แม้จะจบศึกเจ้ากระทรวงแล้ว แต่สงครามการเมืองยังไม่จบ ลุกขึ้นมาสู้กันต่อกับ ศึกแย่งชิงเก้าอี้ ‘ประธานกรรมาธิการ (กมธ.)’ ทั้ง 35 คณะ ศึกครั้งนี้ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร แบ่งจำนวนเก้าอี้ให้ชัดเจน ด้วยวิธีคำนวณจากการนำจำนวน กมธ.35 ตำแหน่ง คูณจำนวนสส.แต่ละพรรค และหารด้วย สส.ทั้งหมด คือ 499 คน จนได้ข้อสรุปว่า มีพรรคการเมืองที่ สส.ถึงเกณฑ์ได้รับตำแหน่งประธาน กมธ. 8 พรรค แบ่งเป็น พรรคก้าวไกล 10 คณะ พรรคเพื่อไทย 10 คณะ พรรคภูมิใจไทย 5 คณะ พรรคพลังประชารัฐ 3 คณะ พรรครวมไทยสร้างชาติ 3 คณะ พรรคประชาธิปัตย์ 2 คณะ พรรคชาติไทยพัฒนา 1 คณะ และพรรคประชาชาติ 1 คณะ
แค่เริ่มต้นก็เกิดปัญหาแล้ว เมื่อพรรคที่ได้ สส.มากที่สุด กลับได้โควต้าเก้าอี้ประธาน กมธ.เท่ากับพรรคอันดับสอง ที่มีต้นเรื่องมาจากการลาออกของ สส.ระยอง พรรคก้าวไกล ทำให้ สส.ก้าวไกลจาก 151 คน เหลือ 150 คน จากเดิมที่จะได้สัดส่วน กมธ. 11 คณะ แต่เมื่อจำนวน สส.น้อยลง กลับถูกปัดเศษลงจนเหลือแค่ 10 คณะเท่ากับพรรคเพื่อไทย ที่มี สส.141 คน ซึ่ง พิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาฯคนที่สอง ย้ำว่า ไม่สามารถรอให้การเลือกตั้ง สส.ระยองเสร็จสิ้นได้ จำเป็นต้องจัดสรรเก้าอี้นี้ไปก่อน แต่หากท้ายที่สุด ผลการเลือกตั้ง ไม่ว่าจะพรรคประชาธิปัตย์ หรือพรรคก้าวไกลที่เป็นผู้ชนะ สัดส่วนอาจจะเปลี่ยนแปลงได้ภายหลัง
เรื่องนี้ทำให้ ‘ปิยบุตร แสงกนกกุล’ ออกอาการไม่พอใจถึงความไม่รอบคอบของพรรคก้าวไกล จนทำให้ต้องเสียเก้าอี้ประธาน กมธ.ไป 1 คณะ จากการลาออกของ สส. ทั้งที่ควรกำหนดให้ลาออกหลังจากแบ่งสรรประธาน กมธ.แล้วเสร็จ และเมื่อก้าวไกลเป็นฝ่ายค้าน การขับเคลื่อนงานในสภาผ่านตำแหน่งประธานกมธ.จึงสำคัญอย่างยิ่ง
แค่สัดส่วนจำนวน กมธ.ของแต่ละพรรคก็เกิดปัญหาแล้ว ยังไม่นับรวมความต้องการและความเหมาะสมในการนั่งเก้าอี้ประธาน กมธ.ของแต่ละพรรคการเมือง ซึ่งทั้งพรรครัฐบาลและพรรคฝ่ายค้าน จะต้องมาตกผลึกว่า พรรคการเมืองใด จะได้นั่งคณะใดบ้าง แม้ว่าพรรคฝ่ายรัฐบาลจะแสดงเจตจำนงขอเป็นประธาน กมธ.