ศึกภายใน ‘พรรคประชาธิปัตย์’ เรียกว่า ‘ยามศึกเรารบ ยามสงบรบกันเอง’ ผ่านปฏิบัติการ ‘เลื่อยขาเก้าอี้’ เขย่าหัวหน้าพรรค ‘จุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์’ ที่มาตามวงรอบ ล่าสุดถึงขั้นมีการคิดวางแผน ‘ล่ารายชื่อ’ ถอดถอนหัวหน้าพรรค ให้ ‘จุรินทร์’ พ้นเก้าอี้ ซึ่งสามารถยื่นได้หากดำรงตำแหน่งครบ 2 ปี ตามระเบียบพรรค เมื่อแผนแรกล่ม ก็นำมาสู่แผนที่ 2 ผ่านปฏิบัติการล็อบบี้ให้ ‘กรรมการบริหารพรรค’ ลาออก ให้ถึงกึ่งหนึ่ง เพื่อทำให้ ‘จุรินทร์’ พ้นหัวหน้าโดยอัตโนมัติ และเลือกตั้ง กก.บก. ชุดใหม่แทน
แต่ทั้งสองแผน ล่มไม่เป็นท่า ทั้งมีคนไม่เอาด้วยและ ‘โดนบล็อก’ ว่ากันว่ามีประมาณ 3 คนเท่านั้น ผ่านปฏิบัติการ ‘ก่อกบฏ’ ครั้งนี้ โดยเป็นระดับ ‘รองหัวหน้าพรรค-รองเลขาธิการพรรค’ ทำให้หลายคนที่ถูกพาดพิงชื่อ ต้องออกมาชี้แจง ‘ให้การปฏิเสธ’ ต่อหน้าสื่อ
แถมงานนี้ว่ากันว่าพูดคุยกันแบบ ‘เอิกเกริก’ เพื่อไปต่อรองตำแหน่งในรูปแบบ ‘ล็อบบี้’ 1-2 คน เพื่อขอเก้าอี้รัฐมนตรี หลังการเลือกตั้งครั้งหน้า รวมทั้งการขออยู่ใน ‘เซฟโซน’ ลำดับ ส.ส.ปาร์ตี้ลิสต์ ของพรรค รวมทั้งขอมีตำแหน่งสำคัญในสภาฯ เช่น นั่งกรรมาธิการ บอร์ดต่างๆ
อย่างไรก็ตามเกมนี้ไม่จบง่ายๆ เพราะฝั่ง ‘จุรินทร์’ ก็รู้ตัวว่าใครอยู่เบื้องหลัง ‘แผนก่อกบฏ’ ครั้งนี้ ซึ่งเป็นคนที่อยู่ ‘ขั้วอำนาจเก่า’ ของพรรค จึงมีการให้จับตาการ ‘เช็คบิลคืน’ ในการเลือกตั้งครั้งที่จะถึงนี้ ในระดับหัวอาจยังได้ไปต่อ แต่ตัวรองๆอาจไม่ได้ไปต่อ เช่น ไม่ได้ลงสมัครรับเลือกตั้ง ส.ส. เป็นต้น
ทั้งนี้เกมการเปลี่ยนหัวหน้าพรรคยังไม่จบง่ายๆ เพราะในปี 66 จะมีการประชุมสามัญ ปชป. โดยมีวาระเลือก กก.บห.ชุดใหม่ เพราะชุดของ ‘จุรินทร์’ วาระครบ 4 ปี จึงต้องจับตาว่า ‘ขั้วอำนาจเก่า’ จะกลับมาทวงคืนอำนาจหรือไม่ เพราะช่วง 3 ปีที่ผ่านมา เครือข่ายอำนาจเก่าใน ปชป. ก็ถูกทลายลงไป มีทั้งออกจากพรรค และโลว์โปร์ไฟล์ตัวเอง ในฝั่ง ‘จุรินทร์’ ก็เสริมแกร่งเก้าอี้ตัวเอง สร้างอาณาจักรภายใน ปชป.
