








พรรคอาทิตย์ใหม่ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จัดกิจกรรม ‘ม็อบ 21 กรกฎา 66 KU ไม่เอา สว.’ โดยใช้ชื่องานว่า “ร่วมขจัด สว. ใจทราม เพราะประชาชนคือเจ้าของประเทศ เกษตรศาสตร์คือภาษีประชาชน” ที่หน้าหอประชุมใหญ่ มหาวิทยาลัยเกษตร (บางเขน)
หนึ่งในกิจกรรม เวลา 18.00 น. ปลดธงชาติออกจากเสาธง ม.เกษตรศาสตร์ ก่อนเปลี่ยนเป็นธงสีดำ ที่เขียนข้อความ Respect My Vote เชิญขึ้นสู่ยอดเสา โดยผู้ชุมนุมร่วมชู 3 นิ้ว และป้ายข้อความประณาม สว. พร้อมทั้งป้ายข้อความขนาดใหญ่ เขียนข้อความว่า “KU สั่งให้มึงลาออก” เพื่อส่งสารถึง สว.
ทั้งนี้ ‘มายด์’ภัสราวลี ธนกิจวิบูลย์ผล กล่าวปราศรัยตอนหนึ่งว่า การชุมนุมก่อนตัวขึ้นอีกครั้งในรั้วมหาวิทยาลัย ภาพเหล่านี้เราเห็นล่าสุดเมื่อปี 2563 ในการออกมาสะท้อนปัญหาต่างๆ ช่วง 3-4 ปีที่ผ่านมา ใครบอกว่าม็อบซาลงนั้นไม่ใช่ แต่พวกเรานั้นรอเวลา ที่ผ่านมาเราทำงานกับความคิดตั้งแต่ปี 2563 ว่าอำนาจที่แม้จริงเป็นของประชาชน
ดังนั้นเราจึงต้องเป็นผู้กำหนดทิศทาง เรามารวมตัวกันจากความคับแค้นใจจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในสภาฯ ผลพวงจากรัฐประหารในรูปแบบ รธน. 2560 รวมทั้งคับแค้นใจจากการเลือกตั้งที่ผ่านมา แต่ต้องมาติดล็อก สว. 250 คน รวมทั้งการตกลงของนักการเมืองที่ไม่ลงตัว ที่กลัวการเปลี่ยนแปลงหรือการปฏิรูปต่างๆ ไม่ห่วงว่าประชาชนจะรู้สึกอย่างไร แล้วจะสงบได้อย่างไร ถ้ากระบวนการรัฐสภาฯ เป็นไปตามกติสากล ประชาชนก็ไม่ต้องลำบากออกมา การออกมาของพวกเราก็เพื่อปกป้องผลการเลือกตั้งที่เราเลือกมา เพราะการออกมาไม่ได้มีเพียงคนรุ่นใหม่ ไม่ได้ออกมาปกป้องพรรคก้าวไกล หรือ พิธา ลิ้มเจริญรัตน์
ขณะที่ อานนท์ นำภา หนึ่งในแกนนำกลุ่มราษฎร กล่าวปราศรัยตอนหนึ่งว่า การจัดการชุมนุมที่แห่งนี้ เมื่อปี 2563 เป็นจุดเริ่มต้นของการลงถนนนับหมื่นนับแสนที่ ถ.ราชดำเนิน ทุกเวทีที่ตนขึ้นปราศรัยเราต่อสู้กับอะไร ต่อสู้กับใคร และต่อสู้อย่างไร เพื่อนำไปสู่การลงถนนและสู้จนกว่าจะได้รับชัยชนะ พร้อมกล่าวถึงการรวมเสียงตั้งรัฐบาลว่า แม้ว่าพรรคก้าวไกลจะได้ไม่ถึง 250 เสียง แต่ถ้ารวมกับพรรคเพื่อไทยและพรรคอื่นได้ 312 เสียง เราจะสามารถออกกฎหมายที่ป้องกันการทำรัฐประหารและผลพวงจากทำรัฐประหารได้ และทุกการทำรัฐประหารได้สร้างอภิสิทธิ์ชนใหม่ขึ้นมา คือ สว. ที่ออกมาเสนอเงื่อนไขต่างๆ ในการตั้งรัฐบาล เรียกว่าแทรกแซงการเลือกตั้งของประชาชน
ดังนั้นเราจึงเรียกร้องไม่ให้ 8 พรรคแตกแถว ทำให้พรรคขั้วตรงข้ามต้องบั่นทอนให้แตกแถว เพื่อรักษาอำนาจพวกเขาเอาไว้ เรื่องมาตรา 112 จึงเป็นแค่ข้ออ้าง มี สส.บางพรรค แอบอิงฝ่ายประชาชน กลับออกมาพูดว่าพรรคก้าวไกลต้องเสียสละ จะให้เสียสละอะไร เพราะชนะอันดับที่ 1 ที่ผ่านมาพวกเขานำเสนอนโยบายที่แหลมคม ก็คือการเสียสละแล้ว ซึ่งในวันนี้ไม่สามารถลดเพดานแล้ว ถ้าลดเพนดานก็เท่ากับเป็นการกดตัวเราลงไป ถ้าลดเพดานอีกก็เป็นการทรยศต่อประชาชนที่เลือกเข้ามา
หนึ่งในกิจกรรม เวลา 18.00 น. ปลดธงชาติออกจากเสาธง ม.เกษตรศาสตร์ ก่อนเปลี่ยนเป็นธงสีดำ ที่เขียนข้อความ Respect My Vote เชิญขึ้นสู่ยอดเสา โดยผู้ชุมนุมร่วมชู 3 นิ้ว และป้ายข้อความประณาม สว. พร้อมทั้งป้ายข้อความขนาดใหญ่ เขียนข้อความว่า “KU สั่งให้มึงลาออก” เพื่อส่งสารถึง สว.
