









19 ก.ค. 66 ที่อนุเสาวรีย์ประชาธิปไตย ‘สส.พรรคก้าวไกล’ นำโดย ‘รังสิมันต์ โรม’ สส.แบบบัญชีรายชื่อ ‘รัชนก ศรีนอก’ สส.กทม. และ ‘พริษฐ์ วัชรสินธุ’ สส.แบบบัญชีรายชื่อ โดยได้รับการต้อนรับจากมวลชนอย่างอบอุ่น
‘พริษฐ์ วัชรสินธุ’ ได้ให้สัมภาษณ์ถึงการเดินทางมาติดตามสถานการณ์การชุมนุมของกลุ่มแนวร่วมธรรมศาสตร์และการชุมนุม ว่า วันนี้มาสังเกตุการณ์และพูดคุยกับประชาชน ถึงความรู้สึกที่มีต่อมติของรัฐสภาทั้งวันที่ 13 ก.ค. และวันนี้ (19 ก.ค.)ขอขอบคุณประชาชนที่มาให้กำลังใจ ส่วนตัวคิดว่าสาเหตุที่มารวมตัวกัน ณ วันนี้ เป็นปฏิกิริยาของการทราบผลมติทั้งสองครั้ง ส่วนตัวยืนยันว่าการลงมติทั้งสองครั้งมีความสำคัญไม่ใช่แค่สำหรับพรรคก้าวไกลและประเทศไทย ซึ่งที่ผ่านมาทางพรรคก้าวไกลได้เรียกร้องให้ทางสมาชิกรัฐสภา โหวตสนับสนุนพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ ให้เป็นนายกรัฐมนตรีคนที่30
ในฐานะพรรคก้าวไกลที่ได้รับความไว้วางใจการเป็นพรรคอันดับหนึ่งจึงควรได้รับเป็นนายกรัฐมนตรีตามระบอบประชาธิปไตย ในส่วนประเด็นที่มีการถกกันในสภาฯ วันนี้ ประการสำคัญไม่เกี่ยวข้องกับพิธา แต่เราต้องมีการตีความให้สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญ เราไม่เห็นด้วยกับข้อบังคับการประชุมที่ออกมาเป็นมติในสภาฯ แบบนี้ มันไม่ได้อยู่บนฐานที่มองว่าเกี่ยวข้องกับบุคคลใดบุคคลหนึ่งแต่มันมีผลทางกฎหมายทางรัฐศาสตร์ว่าทำไมไม่ควรจะตีความเช่นนั้น
เมื่อถามว่าการที่เสนอชื่อพิธาซ้ำไม่ได้จะเป็นแรงกระตุ้นไปยังมวลชนให้รู้สึกไม่พอใจมากขึ้นหรือไม่ พริษฐ์ กล่าวว่า ตนยืนยันมาตลอดว่ามติโหวตนายก สิ่งที่เราเรียกร้องก็คือคือการเคารพเสียงประชาชนเพราะมันไม่ใช่การเคารพเสียงประชาชนที่เลือกนายพิธาเพียงอย่างเดียว แต่เป็นการเคารพเสียงประชาชนที่เลือกพรรคร่วมรัฐบาลทั้งหลายด้วย เราจึงเรียกร้องให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเคารพเสียงของประชาชนที่แสดงออกของการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 14 พ.ค.ที่ผ่านมา ดังนั้นความไม่พอใจของมวลชนจึงไม่ได้จำกัดอยู่เพียงแค่คนที่เลือกพรรคก้าวไกลเท่านั้น แต่คงรวมไปถึงคนที่อยากเห็นบ้านเมืองเดินหน้าด้วยกติกาการเมืองที่เป็นปกติตามครรลองประชาธิปไตย
ด้าน ‘อมรรัตน์ โชติประมิตรกุล’ กรรมการบริหารพรรคก้าวไกล เดินทางมาร่วมชุมนุมที่บริเวณอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย จากนั้นอมรรัตน์ให้สัมภาษณ์ว่า วันนี้มาในฐานะที่ปรึกษาของรองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่ 1 และมาเยี่ยมเยียนกลุ่มผู้ชุมนุม รวมถึงมาดูการกระทำของเจ้าหน้าที่ต่อผู้ชุมนุม ดีใจอย่างยิ่งที่เราได้ลานชุมนุมบริเวณอนุสาวรีย์ประชาธิปไตยกลับคืนมา ซึ่งสมัยรัฐบาลประยุทธ์ มีการนำกระถางต้นไม้มาวางเต็มพื้นที่ แต่ตอนนี้กลายเป็นที่ชุมนุมที่ปลอดภัย ซึ่งเท่าที่ตนดูก็เรียบร้อยดี
