ผ่านพ้นไปสำหรับขั้นตอนสำคัญ อย่าง การลงนาม MOU ของ (ว่าที่) พรรคร่วมรัฐบาล ที่เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2566 หากเปิดปฏิทินย้อนหลังดู จะพบว่า ‘พิธา ลิ้มเจริญรัตน์’ ตั้งใจเลือกเวลาทำกิจกรรมได้เหมาะเจาะ เพราะวัน ว. เวลา น. นี้ตรงกับเหตุการณ์ประวัติศาสตร์การทำรัฐประหาร ‘รัฐบาลยิ่งลักษณ์’ โดย ‘พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา’ ผู้บัญชาการทหารบก (ขณะนั้น) ดังนั้นทุกอย่างจึงถูกตั้งใจวาง เป็นการตอกย้ำชัยชนะจากการเลือกตั้งของพรรคการเมืองฝ่ายเสรีนิยม หลังถูกระบบ 3 ป. เข้ากุมบังเหียนมาตลอดนานกว่า 8 ปี
การจัดตั้งรัฐบาลที่นำโดยพรรคคนรุ่นใหม่ เริ่มการนำเสนอการลงนามในบันทึกความเข้าใจ (Memorandum of Understanding) เอาเข้าจริงๆ ไม่ได้มีผลผูกมัดทางกฎหมาย แต่เป็นวิธีการ ‘นำเข้า’ จากต่างประเทศ ที่รัฐบาลจะต้องตกลงว่าทำอะไรร่วมกัน ภายใต้กรอบกว้างๆ และ เป็นการกระทำเชิงสัญญะ ใช้ MOU เป็นสักขีพยาน ‘จะไม่ทิ้งกัน (นะ)’
ก่อนหน้านี้ก็มีการตั้งข้อสังเกตถึงการจัดทำบันทึกความเข้าใจฯ ฉบับนี้อยู่หลายมิติ โดยเฉพาะประเด็น ‘ความลำบากใจ’ ที่ก้าวไกลอาจต้องเผชิญ อย่างกรณีการแก้ไขมาตรา 112 นโยบายชูธงของพรรค ที่ดูแล้วเพื่อนๆ ในก๊วนจะไม่สนับสนุนเท่าไร
การจัดตั้งรัฐบาลที่นำโดยพรรคคนรุ่นใหม่ เริ่มการนำเสนอการลงนามในบันทึกความเข้าใจ (Memorandum of Understanding) เอาเข้าจริงๆ ไม่ได้มีผลผูกมัดทางกฎหมาย แต่เป็นวิธีการ ‘นำเข้า’ จากต่างประเทศ ที่รัฐบาลจะต้องตกลงว่าทำอะไรร่วมกัน ภายใต้กรอบกว้างๆ และ เป็นการกระทำเชิงสัญญะ ใช้ MOU เป็นสักขีพยาน ‘จะไม่ทิ้งกัน (นะ)’
ก่อนหน้านี้ก็มีการตั้งข้อสังเกตถึงการจัดทำบันทึกความเข้าใจฯ ฉบับนี้อยู่หลายมิติ โดยเฉพาะประเด็น ‘ความลำบากใจ’ ที่ก้าวไกลอาจต้องเผชิญ อย่างกรณีการแก้ไขมาตรา 112 นโยบายชูธงของพรรค ที่ดูแล้วเพื่อนๆ ในก๊วนจะไม่สนับสนุนเท่าไร

ส่องรายระเอียดบันทึกความเข้าใจฯ จะเห็นว่ามีหลายอย่างน่าสนใจ บางคนตั้งข้อสังเกตไปถึง ‘ถ้อยคำ’ ที่ใช้อย่างละมุมละม่อม ไม่ดุดัน เฉียบขาด แต่เป็นปลายเปิดส่วนใหญ่
นอกจากนี้ยังมีจุดสังเกตที่น่าอย่าง ‘แนวทางปฏิบัติ’ 2 ข้อสุดท้ายที่ระบุว่า ‘ทุกพรรคมีสิทธิในการผลักดันนโยบายอื่นเพิ่มเติม แต่ไม่ขัดแย้งจากนโยบายในบันทึกข้อตกลงร่วมฉบับนี้ โดยอาศัยอำนาจฝ่ายบริหารของรัฐมนตรีที่เป็นตัวแทนของแต่ละพรรคการเมือง’ และ ‘ทุกพรรคมีสิทธิในการผลักดันนโยบายอื่นเพิ่มเติม แต่ไม่ขัดแย้งจากนโยบายในบันทึกข้อตกลงร่วมฉบับนี้ โดยอาศัยอำนาจนิติบัญญัติของผู้แทนราษฎรที่สังกัดแต่ละพรรคการเมือง’
