ไม่ว่าผู้อ่านจะชอบประเด็นทางการเมืองหรือไม่ ท่านก็ไม่สามารถปฏิเสธได้ ว่า ‘ประชาธิปัตย์’ เป็นพรรคเก่าแก่ มีบทบาทบนถนนการเมืองไทยมาอย่างยาวนาน มีประวัติศาสตร์หลายยุคสมัยการเปลี่ยนผ่าน มีวันวานที่โชดช่วงชัชวาล และล้มลุกคุกคลาน ไปจนถึงตกกะใดพลอยโจนได้เป็นรัฐบาลก็มีให้เห็นมากครั้ง เรื่องพวกนี้ผู้เขียนเองก็ได้รับทราบจากการทำข่าว อ่านหนังสือพิมพ์ และหสนทนากับแกนนำคนสำคัญของพรรค หลายท่านมักบอกเล่าถึงอุปสรรคที่เผชิญในวันวาน เปรียบเทียบสร้างฉากทัศน์ ว่าที่เป็นอยู่ในวันนี้ไม่ได้หนักหนาเท่าอดีต
“เราผ่านศึกหนักมาหลายครั้ง ยุคก่อนๆ เลือดโชกหนักกว่านี้ พรรคก็ผ่านมาได้ มันการตอกย้ำว่าประชาธิปัตย์คือสถาบันทางการเมือง ไม่ใช่พรรคที่ฝากความหวังไว้กับบุคคลใดบุคคลหนึ่ง คราวคุณสมัคร (สุนทรเวช) ลาออกไปทำพรรคประชากรไทย ก็เคยปรามาสว่าประชาธิปัตย์จะถึงคราวสูญพันธุ์ วันนี้เป็นไงคุณสมัครถึงแก่กรรมแล้วพรรคก็อยู่”
เป็นคำพูดของ ‘นิพนธ์ บุญญามณี’ ในฐานะลูกพระแม่ธรณีเลือดข้น ที่เคยบอกเล่าให้ผู้เขียนรับทราบถึงศึกใหญ่หลวงที่ ปชป. เคยผ่านพ้นมาได้ การันตีแบรนด์ดิงความอยู่นานอยู่ทน ภายใต้ดีกรีที่ตั้งเองว่าเป็น ‘สถาบันทางการเมือง’
พูดถึงชีพจรทางการเมืองของ ปชป. ข้าพเจ้าก็โชคดี มีข้อมูลที่ได้มาจาก ‘วชิรวิชญ์ กิติชาติพรพัฒน์’ ซึ่งเขาและทีมงาน (TAG CLOUD) ได้รวบรวมเก็บสถิติไว้ ภายใต้หัวข้อ ‘กราฟชีวิตพรรคประชาธิปัตย์ วัดผลจากการเลือกตั้ง พ.ศ. 2489 - 2566’ มีฉายภาพตัวเลขจำนวนเก้้าอี้ ส.ส.ที่ขึ้นลงน่าสนใจ
“เราผ่านศึกหนักมาหลายครั้ง ยุคก่อนๆ เลือดโชกหนักกว่านี้ พรรคก็ผ่านมาได้ มันการตอกย้ำว่าประชาธิปัตย์คือสถาบันทางการเมือง ไม่ใช่พรรคที่ฝากความหวังไว้กับบุคคลใดบุคคลหนึ่ง คราวคุณสมัคร (สุนทรเวช) ลาออกไปทำพรรคประชากรไทย ก็เคยปรามาสว่าประชาธิปัตย์จะถึงคราวสูญพันธุ์ วันนี้เป็นไงคุณสมัครถึงแก่กรรมแล้วพรรคก็อยู่”
เป็นคำพูดของ ‘นิพนธ์ บุญญามณี’ ในฐานะลูกพระแม่ธรณีเลือดข้น ที่เคยบอกเล่าให้ผู้เขียนรับทราบถึงศึกใหญ่หลวงที่ ปชป. เคยผ่านพ้นมาได้ การันตีแบรนด์ดิงความอยู่นานอยู่ทน ภายใต้ดีกรีที่ตั้งเองว่าเป็น ‘สถาบันทางการเมือง’
พูดถึงชีพจรทางการเมืองของ ปชป. ข้าพเจ้าก็โชคดี มีข้อมูลที่ได้มาจาก ‘วชิรวิชญ์ กิติชาติพรพัฒน์’ ซึ่งเขาและทีมงาน (TAG CLOUD) ได้รวบรวมเก็บสถิติไว้ ภายใต้หัวข้อ ‘กราฟชีวิตพรรคประชาธิปัตย์ วัดผลจากการเลือกตั้ง พ.ศ. 2489 - 2566’ มีฉายภาพตัวเลขจำนวนเก้้าอี้ ส.ส.ที่ขึ้นลงน่าสนใจ

