






3 พ.ค. 66 บรรยากาศที่สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง เป็นไปอย่างคุกคัก เนื่องจากทาง กกต. ได้เชิญสื่อมวลชน ชมสาธิตจัดสถานที่ออกเสียงลงคะแนนเลือกตั้ง รวมถึงให้ประชาชน ได้รับทราบขั่นติน เนื่องจากการจัดที่เลือกตั้งมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง ทั้งเพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกในการลงคะแนนแก่ผู้มาใช้สิทธิออกเสียงเลือกตั้ง ตลอดจนเป็นการป้องกันปัญหาที่อาจเกิดขึ้นจากการปฏิบัติหน้าที่ของกรรมการประจำหน่วยเลือกตั้ง นำโดย ‘แสวง บุญมี’ เลขาธิการ กกต.
โดยในการสาธิตดังกล่าว ‘สำราญ ตันพานิช’ ผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาการเมืองและการเลือกตั้ง ได้เป็นผู้บรรยายถึงกระบวนการจัดสถานที่ออกเสียงลงคะแนนเลือกตั้ง พร้อมทั้งสาธิตการออกเสียงลงคะแนนเพื่อความโปร่งใสในกระบวนการจัดการเลือกตั้ง ซึ่งองค์ประกอบในการสาธิตการจัดการเลือกตั้งครั้งนี้ประกอบด้วย
สำหรับคณะกรรมการประจำหน่วยเลือกตั้งจะมีจำนวน 9 คน ซึ่งต้องมี ‘เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย’ ประจำที่เลือกตั้ง จำนวนอย่างน้อยที่ 1 คน ‘ผู้แทนพรรคการเมือง’ และป้ายปิดประกาศหน้าหน่วยเลือกตั้ง ในส่วนคูหาออกเสียงลงคะแนนอย่างน้อย 3 คูหา วางห่างกันอย่างน้อยครึ่งเมตร และควรวางห่างจากฝาผนัง หรือฝาทึบ ไม่น้อยกว่า 1 เมตร และระหว่างคูหาให้ใช้เชือกกั้นเพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้มีการเดินอ้อมหลังผู้อื่น
กรณีหีบบัตรเลือกตั้ง 2 ใบ ที่หีบใส่บัตรแบบบัญชีรายชื่อ และหีบใส่บัตรแบบแบ่งเขต พร้อมด้วยป้ายไวนิลแนะนำตัวผู้สมัครแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง และแบบบัญชีรายชื่อ ติดหน้าหน่วยเลือกตั้ง และติดภายในสถานที่ลงคะแนนออกเสียงเลือกตั้งที่เห็นเด่นชัด
สำหรับบัตรลงคะแนนของคนพิการจะมีการเจาะรูช่องสำหรับลงคะแนน และตรงกับบัตรจริงทุกประการ ซึ่งการเจาะรูนั้นจะมีอักษรสำหรับผู้พิการทางสายตา ที่จะใช้มือสัมผัสได้ว่าแต่ละช่องนั้นเป็นช่องหมายเลขอะไร ก่อนลงคะแนน ในส่วนผู้พิการทางสายตาที่ไม่สามารถเขียนหนังสือ ในกรณีต้องมีการเขียนชื่อยืนยันตัวตน ก็จะใช้ลักษณะการพิมพ์ลายนิ้วมือแทน
กรณีเป็นผู้พิการ ทุพพลภาพ ที่ไม่สามารถใช้แขนได้ เข้าข่ายจำเป็นต้องให้บุคคลที่มาด้วย และไว้วางใจ เพื่อร้องขอให้ใช้สิทธิ์ลงคะแนนแทน หรือ กาบัตรแทน แต่เวลาพิมพ์นิ้วมือ ในใบคำร้อง ต้องให้ผู้พิการใช้การพิมพ์ลายนิ้มมือของตัวเองเท่านั้น และผู้ที่มาช่วยผู้ใช้สิทธิ์ที่พิการนั้นก็ต้องมีการจับมือผู้ลวคะแนน ให้หย่อนลงหีบบัตรที่ถูกต้อง
