













ตามที่เครือข่ายนักวิชาการเสียงประชาชนจาก 10 มหาวิทยาลัย ได้ร่วมกับสื่อมวลชน 10 สำนัก เปิดโหวต ‘เสียงประชาชน’ มาตั้งแต่วันที่ 15 พฤษภาคมที่ผ่าน วันนี้ (18 พ.ค. 66) เครือข่ายนักวิชาการเสียงประชาชนจึงขอแถลงผลการโหวตนำโดย ‘ผศ.ดร.ปริญญา เทวนฤมิตรกุล’ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ‘รศ.ดร.พิชาย รัตนดิลก ณ ภูเก็ต’ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) ‘ผศ.ดร.วันวิชิต บุญโปร่ง’ มหาวิทยาลัยรังสิต ‘รศ.ดร.ธนพร ศรียากูล’ นายกสมาคมรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และ ‘รศ.ดร.โอฬาร ถิ่นบางเตียว มหาวิทยาลัยบูรพา’ พร้อมกับข้อเสนอแนะต่อการจัดตั้งรัฐบาลและการเลือกนายกรัฐมนตรีตามระบอบประชาธิปไตยในระบบรัฐสภา ดังต่อไปนี้
ผศ.ดร.ปริญญา เปิดเผยผลโหวตเสียงประชาชนเห็นด้วยว่า ส.ว.ควรเคารพเสียงประชาชน โดยโหวตเลือกนายกรัฐมนตรี ตามเสียงข้างมากของ ส.ส. จากการเปิดโหวตระหว่างวันที่ 15 - 18 พ.ค. 66 มีผู้โหวต 3,487,313 ครั้ง เห็นด้วย 85 เปอร์เซ็นต์ ไม่เห็นด้วย 15 เปอร์เซ็นต์ พบความผิดปกติ และน่ากังวลใจ เพราะจากเดิมมีประชาชน เห็นด้วย 93 เปอร์เซ็นต์ แต่ก่อนปิดโหวต 12 ชั่วโมง พบว่ามีการโหวตพร้อมๆ กัน 300,000 ครั้ง ทำให้ผลโหวตเหลือ 85 เปอร์เซ็นต์คล้ายกับจงใจ ทำให้ผลโหวตของประชาชนลดลง
ส่วนข้อเสนอแนะต่อ ส.ว.ที่ไม่ได้มาจากการเลือกของประชาชน ต่างจาก ส.ส.ที่ได้ฉันทามติจากประชาชน ส.ว.จึงควรต้องฟังเสียงประชาชน ไม่ควรทุ่มเถียงและเกี่ยงงอน หรือบอกประชาชนอย่ากดดัน เพราะเป็นเรื่องส่วนรวม ที่ประชาชนเจ้าของประเทศ มีสิทธิส่งเสียงได้ ยังมีเวลาอีก 60 วัน ให้ว่าที่รัฐบาลเสียงข้างมากจัดตั้งรัฐบาลหาเสียงครั้งที่สอง ชี้แจงนโยบายกับ ส.ว. และ ส.ส. ที่เหลือ ให้ร่วมโหวตนายกรัฐมนตรี ส่วนจะหาเสียงอย่างไรให้เป็นเรื่องวิธีการของพักที่กำลังจัดตั้งรัฐบาล
ทั้งนี้บทบาทหน้าที่ของ กกต.ในการเลือกตั้งครั้งนี้ ประชาชนรู้สึกคลางแคลงใจมากที่สุดยิ่งกว่าทุกครั้ง ดังนั้น กกต. ต้องประกาศผลและรับรอง ส.ส. ให้คนเชื่อมั่นอย่างเที่ยงธรรม ไม่ให้เกิดการได้เปรียบเสียเปรียบกับพรรคการเมืองใดพรรคการเมืองหนึ่ง ส่วนเรื่องการตรวจสอบคุณสมบัติของผู้สมัคร ส.ส. หากผู้ใดมีคุณสมบัติไม่ครบถ้วนหรือมีคุณสมบัติต้องห้าม กกต.ควรประกาศว่าขาดคุณสมบัติตั้งแต่ก่อนเลือกตั้ง หากเลือกตั้งเสร็จแล้วค่อยประกาศว่าขาดคุณสมบัติ ย่อมเป็นความบกพร่องของ กกต.ย่อมถูกมองว่าอาจมีเจตนาให้คุณให้โทษกับพรรคหนึ่งพรรคใด ดังนั้นควรส่งให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย ไม่ใช่ตัดสินเอง เพราะจะก่อให้เกิดปัญหาตามมาอย่างมากมาย