ฝั่งคนที่หนุน ‘จุรินทร์’ ก็ยังคงเชื่อใน ‘แบรนด์จุรินทร์’ ที่ยังขายได้ พร้อมเชื่อมั่นในผลงานต่างๆ พร้อมกับตั้งเป้า ส.ส. ที่จะได้ในการเลือกตั้งครั้งหน้าไม่ต่ำกว่า 60 ที่นั่ง แต่ตั้งเป้าไว้ที่ 70 ที่นั่ง ทว่าภายใน ปชป. ก็มีกลุ่มที่นิ่งเงียบ ไม่แสดงออกใดๆ จึงต้องจับตากลุ่มนี้ให้ดี จะตัดสินใจในอย่างไร เพราะในขณะนี้ยัง ‘ลงเรือลำเดียว’ กับ ‘จุรินทร์’ มีอำนาจใน ครม. และอำนาจในพรรค ที่สามารถวางสมดุล-สมประโยชน์กันได้อยู่
จากนี้ไปยิ่งใกล้ประชุมสามัญ ปชป. ‘คลื่นใต้น้ำ’ จะยิ่งก่อตัว โดยมีจุดตัดสำคัญคือ ‘ผลการเลือกตั้ง’ ในปีหน้า ที่ชี้ชะตา ‘จุรินทร์’ จะได้ไปต่อ หรือจะกลายเป็น ‘ขั้วอำนาจเก่า’ เสียเอง
แต่ทั้งสองแผน ล่มไม่เป็นท่า ทั้งมีคนไม่เอาด้วยและ ‘โดนบล็อก’ ว่ากันว่ามีประมาณ 3 คนเท่านั้น ผ่านปฏิบัติการ ‘ก่อกบฏ’ ครั้งนี้ โดยเป็นระดับ ‘รองหัวหน้าพรรค-รองเลขาธิการพรรค’ ทำให้หลายคนที่ถูกพาดพิงชื่อ ต้องออกมาชี้แจง ‘ให้การปฏิเสธ’ ต่อหน้าสื่อ
แถมงานนี้ว่ากันว่าพูดคุยกันแบบ ‘เอิกเกริก’ เพื่อไปต่อรองตำแหน่งในรูปแบบ ‘ล็อบบี้’ 1-2 คน เพื่อขอเก้าอี้รัฐมนตรี หลังการเลือกตั้งครั้งหน้า รวมทั้งการขออยู่ใน ‘เซฟโซน’ ลำดับ ส.ส.ปาร์ตี้ลิสต์ ของพรรค รวมทั้งขอมีตำแหน่งสำคัญในสภาฯ เช่น นั่งกรรมาธิการ บอร์ดต่างๆ
อย่างไรก็ตามเกมนี้ไม่จบง่ายๆ เพราะฝั่ง ‘จุรินทร์’ ก็รู้ตัวว่าใครอยู่เบื้องหลัง ‘แผนก่อกบฏ’ ครั้งนี้ ซึ่งเป็นคนที่อยู่ ‘ขั้วอำนาจเก่า’ ของพรรค จึงมีการให้จับตาการ ‘เช็คบิลคืน’ ในการเลือกตั้งครั้งที่จะถึงนี้ ในระดับหัวอาจยังได้ไปต่อ แต่ตัวรองๆอาจไม่ได้ไปต่อ เช่น ไม่ได้ลงสมัครรับเลือกตั้ง ส.ส. เป็นต้น
ทั้งนี้เกมการเปลี่ยนหัวหน้าพรรคยังไม่จบง่ายๆ เพราะในปี 66 จะมีการประชุมสามัญ ปชป. โดยมีวาระเลือก กก.บห.ชุดใหม่ เพราะชุดของ ‘จุรินทร์’ วาระครบ 4 ปี จึงต้องจับตาว่า ‘ขั้วอำนาจเก่า’ จะกลับมาทวงคืนอำนาจหรือไม่ เพราะช่วง 3 ปีที่ผ่านมา เครือข่ายอำนาจเก่าใน ปชป. ก็ถูกทลายลงไป มีทั้งออกจากพรรค และโลว์โปร์ไฟล์ตัวเอง ในฝั่ง ‘จุรินทร์’ ก็เสริมแกร่งเก้าอี้ตัวเอง สร้างอาณาจักรภายใน ปชป.
ฝั่งคนที่หนุน ‘จุรินทร์’ ก็ยังคงเชื่อใน ‘แบรนด์จุรินทร์’ ที่ยังขายได้ พร้อมเชื่อมั่นในผลงานต่างๆ พร้อมกับตั้งเป้า ส.ส. ที่จะได้ในการเลือกตั้งครั้งหน้าไม่ต่ำกว่า 60 ที่นั่ง แต่ตั้งเป้าไว้ที่ 70 ที่นั่ง ทว่าภายใน ปชป. ก็มีกลุ่มที่นิ่งเงียบ ไม่แสดงออกใดๆ จึงต้องจับตากลุ่มนี้ให้ดี จะตัดสินใจในอย่างไร เพราะในขณะนี้ยัง ‘ลงเรือลำเดียว’ กับ ‘จุรินทร์’ มีอำนาจใน ครม. และอำนาจในพรรค ที่สามารถวางสมดุล-สมประโยชน์กันได้อยู่
จากนี้ไปยิ่งใกล้ประชุมสามัญ ปชป. ‘คลื่นใต้น้ำ’ จะยิ่งก่อตัว โดยมีจุดตัดสำคัญคือ ‘ผลการเลือกตั้ง’ ในปีหน้า ที่ชี้ชะตา ‘จุรินทร์’ จะได้ไปต่อ หรือจะกลายเป็น ‘ขั้วอำนาจเก่า’ เสียเอง