ให้ตรงกับรัฐมนตรีกระทรวงต่างๆของพรรค เพื่อให้ทำงานสอดคล้องและประสานงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่พรรคก้าวไกลกลับ ‘ไม่เห็นด้วย’ เพราะไม่ต้องการให้คนนั่งประธาน กมธ.ตรงกับเจ้ากระทรวงของรัฐบาล ซึ่งจะส่งผลต่อการตรวจสอบการทำงานของกระทรวงนั้นๆ นับเป็นความอลหม่านที่ไม่ได้เกิดขึ้นเฉพาะพรรคร่วมรัฐบาลแบบเก้าอี้รัฐมนตรี แต่นี่คือศึกแย่งชิงกันทั้งสภาผู้แทนราษฎร ที่ไม่มีใครยอมใคร
“เกมการเมืองในสภาคือการต่อรอง ดังนั้นก็คงไม่ง่าย ต้องเป็นการพูดคุยกันเรื่องเก้าอี้ระหว่างวิปฝ่ายค้านและฝ่ายรัฐบาล เชื่อว่า จะแย่งกันอย่างเข้มข้น เพราะก้าวไกลกับเพื่อไทยยืนอยู่คนละขั้วการเมือง ก้าวไกลอยากตรวจสอบฝั่งพรรคเพื่อไทย จึงแย่งชิงเก้าอี้ประธาน กมธ.กันแน่นอน”
ศึกครั้งนี้ ยังยืดเยื้อ จะเห็นได้จากการประชุมของตัวแทนพรรคการเมือง ที่พรรคก้าวไกลพยายามยื้อเวลาให้ถึงวันเลือกตั้ง สส.ระยองก่อน แล้วค่อยจัดสัดส่วน กมธ.ใหม่ แต่พรรครวมไทยสร้างชาติก็ไม่ยอมเช่นกัน เพราะหากก้าวไกลชนะเลือกตั้ง ได้ สส.เพิ่มมาอีก 1 ที่นั่ง จะส่งผลให้ได้เก้าอี้ประธาน กมธ.รวมทั้งหมด 11 คณะ โดยดึงเอาจากรวมไทยสร้างชาติที่จะต้องสูญเสียไป 1 คณะจากสัดส่วน สส.ในภาพรวม ท้ายที่สุด ตัวแทนเกือบทุกพรรคการเมืองตัดสินใจบีบให้ ‘ก้าวไกล’ ต้องจำนนรับไป 10 คณะก่อน โดยอ้างคำว่า ผลการเลือกตั้งจะต้องใช้เวลาเนิ่นนาน ไม่ใช่แค่เลือกตั้งจบแล้วจะได้ สส.ในทันที
แต่หากภายหลัง ‘ก้าวไกล’ ได้ สส.ระยองเพิ่มขึ้นมาอีก 1 ที่นั่งจริงๆ มีอีกหนึ่งช่องทาง คือการเจรจาผ่านวิปสองฝ่ายเพื่อยึดเก้าอี้คืน แต่ความสำเร็จ จะเป็นไปได้มากน้อยอย่างไร ต้องรอดูอนาคตเท่านั้น เมื่อต่างคนต่างๆไม่ยอมแพ้ ศึกครั้งนี้ คงสู้กันสุดใจแน่นอน
แค่เริ่มต้นก็เกิดปัญหาแล้ว เมื่อพรรคที่ได้ สส.มากที่สุด กลับได้โควต้าเก้าอี้ประธาน กมธ.เท่ากับพรรคอันดับสอง ที่มีต้นเรื่องมาจากการลาออกของ สส.ระยอง พรรคก้าวไกล ทำให้ สส.ก้าวไกลจาก 151 คน เหลือ 150 คน จากเดิมที่จะได้สัดส่วน กมธ. 11 คณะ แต่เมื่อจำนวน สส.น้อยลง กลับถูกปัดเศษลงจนเหลือแค่ 10 คณะเท่ากับพรรคเพื่อไทย ที่มี สส.141 คน ซึ่ง พิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาฯคนที่สอง ย้ำว่า ไม่สามารถรอให้การเลือกตั้ง สส.ระยองเสร็จสิ้นได้ จำเป็นต้องจัดสรรเก้าอี้นี้ไปก่อน แต่หากท้ายที่สุด ผลการเลือกตั้ง ไม่ว่าจะพรรคประชาธิปัตย์ หรือพรรคก้าวไกลที่เป็นผู้ชนะ สัดส่วนอาจจะเปลี่ยนแปลงได้ภายหลัง