และตนเชื่อว่าประชาชนในยุคสมัยปัจจุบันมีการตื่นตัวทางการเมืองสูง ติดตามการประชุมสภามากขึ้นอย่างมโหฬาร ซึ่งตนเห็นใจพี่น้องประชาชนที่หลังจากเลือกตั้งแล้วก็ต้องออกมาปกป้องผลการเลือกตั้ง และไม่น่าเชื่อว่าพวกมีอำนาจจะกล้าใช้วิธีการเช่นนี้ โดยเฉพาะ คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) พี่ไม่เปิดโอกาสให้พิธาเข้าไปชี้แจง แต่กลับส่งเรื่องไปให้ศาลรัฐธรรมนูญ เราต้องเช็คบิล กกต. ตามช่องทางที่สามารถทำได้ ขณะนี้ได้เปิดเปลือยการเมืองไทย ซึ่งประชาชนได้เห็นกันอย่างชัดแจ้งแล้ว ไม่มีประเทศใด ที่เลือกตั้งได้เสียงข้างมากแล้วยังไม่สามารถจัดตั้งรัฐบาลได้
โดยตนพึ่งแยกกับพิธาเมื่อสักครู่ หัวหน้าพรรคก้าวไกลมีภาวะผู้นำมาก ยิ่งทำให้เลื่อมใส ในสถานการณ์คับขันพิธาวางท่าทีที่ให้กำลังใจพวกเราลูกพรรค และนายพิทายังฝากมาให้กำลังใจผู้ชุมนุมที่บริเวณอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย ทำให้ทราบเลยว่า พิธานั้น เหมาะสำหรับการเป็นผู้นำอย่างยิ่ง
“เรายังมีโอกาสอยู่ วันนี้ เป็นแค่การลงมติ ว่าจะลงมติเสนอชื่อนายพิธาซ้ำได้หรือไม่ เป็นญัตติหรือไม่ ไม่ใช่เรื่องที่ว่า นายพิธาจะไม่มีโอกาส เข้าชิงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี รอบ 2 ซึ่งหากสถานการณ์เปลี่ยนแปลง และได้เสียงสนับสนุนจากสมาชิกรัฐสภาเพิ่ม ในครั้งหน้าอาจจะมีการเสนอชื่อนายพิธาเข้าสู่ที่ประชุมรัฐสภาเพื่อเห็นชอบเป็นนายกรัฐมนตรี อีกครั้งหนึ่ง วันนี้นายพิธาไม่ได้แพ้” อมรรัตน์ กล่าวทิ้งท้าย
‘พริษฐ์ วัชรสินธุ’ ได้ให้สัมภาษณ์ถึงการเดินทางมาติดตามสถานการณ์การชุมนุมของกลุ่มแนวร่วมธรรมศาสตร์และการชุมนุม ว่า วันนี้มาสังเกตุการณ์และพูดคุยกับประชาชน ถึงความรู้สึกที่มีต่อมติของรัฐสภาทั้งวันที่ 13 ก.ค. และวันนี้ (19 ก.ค.)ขอขอบคุณประชาชนที่มาให้กำลังใจ ส่วนตัวคิดว่าสาเหตุที่มารวมตัวกัน ณ วันนี้ เป็นปฏิกิริยาของการทราบผลมติทั้งสองครั้ง ส่วนตัวยืนยันว่าการลงมติทั้งสองครั้งมีความสำคัญไม่ใช่แค่สำหรับพรรคก้าวไกลและประเทศไทย ซึ่งที่ผ่านมาทางพรรคก้าวไกลได้เรียกร้องให้ทางสมาชิกรัฐสภา โหวตสนับสนุนพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ ให้เป็นนายกรัฐมนตรีคนที่30
ในฐานะพรรคก้าวไกลที่ได้รับความไว้วางใจการเป็นพรรคอันดับหนึ่งจึงควรได้รับเป็นนายกรัฐมนตรีตามระบอบประชาธิปไตย ในส่วนประเด็นที่มีการถกกันในสภาฯ วันนี้ ประการสำคัญไม่เกี่ยวข้องกับพิธา แต่เราต้องมีการตีความให้สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญ เราไม่เห็นด้วยกับข้อบังคับการประชุมที่ออกมาเป็นมติในสภาฯ แบบนี้ มันไม่ได้อยู่บนฐานที่มองว่าเกี่ยวข้องกับบุคคลใดบุคคลหนึ่งแต่มันมีผลทางกฎหมายทางรัฐศาสตร์ว่าทำไมไม่ควรจะตีความเช่นนั้น