นับตั้งแต่การก่อตั้งพรรค โดย ‘ควง อภัยวงษ์’ มาจนถึงยุคสมัยของ ‘จุรินทร์ ลักษณวิศิษฐ์’ พรรคสีฟ้าน้ำทะเลลงสู้ศึกเลือกตั้งใหญ่มาแล้ว 21 ครั้ง ป็อปปูล่าชิงเก้าอี้ ส.ส. เข้าสภาได้สูงสุด 146 เก้าอี้ ในยุคของ ‘เดอะมาร์ค’ อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เป็นหัวหน้าพรรค ขณะเดียวกันเส้นกราฟได้แสดงข้อมูล เผยความตกต่ำของประชาธิปัตย์ โดยเริ่มตั้งแต่ช่วงปี 2538 ถือเป็นจุดสตาร์ทของความตกอับแสนยาวนานนับ 20 ปี
อย่างไรก็ดี สถิติยังบ่งชี้ว่า การเลือกตั้งใหญ่ปี 2566 ภายใต้การนำของ ‘จุรินทร์’ ถือเป็นช่วงขาลงที่สุด เพราะได้เก้าอี้ ส.ส.จากทั้งแบบแบ่งเขตและบัญชีรายชื่อเพียง 25 ที่นั่ง คิดเป็น 5 เปอร์เซ็นต์จากจำนวนเก้าอี้ ส.ส.ทั้งหมด (500 ที่นั่ง) หากไม่นับช่วงก่อร่างสร้างตัวในแรกรุ่นบุกเบิก ผลเลือกตั้งรอบนี้เป็นสถิติการได้มาซึ่ง ส.ส.ที่แย่ที่สุด ตั้งแต่การสถาปนาพรรค เมื่อ 77 ปี ก่อนหน้านี้
ความล้มเหลวครั้งนี้ ยากจะรับได้ มีภาพสะท้อนออกมาอย่างชัดเจน ในเหตุการณ์การประกาศสายฟ้าแลบ ของ ‘อุ๊ดด้า’ จุรินทร์ ที่แจ้งความประสงค์ขอลาออกจากตำแหน่งหัวหน้าพรรคลงไลน์กรุ๊ป ปชป. ในค่ำคืนวันเลือกตั้งแบบทันทีทันใด โดยไม่รอแม้แต่คะแนนสะเด็ดน้ำที่ กกต.จะสรุปอย่างไม่เป็นทางการ
อย่างไรก็ดี สถิติยังบ่งชี้ว่า การเลือกตั้งใหญ่ปี 2566 ภายใต้การนำของ ‘จุรินทร์’ ถือเป็นช่วงขาลงที่สุด เพราะได้เก้าอี้ ส.ส.จากทั้งแบบแบ่งเขตและบัญชีรายชื่อเพียง 25 ที่นั่ง คิดเป็น 5 เปอร์เซ็นต์จากจำนวนเก้าอี้ ส.ส.ทั้งหมด (500 ที่นั่ง) หากไม่นับช่วงก่อร่างสร้างตัวในแรกรุ่นบุกเบิก ผลเลือกตั้งรอบนี้เป็นสถิติการได้มาซึ่ง ส.ส.ที่แย่ที่สุด ตั้งแต่การสถาปนาพรรค เมื่อ 77 ปี ก่อนหน้านี้
ความล้มเหลวครั้งนี้ ยากจะรับได้ มีภาพสะท้อนออกมาอย่างชัดเจน ในเหตุการณ์การประกาศสายฟ้าแลบ ของ ‘อุ๊ดด้า’ จุรินทร์ ที่แจ้งความประสงค์ขอลาออกจากตำแหน่งหัวหน้าพรรคลงไลน์กรุ๊ป ปชป. ในค่ำคืนวันเลือกตั้งแบบทันทีทันใด โดยไม่รอแม้แต่คะแนนสะเด็ดน้ำที่ กกต.จะสรุปอย่างไม่เป็นทางการ

หากวิเคราะห์ตามหน้าเสื่อ ประชาธิปัตย์ภายใต้การนำของ ‘จุรินทร์’ เข้ามารับไม้ต่อจาก ‘อภิสิทธิ์’ บ้านสีฟ้าน้ำทะเลมักมีคลื่นลมที่แปรปรวน อลม่านเรื่องความไม่ลงรอยกันของบุคลากรภายใน ที่เป็นประเด็นสำคัญคือ กระแสข่าวต่อเนื่องก่อนการเลือกตั้ง ‘กรณีเลื่อยขาเก้าอี้หัวหน้าพรรคค’ และปรากฏการณ์ ‘เลือดไหลบ่า’ ส.ส.แห่ลาออกเทครัวย้ายซบพรรคการเมืองร่วมขั้ว ทั้ง ‘ภูมิใจไทย’ และ ‘รวมไทยสร้างชาติ’ จนสื่อมวลชนนิยามว่าเป็นปรากฏการณ์ ‘ตกปลาในบ่อเพื่อน’ โดยเฉพาะ รทสช. ที่มากกว่า 70 เปอร์เซ็นต์เป็นอดีตคน ปชป.หัวเห็ด
