






ศาลฎีกาอ่านคำพิพากษาที่คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) โจทก์ และกนกวรรณ วิลาวัลย์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ผู้คัดค้าน กรณีฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานจริยธรรมอย่างร้ายแรง เรื่องรุกป่าอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ จ.ปราจีนบุรี โดย กนกวรรณ ไม่ได้เดินทางมาฟังคำพิพากษา แต่ส่งทนายมาแทน
โดยศาลฎีกา วินิจฉัยว่าในข้อแรก การกระทำอันเป็นการขัดกันระหว่างผลประโยชน์ส่วนตนและประโยชน์ส่วนรวมนั้น จะต้องมีสถานการณ์หรือการกระทำที่บุคคลในองค์กรหรือหน่วยงานนั้น มีประโยชน์ส่วนตน อันอาจกระทบต่อการวินิจฉัยสั่งการหรือการใช้ดูแลพินิจในการปฏิบัติงานตาม อำนาจหน้าที่ ในตำแหน่งของบุคคลนั้น โดยนางกนกวรรณไม่มีอำนาจหน้าที่โดยตรงในการกำกับดูแลควบคุมหรือตรวจสอบการปฏิบัติงานของกรมที่ดิน กรมป่าไม้ และกรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธ์ุพืช จึงฟังไม่ได้ว่าการกระทำของนางกนกวรรณเป็นกระทำการอันเป็นการขัดกันระหว่างประโยชน์ส่วนตนและประโยชน์ส่วนรวม
ศาลฎีกา วินิจฉัยปัญหาต่อไปว่า กนกวรรณ อ้างข้อความต่อเจ้าหน้าที่สอบสวนสิทธิว่า กนกวรรณ ได้ที่ดินมาโดยการซื้อมาจาก ทิว มะลิซ้อน เมื่อปี 2533 และนางกนกวรรณทำประโยชน์ในที่ดินโดยการทำสวนมะม่วง กระท้อน และพืชตามฤดูกาลเต็มทั้งแปลง หลังจากนั้น สุนทร ให้ กนกวรรณ เข้าไปครอบครองทำประโยชน์ ซึ่งเท่ากับ กนกวรรณ ยอมรับว่า ทิว มะลิซ้อน ไม่มีตัวตนอยู่จริง กนกวรรณ รู้อยู่แต่แรกแล้วว่าเจ้าของที่ดินคือ ทิว มะลิทอง และ ทิว มะลิทองขายที่ดินให้สุนทร ไม่ใช่ กนกวรรณ
ทั้งนี้ กนกวรรณ ต้องแจ้งข้อมูลต่อเจ้าหน้าที่ให้ตรงต่อความจริงว่า กนกวรรณไม่ได้เป็นผู้ซื้อที่ดินมาด้วยตนเอง แต่สุนทร เป็นผู้ซื้อที่ดินขณะเดียวกัน กนกวรรณ ให้การว่าตนเองมีคุณสมบัติ ในการครอบครองและออกโฉนดที่ดินต่อเจ้าหน้าที่สอบสวนสิทธิ และได้เข้าทำประโยชน์เรื่อยมา และจากการตรวจสอบภาพถ่ายทางอากาศ รวมถึงการลงพื้นที่จริง พบว่าไม่ได้มีการทำประโยชน์ตามที่ กนกวรรณกล่าวอ้าง แต่สภาพที่ดินเป็นป่ารกทึบ มีหินโผล่ ไม่มีถนนตัดผ่าน สภาพดินไม่เหมาะกับการทำเกษตร เราเป็นหินกรวดและดินลูกรังผสมบางส่วน
โดยศาลฯ ได้ทำการสืบพยาน และรวบรวมหลักฐานมาประกอบการพิจารณา พบว่า กนกวรรณ ให้ถ้อยคำอันเป็นเท็จต่อเจ้าหน้าที่ ผู้ตรวจสอบสวนสิทธิ จึงถือเป็นบุคคลที่ไม่มีคุณสมบัติที่จะออกโฉนดที่ดินได้ตามกฏหมาย ทำให้การออกโฉนดที่ดิน ฉบับดังกล่าว ของกรมที่ดิน ไม่ชอบด้วยกฏหมาย เป็นการแสวงหาผลประโยชน์ โดยมิชอบส่งผลต่อภาพลักษณ์ของความเป็นรัฐมนตรีและความน่าเชื่อถือ แม้จะไม่ใช่ความรับผิดชอบของตนเองโดยตรงก็ตาม จึงก่อให้เกิดความเสียหายร้ายแรง ตามมาตรฐานจริยธรรม
ศาลฯ จึงพิพากษาว่านางกนกวรรณ ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรมอย่างร้ายแรง ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
ให้ กนกวรรณ พ้นจากตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ นับตั้งแต่วันที่ 26 สิงหาคม 2565 อันเป็นวันที่ศาลฎีกามีคำสั่งให้หยุดปฎิบัติหน้าที่, เพิกถอนสิทธิสมัครรับเลือกตั้งตลอดไป, ไม่มีสิทธิดำรงตำแหน่งทางการเมืองใดๆ ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง 10 ปี นับตั้งแต่วันที่ศาลฎีกามีคำพิพากษา
