จาตุรนต์ ฉายแสง สส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย เปิดเผยภายหลังที่ประชุมรัฐสภา มีมติไม่ให้โหวตชื่อ พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรคก้าวไกล เป็นนายกรัฐมนตรี รอบที่ 2 ว่า ถ้ามีการตีความว่าสิ่งที่เสนอแล้วไม่สามารถเสนอใหม่ได้ เราอาจถึงจุดที่หานายกรัฐมนตรีไม่ได้ อย่างน้อย 1 สมัยประชุม ซึ่งถ้าพูดแบบนี้ จะขัดต่อเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ เพราะรัฐธรรมนูญบอกว่า ให้ที่ประชุมรัฐสภาเลือกนายกฯ จากคนที่มีคุณสมบัติ อย่างไรก็ทำอย่างนั้น ฉะนั้นแสดงให้เห็นว่าที่ไปลงมติกันอย่างนี้ เป็นการสร้างบรรทัดฐานที่ผิด และตนมองว่าไม่สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญ เท่ากับเป็นการแก้ไขเพิ่มเติม
“แต่เราคงไม่ถึงขั้นส่งเรื่องไปยังศาลรัฐธรรมนูญขนาดนั้น ยังคิดว่ารัฐสภาจะต้องตัดสินใจอะไรกันเอง การที่ไม่เป็นไปตามรัฐธรรมนูญแบบนี้ ถ้าทำกันบ่อยๆ หรือทำไปแล้ว ไม่ว่ากี่ครั้งมันจะเป็นผลเสียต่อบ้านเมือง ทั้งนี้ เท่ากับเป็นการยืนยันว่า เสียงข้างมากในรัฐสภา ที่องค์ประกอบส่วนใหญ่ไม่ได้มาจากผู้ที่มาจากการเลือกตั้ง แต่มาจากการแต่งตั้งของคณะรัฐประหาร ได้ลงมติขัดต่อรัฐธรรมนูญ และหักล้างเจตนารมย์ของประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศ และอาจนำไปสู่วิกฤตทางการเมืองในอนาคต” จาตุรนต์ ระบุ
จาตุรนต์ ยอมรับด้วยว่า การโหวตเพื่อลงมติครั้งนี้ จะเป็นปัญหาของเพื่อไทย ในการเสนอชื่อแคนดิเดตนายกฯ ในครั้งต่อไป
“หากเสนอแล้วไม่ได้รับความเห็นชอบ เสียงไม่พอ ก็จะเสนออีกไม่ได้ และก็จะไหลไปพรรคที่ไม่เห็นด้วย และไม่เสนอชื่อใครแข่ง หรือไหลไปคนนอก ก็ยังได้เลย ซึ่งตรงนี้ไม่เป็นผลดี และอาจจะทำให้ท้ายสถานการณ์ถูกบีบ ถ้าคุณรวมเสียงไม่ได้จริง อาจไม่ได้ความเห็นชอบ และต่อจากนี้ไป อาจมีปัญหาวุ่นวายขึ้นมาอีก เช่น มีการเสนอชื่อคนที่ไม่เป็นที่ยอมรับของประชาชน หรือเสนอบุคคลภายนอก สามารถเกิดขึ้นได้ทั้งนั้น” จาตุรนต์ ระบุ