ทั้งนี้ ‘มายด์’ภัสราวลี ธนกิจวิบูลย์ผล กล่าวปราศรัยตอนหนึ่งว่า การชุมนุมก่อนตัวขึ้นอีกครั้งในรั้วมหาวิทยาลัย ภาพเหล่านี้เราเห็นล่าสุดเมื่อปี 2563 ในการออกมาสะท้อนปัญหาต่างๆ ช่วง 3-4 ปีที่ผ่านมา ใครบอกว่าม็อบซาลงนั้นไม่ใช่ แต่พวกเรานั้นรอเวลา ที่ผ่านมาเราทำงานกับความคิดตั้งแต่ปี 2563 ว่าอำนาจที่แม้จริงเป็นของประชาชน
ดังนั้นเราจึงต้องเป็นผู้กำหนดทิศทาง เรามารวมตัวกันจากความคับแค้นใจจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในสภาฯ ผลพวงจากรัฐประหารในรูปแบบ รธน. 2560 รวมทั้งคับแค้นใจจากการเลือกตั้งที่ผ่านมา แต่ต้องมาติดล็อก สว. 250 คน รวมทั้งการตกลงของนักการเมืองที่ไม่ลงตัว ที่กลัวการเปลี่ยนแปลงหรือการปฏิรูปต่างๆ ไม่ห่วงว่าประชาชนจะรู้สึกอย่างไร แล้วจะสงบได้อย่างไร ถ้ากระบวนการรัฐสภาฯ เป็นไปตามกติสากล ประชาชนก็ไม่ต้องลำบากออกมา การออกมาของพวกเราก็เพื่อปกป้องผลการเลือกตั้งที่เราเลือกมา เพราะการออกมาไม่ได้มีเพียงคนรุ่นใหม่ ไม่ได้ออกมาปกป้องพรรคก้าวไกล หรือ พิธา ลิ้มเจริญรัตน์
ขณะที่ อานนท์ นำภา หนึ่งในแกนนำกลุ่มราษฎร กล่าวปราศรัยตอนหนึ่งว่า การจัดการชุมนุมที่แห่งนี้ เมื่อปี 2563 เป็นจุดเริ่มต้นของการลงถนนนับหมื่นนับแสนที่ ถ.ราชดำเนิน ทุกเวทีที่ตนขึ้นปราศรัยเราต่อสู้กับอะไร ต่อสู้กับใคร และต่อสู้อย่างไร เพื่อนำไปสู่การลงถนนและสู้จนกว่าจะได้รับชัยชนะ พร้อมกล่าวถึงการรวมเสียงตั้งรัฐบาลว่า แม้ว่าพรรคก้าวไกลจะได้ไม่ถึง 250 เสียง แต่ถ้ารวมกับพรรคเพื่อไทยและพรรคอื่นได้ 312 เสียง เราจะสามารถออกกฎหมายที่ป้องกันการทำรัฐประหารและผลพวงจากทำรัฐประหารได้ และทุกการทำรัฐประหารได้สร้างอภิสิทธิ์ชนใหม่ขึ้นมา คือ สว. ที่ออกมาเสนอเงื่อนไขต่างๆ ในการตั้งรัฐบาล เรียกว่าแทรกแซงการเลือกตั้งของประชาชน
ดังนั้นเราจึงเรียกร้องไม่ให้ 8 พรรคแตกแถว ทำให้พรรคขั้วตรงข้ามต้องบั่นทอนให้แตกแถว เพื่อรักษาอำนาจพวกเขาเอาไว้ เรื่องมาตรา 112 จึงเป็นแค่ข้ออ้าง มี สส.บางพรรค แอบอิงฝ่ายประชาชน กลับออกมาพูดว่าพรรคก้าวไกลต้องเสียสละ จะให้เสียสละอะไร เพราะชนะอันดับที่ 1 ที่ผ่านมาพวกเขานำเสนอนโยบายที่แหลมคม ก็คือการเสียสละแล้ว ซึ่งในวันนี้ไม่สามารถลดเพดานแล้ว ถ้าลดเพนดานก็เท่ากับเป็นการกดตัวเราลงไป ถ้าลดเพดานอีกก็เป็นการทรยศต่อประชาชนที่เลือกเข้ามา