ถึงตรงนี้เท่าที่ซาวเสียงจากบุคคากรภายในพรรคก็ตอบเป็นเสียงเดียวกันว่า เลือกตั้งครั้งนี้เป็นบทเรียนราคาแพง พรรคต้องปรับตัวให้ทันสมัย โดยหลายคนคาดหวังว่า คนรุ่นใหม่จะเป็นตัวไขก๊อก อุดแผลเจิ่งนอง
ผู้เขียนยกหูโทรศัพท์หา ‘รศ.ดร.ยุทธพร อิสรชัย’ อาจารย์ประจำสาขาวิชารัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ถามไถ่ถึงปรากฏการณ์ขาลงของพลพรรค ปชป. ได้คำตอบมาว่า พรรคประชาธิปัตย์มีปัญหาเรื่องโครงสร้างพรรค ที่จะต้องมีการปรับปรุง - ปฏิรูปวัฒนธรรมองค์กรภายใน ซึ่งถือเป็นอุปสรรคใหญ่ โดยเฉพาะประเด็นความเก่าแก่ล้าหลังด้านแนวคิด
แม้จะอยู่บนสนามการเมืองมาอย่างยาวนาน แต่ก็ไม่ถึงขั้นเรียกตัวเองว่าเป็นสถาบันทางการเมืองได้ และตามข้อมูลหากสืบค้นกันประชาธิปัตย์ไม่ใช่พรรคการเมืองที่ขาด ‘คนรุ่นใหม่’ แต่กลับมีเพิ่มพูนขึ้นเรื่อยๆ อาทิ ‘อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ’ ที่เข้ามามีบทบาทในการเลือกตั้งใหญ่เมื่อปี 2535 แต่ท้ายที่สุดก็ต้องลาออก เพียงเพราะความเห็นไม่ตรงกับพรรคเรื่องการไม่สนับสนุน ‘พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา’ ในคราวเลือกตั้งปี 2562 สิ่งที่กล่าวมาเบื้องต้นเป็นภาพสะท้อนที่ชัดเจนถึงการไม่พยายามปรับตัวของพรรคที่แข็งกระด้าง
ถึงตรงนี้เท่าที่ซาวเสียงจากบุคคากรภายในพรรคก็ตอบเป็นเสียงเดียวกันว่า เลือกตั้งครั้งนี้เป็นบทเรียนราคาแพง พรรคต้องปรับตัวให้ทันสมัย โดยหลายคนคาดหวังว่า คนรุ่นใหม่จะเป็นตัวไขก๊อก อุดแผลเจิ่งนอง
ผู้เขียนยกหูโทรศัพท์หา ‘รศ.ดร.ยุทธพร อิสรชัย’ อาจารย์ประจำสาขาวิชารัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ถามไถ่ถึงปรากฏการณ์ขาลงของพลพรรค ปชป. ได้คำตอบมาว่า พรรคประชาธิปัตย์มีปัญหาเรื่องโครงสร้างพรรค ที่จะต้องมีการปรับปรุง - ปฏิรูปวัฒนธรรมองค์กรภายใน ซึ่งถือเป็นอุปสรรคใหญ่ โดยเฉพาะประเด็นความเก่าแก่ล้าหลังด้านแนวคิด
แม้จะอยู่บนสนามการเมืองมาอย่างยาวนาน แต่ก็ไม่ถึงขั้นเรียกตัวเองว่าเป็นสถาบันทางการเมืองได้ และตามข้อมูลหากสืบค้นกันประชาธิปัตย์ไม่ใช่พรรคการเมืองที่ขาด ‘คนรุ่นใหม่’ แต่กลับมีเพิ่มพูนขึ้นเรื่อยๆ อาทิ ‘อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ’ ที่เข้ามามีบทบาทในการเลือกตั้งใหญ่เมื่อปี 2535 แต่ท้ายที่สุดก็ต้องลาออก เพียงเพราะความเห็นไม่ตรงกับพรรคเรื่องการไม่สนับสนุน ‘พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา’ ในคราวเลือกตั้งปี 2562 สิ่งที่กล่าวมาเบื้องต้นเป็นภาพสะท้อนที่ชัดเจนถึงการไม่พยายามปรับตัวของพรรคที่แข็งกระด้าง

