวนมากจะไม่ได้มีอาการเจ็บป่วยทางจิต แต่ความผิดปกติทางจิตนั้นไม่ใช่เรื่องแปลกในหมู่ Stalker การวิจัยในสหรัฐอเมริกาและออสเตรเลียชี้ให้เห็นว่าอย่างน้อย 50% ของคนกลุ่มนี้มีอาการผิดปกติทางจิตบางอย่าง โดยมีความผิดปกติทางบุคลิกภาพ โรคจิตเภทและโรคจิตอื่นๆ โรคซึมเศร้า และความผิดปกติในการใช้สารเสพติดมากที่สุดด้วย
ตัวอย่าง 3 ประเภทหลักของ Stalker
1. คนที่ถูกปฏิเสธ The rejected stalker : เกิดขึ้นในบริบทของความสัมพันธ์ใกล้ชิดที่แตกหัก เหยื่อมักเป็นอดีตผู้ใกล้ชิดทางเพศ อย่างไรก็ตาม สมาชิกในครอบครัว เพื่อนสนิท หรือคนอื่นๆ ที่มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดก็สามารถตกเป็นเป้าหมายของการสะกดรอยตามโดยรูปแบบนี้ได้เช่นกัน แรงจูงใจเริ่มต้นของผู้ถูกปฏิเสธคือการพยายามคืนดีความสัมพันธ์หรือการแก้แค้นต่อการถูกปฏิเสธ ในหลายกรณี Stalker ที่ถูกปฏิเสธแสดงท่าทีเหมือนว่าต้องการให้ความสัมพันธ์กลับคืนมา ในขณะที่บางครั้งพวกเขาก็โกรธอย่างเห็นได้ชัดและต้องการแก้แค้นเหยื่อเพราะช่วยให้ Stalker ประเภทนี้สามารถกอบกู้ความนับถือตนเองและรู้สึกดีขึ้นเกี่ยวกับตนเองได้

2. คนเหงาที่ไขว่คว้าแสวงหาความรัก The intimacy seeker : การแสวงหาความสนิทสนมกับใครสักคนเกิดขึ้นจากบริบทของความเหงาและการขาดคนสนิทใ้กล้ตัว ผู้ที่ตกเป็นเหยื่อมักจะเป็นคนแปลกหน้าหรือคนรู้จักที่เริ่มพฤติกรรมการแอบสะกดรอยตามแบบผู้แอบชอบ บ่อยครั้งที่การ Stalking รูปแบบนี้เกิดจากความเจ็บป่วยทางจิตขั้นรุนแรงที่เกี่ยวข้องกับความเชื่อผิดๆ เกี่ยวกับเหยื่อ เช่น ความเชื่อที่ว่าพวกเขามีความสัมพันธ์กันอยู่แล้ว แม้ว่าจะไม่มีอยู่จริงก็ตามทำให้ตัวเองเกิดความพึงพอใจที่ว่าพวกเขามีความเชื่อมโยงอย่างใกล้ชิดกับบุคคลอื่น ซึ่งหากเราดูซีรีส์นี้ให้ดี ‘โจ’ ก็จะเข้าข่าย Stalker แบบที่ 2 นี้
3. คนที่ขาดทักษะพื้นฐาน The incompetent suitor : แรงจูงใจเริ่มต้นของพวกเขาไม่ใช่เพื่อสร้างความสัมพันธ์รัก แต่เพื่อออกเดทหรือมีความสัมพันธ์ทางเพศระยะสั้น Stalker ประเภทนี้มักจะสะกดรอยตามในช่วงเวลาสั้น ๆ และมักไม่แยแสต่อความทุกข์ยากของเหยื่อ บางครั้งความ ‘ไม่รู้สึกแยแส’ นี้เกี่ยวข้องกับข้อจำกัดทางความคิดหรือทักษะทางสังคมที่ไม่ดี ซึ่งเป็นผลมาจากความผิดปกติของออทิสติกหรือความพิการทางสติปัญญาได้
ทั้งหมดที่กล่าวมาทำให้เราได้เห็นความเชื่อมโยงกันของการเกิดพฤติกรรม Stalking ที่เกิดจากทั้งความรัก ความหลงใหลหรืออาการเจ็บป่วยทางจิต ประเด็นสำคัญที่จะทำให้เรารู้ลิมิตของการอยากทำความรู้จักกับใครสักคนอาจไม่ได้เริ่มที่การคิดถึงตัวเราเองเป็นศูนย์กลางแต่คือการคิดถึงฝ่ายตรงข้าม คิดถึงความรับผิดชอบที่เราจะพึงมีต่อเขาได้ คิดถึงความรู้สึกเขาและการให้พื้นที่ส่วนตัวของกันและกันเป็นสิ่งสำคัญที่ทำให้ความรักไปต่อได้ ที่ถึงแม้จะเจอกับข้อสรุปแบบไหนแต่ความสัมพันธ์ที่เรามีต่อกันนั้นจะเป็นความน่ารักที่จดจำได้มากกว่าความน่ากลัวแน่นอน
3. คนที่ขาดทักษะพื้นฐาน The incompetent suitor : แรงจูงใจเริ่มต้นของพวกเขาไม่ใช่เพื่อสร้างความสัมพันธ์รัก แต่เพื่อออกเดทหรือมีความสัมพันธ์ทางเพศระยะสั้น Stalker ประเภทนี้มักจะสะกดรอยตามในช่วงเวลาสั้น ๆ และมักไม่แยแสต่อความทุกข์ยากของเหยื่อ บางครั้งความ ‘ไม่รู้สึกแยแส’ นี้เกี่ยวข้องกับข้อจำกัดทางความคิดหรือทักษะทางสังคมที่ไม่ดี ซึ่งเป็นผลมาจากความผิดปกติของออทิสติกหรือความพิการทางสติปัญญาได้
ทั้งหมดที่กล่าวมาทำให้เราได้เห็นความเชื่อมโยงกันของการเกิดพฤติกรรม Stalking ที่เกิดจากทั้งความรัก ความหลงใหลหรืออาการเจ็บป่วยทางจิต ประเด็นสำคัญที่จะทำให้เรารู้ลิมิตของการอยากทำความรู้จักกับใครสักคนอาจไม่ได้เริ่มที่การคิดถึงตัวเราเองเป็นศูนย์กลางแต่คือการคิดถึงฝ่ายตรงข้าม คิดถึงความรับผิดชอบที่เราจะพึงมีต่อเขาได้ คิดถึงความรู้สึกเขาและการให้พื้นที่ส่วนตัวของกันและกันเป็นสิ่งสำคัญที่ทำให้ความรักไปต่อได้ ที่ถึงแม้จะเจอกับข้อสรุปแบบไหนแต่ความสัมพันธ์ที่เรามีต่อกันนั้นจะเป็นความน่ารักที่จดจำได้มากกว่าความน่ากลัวแน่นอน