



ชัยธวัช ตุลาธน เลขาธิการพรรคก้าวไกล แถลงเรื่องการจัดตั้งรัฐบาลหลังจากนี้ ว่า การเลือกตั้งเมื่อวันที่ 14 พ.ค. เป็นการประกาศเจตจำนงของประชาชนที่ชัดเจนว่า ต้องการเปลี่ยนขั้วรัฐบาลด้วยการลงคะแนนเลือก ‘ก้าวไกล’ และ ‘เพื่อไทย’ จนชนะเป็นอันดับ 1 และ 2 ดังนั้น เป้าหมายสูงสุดของเราในฐานะพรรคอันดับ 1 คือการตั้งรัฐบาลใหม่ให้สำเร็จ เพื่อหยุดการสืบทอดอำนาจรัฐบาลเดิม ตลอด 2 เดือนที่ผ่านมา สถานการณ์ทุกอย่างชี้ชัดว่า ทุกองคาพยพของอนุรักษ์นิยม ทั้งการเมืองจารีต ทุนผูกขาด บริวารแวดล้อม ไม่ยอมให้ก้าวไกลเป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาล เอาเรื่อง ม.112 มาบังหน้า และอ้างความจงรักภักดีมาปะทะกับการเลือกตั้ง นอกจากนี้ยังมีการเคลื่อนไหวผ่าน กกต.และศาลรัฐธรรมนูญ หวังตัดสิทธิ์การเมืองและยุบพรรคก้าวไกลให้ได้
ด้วยเหตุนี้ เราจึงเห็นว่า สว.ฝืนมติมหาชนไม่โหวตเลือกนายกรัฐมนตรีตามเสียงส่วนใหญ่ของสภาผู้แทนราษฏร มิหนำซ้ำยังกล้าทำลายหลักการตีความข้อบังคับรัฐสภาให้ขัดต่อรัฐธรรมนูญ เปรียบเหมือนการล้มล้างปกครอง เป็นการฉีกรัฐธรรมนูญผ่านกฎหมู่ เพียงเพื่อไม่ให้เสนอชื่อ พิธา เป็นนายกรัฐมนตรีในครั้งที่ 2 ก้าวไกลไม่ยอมรับการตีความข้อบังคับดังกล่าว แต่ภายใต้การทำงานที่สอดประสานกัน ทั้งองคาพยพของฝ่ายอนุรักษ์นิยม
“เราต้องขอโทษต่อประชาชนและยอมรับอย่างตรงไปตรงมาว่า พวกเขาไม่ยอมให้ก้าวไกลเป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาล” ชัยธวัช กล่าว
ชัยธวัช กล่าวอีกว่า อย่างไรก็ดี การที่ พิธา ไม่สามารถเป็นนายกรัฐมนตรีได้ ไม่ได้หมายความว่า ภารกิจในการจัดตั้งรัฐบาลเพื่อพลิกขั้วอำนาจรัฐบาลจะไม่สำเร็จไปด้วย เป้าหมายสูงสุดของเราในฐานะพรรคอันดับ 1 ยังอยู่ คือการตั้งรัฐบาลเพื่อหยุดยั้งการสืบทอดอำนาจของรัฐบาลเดิมให้สำเร็จ
ชัยธวัช กล่าวต่อว่า สิ่งสำคัญวันนี้ จึงไม่ใช่เรื่อง พิธา จะได้เป็นนายกรัฐมนตรีหรือไม่ แต่คือเรื่องประเทศไทยจะกลับสู่ประชาธิปไตยได้หรือไม่ หยุดการสืบทอดอำนาจได้หรือไม่ ก้าวไกลจะเปิดโอกาสให้ประเทศ ให้พรรคอันดับ 2 ‘เพื่อไทย’ เป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาลของพันธมิตร 8 พรรคที่เราได้เคยทำ MOU ร่วมกันเอาไว้ในการประชุมรัฐสภาครั้งต่อไป ก้าวไกลจะเสนอชื่อแคนดิเดตจากเพื่อไทยเป็นนายกรัฐมนตรี เช่นเดียวกับที่เพื่อไทยเคยสนับสนุนก้าวไกล
ชัยธวัช ยอมรับว่า ยังไม่ได้มีการพูดคุยกับพรรคเพื่อไทยในเรื่องการลดเพดานการแก้ ม.112 และยังไม่ประมาทกับ 2 คดีที่อยู่ในศาลรัฐธรรมนูญ คือคดีหุ้นสื่อไอทีวี และคดีล้มล้างการปกครองจากการแก้ไขม.112 เชื่อว่า ประเทศไทยไม่ได้อยู่ในระบบนิติรัฐปกติ และองค์กรศาลถูกตั้งคำถามจากสังคม ในการขอหลักเกณฑ์ และบทบาททางการเมืองให้กับฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งหรือไม่