รศ.ดร.พิชาย มองว่าการรับรอง ส.ส.ในไทยพิสดาร ต้องใช้เวลา 2 เดือน ทำให้การจัดตั้งรัฐบาลยืดเยื้อออกไป ซึ่งเป็นเรื่องผิดปกติ ดังนั้น กกต.ช่วยได้ ด้วยการเพิ่มประสิทธิภาพ เร่งรับรองผลเลือกตั้งโดยเร็วและเที่ยงธรรม ไม่เกิน 1 เดือน จะทำให้กอบกู้ชื่อเสียงของ กกต.มาได้บ้าง เพื่อให้การเมืองไทยเดินหน้าโดยเร็ว ส่วน ส.ว.หลังเลือกตั้ง มีจำนวนไม่น้อย ที่ออกมาเคารพเสียงประชาชน เชื่อว่า ส.ว. ที่เหลือจะฟังเสียงประชาชน เพราะถ้าประเทศไทยสามารถเดินไปตามครรลองของประชาธิปไตย เราจะมีศักดิ์ศรีมากขึ้นในเวทีโลก และยังจะช่วยป้องกันความขัดแย้งภายในประเทศด้วย
รศ.ดร.โอฬาร กล่าวว่า ขอ ส.ว.อย่ากังวลใจ เพราะยังเหลือวาระอีก 1 ปี ในการดำเนินงานของรัฐสภา ดังนั้นควรฟังเสียงของประชาชน ช่วยกันเอาฟืนออกจากกองไฟ ให้รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งได้แสดงฝีไม้ลายมือ ยิ่งยื้อ ยิ่งไม่เป็นผลดีต่อเศรษฐกิจ
“เราเคยเห็นพฤษภาทมิฬ ประวัติศาสตร์บอกไว้แล้วว่า ถ้าไม่ทำตามเจตจำนงของประชาชนท่ามกลางความคุกรุ่นของแรงกดดันที่มีการตื่นตัวทางการเมืองที่เห็นเด่นชัดมาตั้งแต่การเลือกตั้ง ประชาชนเฝ้าติดตามให้ ส.ว.ทำตามเจตจำนง ส.ว.จึงต้องตระหนัก และกลับไปพิจารณา”
รศ.ดร.ธนพร มองว่าคนไทยทำสำเร็จแล้ว 2 เรื่อง คือ การจัดตั้งรัฐบาลโดยลำดับคะแนน และปิดสวิตช์ รัฐบาลเสียงข้างน้อย ท่าทีของ พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ ที่จะไปหารือกับ ส.ว. ในวันที่ 23 พ.ค. 66 ถือเป็นทิศทางที่ดี มองว่าวันนี้ที่พระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหาย พ.ศ. 2565 พ.ศ. 2566 ถูกศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่าขัดต่อรัฐธรรมนูญ ต้องถามต่อถึงความรับผิดชอบของรัฐบาล
ช่วงท้าย ผศ.ดร.ปริญญา ย้ำว่า การปิดสวิชต์ ส.ว. ไม่ใช่การงดออกเสียง แต่คือไม่รับรองรัฐบาลที่ได้เสียงมาจากประชาชน และอย่าให้เขารวมเสียงถึง 376 เสียง เพราะจะทำให้เป็นรัฐบาลที่เข้มแข็งเกินไป อาจถูกมองเป็นเผด็จการรัฐสภาได้ ส่วน พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ที่อาจส่งสัญญาณไปถึง ส.ว. นั้น ย้ำว่าในการขอเสียง ส.ว. ให้เป็นเรื่องของพรรคแกนนำรัฐบาล ส่วนกรณีที่มีการร้องเรียนเรื่องหุ้นสื่อ ITV ของ พิธา หากจะมีการพิจารณา กกต.ควรส่งต่อศาลรัฐธรรมนูญ กกต. ควรดำเนินการ เฉพาะเรื่องเกี่ยวกับการทุจริตเลือกตั้งเท่านั้น