“ส่วนตัวผมไม่คิดว่าประชาธิปัตย์เป็นสถาบันทางการเมือง เพราะสถาบันทางการเมืองต้องมีความยึดโยงกับประชาชนมากกว่านี้ แต่เป็นเพียงพรรคการเมืองที่อยู่นาน และพออยู่มานานก็เกิดวัฒนธรรมเก่าๆ อันที่จริงประชาธิปัตย์ไม่เคยขาดคนรุ่นใหม่ แต่มีมาโดยตลอด แต่คนรุ่นใหม่เหล่านี้ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงอะไรเก่าๆ ได้ นี่คือปัญหาใหญ่ที่ต้องให้พรรคขบคิด อย่างไอติม - พริษฐ์ ก็เคยอยู่แต่ทำอะไรไม่ได้ก็ย้ายสังกัดไปอยู่พรรคที่ทันสมัยกว่าอย่างพรรคก้าวไกล วันนี้แลดูเติบโตและเจิดจรัสกว่าที่ผ่านมาเสียอีก”
เมื่อถามว่า หากประชาธิปัตย์ได้คนรุ่นใหม่นั่งแท่นบอร์ดบริหาร หรือคุมบังเหียนในฐานะหัวหน้าพรรค จะสามารถสร้างความเปลี่ยนแปลงได้หรือไม่ นักรัฐศาสตร์มหาวิทยาลัยสุโขทัยฯ ให้ความเห็นว่า ไม่ใช่การแก้ปัญหาที่ตรงจุด เพราะตอนนี้ประชาธิปัตย์ ก็มีขุมกำลังคนรุ่นใหม่หลายคนไม่ว่าจะเป็น ‘พี่เอ้’ สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ และ ‘มาดามเดียร์’ วทันยา บุนนาค แต่คนหนุ่มสาวเหล่านี้ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงความเป็นประชาธิปัตย์เดิมได้ เพราะวัฒนธรรมที่ไม่ไปไหนของพรรค ดังนั้นต้องรื้อระบบเก่าโบร่ำโบราณและแนวคิดล้าสมัยออกไปให้หมด และปรับตัวให้ทันกระแสสายธารโลกยุคใหม่
เมื่อถามว่า หากประชาธิปัตย์ได้คนรุ่นใหม่นั่งแท่นบอร์ดบริหาร หรือคุมบังเหียนในฐานะหัวหน้าพรรค จะสามารถสร้างความเปลี่ยนแปลงได้หรือไม่ นักรัฐศาสตร์มหาวิทยาลัยสุโขทัยฯ ให้ความเห็นว่า ไม่ใช่การแก้ปัญหาที่ตรงจุด เพราะตอนนี้ประชาธิปัตย์ ก็มีขุมกำลังคนรุ่นใหม่หลายคนไม่ว่าจะเป็น ‘พี่เอ้’ สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ และ ‘มาดามเดียร์’ วทันยา บุนนาค แต่คนหนุ่มสาวเหล่านี้ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงความเป็นประชาธิปัตย์เดิมได้ เพราะวัฒนธรรมที่ไม่ไปไหนของพรรค ดังนั้นต้องรื้อระบบเก่าโบร่ำโบราณและแนวคิดล้าสมัยออกไปให้หมด และปรับตัวให้ทันกระแสสายธารโลกยุคใหม่

ท้ายที่สุด อย่างที่กล่าวไว้แต่เริ่ม แม้จะคุณจะไม่ใช่แฟนคลับตัวยงของ ปชป. แต่หากติดตามข่าวสารมาโดยตลอด คงไม่คิดว่าพรรคเก่าแก่จะถึงคราวหม่นหมองอับแสง มิต่างอะไรกับดวงอาทิตย์ที่ค่อยๆ ลาลับอัสดงตกขอบฟ้า ลดบทบาทสำคัญทางการเมืองที่คงอยู่มาตลอด 7 ทศวรรษ
หากไม่ปรับตัว มิช้าก็เร็วคงเลือนหาย เหลือไว้เป็นแค่ตำนานบทหนึ่งของหน้าประวัติศาสตร์การเมืองไทย
ตกขอบท้องนภานิรันดร์กาล...
หากไม่ปรับตัว มิช้าก็เร็วคงเลือนหาย เหลือไว้เป็นแค่ตำนานบทหนึ่งของหน้าประวัติศาสตร์การเมืองไทย
ตกขอบท้องนภานิรันดร์กาล...
