





พิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎรคนที่ 2 เป็นประธานการประชุมตัวแทนพรรคการเมือง เพื่อตั้งคณะกรรมการสามัญ สภาผู้แทนราษฎร 35 คณะ โดยมีสัดส่วนของพรรคการเมืองที่ได้รับตำแหน่งประธานกรรมาธิการดังนี้ พรรคก้าวไกล และพรรคเพื่อไทย พรรคละ 10 คณะ ,พรรคภูมิใจไทย 5 คณะ , พรรคพลังประชารัฐ พรรครวมไทยสร้างชาติ พรรคละ 3 คณะ พรรคประชาธิปัตย์ 2 คณะ พรรคชาติไทยพัฒนาและประชาชาติพรรคละ 1 คณะ
โดยแบ่งจำนวนสัดส่วนกรรมาธิการ คือ พรรคก้าวไกล 158 ตำแหน่ง ,พรรคเพื่อไทย 148 ตำแหน่ง ,พรรคภูมิใจไทย 75 ตำแหน่ง ,พรรคพลังประชารัฐ 42 ตำแหน่ง ,พรรครวมไทยสร้างชาติ 38 ตำแหน่ง ,พรรคประชาธิปัตย์ 26 ตำแหน่ง ,พรรคชาติไทยพัฒนา 11 ตำแหน่ง ,พรรคประชาชาติ 10 ตำแหน่ง ,พรรคไทยสร้างไทย 6 ตำแหน่ง , พรรคชาติพัฒนากล้า และพรรคเพื่อไทรวมพลัง พรรคละ 2 ตำแหน่ง ,พรรคเสรีรวมไทย พรรคประชาธิปไตยใหม่ พรรคใหม่ พรรคท้องที่ไทย พรรคเป็นธรรม พรรคพลังสังคมใหม่ พรรคครูไทยเพื่อประชาชน พรรคละ 1 ตำแหน่ง
จากนั้น พิเชษฐ์ กล่าวภายหลังการประชุม ว่า ในที่ประชุม พรรคก้าวไกลได้ขอให้การเลือกตั้ง สส.ที่จังหวัดระยองเสร็จสิ้นเสียก่อน จึงค่อยจัดสรร เพราะหากพรรคก้าวไกลชนะ จะได้รับสัดส่วนเพิ่มขึ้น แต่ทางตัวแทนพรรคการเมืองของทุกพรรคระบุว่า เราควรที่จะอยู่กับปัจจุบัน ที่มีสมาชิก 499 คน จึงตกลงกันว่าให้เดินตามหลักปัจจุบัน หากรอเลือกตั้งเสร็จกว่า กกต.จะรับรองไม่ใช่ 5 วัน 10 วันอาจจะเป็นเดือนหรือ 2 เดือนก็ได้ จึงขอเอาจำนวนปัจจุบันก่อน เพื่อให้ได้ทำงานในฐานะกรรมาธิการ ได้ไปพบประชาชนและแก้ปัญหาได้เร็วขึ้น ดังนั้น ทุกพรรคก็ได้สัดส่วนที่ระบุไว้ ซึ่งช่วงนี้แต่ละพรรคก็จะต้องไปเจรจานอกรอบ ว่าพรรคไหน จะได้ประธานกรรมาธิการคณะไหน ส่วนวันที่ 4 กันยายน ให้ทุกพรรคมาประชุมอีกครั้งหนึ่งเพื่อติดตามความคืบหน้า ว่าสมาชิก 499 คน คนไหน สังกัดอยู่ที่กรรมาธิการไหนบ้าง และในวันที่ 13 กันยายนก็จะสรุปอีกครั้งว่า ใครสังกัดอยู่คณะกรรมาธิการชุดไหน และในวันที่14 กันยายน จะเป็นการประชุมนัดแรกของกรรมาธิการแต่ละคณะ