อธิบายง่ายๆ คือ รัฐบาลผสมสามารถผลักดันนโยบายของพรรคตัวเองได้ แบบ ‘วาระเฉพาะ’ หรือนโยบายที่ไม่ได้ถูกระบุไว้ใน MOU โดยสามารถขับเคลื่อนได้ผ่าน 2 กลไก คือผ่านระบบรัฐสภาด้วย ‘ส.ส.’ หรือใช้อำนาจบริหารผ่านกระทรวงที่มีบุคคลในพรรคเป็น ‘รัฐมนตรี’ ซึ่งทั้งหมดจะต้องไม่ขัดต่อข้อตกลงใน MOU ด้วย
นอกจากนี้ยังมีจุดสังเกตที่น่าอย่าง ‘แนวทางปฏิบัติ’ 2 ข้อสุดท้ายที่ระบุว่า ‘ทุกพรรคมีสิทธิในการผลักดันนโยบายอื่นเพิ่มเติม แต่ไม่ขัดแย้งจากนโยบายในบันทึกข้อตกลงร่วมฉบับนี้ โดยอาศัยอำนาจฝ่ายบริหารของรัฐมนตรีที่เป็นตัวแทนของแต่ละพรรคการเมือง’ และ ‘ทุกพรรคมีสิทธิในการผลักดันนโยบายอื่นเพิ่มเติม แต่ไม่ขัดแย้งจากนโยบายในบันทึกข้อตกลงร่วมฉบับนี้ โดยอาศัยอำนาจนิติบัญญัติของผู้แทนราษฎรที่สังกัดแต่ละพรรคการเมือง’
อธิบายง่ายๆ คือ รัฐบาลผสมสามารถผลักดันนโยบายของพรรคตัวเองได้ แบบ ‘วาระเฉพาะ’ หรือนโยบายที่ไม่ได้ถูกระบุไว้ใน MOU โดยสามารถขับเคลื่อนได้ผ่าน 2 กลไก คือผ่านระบบรัฐสภาด้วย ‘ส.ส.’ หรือใช้อำนาจบริหารผ่านกระทรวงที่มีบุคคลในพรรคเป็น ‘รัฐมนตรี’ ซึ่งทั้งหมดจะต้องไม่ขัดต่อข้อตกลงใน MOU ด้วย

อย่างประเด็นการแก้ไขมาตรา 112 ที่ไม่ถูกบรรจุลงใน MOU โดย ‘พิธา’ ได้กล่าวถึงสาเหตุนี้ว่า พรรคก้าวไกลจะยื่นแก้ไข ม.112 ต่อสภาผู้แทนราษฎร ในนามพรรค ดังเช่นที่เคยยื่นสภาฯ ไปเมื่อปี 2564 และเชื่อมั่นว่ารอบนี้จะทำสำเร็จ
ทั้งนี้ เรื่องการแก้ไขมาตรา 112 เป็นที่ถกเถียงกันมาพอสมควรแล้ว ทั้งจากพรรคร่วมที่ไม่เห็นด้วย และเป็น ‘ปราการหิน’ ที่ ‘วุฒิสมาชิก’ ส่วนมากจะไม่ร่วมโหวตนายกรัฐมนตรีจากพรรคก้าวไกล ดังนั้นอาจมองแยกออกเป็น 2 กรณี ว่าการที่พรรคส้ม พยายามไม่บรรจุลงข้อตกลงก็เนื่องด้วย หนึ่งเพื่อความเป็นหนึ่งเดียวของพรรคร่วมทั้ง 8 และ สองอาจเป็นพยายามลดอุณหภูมิความเกลียดชังระหว่างพวกเขากับ ส.ว. แม้จะไม่ล้มเลิกแผนปฏิบัติโดยสิ้นเชิง แต่ก็ไม่นำมาเป็นนโยบายร่วมของรัฐบาล
อย่างไรก็ดี มีข้องท้วงติงจาก ‘คนบ้านเดียวกัน’ อย่าง ‘ปิยะบุตร แสงกนกกุล’ แกนนำคณะก้าวหน้า อดีตเลขาธิการพรรคอนาคตใหม่ ที่โพสต์เฟซบุ๊กว่ามีใจความสำคัญว่า ผมได้อ่าน MOU การร่วมรัฐบาลที่นำโดยพรรคก้าวไกลแล้ว ผมไม่เห็นด้วยในสองประเด็น ซึ่งแตกต่างไปจากเนื้อหาที่ปรากฏในร่าง MOU สุดท้ายที่หลุดออกมาทางสื่อ