ส่วนจะส่งผลให้พรรคเพื่อไทย เปลี่ยนสูตรการจัดตั้งรัฐบาลหรือไม่ จาตุรนต์ บอกว่า ต้องให้หัวหน้าพรรคหรือแกนนำพรรคที่กำลังพิจารณาเรื่องนี้อยู่ ตนให้ความเห็นไม่ถูก เมื่อถามว่า จะมีการหารือกันอีกเมื่อไหร่ จาตุรนต์ ตอบว่า แกนนำผู้ที่ทำหน้าที่เจรจาจะต้องไปคุยกันทั้ง 8 พรรค ส่วนเมื่อถามต่อไปว่า คราวหน้าจะเห็นพรรคที่ 9 หรือพรรคที่ 10 เข้ามาร่วมด้วยหรือไม่ จาตุรนต์ ตอบว่า ยังไม่ได้คุยกันอย่างนั้น เดิมมีการพูดกันทำนองว่า ถ้าครั้งนี้โหวตแล้วไม่ผ่าน ก็ต้องดูว่าพรรคก้าวไกล จะเสนอให้เปลี่ยนแคนดิเดตนายกฯ เป็นของพรรคเพื่อไทย หรือไม่
“วันนี้ไม่มีลงมติ จึงกลายเป็นว่าเสนอนายพิธา อีกไม่ได้แล้ว ฉะนั้น การหารือก็คงรวบรัดเข้าไปสู่การเสนอแคนดิเดตฯ จากพรรคเพื่อไทย แต่เรื่องแบบนี้ เท่าที่หารือกัน คงต้องฟังความเห็นพรรคก้าวไกล และอีก 6 พรรคที่เหลือ” จาตุรนต์ ระบุ
เมื่อถามถึงมุมมองที่ว่ากลุ่มผู้ชุมนุมอาจพุ่งเป้าไปที่พรรคเพื่อไทยนั้น จาตุรนต์ ตอบว่า ยังไม่น่าจะเป็นอย่างนั้น ซึ่งผลการลงมติในวันนี้ ก็เห็นอยู่แล้วว่าใครบ้างที่ลงมติ ใช้ข้อบังคับที่ 41 ไปล้มการโหวตนายกฯ ก็เห็นว่าเป็นพรรคการเมืองบังคับที่ไม่ได้รับการยอมรับจากประชาชน ถึงเสียงจาก สว. พร้อมมองว่า ที่ผ่านมา การตัดสินใจของ สว. เหมือนไม่คำนึงถึงเจตนารมณ์ของประชาชนส่วนใหญ่
“แน่นอนว่าเราไปหวังอะไรจาก สว. ยากมาก เว้นแต่ว่าเขาจะเกิดดวงตาเห็นธรรมขึ้นมากระทันหัน ซึ่งฝ่ายที่จะต้องเป็นผู้ประสานงานการจัดการรัฐบาลจะต้องไปคิด” จาตุรนต์ ระบุ
เมื่อถามมุมมองต่อสถานการณ์การเมืองจากนี้จะเป็นอย่างไร จาตุรนต์ ตอบว่า สิ่งที่เกิดขึ้น น่าจะทำให้ประชาชนผิดหวัง ถ้าเป็นอย่างนั้น จะไม่เป็นผลดีต่อสถานการณ์การเมืองของประเทศ หวังว่าหลายฝ่ายจะตั้งสติและช่วยกันคิดหาทางทำอย่างไรไม่ฝืนความรู้สึกประชาชน
“แต่เราคงไม่ถึงขั้นส่งเรื่องไปยังศาลรัฐธรรมนูญขนาดนั้น ยังคิดว่ารัฐสภาจะต้องตัดสินใจอะไรกันเอง การที่ไม่เป็นไปตามรัฐธรรมนูญแบบนี้ ถ้าทำกันบ่อยๆ หรือทำไปแล้ว ไม่ว่ากี่ครั้งมันจะเป็นผลเสียต่อบ้านเมือง ทั้งนี้ เท่ากับเป็นการยืนยันว่า เสียงข้างมากในรัฐสภา ที่องค์ประกอบส่วนใหญ่ไม่ได้มาจากผู้ที่มาจากการเลือกตั้ง แต่มาจากการแต่งตั้งของคณะรัฐประหาร ได้ลงมติขัดต่อรัฐธรรมนูญ และหักล้างเจตนารมย์ของประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศ และอาจนำไปสู่วิกฤตทางการเมืองในอนาคต” จาตุรนต์ ระบุ
จาตุรนต์ ยอมรับด้วยว่า การโหวตเพื่อลงมติครั้งนี้ จะเป็นปัญหาของเพื่อไทย ในการเสนอชื่อแคนดิเดตนายกฯ ในครั้งต่อไป