ทั้งนี้ กนกวรรณ ถือเป็นบุคคลที่ 3 ต่อจาก ปารีณา ไกรคุปต์ และ อนุรักษ์ ตั้งปณิธานนท์ ที่ศาลฎีกาสั่งตัดสินตัดสิทธิดำรงตำแหน่งทางการเมืองตลอดชีวิต
โดยศาลฎีกา วินิจฉัยว่าในข้อแรก การกระทำอันเป็นการขัดกันระหว่างผลประโยชน์ส่วนตนและประโยชน์ส่วนรวมนั้น จะต้องมีสถานการณ์หรือการกระทำที่บุคคลในองค์กรหรือหน่วยงานนั้น มีประโยชน์ส่วนตน อันอาจกระทบต่อการวินิจฉัยสั่งการหรือการใช้ดูแลพินิจในการปฏิบัติงานตาม อำนาจหน้าที่ ในตำแหน่งของบุคคลนั้น โดยนางกนกวรรณไม่มีอำนาจหน้าที่โดยตรงในการกำกับดูแลควบคุมหรือตรวจสอบการปฏิบัติงานของกรมที่ดิน กรมป่าไม้ และกรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธ์ุพืช จึงฟังไม่ได้ว่าการกระทำของนางกนกวรรณเป็นกระทำการอันเป็นการขัดกันระหว่างประโยชน์ส่วนตนและประโยชน์ส่วนรวม
ศาลฎีกา วินิจฉัยปัญหาต่อไปว่า กนกวรรณ อ้างข้อความต่อเจ้าหน้าที่สอบสวนสิทธิว่า กนกวรรณ ได้ที่ดินมาโดยการซื้อมาจาก ทิว มะลิซ้อน เมื่อปี 2533 และนางกนกวรรณทำประโยชน์ในที่ดินโดยการทำสวนมะม่วง กระท้อน และพืชตามฤดูกาลเต็มทั้งแปลง หลังจากนั้น สุนทร ให้ กนกวรรณ เข้าไปครอบครองทำประโยชน์ ซึ่งเท่ากับ กนกวรรณ ยอมรับว่า ทิว มะลิซ้อน ไม่มีตัวตนอยู่จริง กนกวรรณ รู้อยู่แต่แรกแล้วว่าเจ้าของที่ดินคือ ทิว มะลิทอง และ ทิว มะลิทองขายที่ดินให้สุนทร ไม่ใช่ กนกวรรณ
ทั้งนี้ กนกวรรณ ต้องแจ้งข้อมูลต่อเจ้าหน้าที่ให้ตรงต่อความจริงว่า กนกวรรณไม่ได้เป็นผู้ซื้อที่ดินมาด้วยตนเอง แต่สุนทร เป็นผู้ซื้อที่ดินขณะเดียวกัน กนกวรรณ ให้การว่าตนเองมีคุณสมบัติ ในการครอบครองและออกโฉนดที่ดินต่อเจ้าหน้าที่สอบสวนสิทธิ และได้เข้าทำประโยชน์เรื่อยมา และจากการตรวจสอบภาพถ่ายทางอากาศ รวมถึงการลงพื้นที่จริง พบว่าไม่ได้มีการทำประโยชน์ตามที่ กนกวรรณกล่าวอ้าง แต่สภาพที่ดินเป็นป่ารกทึบ มีหินโผล่ ไม่มีถนนตัดผ่าน สภาพดินไม่เหมาะกับการทำเกษตร เราเป็นหินกรวดและดินลูกรังผสมบางส่วน
โดยศาลฯ ได้ทำการสืบพยาน และรวบรวมหลักฐานมาประกอบการพิจารณา พบว่า กนกวรรณ ให้ถ้อยคำอันเป็นเท็จต่อเจ้าหน้าที่ ผู้ตรวจสอบสวนสิทธิ จึงถือเป็นบุคคลที่ไม่มีคุณสมบัติที่จะออกโฉนดที่ดินได้ตามกฏหมาย ทำให้การออกโฉนดที่ดิน ฉบับดังกล่าว ของกรมที่ดิน ไม่ชอบด้วยกฏหมาย เป็นการแสวงหาผลประโยชน์ โดยมิชอบส่งผลต่อภาพลักษณ์ของความเป็นรัฐมนตรีและความน่าเชื่อถือ แม้จะไม่ใช่ความรับผิดชอบของตนเองโดยตรงก็ตาม จึงก่อให้เกิดความเสียหายร้ายแรง ตามมาตรฐานจริยธรรม
ศาลฯ จึงพิพากษาว่านางกนกวรรณ ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรมอย่างร้ายแรง ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
ให้ กนกวรรณ พ้นจากตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ นับตั้งแต่วันที่ 26 สิงหาคม 2565 อันเป็นวันที่ศาลฎีกามีคำสั่งให้หยุดปฎิบัติหน้าที่, เพิกถอนสิทธิสมัครรับเลือกตั้งตลอดไป, ไม่มีสิทธิดำรงตำแหน่งทางการเมืองใดๆ ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง 10 ปี นับตั้งแต่วันที่ศาลฎีกามีคำพิพากษา
ทั้งนี้ กนกวรรณ ถือเป็นบุคคลที่ 3 ต่อจาก ปารีณา ไกรคุปต์ และ อนุรักษ์ ตั้งปณิธานนท์ ที่ศาลฎีกาสั่งตัดสินตัดสิทธิดำรงตำแหน่งทางการเมืองตลอดชีวิต