สำหรับการเลือกประธานกรรมาธิการนั้น เอาความต้องการของแต่ละพรรค ว่าอยากเป็นประธานคณะกรรมาธิการพรรคไหนเป็นหลัก ถ้าไม่ซ้ำกันพรรคนั้นก็ได้ไปเลย แต่ถ้าซ้ำกันก็ต้องมาคุยกันรอบ 2 ซึ่งจากที่ได้มีการพูดคุยกันคาดว่า น่าจะมีซ้ำกันไม่เยอะ และเชื่อว่าจะจัดสรรได้ลงตัว ส่วนกรรมาธิการที่มีความต้องการตรงกัน เช่น กรรมาธิการแรงงาน กรรมาธิการเกษตรกรรมาธิการปกครองท้องถิ่น แต่ก็เชื่อว่าจะตกลงกันได้ ซึ่งไม่เกี่ยวว่า พรรครัฐบาลได้มีรัฐมนตรีกระทรวงไหนก็จะต้องเป็นประธานกรรมาธิการคณะนั้น อยู่ที่ความต้องการของแต่ละพรรคว่าถนัด ตรวจสอบดำเนินการด้านไหนใน 35 คณะ
ทั้งนี้ การรับรอง สส.ระยองของ กกต. ไม่มีเวลาที่แน่นอน อาจจะถึง 60 วัน ก็ให้ดำเนินการจัดสรรคณะกรรมาธิการเช่นนี้ไปก่อน หากพรรคก้าวไกลชนะและ กกต.รับรอง เวลานั้น มีวิปของแต่ละพรรครวมถึงวิปฝ่ายค้านและวิปรัฐบาลแล้ว สามารถมาประชุมกันและเปลี่ยนแปลงสัดส่วนคณะกรรมาธิการอีกครั้งได้
ทั้งนี้ มีรายงานว่าบรรยากาศการหารือในห้องประชุม พรรคก้าวไกลได้ขอยื้อเวลาการแบ่งสัดส่วนออกไปก่อนจนกว่าจะทราบผลการเลือกตั้งซ่อม สส.ระยอง เพราะหากชนะจะได้เก้าอี้ประธานกรรมาธิการได้อีก 1 คณะ แต่พรรคการเมืองอื่นๆ โดยเฉพาะพรรครวมไทยสร้างชาติได้แย้งว่า แม้การเลือกตั้งจะเสร็จสิ้นในวันที่ 10 กันยายน ก็ไม่ใช่ว่าจะได้ สส. เพิ่มในทันที ต้องรอระยะเวลาการประกาศรับรองผลการเลือกตั้งก่อน และอาจใช้เวลารอไปถึงจนการพิจารณาใบเหลืองใบแดง ก็อาจลากยาวไปถึงเดือนพฤศจิกายน ซึ่งถือว่านานเกินไป ทำให้พรรคก้าวไกลยินยอมให้จัดสรรโควต้ากรรมาธิการไปก่อน แล้วค่อยมาตกลงกับวิปทั้งสองฝ่ายอีกครั้ง หากมีการเปลี่ยนแปลง
โดยแบ่งจำนวนสัดส่วนกรรมาธิการ คือ พรรคก้าวไกล 158 ตำแหน่ง ,พรรคเพื่อไทย 148 ตำแหน่ง ,พรรคภูมิใจไทย 75 ตำแหน่ง ,พรรคพลังประชารัฐ 42 ตำแหน่ง ,พรรครวมไทยสร้างชาติ 38 ตำแหน่ง ,พรรคประชาธิปัตย์ 26 ตำแหน่ง ,พรรคชาติไทยพัฒนา 11 ตำแหน่ง ,พรรคประชาชาติ 10 ตำแหน่ง ,พรรคไทยสร้างไทย 6 ตำแหน่ง , พรรคชาติพัฒนากล้า และพรรคเพื่อไทรวมพลัง พรรคละ 2 ตำแหน่ง ,พรรคเสรีรวมไทย พรรคประชาธิปไตยใหม่ พรรคใหม่ พรรคท้องที่ไทย พรรคเป็นธรรม พรรคพลังสังคมใหม่ พรรคครูไทยเพื่อประชาชน พรรคละ 1 ตำแหน่ง
จากนั้น พิเชษฐ์ กล่าวภายหลังการประชุม ว่า ในที่ประชุม พรรคก้าวไกลได้ขอให้การเลือกตั้ง สส.ที่จังหวัดระยองเสร็จสิ้นเสียก่อน จึงค่อยจัดสรร เพราะหากพรรคก้าวไกลชนะ จะได้รับสัดส่วนเพิ่มขึ้น แต่ทางตัวแทนพรรคการเมืองของทุกพรรคระบุว่า เราควรที่จะอยู่กับปัจจุบัน ที่มีสมาชิก 499 คน จึงตกลงกันว่าให้เดินตามหลักปัจจุบัน หากรอเลือกตั้งเสร็จกว่า กกต.