เรื่องนี้ทำให้ ‘ปิยบุตร แสงกนกกุล’ ออกอาการไม่พอใจถึงความไม่รอบคอบของพรรคก้าวไกล จนทำให้ต้องเสียเก้าอี้ประธาน กมธ.ไป 1 คณะ จากการลาออกของ สส. ทั้งที่ควรกำหนดให้ลาออกหลังจากแบ่งสรรประธาน กมธ.แล้วเสร็จ และเมื่อก้าวไกลเป็นฝ่ายค้าน การขับเคลื่อนงานในสภาผ่านตำแหน่งประธานกมธ.จึงสำคัญอย่างยิ่ง
แค่สัดส่วนจำนวน กมธ.ของแต่ละพรรคก็เกิดปัญหาแล้ว ยังไม่นับรวมความต้องการและความเหมาะสมในการนั่งเก้าอี้ประธาน กมธ.ของแต่ละพรรคการเมือง ซึ่งทั้งพรรครัฐบาลและพรรคฝ่ายค้าน จะต้องมาตกผลึกว่า พรรคการเมืองใด จะได้นั่งคณะใดบ้าง แม้ว่าพรรคฝ่ายรัฐบาลจะแสดงเจตจำนงขอเป็นประธาน กมธ.ให้ตรงกับรัฐมนตรีกระทรวงต่างๆของพรรค เพื่อให้ทำงานสอดคล้องและประสานงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่พรรคก้าวไกลกลับ ‘ไม่เห็นด้วย’ เพราะไม่ต้องการให้คนนั่งประธาน กมธ.ตรงกับเจ้ากระทรวงของรัฐบาล ซึ่งจะส่งผลต่อการตรวจสอบการทำงานของกระทรวงนั้นๆ นับเป็นความอลหม่านที่ไม่ได้เกิดขึ้นเฉพาะพรรคร่วมรัฐบาลแบบเก้าอี้รัฐมนตรี แต่นี่คือศึกแย่งชิงกันทั้งสภาผู้แทนราษฎร ที่ไม่มีใครยอมใคร
แล้วเก้าอี้ ‘ประธาน กมธ.’ สำคัญอย่างไร?
รศ.ดร.ยุทธพร อิสรชัย อาจารย์คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช อธิบายว่า การเมืองระบบรัฐสภามีกลไกในการตรวจสอบรัฐบาล 3 ประการ คือ 1.การอภิปรายไม่ไว้วางใจ 2.การตั้งกระทู้ถาม และ 3.ระบบ กมธ. ซึ่งตำแหน่ง ‘ประธาน กมธ.’ ส่วนใหญ่จะล้อไปตามภารกิจของรัฐบาลเพื่อไม่ให้กระบวนการตรวจสอบจากฝ่ายค้านเข้มข้นมากเกินไป ขณะที่ฝ่ายค้านก็ต้องการเก้าอี้ กมธ.เพื่อตรวจสอบรัฐบาลอย่างเข้มข้น“เกมการเมืองในสภาคือการต่อรอง ดังนั้นก็คงไม่ง่าย ต้องเป็นการพูดคุยกันเรื่องเก้าอี้ระหว่างวิปฝ่ายค้านและฝ่ายรัฐบาล เชื่อว่า จะแย่งกันอย่างเข้มข้น เพราะก้าวไกลกับเพื่อไทยยืนอยู่คนละขั้วการเมือง ก้าวไกลอยากตรวจสอบฝั่งพรรคเพื่อไทย จึงแย่งชิงเก้าอี้ประธาน กมธ.กันแน่นอน”
‘กมธ.’มีอำนาจตรวจสอบมากเพียงใด?