ด้าน รศ.ดร.พิชาย กล่าวเพิ่มเติมว่า ส.ว.ท่านใดที่ต้องการจะปิดสวิตช์แนะนำให้ลาออก จะได้ไม่เป็นภาระ เพราะหากพ้นตำแหน่ง จำนวนก็จะหักออก ตามกฎหมาย
ผศ.ดร.ปริญญา เปิดเผยผลโหวตเสียงประชาชนเห็นด้วยว่า ส.ว.ควรเคารพเสียงประชาชน โดยโหวตเลือกนายกรัฐมนตรี ตามเสียงข้างมากของ ส.ส. จากการเปิดโหวตระหว่างวันที่ 15 - 18 พ.ค. 66 มีผู้โหวต 3,487,313 ครั้ง เห็นด้วย 85 เปอร์เซ็นต์ ไม่เห็นด้วย 15 เปอร์เซ็นต์ พบความผิดปกติ และน่ากังวลใจ เพราะจากเดิมมีประชาชน เห็นด้วย 93 เปอร์เซ็นต์ แต่ก่อนปิดโหวต 12 ชั่วโมง พบว่ามีการโหวตพร้อมๆ กัน 300,000 ครั้ง ทำให้ผลโหวตเหลือ 85 เปอร์เซ็นต์คล้ายกับจงใจ ทำให้ผลโหวตของประชาชนลดลง
ส่วนข้อเสนอแนะต่อ ส.ว.ที่ไม่ได้มาจากการเลือกของประชาชน ต่างจาก ส.ส.ที่ได้ฉันทามติจากประชาชน ส.ว.จึงควรต้องฟังเสียงประชาชน ไม่ควรทุ่มเถียงและเกี่ยงงอน หรือบอกประชาชนอย่ากดดัน เพราะเป็นเรื่องส่วนรวม ที่ประชาชนเจ้าของประเทศ มีสิทธิส่งเสียงได้ ยังมีเวลาอีก 60 วัน ให้ว่าที่รัฐบาลเสียงข้างมากจัดตั้งรัฐบาลหาเสียงครั้งที่สอง ชี้แจงนโยบายกับ ส.ว. และ ส.ส. ที่เหลือ ให้ร่วมโหวตนายกรัฐมนตรี ส่วนจะหาเสียงอย่างไรให้เป็นเรื่องวิธีการของพักที่กำลังจัดตั้งรัฐบาล
ทั้งนี้บทบาทหน้าที่ของ กกต.ในการเลือกตั้งครั้งนี้ ประชาชนรู้สึกคลางแคลงใจมากที่สุดยิ่งกว่าทุกครั้ง ดังนั้น กกต. ต้องประกาศผลและรับรอง ส.ส. ให้คนเชื่อมั่นอย่างเที่ยงธรรม ไม่ให้เกิดการได้เปรียบเสียเปรียบกับพรรคการเมืองใดพรรคการเมืองหนึ่ง ส่วนเรื่องการตรวจสอบคุณสมบัติของผู้สมัคร ส.ส. หากผู้ใดมีคุณสมบัติไม่ครบถ้วนหรือมีคุณสมบัติต้องห้าม กกต.ควรประกาศว่าขาดคุณสมบัติตั้งแต่ก่อนเลือกตั้ง หากเลือกตั้งเสร็จแล้วค่อยประกาศว่าขาดคุณสมบัติ ย่อมเป็นความบกพร่องของ กกต.ย่อมถูกมองว่าอาจมีเจตนาให้คุณให้โทษกับพรรคหนึ่งพรรคใด ดังนั้นควรส่งให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย ไม่ใช่ตัดสินเอง เพราะจะก่อให้เกิดปัญหาตามมาอย่างมากมาย