ประเด็นแรก การเพิ่มข้อความที่ว่า “ต้องไม่กระทบกับรูปแบบของรัฐและการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข และการดำรงอยู่ในสถานะอันเป็นที่สักการะ ผู้ใดจะละเมิดมิได้ขององค์พระมหากษัตริย์” เหตุผล ข้อความเหล่านี้ปรากฏอยู่ในรัฐธรรมนูญ 2560 อยู่แล้วว่า การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญไม่สามารถเปลี่ยนแปลงการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข และรูปแบบของรัฐได้
การบัญญัติข้อความนี้ซ้ำลงไป ไม่ส่งผลใดๆ ในทางกฎหมายและในทางการเมือง เพราะอย่างไรเสีย รัฐบาลใดที่มาจากการเลือกตั้ง ก็ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงรูปแบบของรัฐและระบอบการปกครองได้อยู่แล้ว พวกที่ทำแบบนี้ได้ คือ พวกก่อการรัฐประหารฉีกรัฐธรรมนูญเท่านั้น ตรงกันข้ามการเขียนลงไปแบบนี้ คือ การแสดงออกแบบ ‘กินปูนร้อนท้อง’ หรือ ‘วัวสันหลังหวะ’ เสียมากกว่า
นอกจากนั้น การเพิ่มถ้อยคำที่ว่า ‘สถานะอันเป็นที่สักการะ ผู้ใดจะละเมิดมิได้ ขององค์พระมหากษัตริย์’ ก็อาจเป็น ‘บ่วงรัดคอ’ ที่ทำให้พรรคก้าวไกลต้องประสบปัญหาในการเสนอร่าง พ.ร.บ.แก้ไขประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 เข้าสู่การพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎรได้ในอนาคตด้วย
ทั้งนี้ เรื่องการแก้ไขมาตรา 112 เป็นที่ถกเถียงกันมาพอสมควรแล้ว ทั้งจากพรรคร่วมที่ไม่เห็นด้วย และเป็น ‘ปราการหิน’ ที่ ‘วุฒิสมาชิก’ ส่วนมากจะไม่ร่วมโหวตนายกรัฐมนตรีจากพรรคก้าวไกล ดังนั้นอาจมองแยกออกเป็น 2 กรณี ว่าการที่พรรคส้ม พยายามไม่บรรจุลงข้อตกลงก็เนื่องด้วย หนึ่งเพื่อความเป็นหนึ่งเดียวของพรรคร่วมทั้ง 8 และ สองอาจเป็นพยายามลดอุณหภูมิความเกลียดชังระหว่างพวกเขากับ ส.ว. แม้จะไม่ล้มเลิกแผนปฏิบัติโดยสิ้นเชิง แต่ก็ไม่นำมาเป็นนโยบายร่วมของรัฐบาล
อย่างไรก็ดี มีข้องท้วงติงจาก ‘คนบ้านเดียวกัน’ อย่าง ‘ปิยะบุตร แสงกนกกุล’ แกนนำคณะก้าวหน้า อดีตเลขาธิการพรรคอนาคตใหม่ ที่โพสต์เฟซบุ๊กว่ามีใจความสำคัญว่า ผมได้อ่าน MOU การร่วมรัฐบาลที่นำโดยพรรคก้าวไกลแล้ว ผมไม่เห็นด้วยในสองประเด็น ซึ่งแตกต่างไปจากเนื้อหาที่ปรากฏในร่าง MOU สุดท้ายที่หลุดออกมาทางสื่อ
ประเด็นแรก การเพิ่มข้อความที่ว่า “ต้องไม่กระทบกับรูปแบบของรัฐและการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข และการดำรงอยู่ในสถานะอันเป็นที่สักการะ ผู้ใดจะละเมิดมิได้ขององค์พระมหากษัตริย์” เหตุผล ข้อความเหล่านี้ปรากฏอยู่ในรัฐธรรมนูญ 2560 อยู่แล้วว่า การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญไม่สามารถเปลี่ยนแปลงการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข และรูปแบบของรัฐได้