ทั้งนี้ เลขาธิการ กกต. ได้เน้นย้ำให้กรรมการประจำหน่วยเลือกตั้งเฝ้าระวังผู้ใช้สิทธิเลือกตั้งที่อาจจะกระทำผิดกฎหมายในคูหาเลือกตั้ง จึงได้มีการติดป้ายข้อห้ามกระทำไว้ในคูหา เช่น การห้ามถ่ายรูปบัตรที่กากบาทลงคะแนนไปแล้ว ซึ่งหากมีการกระทำเกิดขึ้นก็จะทำให้การเลือกตั้งไม่เป็นไปโดยลับ ถือเป็นความผิดตามกฎหมาย หรือกรณีการฉีกทำลายบัตรเลือกตั้งก็เป็นความผิดตามกฎหมายเช่นกัน
ส่วนข้อกังวลที่ว่า ผู้ใช้สิทธิไม่สามารถจำหมายเลขผู้สมัครได้ กรรมการประจำหน่วยจะปิดป้ายไวนิลหมายเลข พร้อมภาพผู้สมัครติดตั้งไว้ในที่เลือกตั้งให้เด่นชัดให้เป็นที่สังเกตก่อนทำการลงคะแนน จึงเชื่อมั่นว่าการจัดการเลือกตั้งในครั้งนี้ จะทำให้การเลือกตั้งเป็นไปด้วยความสุจริต โปร่งใส เที่ยงธรรมและชอบด้วยกฎหมาย บนความร่วมมือของทุกฝ่าย
โดยเลขาธิการ กกต. ได้กล่าวภายหลังการสาธิตว่า หากจำผู้สมัครไม่ได้ หน้าหน่วยเลือกตั้งมีข้อมูลของผู้สมัครติดไว้ มั่นใจว่าจะไม่มีการกาผิดเจตจำนงของประชาชน บัตรทั้ง 2 ใบมีความแตกต่างกันอย่างชัดเจน ซึ่งจะลดจำนวนบัตรเสียในการกา ตนขอเชิญชวนให้ทุกคนไปเลือกตั้ง ทั้งคนที่ลงทะเบียนเลือกตั้งล่วงหน้าวันที่ 7 พ.ค. ไปใช้สิทธิ์ ย้ำว่าต้องไปในวันที่ 7 เท่านั้น ไม่สามารถไปวันที่ 14 ได้ นอกจากไปใช้สิทธิ์ไม่ได้ให้แจ้งเหตุก่อนวันเลือกตั้งและหลังเลือกตั้ง 7 วัน
ส่วนการกู้รายชื่อผู้ลงทะเบียนเลือกตั้งล่วงหน้า ซึ่งช่วงนั้นระบบล่ม แสวง กล่าวว่า สำนักทะเบียนแจ้งว่าประชาชนสามารถตรวจสอบจากแอปฯ สมาร์ทโหวตได้ แต่หากชื่อของใครยังอยู่ในระบบหรือตกหล่น ยอมรับว่ายังไม่ทราบจำนวน แต่ก็ยังสามารถไปใช้สิทธิ์วันที่ 14 ได้
กรณีการหาเสียงในวันเลือกตั้งล่วงหน้า แสวงกล่าวว่า พรรคการเมืองยังสามารถหาเสียงได้ปกติ แต่อย่ารบกวนสถานที่ที่มีการจัดเลือกตั้ง ส่วนโพลต้องทำโดยสุจริต หากไม่สุจริตถือว่ามีความผิด ซึ่งก่อนวันเลือกตั้ง 7 วันไม่ให้มีการเปิดเผยผลโพล
โดยในการสาธิตดังกล่าว ‘สำราญ ตันพานิช’ ผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาการเมืองและการเลือกตั้ง ได้เป็นผู้บรรยายถึงกระบวนการจัดสถานที่ออกเสียงลงคะแนนเลือกตั้ง พร้อมทั้งสาธิตการออกเสียงลงคะแนนเพื่อความโปร่งใสในกระบวนการจัดการเลือกตั้ง ซึ่งองค์ประกอบในการสาธิตการจัดการเลือกตั้งครั้งนี้ประกอบด้วย
สำหรับคณะกรรมการประจำหน่วยเลือกตั้งจะมีจำนวน 9 คน ซึ่งต้องมี ‘เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย’ ประจำที่เลือกตั้ง จำนวนอย่างน้อยที่ 1 คน ‘ผู้แทนพรรคการเมือง’ และป้ายปิดประกาศหน้าหน่วยเลือกตั้ง ในส่วนคูหาออกเสียงลงคะแนนอย่างน้อย 3 คูหา วางห่างกันอย่างน้อยครึ่งเมตร และควรวางห่างจากฝาผนัง หรือฝาทึบ ไม่น้อยกว่า 1 เมตร และระหว่างคูหาให้ใช้เชือกกั้นเพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้มีการเดินอ้อมหลังผู้อื่น
กรณีหีบบัตรเลือกตั้ง 2 ใบ ที่หีบใส่บัตรแบบบัญชีรายชื่อ และหีบใส่บัตรแบบแบ่งเขต พร้อมด้วยป้ายไวนิลแนะนำตัวผู้สมัครแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง และแบบบัญชีรายชื่อ ติดหน้าหน่วยเลือกตั้ง และติดภายในสถานที่ลงคะแนนออกเสียงเลือกตั้งที่เห็นเด่นชัด