จะรับรองไม่ใช่ 5 วัน 10 วันอาจจะเป็นเดือนหรือ 2 เดือนก็ได้ จึงขอเอาจำนวนปัจจุบันก่อน เพื่อให้ได้ทำงานในฐานะกรรมาธิการ ได้ไปพบประชาชนและแก้ปัญหาได้เร็วขึ้น ดังนั้น ทุกพรรคก็ได้สัดส่วนที่ระบุไว้ ซึ่งช่วงนี้แต่ละพรรคก็จะต้องไปเจรจานอกรอบ ว่าพรรคไหน จะได้ประธานกรรมาธิการคณะไหน ส่วนวันที่ 4 กันยายน ให้ทุกพรรคมาประชุมอีกครั้งหนึ่งเพื่อติดตามความคืบหน้า ว่าสมาชิก 499 คน คนไหน สังกัดอยู่ที่กรรมาธิการไหนบ้าง และในวันที่ 13 กันยายนก็จะสรุปอีกครั้งว่า ใครสังกัดอยู่คณะกรรมาธิการชุดไหน และในวันที่14 กันยายน จะเป็นการประชุมนัดแรกของกรรมาธิการแต่ละคณะ
สำหรับการเลือกประธานกรรมาธิการนั้น เอาความต้องการของแต่ละพรรค ว่าอยากเป็นประธานคณะกรรมาธิการพรรคไหนเป็นหลัก ถ้าไม่ซ้ำกันพรรคนั้นก็ได้ไปเลย แต่ถ้าซ้ำกันก็ต้องมาคุยกันรอบ 2 ซึ่งจากที่ได้มีการพูดคุยกันคาดว่า น่าจะมีซ้ำกันไม่เยอะ และเชื่อว่าจะจัดสรรได้ลงตัว ส่วนกรรมาธิการที่มีความต้องการตรงกัน เช่น กรรมาธิการแรงงาน กรรมาธิการเกษตรกรรมาธิการปกครองท้องถิ่น แต่ก็เชื่อว่าจะตกลงกันได้ ซึ่งไม่เกี่ยวว่า พรรครัฐบาลได้มีรัฐมนตรีกระทรวงไหนก็จะต้องเป็นประธานกรรมาธิการคณะนั้น อยู่ที่ความต้องการของแต่ละพรรคว่าถนัด ตรวจสอบดำเนินการด้านไหนใน 35 คณะ
ทั้งนี้ การรับรอง สส.ระยองของ กกต. ไม่มีเวลาที่แน่นอน อาจจะถึง 60 วัน ก็ให้ดำเนินการจัดสรรคณะกรรมาธิการเช่นนี้ไปก่อน หากพรรคก้าวไกลชนะและ กกต.รับรอง เวลานั้น มีวิปของแต่ละพรรครวมถึงวิปฝ่ายค้านและวิปรัฐบาลแล้ว สามารถมาประชุมกันและเปลี่ยนแปลงสัดส่วนคณะกรรมาธิการอีกครั้งได้
ทั้งนี้ มีรายงานว่าบรรยากาศการหารือในห้องประชุม พรรคก้าวไกลได้ขอยื้อเวลาการแบ่งสัดส่วนออกไปก่อนจนกว่าจะทราบผลการเลือกตั้งซ่อม สส.ระยอง เพราะหากชนะจะได้เก้าอี้ประธานกรรมาธิการได้อีก 1 คณะ แต่พรรคการเมืองอื่นๆ โดยเฉพาะพรรครวมไทยสร้างชาติได้แย้งว่า แม้การเลือกตั้งจะเสร็จสิ้นในวันที่ 10 กันยายน ก็ไม่ใช่ว่าจะได้ สส. เพิ่มในทันที ต้องรอระยะเวลาการประกาศรับรองผลการเลือกตั้งก่อน และอาจใช้เวลารอไปถึงจนการพิจารณาใบเหลืองใบแดง ก็อาจลากยาวไปถึงเดือนพฤศจิกายน ซึ่งถือว่านานเกินไป ทำให้พรรคก้าวไกลยินยอมให้จัดสรรโควต้ากรรมาธิการไปก่อน แล้วค่อยมาตกลงกับวิปทั้งสองฝ่ายอีกครั้ง หากมีการเปลี่ยนแปลง