นักวิชาการรัฐศาสตร์ เล่าต่อว่า ปัจจุบัน กมธ.มีอำนาจเพิ่มขึ้นจากเดิมค่อนข้างมาก ทั้งการส่งเรื่องที่พบว่า มีการทุจริตไปยังคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) หรือศาลรัฐธรรมนูญ กรณีที่มีการกระทำขัดต่อรัฐธรรมนูญ และปัญหาคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของสมาชิกหรือบุคคลใดบุคคลหนึ่ง นอกจากนี้ ฝ่ายข้าราชการประจำก็สามารถยื่นได้ทั้งหมด รวมถึงยื่นศาลฎีกา แผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองด้วยความสำคัญและอำนาจของ กมธ.เป็นที่มาของการแย่งชิง
กลไก กมธ.ระยะหลังมีความฉับพลันมากขึ้น ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือ คณะกรรมาธิการการป้องกันและปราบปรามการทุจริตประพฤติมิชอบ สภาผู้แทนราษฎร (กมธ.ป.ป.ช.) ที่มี พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ เตมียเวส เป็นประธานในยุคที่แล้ว ได้ตรวจสอบการบริหารงานรัฐบาลอย่างเข้มข้น อีกทั้งยังเด็ดปีก ‘สิระ เจนจาคะ’ พ้นจากตำแหน่ง สส.ได้ก่อนหมดวาระรัฐบาลสงครามที่ไม่มีวันสิ้นสุด
เป็นอำนาจที่ไม่ธรรมดาจริงๆสำหรับตำแหน่งใน กมธ. ดังนั้น แม้เพื่อไทยจะหายปวดหัวจากการแบ่งเค้กรัฐมนตรีแล้ว แต่ก็ต้องกุมขมับกับตำแหน่ง ‘ปธ.กมธ.’ อีกแน่นอน เพราะการตรวจสอบอย่างเข้มข้นของ กมธ.อาจจะเป็นอุปสรรคในการทำงานของรัฐบาลได้ ขณะที่พรรคก้าวไกลต้องการใช้เครื่องมือนี้ในการสร้างผลงานเพื่อการเลือกตั้งครั้งต่อไปศึกครั้งนี้ ยังยืดเยื้อ จะเห็นได้จากการประชุมของตัวแทนพรรคการเมือง ที่พรรคก้าวไกลพยายามยื้อเวลาให้ถึงวันเลือกตั้ง สส.ระยองก่อน แล้วค่อยจัดสัดส่วน กมธ.ใหม่ แต่พรรครวมไทยสร้างชาติก็ไม่ยอมเช่นกัน เพราะหากก้าวไกลชนะเลือกตั้ง ได้ สส.เพิ่มมาอีก 1 ที่นั่ง จะส่งผลให้ได้เก้าอี้ประธาน กมธ.รวมทั้งหมด 11 คณะ โดยดึงเอาจากรวมไทยสร้างชาติที่จะต้องสูญเสียไป 1 คณะจากสัดส่วน สส.ในภาพรวม ท้ายที่สุด ตัวแทนเกือบทุกพรรคการเมืองตัดสินใจบีบให้ ‘ก้าวไกล’ ต้องจำนนรับไป 10 คณะก่อน โดยอ้างคำว่า ผลการเลือกตั้งจะต้องใช้เวลาเนิ่นนาน ไม่ใช่แค่เลือกตั้งจบแล้วจะได้ สส.ในทันที
แต่หากภายหลัง ‘ก้าวไกล’ ได้ สส.ระยองเพิ่มขึ้นมาอีก 1 ที่นั่งจริงๆ มีอีกหนึ่งช่องทาง คือการเจรจาผ่านวิปสองฝ่ายเพื่อยึดเก้าอี้คืน แต่ความสำเร็จ จะเป็นไปได้มากน้อยอย่างไร ต้องรอดูอนาคตเท่านั้น เมื่อต่างคนต่างๆไม่ยอมแพ้ ศึกครั้งนี้ คงสู้กันสุดใจแน่นอน