ส่วนการที่พรรคก้าวไกลเปิดทางให้พรรคเพื่อไทยเป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาล และเสนอชื่อแคนดิเดตจากพรรคเพื่อไทยจะเป็นการถอยมากเกินไปหรือไม่ ก็เป็นไปตามที่ พิธา แถลงไปเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ก่อนที่จะประชุมรัฐสภา ขณะนี้ยังยืนยันว่า พยายามทำตามเจตนารมณ์ของพี่น้องประชาชน และหยุดยั้งขั้วอำนาจเดิม พร้อมระบุว่า ยังไม่ได้ประเมินฉากทัศน์ต่อไปว่าจะเป็นอย่างไร ประเด็นสำคัญไม่ได้อยู่ที่ พิธา เป็นนายกรัฐมนตรี แต่ต้องยุติการสืบทอดอำนาจเดิมให้ได้
ส่วนที่สว.ยืนกรานจะไม่สนับสนุนการแก้ไขม.112 แม้ว่าพรรคเพื่อไทยจะเป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาล จะถอยลดเพดานลงมาได้หรือไม่ ชัยธวัช กล่าวว่า ขอรอพูดคุยกับพรรคเพื่อไทยก่อน
ส่วนจะฉีก MOU ที่เซ็นกันเอาไว้ หรือไม่ จะดำเนินการต่อไปหรือพรรคเพื่อไทยจะฉีก MOU ได้เลยหรือไม่ ชัยธวัช กล่าวว่า ต้องรอคุยกันก่อน พร้อมกันนี้ยังไม่ได้การพูดคุยว่าจะมีการดึงพรรคที่ 8 ที่ 9 เข้ามาร่วมรัฐบาล ซึ่งจะมีการนัดพูดคุยกันใน 1-2 วันนี้
ส่วนเงื่อนไขเดิมที่จะไม่ร่วมกับ ‘พรรคลุง’ ยังเหมือนเดิมหรือไม่ ชัยธวัช กล่าวว่า ยังชัดเจนโดยที่ไม่ต้องมีการพูดคุยกัน เราไม่สามารถเสียสัจจะเรื่องนี้ได้ พร้อมระบุว่า ยังไกลเกินไปที่จะพูดถึงการที่พรรคเพื่อไทยไปดึงพรรคพลังประชารัฐ ที่ไม่มีพลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณแล้ว
ชัยธวัช ยังกล่าวถึงบทบาทของ วันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานรัฐสภา ในวันลงมติข้อบังคับที่ 41 ว่า ประธานรัฐสภาสามารถวินิจฉัยได้ แต่เมื่อมีความเห็นต่างจึงเปิดอภิปราย แต่อย่างไรก็ตาม เหตุการณ์ได้ผ่านไปแล้ว และหวังว่าจะไม่เกิดเหตุการณ์ซ้ำอีก
ทั้งนี้ พรรคก้าวไกลไม่กังวลความเชื่อมั่นของผู้สนับสนุนพรรคก้าวไกล โดยเชื่อว่าคนที่เลือกพรรคเพื่อไทยและพรรคก้าวไกลมีเป้าหมายเดียวกันคือต้องการเห็นการเปลี่ยนแปลง
ส่วนมีความคิดเห็นอย่างไรว่า ก้าวไกลต้องเสียสละ ชัยธวัช มองว่า คำถามดังกล่าวผิดฝาผิดตัว คนที่ไม่ยอมรับระบอบประชาธิปไตยตั้งหากที่ต้องมีสำนึกว่าการไม่ยอมรับกติกาจะส่งผลอย่างไร
ด้วยเหตุนี้ เราจึงเห็นว่า สว.ฝืนมติมหาชนไม่โหวตเลือกนายกรัฐมนตรีตามเสียงส่วนใหญ่ของสภาผู้แทนราษฏร มิหนำซ้ำยังกล้าทำลายหลักการตีความข้อบังคับรัฐสภาให้ขัดต่อรัฐธรรมนูญ เปรียบเหมือนการล้มล้างปกครอง เป็นการฉีกรัฐธรรมนูญผ่านกฎหมู่ เพียงเพื่อไม่ให้เสนอชื่อ พิธา เป็นนายกรัฐมนตรีในครั้งที่ 2 ก้าวไกลไม่ยอมรับการตีความข้อบังคับดังกล่าว แต่ภายใต้การทำงานที่สอดประสานกัน ทั้งองคาพยพของฝ่ายอนุรักษ์นิยม
“เราต้องขอโทษต่อประชาชนและยอมรับอย่างตรงไปตรงมาว่า พวกเขาไม่ยอมให้ก้าวไกลเป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาล” ชัยธวัช กล่าว
ชัยธวัช กล่าวอีกว่า อย่างไรก็ดี การที่ พิธา ไม่สามารถเป็นนายกรัฐมนตรีได้ ไม่ได้หมายความว่า ภารกิจในการจัดตั้งรัฐบาลเพื่อพลิกขั้วอำนาจรัฐบาลจะไม่สำเร็จไปด้วย เป้าหมายสูงสุดของเราในฐานะพรรคอันดับ 1 ยังอยู่ คือการตั้งรัฐบาลเพื่อหยุดยั้งการสืบทอดอำนาจของรัฐบาลเดิมให้สำเร็จ