การบัญญัติข้อความนี้ซ้ำลงไป ไม่ส่งผลใดๆ ในทางกฎหมายและในทางการเมือง เพราะอย่างไรเสีย รัฐบาลใดที่มาจากการเลือกตั้ง ก็ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงรูปแบบของรัฐและระบอบการปกครองได้อยู่แล้ว พวกที่ทำแบบนี้ได้ คือ พวกก่อการรัฐประหารฉีกรัฐธรรมนูญเท่านั้น ตรงกันข้ามการเขียนลงไปแบบนี้ คือ การแสดงออกแบบ ‘กินปูนร้อนท้อง’ หรือ ‘วัวสันหลังหวะ’ เสียมากกว่า
นอกจากนั้น การเพิ่มถ้อยคำที่ว่า ‘สถานะอันเป็นที่สักการะ ผู้ใดจะละเมิดมิได้ ขององค์พระมหากษัตริย์’ ก็อาจเป็น ‘บ่วงรัดคอ’ ที่ทำให้พรรคก้าวไกลต้องประสบปัญหาในการเสนอร่าง พ.ร.บ.แก้ไขประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 เข้าสู่การพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎรได้ในอนาคตด้วย

ประเด็นที่สอง การตัดเรื่องการผลักดันให้มีการนิรโทษกรรมคดีเกี่ยวกับการแสดงออกทางการเมือง ผ่านกลไกรัฐสภา ออกไป เหตุผล พรรคก้าวไกลมีพันธกิจสำคัญที่รับมาจากความคาดหวังของประชาชน เยาวชน จำนวนมาก ในการยุติปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองที่พัวพันกันมาตั้งแต่รัฐประหารปี 49 ผ่านเหตุการณ์ปี 53 ผ่านรัฐประหาร 57 และการชุมนุมของ ‘ราษฎร’ ในปี 63-65 การจะแก้ไขปัญหาเหล่านี้ได้สำเร็จ ต้องใช้กลไกการนิรโทษกรรม ให้กับบุคคลที่ถูกดำเนินคดีในความผิดเกี่ยวกับการแสดงออกทางการเมืองเสียก่อน
สำหรับประเด็นเรื่อง วาระเฉพาะนั้น ‘รศ.ดร.พิชาย รัตนดิลก ณ ภูเก็ต’ ผู้อำนวยการหลักสูตรการเมืองและยุทธศาสตร์การพัฒนา สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) ให้ความเห็นว่า MOU ฉบับนี้ถูกออกแบบมาจากการทำข้อตกลงร่วมกัน ดังนั้นจึงมีลักษณะหลอมรวม สร้างความประณีประนอมระหว่างพรรคก้าวไกลกับพรรคร่วม แต่สาระหลักยังอยู่ที่พรรคก้าวไกล ซึ่งหลายอย่างสอดคล้องแนวคิดของพรรคเพื่อไทย จึงมองได้ว่า 2 พรรคดังกล่าวจึงเป็นหลักในการวาง MOU เพราะมีเสียงข้างมาก
สามารถแยกวาระที่ทุกพรรคให้เห็นด้วยตรงกันทั้งหมด 2 วาระ (สำคัญ) ได้แก่ ‘ตั้ง สสร. ร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่’ และ ‘ยกเลิกระบบเกณฑ์ทหาร’ ซึ่งแนวทางข้างต้นนี้เป็นเรื่องที่ทุกพรรคในขั้วเสรีนิยมเห็นพ้องต้องกันทั้งสิ้น ในส่วนที่ออกมาเพื่อความประณีประนอม ได้แก่ วาระที่ 2 ประเด็น ‘สมรสเท่าเทียม’ และ ‘สุราก้าวหน้า’ ที่ทุกฝ่ายตกตะกอนจากการพูดคุยกัน จนได้ ‘ภาษาสื่อสารที่ดูดี’ อย่างการพ่วงท้ายในวาระว่า ‘จะไม่บังคับ ประชาชนที่เห็นว่าขัดแย้งกับหลักการของศาสนาที่ตนเองนับถือ’ ซึ่งพรรคประชาชาติ ที่แกนนำและฐานเสียงเป็นชาวมุสลิม ก็สามารถรับได้
