ผู้สื่อข่าวรายงานว่า กรุงเทพมหานคร มีหนังสือแจ้งผู้อำนวยการเขตทุกเขต เรื่องแนวทางการแต่งกายของนักเรียนโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร ใจความว่า ตามที่ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยเครื่องแบบนักเรียน พ.ศ.2551 ข้อ 15 กำหนดว่าสถานศึกษาใดจากกำหนดให้นักเรียนแต่งเครื่องแบบลูกเสือ เนตรนารี ยุวกาชาด นักศึกษาวิชาทหาร หรือแต่งชุดพื้นเมือง ชุดไทย ชุดลำลอง ชุดฝึกงาน ชุดกีฬา ชุดนาฏศิลป์หรือชุดอื่นๆ แทนเครื่องแบบนักเรียนตามระเบียบนี้ในวันใด ให้เป็นไปตามที่สถานศึกษากำหนดโดยคำนึงถึงความปลอดภัยและเหมาะสมนั้น
เพื่อเป็นการลดค่าใช้จ่ายของผู้ปกครอง จึงให้โรงเรียนในสังกัดกรุงเทพมหานครจัดทำข้อกำหนดให้นักเรียนแต่งกายด้วยชุดใดก็ได้ที่ไม่เป็นการบังคับ อย่างน้อย 1 วันต่อสัปดาห์ โดยให้นักเรียนเป็นผู้มีส่วนร่วมในการกำหนด จากนั้นให้นำไปประชาสัมพันธ์ให้ทราบเป็นการทั่วไปก่อนนำไปประกาศใช้ โดยในกรณีที่มีนักเรียนไม่สามารถปฏิบัติตามข้อกำหนดดังกล่าวได้ ให้เป็นไปตามความประสงค์ของนักเรียนผู้นั้นที่จะสวมชุดนักเรียน ชุดพละ หรือชุดอื่นใดที่โรงเรียนกำหนดให้มีไว้อยู่แล้ว แต่ห้ามไม่ให้มีการดำเนินการในลักษณะที่จะกระทบต่อสิทธิเสรีภาพทางร่างกายและจิตใจ รวมทั้งให้คำนึงถึงอัตลักษณ์ ความหลากหลาย ความเชื่อทางศาสนา และเพศวิถีของนักเรียน
นอกจากนี้ยังออกหนังสือเรื่องแนวทางการปฏิบัติเกี่ยวกับทรงผมของนักเรียนในโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร ใจความว่า เพื่อเป็นการเคารพสิทธิและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของนักเรียน จึงให้โรงเรียนจัดทำข้อกำหนดให้นักเรียนไว้ทรงผมได้อย่างอิสระบนพื้นฐานสุขอนามัยที่ดี สะอาด ส่งเสริมบุคลิกภาพและความมั่นใจ จากนั้นให้นำไปประชาสัมพันธ์ให้ทราบเป็นการทั่วไปก่อนนำไปประกาศใช้ โดยในกรณีมีนักเรียนไม่สามารถปฏิบัติตามข้อกำหนดดังกล่าวได้ ให้โรงเรียนรับฟังความคิดเห็นจากนักเรียน ผู้ปกครอง เพื่อทำความเข้าใจและตกลงร่วมกัน แต่ห้ามไม่ให้มีการดำเนินการในลักษณะที่จะกระทบต่อสิทธิเสรีภาพทางร่างกายและจิตใจของนักเรียน เช่น การตัดผม ทำให้อับอาย ฯลฯ
ทั้งนี้ ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร พร้อมด้วยศานนท์ หวังสร้างบุญ รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ได้เปิดเผยภายหลังกรุงเทพมหานครมีหนังสือประกาศเรื่องแนวทางการแต่งกายของนักเรียนโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานครดังกล่าว
โดยศานนท์ กล่าวว่า เรื่องของชุดนักเรียนจะเกี่ยวข้องกับเรื่องของสิทธิเด็ก ส่วนเรื่องของชุดลูกเสือ เครื่องแบบ และทรงผม มีการหารือกันมานาน มีคณะกรรมการที่เกี่ยวข้องหลายส่วน รวมถึงมีผู้แทนนักเรียนด้วย ขณะนี้ คุยไปแล้วหลายรอบและทุกฝ่ายได้ตกผลึกร่วมกัน หัวใจสำคัญคือเรื่องสิทธิมนุษยชน ให้เด็กได้ไปโรงเรียนอย่างมั่นใจ ถูกสุขอนามัย และเป็นการลดค่าใช้จ่ายของผู้ปกครอง ปัจจุบันโรงเรียนได้เงินอุดหนุนจากรัฐปีละ 2 ชุด เป็นชุดนักเรียน 1 ชุด และชุดพละหรือชุดลูกเสือ 1 ชุด แนวทางที่ออกมา คือ มีอย่างน้อย1วันในสัปดาห์ที่นักเรียนจะใส่ชุดอะไรก็ได้ สิ่งสำคัญคือให้นักเรียนได้มีส่วนร่วมในการตัดสินใจ โดยประกาศนี้จะใช้บังคับทุกโรงเรียนของกทม.
