9 ก.ค. 2566 ผู้สื่อข่าวรายงานว่าภายหลังจากที่ ‘จุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์’ รักษาการหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ได้เชิญผู้ที่ไม่เกี่ยวข้องออกจากห้องประชุมแล้วนั้น สมาชิกได้แสดงความคิดเห็นในญัตติที่ ‘สาธิต ปิตุเตชะ’ รักษาการรองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ เป็นผู้เสนอ คือ ขอใช้เสียง 3 ใน 5 ของที่ประชุม งดเว้นข้อบังคับพรรคที่ 87 ในส่วนของสัดส่วนน้ำหนักการโหวตของ ส.ส. 70 เปอร์เซ็นต์ และสมาชิกอื่นๆ 30 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งที่ประชุมได้ใช้เวลาถกเถียงถึงสองชั่วโมงกว่า กระทั่ง ‘องอาจ คล้ามไพบูลย์’ รักษาการรองหัวหน้าพรรค รับผิดชอบกรุงเทพมหานคร เสนอญัตติว่าขอใช้เสียง 3 ใน 5 ขององค์ประชุมเท่าที่มีอยู่ เพื่องดเว้นข้อบังคับที่กำหนดไว้ว่าเมื่อหัวหน้าพรรคลาออก ให้เลือกตั้งคณะกรรมการบริหารพรรค (กก.บห.) ชุดใหม่ ภายใน 60 วัน อย่างไรก็ตาม ที่ประชุมได้มีการตกลงกันว่าหากญัตติของนายองอาจผ่านได้รับเสียงสนับสนุนเพียง ญัตติของนายสาธิตก็ไม่จำเป็นต้องหยิบยกขึ้นมาพิจารณาอีก เพราะจะทำให้การเลือกหัวหน้าพรรคต้องเลื่อนออกไป
จากนั้น 13.10 น. เจ้าหน้าที่ได้ประกาศแจ้งให้ผู้ที่มีสิทธิลงมติที่พักผ่อนอยู่ด้านนอกได้เข้าห้องประชุม เพื่อลงมติในญัตติของ องอาจ โดยวิธีการยกมือ ซึ่งผลปรากฎว่าที่ประชุมลงคะแนนสนับสนุนเพียง 151 คะแนน เท่ากับว่าเสียงไม่ถึง 3 ใน 5 ขององค์ประชุมเท่าที่มีอยู่
ต่อมาที่ประชุมได้ดำเนินการลงมติในญัตติของนายสาธิต ที่ให้งดเว้นข้อบังคับที่ 87 ซึ่งผลปรากฎว่าที่ประชุมลงคะแนนสนับสนุน 147 คะแนน เท่ากับว่าเสียงไม่ถึง 3 ใน 5 ขององค์ประชุมเท่าที่มีอยู่เช่นกัน
จากนั้นเวลา 13.35 น. ได้สั่งพักการประชุม เพื่อให้สมาชิกรับประทานอาหารกลางวัน ทั้งนี้ องอาจ เปิดเผยภายหลังลงมติว่า สาเหตุที่เสนอญัตติดังกล่าว เนื่องจากตนเห็นว่าการประชุมตั้งแต่ช่วงเช้าสมาชิกมีการถกเถียงกันมาก และมีการกระทบกระทั่งกันตลอด หากยังให้ดำเนินการต่อไป อาจก่อให้เกิดผลกระทบภายในพรรค เพราะจะมีคนแพ้คนชนะ แต่ถ้ามีโอกาสยืดเวลาออกไปเพื่อให้ได้พูดคุยกันก่อน เราก็จะร่วมกันชนะคนอื่น
เมื่อถามว่ามีกระแสข่าวว่าสมาชิกพรรคบางส่วนอยากให้ชะลอการเลือกหัวหน้าพรรคออกไปเพื่อรอลุ้นโอกาสที่จะได้เข้าร่วมรัฐบาล หากผลสรุปพรรคเป็นฝ่ายค้านก็จะยกตำแหน่งหัวหน้าพรรคให้ ‘อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ’ อดีตนายกฯ อดีตหัวหน้าพรรคประชาธิปััตย์ ไปบริหารจัดการปฏิรูปพรรค องอาจ กล่าวว่า ตนไม่ได้คิดถึงเรื่องรอเป็นรัฐบาล แค่อยากให้พวกเรามีโอกาสพูดคุยให้ตกผลึกมากกว่า เพื่อจะได้ร่วมมือกันให้ได้มากที่สุด
จากนั้น 13.10 น. เจ้าหน้าที่ได้ประกาศแจ้งให้ผู้ที่มีสิทธิลงมติที่พักผ่อนอยู่ด้านนอกได้เข้าห้องประชุม เพื่อลงมติในญัตติของ องอาจ โดยวิธีการยกมือ ซึ่งผลปรากฎว่าที่ประชุมลงคะแนนสนับสนุนเพียง 151 คะแนน เท่ากับว่าเสียงไม่ถึง 3 ใน 5 ขององค์ประชุมเท่าที่มีอยู่
ต่อมาที่ประชุมได้ดำเนินการลงมติในญัตติของนายสาธิต ที่ให้งดเว้นข้อบังคับที่ 87 ซึ่งผลปรากฎว่าที่ประชุมลงคะแนนสนับสนุน 147 คะแนน เท่ากับว่าเสียงไม่ถึง 3 ใน 5 ขององค์ประชุมเท่าที่มีอยู่เช่นกัน
จากนั้นเวลา 13.35 น. ได้สั่งพักการประชุม เพื่อให้สมาชิกรับประทานอาหารกลางวัน ทั้งนี้ องอาจ เปิดเผยภายหลังลงมติว่า สาเหตุที่เสนอญัตติดังกล่าว เนื่องจากตนเห็นว่าการประชุมตั้งแต่ช่วงเช้าสมาชิกมีการถกเถียงกันมาก และมีการกระทบกระทั่งกันตลอด หากยังให้ดำเนินการต่อไป อาจก่อให้เกิดผลกระทบภายในพรรค เพราะจะมีคนแพ้คนชนะ แต่ถ้ามีโอกาสยืดเวลาออกไปเพื่อให้ได้พูดคุยกันก่อน เราก็จะร่วมกันชนะคนอื่น
เมื่อถามว่ามีกระแสข่าวว่าสมาชิกพรรคบางส่วนอยากให้ชะลอการเลือกหัวหน้าพรรคออกไปเพื่อรอลุ้นโอกาสที่จะได้เข้าร่วมรัฐบาล หากผลสรุปพรรคเป็นฝ่ายค้านก็จะยกตำแหน่งหัวหน้าพรรคให้ ‘อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ’ อดีตนายกฯ อดีตหัวหน้าพรรคประชาธิปััตย์ ไปบริหารจัดการปฏิรูปพรรค องอาจ กล่าวว่า ตนไม่ได้คิดถึงเรื่องรอเป็นรัฐบาล แค่อยากให้พวกเรามีโอกาสพูดคุยให้ตกผลึกมากกว่า เพื่อจะได้ร่วมมือกันให้ได้มากที่สุด