ในส่วนบทเกริ่นนำประเด็นที่สังคมจับตานั้น อาจารย์พิชายมอง ว่านี่คือสิ่งตอกย้ำความปรองดองที่เห็นได้ชัดเจน เพราะเป็นยืนยันต่อบุคคลที่หวาดระแวงพรรคก้าวไกลเรื่องสถาบันเบื้องสูงให้เบาใจลงบ้าง แม้จะมีเสียงวิพากษ์วิจารณ์จาก ‘ปิยะบุตร’ หรือแฟนคลับก็ตาม
“อย่าลืมวาพรรคก้าวไกลเขาเสนอตั้ง 300 นโยบาย หลายคนอาจไม่ได้เลือกเพราะนโยบายแก้ไข ม.112 แต่อาจมาจากนโยบายอื่นๆ เช่น ยกเลิกเกณฑ์ทหาร กระจายอำนาจท้องถิ่น หรือแก้ไขรัฐธรมนูญ ดังนั้นต้องทำความเข้าใจ ในเมื่อตอนนี้เป็นรัฐบาลผสมไม่ใช่รัฐบาลพรรคเดียว ต้องประณีประนอมกัน เพราะมีเงื่อนไขเสียงพรรคอื่นอยู่”
สำหรับประเด็นเรื่อง วาระเฉพาะนั้น ‘รศ.ดร.พิชาย รัตนดิลก ณ ภูเก็ต’ ผู้อำนวยการหลักสูตรการเมืองและยุทธศาสตร์การพัฒนา สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) ให้ความเห็นว่า MOU ฉบับนี้ถูกออกแบบมาจากการทำข้อตกลงร่วมกัน ดังนั้นจึงมีลักษณะหลอมรวม สร้างความประณีประนอมระหว่างพรรคก้าวไกลกับพรรคร่วม แต่สาระหลักยังอยู่ที่พรรคก้าวไกล ซึ่งหลายอย่างสอดคล้องแนวคิดของพรรคเพื่อไทย จึงมองได้ว่า 2 พรรคดังกล่าวจึงเป็นหลักในการวาง MOU เพราะมีเสียงข้างมาก
สามารถแยกวาระที่ทุกพรรคให้เห็นด้วยตรงกันทั้งหมด 2 วาระ (สำคัญ) ได้แก่ ‘ตั้ง สสร. ร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่’ และ ‘ยกเลิกระบบเกณฑ์ทหาร’ ซึ่งแนวทางข้างต้นนี้เป็นเรื่องที่ทุกพรรคในขั้วเสรีนิยมเห็นพ้องต้องกันทั้งสิ้น ในส่วนที่ออกมาเพื่อความประณีประนอม ได้แก่ วาระที่ 2 ประเด็น ‘สมรสเท่าเทียม’ และ ‘สุราก้าวหน้า’ ที่ทุกฝ่ายตกตะกอนจากการพูดคุยกัน จนได้ ‘ภาษาสื่อสารที่ดูดี’ อย่างการพ่วงท้ายในวาระว่า ‘จะไม่บังคับ ประชาชนที่เห็นว่าขัดแย้งกับหลักการของศาสนาที่ตนเองนับถือ’ ซึ่งพรรคประชาชาติ ที่แกนนำและฐานเสียงเป็นชาวมุสลิม ก็สามารถรับได้
ในส่วนบทเกริ่นนำประเด็นที่สังคมจับตานั้น อาจารย์พิชายมอง ว่านี่คือสิ่งตอกย้ำความปรองดองที่เห็นได้ชัดเจน เพราะเป็นยืนยันต่อบุคคลที่หวาดระแวงพรรคก้าวไกลเรื่องสถาบันเบื้องสูงให้เบาใจลงบ้าง แม้จะมีเสียงวิพากษ์วิจารณ์จาก ‘ปิยะบุตร’ หรือแฟนคลับก็ตาม