ในส่วนของทรงผม หัวใจหลักคือการไม่ริดรอนสิทธิเด็กเช่นเดียวกัน แต่ต้องอยู่ภายใต้ความเรียบร้อย เหมาะสม ทั้งนี้คณะกรรมการโรงเรียนได้พูดคุยร่วมกับ ผู้แทนผู้ปกครอง นักเรียน และทำให้แต่ละโรงเรียนอาจกำหนดไม่เหมือนกันได้ เพราะบางโรงเรียนก็มีการสอนศาสนาด้วย เราไม่ได้ทำเกินสิ่งที่กระทรวงกำหนด แต่เนื่องจากแต่ละโรงเรียนตีความประกาศของกระทรวงไม่เหมือนกัน ดังนั้นกทม.จึงได้ออกประกาศเพื่อกำหนดแนวทางให้โรงเรียนสังกัดกทม.
“เรื่องนี้เปลี่ยนไปตามยุคสมัย ถ้าเราไม่ทำอะไรเลยอาจมีแรงต้าน วันนี้เราเอาเรื่องนี้มาคุยบนโต๊ะ ให้เด็กๆได้ร่วมกันตัดสินใจ เรื่องความเหมาะสมคือความเข้าใจที่ตรงกัน” รองศานนท์ กล่าว
ด้าน ชัชชาติ กล่าวเสริมว่า ประกาศนี้สุดท้ายก็จะมีการประเมินผลดีผลเสีย เราไม่ต้องกลัวอะไร ให้กล้าทำในสิ่งต่างจากเดิม ทำอะไรใหม่ๆ ให้เด็กได้มีการคิด ผู้ปกครองได้มีส่วนร่วม แต่ต้องมีกรอบ มีกติกา มีการประเมิน สุดท้ายถ้าไม่ดีก็ต้องปรับเปลี่ยน กทม.ยินดีรับคำติชมทุกอย่าง
เพื่อเป็นการลดค่าใช้จ่ายของผู้ปกครอง จึงให้โรงเรียนในสังกัดกรุงเทพมหานครจัดทำข้อกำหนดให้นักเรียนแต่งกายด้วยชุดใดก็ได้ที่ไม่เป็นการบังคับ อย่างน้อย 1 วันต่อสัปดาห์ โดยให้นักเรียนเป็นผู้มีส่วนร่วมในการกำหนด จากนั้นให้นำไปประชาสัมพันธ์ให้ทราบเป็นการทั่วไปก่อนนำไปประกาศใช้ โดยในกรณีที่มีนักเรียนไม่สามารถปฏิบัติตามข้อกำหนดดังกล่าวได้ ให้เป็นไปตามความประสงค์ของนักเรียนผู้นั้นที่จะสวมชุดนักเรียน ชุดพละ หรือชุดอื่นใดที่โรงเรียนกำหนดให้มีไว้อยู่แล้ว แต่ห้ามไม่ให้มีการดำเนินการในลักษณะที่จะกระทบต่อสิทธิเสรีภาพทางร่างกายและจิตใจ รวมทั้งให้คำนึงถึงอัตลักษณ์ ความหลากหลาย ความเชื่อทางศาสนา และเพศวิถีของนักเรียน
นอกจากนี้ยังออกหนังสือเรื่องแนวทางการปฏิบัติเกี่ยวกับทรงผมของนักเรียนในโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร ใจความว่า เพื่อเป็นการเคารพสิทธิและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของนักเรียน จึงให้โรงเรียนจัดทำข้อกำหนดให้นักเรียนไว้ทรงผมได้อย่างอิสระบนพื้นฐานสุขอนามัยที่ดี สะอาด ส่งเสริมบุคลิกภาพและความมั่นใจ จากนั้นให้นำไปประชาสัมพันธ์ให้ทราบเป็นการทั่วไปก่อนนำไปประกาศใช้ โดยในกรณีมีนักเรียนไม่สามารถปฏิบัติตามข้อกำหนดดังกล่าวได้ ให้โรงเรียนรับฟังความคิดเห็นจากนักเรียน ผู้ปกครอง เพื่อทำความเข้าใจและตกลงร่วมกัน แต่ห้ามไม่ให้มีการดำเนินการในลักษณะที่จะกระทบต่อสิทธิเสรีภาพทางร่างกายและจิตใจของนักเรียน เช่น การตัดผม ทำให้อับอาย ฯลฯ