“หากเสนอแล้วไม่ได้รับความเห็นชอบ เสียงไม่พอ ก็จะเสนออีกไม่ได้ และก็จะไหลไปพรรคที่ไม่เห็นด้วย และไม่เสนอชื่อใครแข่ง หรือไหลไปคนนอก ก็ยังได้เลย ซึ่งตรงนี้ไม่เป็นผลดี และอาจจะทำให้ท้ายสถานการณ์ถูกบีบ ถ้าคุณรวมเสียงไม่ได้จริง อาจไม่ได้ความเห็นชอบ และต่อจากนี้ไป อาจมีปัญหาวุ่นวายขึ้นมาอีก เช่น มีการเสนอชื่อคนที่ไม่เป็นที่ยอมรับของประชาชน หรือเสนอบุคคลภายนอก สามารถเกิดขึ้นได้ทั้งนั้น” จาตุรนต์ ระบุ
ส่วนจะส่งผลให้พรรคเพื่อไทย เปลี่ยนสูตรการจัดตั้งรัฐบาลหรือไม่ จาตุรนต์ บอกว่า ต้องให้หัวหน้าพรรคหรือแกนนำพรรคที่กำลังพิจารณาเรื่องนี้อยู่ ตนให้ความเห็นไม่ถูก เมื่อถามว่า จะมีการหารือกันอีกเมื่อไหร่ จาตุรนต์ ตอบว่า แกนนำผู้ที่ทำหน้าที่เจรจาจะต้องไปคุยกันทั้ง 8 พรรค ส่วนเมื่อถามต่อไปว่า คราวหน้าจะเห็นพรรคที่ 9 หรือพรรคที่ 10 เข้ามาร่วมด้วยหรือไม่ จาตุรนต์ ตอบว่า ยังไม่ได้คุยกันอย่างนั้น เดิมมีการพูดกันทำนองว่า ถ้าครั้งนี้โหวตแล้วไม่ผ่าน ก็ต้องดูว่าพรรคก้าวไกล จะเสนอให้เปลี่ยนแคนดิเดตนายกฯ เป็นของพรรคเพื่อไทย หรือไม่
“วันนี้ไม่มีลงมติ จึงกลายเป็นว่าเสนอนายพิธา อีกไม่ได้แล้ว ฉะนั้น การหารือก็คงรวบรัดเข้าไปสู่การเสนอแคนดิเดตฯ จากพรรคเพื่อไทย แต่เรื่องแบบนี้ เท่าที่หารือกัน คงต้องฟังความเห็นพรรคก้าวไกล และอีก 6 พรรคที่เหลือ” จาตุรนต์ ระบุ
เมื่อถามถึงมุมมองที่ว่ากลุ่มผู้ชุมนุมอาจพุ่งเป้าไปที่พรรคเพื่อไทยนั้น จาตุรนต์ ตอบว่า ยังไม่น่าจะเป็นอย่างนั้น ซึ่งผลการลงมติในวันนี้ ก็เห็นอยู่แล้วว่าใครบ้างที่ลงมติ ใช้ข้อบังคับที่ 41 ไปล้มการโหวตนายกฯ ก็เห็นว่าเป็นพรรคการเมืองบังคับที่ไม่ได้รับการยอมรับจากประชาชน ถึงเสียงจาก สว. พร้อมมองว่า ที่ผ่านมา การตัดสินใจของ สว. เหมือนไม่คำนึงถึงเจตนารมณ์ของประชาชนส่วนใหญ่
“แน่นอนว่าเราไปหวังอะไรจาก สว. ยากมาก เว้นแต่ว่าเขาจะเกิดดวงตาเห็นธรรมขึ้นมากระทันหัน ซึ่งฝ่ายที่จะต้องเป็นผู้ประสานงานการจัดการรัฐบาลจะต้องไปคิด” จาตุรนต์ ระบุ
เมื่อถามมุมมองต่อสถานการณ์การเมืองจากนี้จะเป็นอย่างไร จาตุรนต์ ตอบว่า สิ่งที่เกิดขึ้น น่าจะทำให้ประชาชนผิดหวัง ถ้าเป็นอย่างนั้น จะไม่เป็นผลดีต่อสถานการณ์การเมืองของประเทศ หวังว่าหลายฝ่ายจะตั้งสติและช่วยกันคิดหาทางทำอย่างไรไม่ฝืนความรู้สึกประชาชน