ชัยธวัช กล่าวต่อว่า สิ่งสำคัญวันนี้ จึงไม่ใช่เรื่อง พิธา จะได้เป็นนายกรัฐมนตรีหรือไม่ แต่คือเรื่องประเทศไทยจะกลับสู่ประชาธิปไตยได้หรือไม่ หยุดการสืบทอดอำนาจได้หรือไม่ ก้าวไกลจะเปิดโอกาสให้ประเทศ ให้พรรคอันดับ 2 ‘เพื่อไทย’ เป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาลของพันธมิตร 8 พรรคที่เราได้เคยทำ MOU ร่วมกันเอาไว้ในการประชุมรัฐสภาครั้งต่อไป ก้าวไกลจะเสนอชื่อแคนดิเดตจากเพื่อไทยเป็นนายกรัฐมนตรี เช่นเดียวกับที่เพื่อไทยเคยสนับสนุนก้าวไกล
ชัยธวัช ยอมรับว่า ยังไม่ได้มีการพูดคุยกับพรรคเพื่อไทยในเรื่องการลดเพดานการแก้ ม.112 และยังไม่ประมาทกับ 2 คดีที่อยู่ในศาลรัฐธรรมนูญ คือคดีหุ้นสื่อไอทีวี และคดีล้มล้างการปกครองจากการแก้ไขม.112 เชื่อว่า ประเทศไทยไม่ได้อยู่ในระบบนิติรัฐปกติ และองค์กรศาลถูกตั้งคำถามจากสังคม ในการขอหลักเกณฑ์ และบทบาททางการเมืองให้กับฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งหรือไม่
ส่วนการที่พรรคก้าวไกลเปิดทางให้พรรคเพื่อไทยเป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาล และเสนอชื่อแคนดิเดตจากพรรคเพื่อไทยจะเป็นการถอยมากเกินไปหรือไม่ ก็เป็นไปตามที่ พิธา แถลงไปเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ก่อนที่จะประชุมรัฐสภา ขณะนี้ยังยืนยันว่า พยายามทำตามเจตนารมณ์ของพี่น้องประชาชน และหยุดยั้งขั้วอำนาจเดิม พร้อมระบุว่า ยังไม่ได้ประเมินฉากทัศน์ต่อไปว่าจะเป็นอย่างไร ประเด็นสำคัญไม่ได้อยู่ที่ พิธา เป็นนายกรัฐมนตรี แต่ต้องยุติการสืบทอดอำนาจเดิมให้ได้
ส่วนที่สว.ยืนกรานจะไม่สนับสนุนการแก้ไขม.112 แม้ว่าพรรคเพื่อไทยจะเป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาล จะถอยลดเพดานลงมาได้หรือไม่ ชัยธวัช กล่าวว่า ขอรอพูดคุยกับพรรคเพื่อไทยก่อน
ส่วนจะฉีก MOU ที่เซ็นกันเอาไว้ หรือไม่ จะดำเนินการต่อไปหรือพรรคเพื่อไทยจะฉีก MOU ได้เลยหรือไม่ ชัยธวัช กล่าวว่า ต้องรอคุยกันก่อน พร้อมกันนี้ยังไม่ได้การพูดคุยว่าจะมีการดึงพรรคที่ 8 ที่ 9 เข้ามาร่วมรัฐบาล ซึ่งจะมีการนัดพูดคุยกันใน 1-2 วันนี้
ส่วนเงื่อนไขเดิมที่จะไม่ร่วมกับ ‘พรรคลุง’ ยังเหมือนเดิมหรือไม่ ชัยธวัช กล่าวว่า ยังชัดเจนโดยที่ไม่ต้องมีการพูดคุยกัน เราไม่สามารถเสียสัจจะเรื่องนี้ได้ พร้อมระบุว่า ยังไกลเกินไปที่จะพูดถึงการที่พรรคเพื่อไทยไปดึงพรรคพลังประชารัฐ ที่ไม่มีพลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณแล้ว
ชัยธวัช ยังกล่าวถึงบทบาทของ วันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานรัฐสภา ในวันลงมติข้อบังคับที่ 41 ว่า ประธานรัฐสภาสามารถวินิจฉัยได้ แต่เมื่อมีความเห็นต่างจึงเปิดอภิปราย แต่อย่างไรก็ตาม เหตุการณ์ได้ผ่านไปแล้ว และหวังว่าจะไม่เกิดเหตุการณ์ซ้ำอีก
ทั้งนี้ พรรคก้าวไกลไม่กังวลความเชื่อมั่นของผู้สนับสนุนพรรคก้าวไกล โดยเชื่อว่าคนที่เลือกพรรคเพื่อไทยและพรรคก้าวไกลมีเป้าหมายเดียวกันคือต้องการเห็นการเปลี่ยนแปลง
ส่วนมีความคิดเห็นอย่างไรว่า ก้าวไกลต้องเสียสละ ชัยธวัช มองว่า คำถามดังกล่าวผิดฝาผิดตัว คนที่ไม่ยอมรับระบอบประชาธิปไตยตั้งหากที่ต้องมีสำนึกว่าการไม่ยอมรับกติกาจะส่งผลอย่างไร