ทั้งนี้ ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร พร้อมด้วยศานนท์ หวังสร้างบุญ รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ได้เปิดเผยภายหลังกรุงเทพมหานครมีหนังสือประกาศเรื่องแนวทางการแต่งกายของนักเรียนโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานครดังกล่าว
โดยศานนท์ กล่าวว่า เรื่องของชุดนักเรียนจะเกี่ยวข้องกับเรื่องของสิทธิเด็ก ส่วนเรื่องของชุดลูกเสือ เครื่องแบบ และทรงผม มีการหารือกันมานาน มีคณะกรรมการที่เกี่ยวข้องหลายส่วน รวมถึงมีผู้แทนนักเรียนด้วย ขณะนี้ คุยไปแล้วหลายรอบและทุกฝ่ายได้ตกผลึกร่วมกัน หัวใจสำคัญคือเรื่องสิทธิมนุษยชน ให้เด็กได้ไปโรงเรียนอย่างมั่นใจ ถูกสุขอนามัย และเป็นการลดค่าใช้จ่ายของผู้ปกครอง ปัจจุบันโรงเรียนได้เงินอุดหนุนจากรัฐปีละ 2 ชุด เป็นชุดนักเรียน 1 ชุด และชุดพละหรือชุดลูกเสือ 1 ชุด แนวทางที่ออกมา คือ มีอย่างน้อย1วันในสัปดาห์ที่นักเรียนจะใส่ชุดอะไรก็ได้ สิ่งสำคัญคือให้นักเรียนได้มีส่วนร่วมในการตัดสินใจ โดยประกาศนี้จะใช้บังคับทุกโรงเรียนของกทม.
ในส่วนของทรงผม หัวใจหลักคือการไม่ริดรอนสิทธิเด็กเช่นเดียวกัน แต่ต้องอยู่ภายใต้ความเรียบร้อย เหมาะสม ทั้งนี้คณะกรรมการโรงเรียนได้พูดคุยร่วมกับ ผู้แทนผู้ปกครอง นักเรียน และทำให้แต่ละโรงเรียนอาจกำหนดไม่เหมือนกันได้ เพราะบางโรงเรียนก็มีการสอนศาสนาด้วย เราไม่ได้ทำเกินสิ่งที่กระทรวงกำหนด แต่เนื่องจากแต่ละโรงเรียนตีความประกาศของกระทรวงไม่เหมือนกัน ดังนั้นกทม.จึงได้ออกประกาศเพื่อกำหนดแนวทางให้โรงเรียนสังกัดกทม.
“เรื่องนี้เปลี่ยนไปตามยุคสมัย ถ้าเราไม่ทำอะไรเลยอาจมีแรงต้าน วันนี้เราเอาเรื่องนี้มาคุยบนโต๊ะ ให้เด็กๆได้ร่วมกันตัดสินใจ เรื่องความเหมาะสมคือความเข้าใจที่ตรงกัน” รองศานนท์ กล่าว
ด้าน ชัชชาติ กล่าวเสริมว่า ประกาศนี้สุดท้ายก็จะมีการประเมินผลดีผลเสีย เราไม่ต้องกลัวอะไร ให้กล้าทำในสิ่งต่างจากเดิม ทำอะไรใหม่ๆ ให้เด็กได้มีการคิด ผู้ปกครองได้มีส่วนร่วม แต่ต้องมีกรอบ มีกติกา มีการประเมิน สุดท้ายถ้าไม่ดีก็ต้องปรับเปลี่ยน กทม.ยินดีรับคำติชมทุกอย่าง