“อย่าลืมวาพรรคก้าวไกลเขาเสนอตั้ง 300 นโยบาย หลายคนอาจไม่ได้เลือกเพราะนโยบายแก้ไข ม.112 แต่อาจมาจากนโยบายอื่นๆ เช่น ยกเลิกเกณฑ์ทหาร กระจายอำนาจท้องถิ่น หรือแก้ไขรัฐธรมนูญ ดังนั้นต้องทำความเข้าใจ ในเมื่อตอนนี้เป็นรัฐบาลผสมไม่ใช่รัฐบาลพรรคเดียว ต้องประณีประนอมกัน เพราะมีเงื่อนไขเสียงพรรคอื่นอยู่”

รศ.ดร.พิชาย ยังมองว่า MOU ฉบับนี้จะทำให้อุณหภูมิระหว่างพรรคร่วมฯ และ สมาชิกวุฒิสภาลดลงด้วย เพราะถ้ารัฐบาลมีพันธะสัญญาไว้ว่าจะไม่ผลักดันเรื่องการแก้ไข ม. 112 เป็นวาระหลักของรัฐบาล อาจทำให้ ส.ว. หลายท่านเชื่อว่า จะเป็นแนวทางการขับเคลื่อนผ่านกลไกสภาฯ ซึ่งหากมองตามข้อเท็จจริงแทบไม่มีทางสำเร็จ
“เรื่องการแก้ไขแทบจะไม่มีทางเกิดขึ้นเลยใน 4 ปีต่อจากนี้ เพราะเสียงของก้าวไกลมีเพียง 152 เสียง ฉะนั้นพอมีการเสนอเข้าสภาฯ ก็จะถูกปัดตกโดย ส.ส. ส่วนใหญ่ ฉะนั้น ส.ว.จำนวนมากจะสบายใจขึ้น ยิ่งไม่เป็นนโยบายรัฐบาลแล้ว เป็นแค่วาระเฉพาะที่ต้องขับเคลื่อนผ่านพรรคด้วยกลไกนิติบัญญัติมันแทบไม่มีทางเป็นไปได้เลย” พิชาย รัตนดิลก ณ ภูเก็ต กล่าว
เมื่อถามว่า การกำหนดให้แต่ละพรรคสามารถทำนโยบายเป็นวาระเฉพาะ จะเกิดปรากฏการณ์ต่างคนต่างทำหรือไม่ ผู้เชี่ยวชาญด้านรัฐศาสตร์ให้ความเห็นว่า MOU ฉบับนี้มีข้อดีอีกจุดหนึ่ง คือสิ่งที่แสดงถึงความรับผิดชอบร่วมกัน อย่างเต็มที่ภายใต้ วาระทั้ง 23 ข้อ
ในส่วนวาระเฉพาะการก็อาจต้องยกเครดิตการบริหารให้กับกระทรวง หรือพรรคที่ดูแลอยู่ ทำให้เป็นแรงจูงใจในการทำประโยชน์ให้ประชาชน และลดปัญหาการเคลมนโยบายแบบที่เคยเกิดขึ้นเมื่อรัฐบาลที่แล้ว อย่างกรณีพรรคพลังประชารัฐ และพรรครวมไทยสร้างชาติด้วย
“เรื่องการแก้ไขแทบจะไม่มีทางเกิดขึ้นเลยใน 4 ปีต่อจากนี้ เพราะเสียงของก้าวไกลมีเพียง 152 เสียง ฉะนั้นพอมีการเสนอเข้าสภาฯ ก็จะถูกปัดตกโดย ส.ส. ส่วนใหญ่ ฉะนั้น ส.ว.จำนวนมากจะสบายใจขึ้น ยิ่งไม่เป็นนโยบายรัฐบาลแล้ว เป็นแค่วาระเฉพาะที่ต้องขับเคลื่อนผ่านพรรคด้วยกลไกนิติบัญญัติมันแทบไม่มีทางเป็นไปได้เลย” พิชาย รัตนดิลก ณ ภูเก็ต กล่าว
เมื่อถามว่า การกำหนดให้แต่ละพรรคสามารถทำนโยบายเป็นวาระเฉพาะ จะเกิดปรากฏการณ์ต่างคนต่างทำหรือไม่ ผู้เชี่ยวชาญด้านรัฐศาสตร์ให้ความเห็นว่า MOU ฉบับนี้มีข้อดีอีกจุดหนึ่ง คือสิ่งที่แสดงถึงความรับผิดชอบร่วมกัน อย่างเต็มที่ภายใต้ วาระทั้ง 23 ข้อ
ในส่วนวาระเฉพาะการก็อาจต้องยกเครดิตการบริหารให้กับกระทรวง หรือพรรคที่ดูแลอยู่ ทำให้เป็นแรงจูงใจในการทำประโยชน์ให้ประชาชน และลดปัญหาการเคลมนโยบายแบบที่เคยเกิดขึ้นเมื่อรัฐบาลที่แล้ว อย่างกรณีพรรคพลังประชารัฐ และพรรครวมไทยสร้างชาติด้วย