สำหรับบัตรลงคะแนนของคนพิการจะมีการเจาะรูช่องสำหรับลงคะแนน และตรงกับบัตรจริงทุกประการ ซึ่งการเจาะรูนั้นจะมีอักษรสำหรับผู้พิการทางสายตา ที่จะใช้มือสัมผัสได้ว่าแต่ละช่องนั้นเป็นช่องหมายเลขอะไร ก่อนลงคะแนน ในส่วนผู้พิการทางสายตาที่ไม่สามารถเขียนหนังสือ ในกรณีต้องมีการเขียนชื่อยืนยันตัวตน ก็จะใช้ลักษณะการพิมพ์ลายนิ้วมือแทน
กรณีเป็นผู้พิการ ทุพพลภาพ ที่ไม่สามารถใช้แขนได้ เข้าข่ายจำเป็นต้องให้บุคคลที่มาด้วย และไว้วางใจ เพื่อร้องขอให้ใช้สิทธิ์ลงคะแนนแทน หรือ กาบัตรแทน แต่เวลาพิมพ์นิ้วมือ ในใบคำร้อง ต้องให้ผู้พิการใช้การพิมพ์ลายนิ้มมือของตัวเองเท่านั้น และผู้ที่มาช่วยผู้ใช้สิทธิ์ที่พิการนั้นก็ต้องมีการจับมือผู้ลวคะแนน ให้หย่อนลงหีบบัตรที่ถูกต้อง
ทั้งนี้ เลขาธิการ กกต. ได้เน้นย้ำให้กรรมการประจำหน่วยเลือกตั้งเฝ้าระวังผู้ใช้สิทธิเลือกตั้งที่อาจจะกระทำผิดกฎหมายในคูหาเลือกตั้ง จึงได้มีการติดป้ายข้อห้ามกระทำไว้ในคูหา เช่น การห้ามถ่ายรูปบัตรที่กากบาทลงคะแนนไปแล้ว ซึ่งหากมีการกระทำเกิดขึ้นก็จะทำให้การเลือกตั้งไม่เป็นไปโดยลับ ถือเป็นความผิดตามกฎหมาย หรือกรณีการฉีกทำลายบัตรเลือกตั้งก็เป็นความผิดตามกฎหมายเช่นกัน
ส่วนข้อกังวลที่ว่า ผู้ใช้สิทธิไม่สามารถจำหมายเลขผู้สมัครได้ กรรมการประจำหน่วยจะปิดป้ายไวนิลหมายเลข พร้อมภาพผู้สมัครติดตั้งไว้ในที่เลือกตั้งให้เด่นชัดให้เป็นที่สังเกตก่อนทำการลงคะแนน จึงเชื่อมั่นว่าการจัดการเลือกตั้งในครั้งนี้ จะทำให้การเลือกตั้งเป็นไปด้วยความสุจริต โปร่งใส เที่ยงธรรมและชอบด้วยกฎหมาย บนความร่วมมือของทุกฝ่าย
โดยเลขาธิการ กกต. ได้กล่าวภายหลังการสาธิตว่า หากจำผู้สมัครไม่ได้ หน้าหน่วยเลือกตั้งมีข้อมูลของผู้สมัครติดไว้ มั่นใจว่าจะไม่มีการกาผิดเจตจำนงของประชาชน บัตรทั้ง 2 ใบมีความแตกต่างกันอย่างชัดเจน ซึ่งจะลดจำนวนบัตรเสียในการกา ตนขอเชิญชวนให้ทุกคนไปเลือกตั้ง ทั้งคนที่ลงทะเบียนเลือกตั้งล่วงหน้าวันที่ 7 พ.ค. ไปใช้สิทธิ์ ย้ำว่าต้องไปในวันที่ 7 เท่านั้น ไม่สามารถไปวันที่ 14 ได้ นอกจากไปใช้สิทธิ์ไม่ได้ให้แจ้งเหตุก่อนวันเลือกตั้งและหลังเลือกตั้ง 7 วัน
ส่วนการกู้รายชื่อผู้ลงทะเบียนเลือกตั้งล่วงหน้า ซึ่งช่วงนั้นระบบล่ม แสวง กล่าวว่า สำนักทะเบียนแจ้งว่าประชาชนสามารถตรวจสอบจากแอปฯ สมาร์ทโหวตได้ แต่หากชื่อของใครยังอยู่ในระบบหรือตกหล่น ยอมรับว่ายังไม่ทราบจำนวน แต่ก็ยังสามารถไปใช้สิทธิ์วันที่ 14 ได้
กรณีการหาเสียงในวันเลือกตั้งล่วงหน้า แสวงกล่าวว่า พรรคการเมืองยังสามารถหาเสียงได้ปกติ แต่อย่ารบกวนสถานที่ที่มีการจัดเลือกตั้ง ส่วนโพลต้องทำโดยสุจริต หากไม่สุจริตถือว่ามีความผิด ซึ่งก่อนวันเลือกตั้ง 7 วันไม่ให้มีการเปิดเผยผลโพล