รศ.ดร.พิชาย มองว่าการรับรอง ส.ส.ในไทยพิสดาร ต้องใช้เวลา 2 เดือน ทำให้การจัดตั้งรัฐบาลยืดเยื้อออกไป ซึ่งเป็นเรื่องผิดปกติ ดังนั้น กกต.ช่วยได้ ด้วยการเพิ่มประสิทธิภาพ เร่งรับรองผลเลือกตั้งโดยเร็วและเที่ยงธรรม ไม่เกิน 1 เดือน จะทำให้กอบกู้ชื่อเสียงของ กกต.มาได้บ้าง เพื่อให้การเมืองไทยเดินหน้าโดยเร็ว ส่วน ส.ว.หลังเลือกตั้ง มีจำนวนไม่น้อย ที่ออกมาเคารพเสียงประชาชน เชื่อว่า ส.ว. ที่เหลือจะฟังเสียงประชาชน เพราะถ้าประเทศไทยสามารถเดินไปตามครรลองของประชาธิปไตย เราจะมีศักดิ์ศรีมากขึ้นในเวทีโลก และยังจะช่วยป้องกันความขัดแย้งภายในประเทศด้วย
รศ.ดร.โอฬาร กล่าวว่า ขอ ส.ว.อย่ากังวลใจ เพราะยังเหลือวาระอีก 1 ปี ในการดำเนินงานของรัฐสภา ดังนั้นควรฟังเสียงของประชาชน ช่วยกันเอาฟืนออกจากกองไฟ ให้รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งได้แสดงฝีไม้ลายมือ ยิ่งยื้อ ยิ่งไม่เป็นผลดีต่อเศรษฐกิจ
“เราเคยเห็นพฤษภาทมิฬ ประวัติศาสตร์บอกไว้แล้วว่า ถ้าไม่ทำตามเจตจำนงของประชาชนท่ามกลางความคุกรุ่นของแรงกดดันที่มีการตื่นตัวทางการเมืองที่เห็นเด่นชัดมาตั้งแต่การเลือกตั้ง ประชาชนเฝ้าติดตามให้ ส.ว.ทำตามเจตจำนง ส.ว.จึงต้องตระหนัก และกลับไปพิจารณา”
รศ.ดร.ธนพร มองว่าคนไทยทำสำเร็จแล้ว 2 เรื่อง คือ การจัดตั้งรัฐบาลโดยลำดับคะแนน และปิดสวิตช์ รัฐบาลเสียงข้างน้อย ท่าทีของ พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ ที่จะไปหารือกับ ส.ว. ในวันที่ 23 พ.ค. 66 ถือเป็นทิศทางที่ดี มองว่าวันนี้ที่พระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหาย พ.ศ. 2565 พ.ศ. 2566 ถูกศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่าขัดต่อรัฐธรรมนูญ ต้องถามต่อถึงความรับผิดชอบของรัฐบาล
ช่วงท้าย ผศ.ดร.ปริญญา ย้ำว่า การปิดสวิชต์ ส.ว. ไม่ใช่การงดออกเสียง แต่คือไม่รับรองรัฐบาลที่ได้เสียงมาจากประชาชน และอย่าให้เขารวมเสียงถึง 376 เสียง เพราะจะทำให้เป็นรัฐบาลที่เข้มแข็งเกินไป อาจถูกมองเป็นเผด็จการรัฐสภาได้ ส่วน พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ที่อาจส่งสัญญาณไปถึง ส.ว. นั้น ย้ำว่าในการขอเสียง ส.ว. ให้เป็นเรื่องของพรรคแกนนำรัฐบาล ส่วนกรณีที่มีการร้องเรียนเรื่องหุ้นสื่อ ITV ของ พิธา หากจะมีการพิจารณา กกต.ควรส่งต่อศาลรัฐธรรมนูญ กกต. ควรดำเนินการ เฉพาะเรื่องเกี่ยวกับการทุจริตเลือกตั้งเท่านั้น
ด้าน รศ.ดร.พิชาย กล่าวเพิ่มเติมว่า ส.ว.ท่านใดที่ต้องการจะปิดสวิตช์แนะนำให้ลาออก จะได้ไม่เป็นภาระ เพราะหากพ้นตำแหน่ง จำนวนก็จะหักออก ตามกฎหมาย