เมื่อถามว่าการที่เสนอชื่อพิธาซ้ำไม่ได้จะเป็นแรงกระตุ้นไปยังมวลชนให้รู้สึกไม่พอใจมากขึ้นหรือไม่ พริษฐ์ กล่าวว่า ตนยืนยันมาตลอดว่ามติโหวตนายก สิ่งที่เราเรียกร้องก็คือคือการเคารพเสียงประชาชนเพราะมันไม่ใช่การเคารพเสียงประชาชนที่เลือกนายพิธาเพียงอย่างเดียว แต่เป็นการเคารพเสียงประชาชนที่เลือกพรรคร่วมรัฐบาลทั้งหลายด้วย เราจึงเรียกร้องให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเคารพเสียงของประชาชนที่แสดงออกของการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 14 พ.ค.ที่ผ่านมา ดังนั้นความไม่พอใจของมวลชนจึงไม่ได้จำกัดอยู่เพียงแค่คนที่เลือกพรรคก้าวไกลเท่านั้น แต่คงรวมไปถึงคนที่อยากเห็นบ้านเมืองเดินหน้าด้วยกติกาการเมืองที่เป็นปกติตามครรลองประชาธิปไตย
ด้าน ‘อมรรัตน์ โชติประมิตรกุล’ กรรมการบริหารพรรคก้าวไกล เดินทางมาร่วมชุมนุมที่บริเวณอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย จากนั้นอมรรัตน์ให้สัมภาษณ์ว่า วันนี้มาในฐานะที่ปรึกษาของรองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่ 1 และมาเยี่ยมเยียนกลุ่มผู้ชุมนุม รวมถึงมาดูการกระทำของเจ้าหน้าที่ต่อผู้ชุมนุม ดีใจอย่างยิ่งที่เราได้ลานชุมนุมบริเวณอนุสาวรีย์ประชาธิปไตยกลับคืนมา ซึ่งสมัยรัฐบาลประยุทธ์ มีการนำกระถางต้นไม้มาวางเต็มพื้นที่ แต่ตอนนี้กลายเป็นที่ชุมนุมที่ปลอดภัย ซึ่งเท่าที่ตนดูก็เรียบร้อยดี
และตนเชื่อว่าประชาชนในยุคสมัยปัจจุบันมีการตื่นตัวทางการเมืองสูง ติดตามการประชุมสภามากขึ้นอย่างมโหฬาร ซึ่งตนเห็นใจพี่น้องประชาชนที่หลังจากเลือกตั้งแล้วก็ต้องออกมาปกป้องผลการเลือกตั้ง และไม่น่าเชื่อว่าพวกมีอำนาจจะกล้าใช้วิธีการเช่นนี้ โดยเฉพาะ คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) พี่ไม่เปิดโอกาสให้พิธาเข้าไปชี้แจง แต่กลับส่งเรื่องไปให้ศาลรัฐธรรมนูญ เราต้องเช็คบิล กกต. ตามช่องทางที่สามารถทำได้ ขณะนี้ได้เปิดเปลือยการเมืองไทย ซึ่งประชาชนได้เห็นกันอย่างชัดแจ้งแล้ว ไม่มีประเทศใด ที่เลือกตั้งได้เสียงข้างมากแล้วยังไม่สามารถจัดตั้งรัฐบาลได้
โดยตนพึ่งแยกกับพิธาเมื่อสักครู่ หัวหน้าพรรคก้าวไกลมีภาวะผู้นำมาก ยิ่งทำให้เลื่อมใส ในสถานการณ์คับขันพิธาวางท่าทีที่ให้กำลังใจพวกเราลูกพรรค และนายพิทายังฝากมาให้กำลังใจผู้ชุมนุมที่บริเวณอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย ทำให้ทราบเลยว่า พิธานั้น เหมาะสำหรับการเป็นผู้นำอย่างยิ่ง
“เรายังมีโอกาสอยู่ วันนี้ เป็นแค่การลงมติ ว่าจะลงมติเสนอชื่อนายพิธาซ้ำได้หรือไม่ เป็นญัตติหรือไม่ ไม่ใช่เรื่องที่ว่า นายพิธาจะไม่มีโอกาส เข้าชิงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี รอบ 2 ซึ่งหากสถานการณ์เปลี่ยนแปลง และได้เสียงสนับสนุนจากสมาชิกรัฐสภาเพิ่ม ในครั้งหน้าอาจจะมีการเสนอชื่อนายพิธาเข้าสู่ที่ประชุมรัฐสภาเพื่อเห็นชอบเป็นนายกรัฐมนตรี อีกครั้งหนึ่ง วันนี้นายพิธาไม่ได้แพ้” อมรรัตน์ กล่าวทิ้งท้าย