มัลลิกา บุญมีตระกูล มหาสุข อดีต ส.ส.บัญชีรายชื่อ และหนึ่งในผู้เสนอตัวชิงตำแหน่งหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ คนใหม่ เปิดเผยว่า กรณีที่ประชุมวิสามัญพรรคประชาธิปัตย์ ล่มนั้น เป็นเรื่องที่อยู่นอกเหนือแผน
“คณะกรรมการไม่ได้มีการวางแผนล่วงหน้าไว้ว่า จะมีญัตติเสนอก่อนหน้าการเข้าวาระ ซึ่งระหว่างที่มีการเสนอ 2 ญัตติ จะต้องมีการแสดงความคิดเห็นของสมาชิก ทำให้เสียเวลาไปในช่วงครึ่งเช้า ทำให้องค์ประชุมที่มาจากต่างจังหวัด ที่วางแผนเดินทางกลับ จึงได้กลับไปก่อนบางส่วน จึงทำให้องค์ประชุมไม่ครบ” มัลลิกา กล่าว
ส่วนเมื่อถามถึงกรณีที่มีสมาชิกพรรคหลายคนนั่งอยู่ภายนอก ไม่เข้าร่วมเป็นองค์ประชุม มองแล้วเป็นความขัดแย้ง 2 ขั้วหรือไม่นั้น มัลลิกา ตอบว่า “จะมองอย่างนั้นก็ได้ แต่ในขณะเดียวกัน ถ้าให้ความเป็นธรรม องค์ประชุมต่างจังหวัดจำนวนหนึ่งเขาจองตั๋วเครื่องบินไว้จริงๆ และไม่มีใครเดาได้ล่วงหน้าว่าจะมีการเสนอญัตติในช่วงเช้า ทั้งนี้ ใช่เวลานานเกินไป จึงต้องมีการเลื่อนการประชุมออกไป 30 วัน ตามข้อบังคับของพรรค แต่อย่างไรก็ตามจะต้องมีการเลือกหัวหน้าพรรค”
เมื่อถามว่าในห้องประชุมดุเดือดหรือไม่ เนื่องจากมีรายงานว่า มีการถามหา ‘2 สาธิต’ ที่ไม่ร่วมเป็นองค์ประชุม มัลลิกา ตอบว่า “ไม่หรอก พรรคประชาธิปัตย์เราเป็นเวทีเสรีประชาธิปไตยอย่างแท้จริง ฉะนั้น การแสดงความคิดเห็น รวมถึงการวิพากษ์วิจารณ์ ระหว่างการประชุมเป็นเรื่องปกติ”
ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมว่า สาเหตุที่การประชุมเพื่อเลือกหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ในช่วงบ่าย ต้องล่มไป เนื่องจากสมาชิกพรรคส่วนหนึ่งที่สนับสนุน อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อดีตหัวหน้าพรรคฯ แก้เกมโดยการไม่อยู่เป็นองค์ประชุม สืบเนื่องมาจากการที่ที่ประชุมมีมติยืนยันที่จะใช้น้ำหนักคะแนน 70:30 ตามข้อบังคับพรรค โดยสัดส่วนคะแนน 70 เปอร์เซ็นต์ จะขึ้นอยู่กับ 25 ส.ส. ส่วนน้ำหนักคะแนนอีก 30 เปอร์เซ็นต์ ขึ้นอยู่กับอดีต ส.ส., อดีตรัฐมนตรี, อดีตผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองอื่นๆ และอดีตหัวหน้พรรคฯ ประกอบกับ ส.ส.ปัจจุบัน ประมาณ 20 คน จากทั้งหมด 25 คน มีท่าทีที่จะสนับสนุน นราพัฒน์ แก้วทอง รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ที่ได้รับการสนับสนุนจากกลุ่ม เฉลิมชัย ศรีอ่อน เลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์
ดังนั้น ในการประชุมช่วงบ่าย จึงทำให้สมาชิกหลายคนไม่ได้อยู่ร่วมองค์ประชุมด้วย โดยเฉพาะ สาธิต ปิตุเตชะ รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ที่ให้การสนับสนุน อภิสิทธิ์ ทั้งนี้ ชวน หลีกภัย อดีตประธานสภาที่ปรึกษาหัวหน้าพรรคฯ จะเป็นผู้เสนอชื่อ อภิสิทธิ์ ต่อที่ประชุมด้วยตนเอง แต่ นราพัฒน์ ก็ยืนยันพร้อมที่จะท้าชิง ดังนั้น จึงมีความกังวลว่า ผลคะแนนที่ออกมาจะไม่เป็นธรรม และทำให้ นราพัฒน์ ได้รับการเลือกตั้งเป็นหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ คนใหม่
“คณะกรรมการไม่ได้มีการวางแผนล่วงหน้าไว้ว่า จะมีญัตติเสนอก่อนหน้าการเข้าวาระ ซึ่งระหว่างที่มีการเสนอ 2 ญัตติ จะต้องมีการแสดงความคิดเห็นของสมาชิก ทำให้เสียเวลาไปในช่วงครึ่งเช้า ทำให้องค์ประชุมที่มาจากต่างจังหวัด ที่วางแผนเดินทางกลับ จึงได้กลับไปก่อนบางส่วน จึงทำให้องค์ประชุมไม่ครบ” มัลลิกา กล่าว
ส่วนเมื่อถามถึงกรณีที่มีสมาชิกพรรคหลายคนนั่งอยู่ภายนอก ไม่เข้าร่วมเป็นองค์ประชุม มองแล้วเป็นความขัดแย้ง 2 ขั้วหรือไม่นั้น มัลลิกา ตอบว่า “จะมองอย่างนั้นก็ได้ แต่ในขณะเดียวกัน ถ้าให้ความเป็นธรรม องค์ประชุมต่างจังหวัดจำนวนหนึ่งเขาจองตั๋วเครื่องบินไว้จริงๆ และไม่มีใครเดาได้ล่วงหน้าว่าจะมีการเสนอญัตติในช่วงเช้า ทั้งนี้ ใช่เวลานานเกินไป จึงต้องมีการเลื่อนการประชุมออกไป 30 วัน ตามข้อบังคับของพรรค แต่อย่างไรก็ตามจะต้องมีการเลือกหัวหน้าพรรค”
เมื่อถามว่าในห้องประชุมดุเดือดหรือไม่ เนื่องจากมีรายงานว่า มีการถามหา ‘2 สาธิต’ ที่ไม่ร่วมเป็นองค์ประชุม มัลลิกา ตอบว่า “ไม่หรอก พรรคประชาธิปัตย์เราเป็นเวทีเสรีประชาธิปไตยอย่างแท้จริง ฉะนั้น การแสดงความคิดเห็น รวมถึงการวิพากษ์วิจารณ์ ระหว่างการประชุมเป็นเรื่องปกติ”
ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมว่า สาเหตุที่การประชุมเพื่อเลือกหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ในช่วงบ่าย ต้องล่มไป เนื่องจากสมาชิกพรรคส่วนหนึ่งที่สนับสนุน อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อดีตหัวหน้าพรรคฯ แก้เกมโดยการไม่อยู่เป็นองค์ประชุม สืบเนื่องมาจากการที่ที่ประชุมมีมติยืนยันที่จะใช้น้ำหนักคะแนน 70:30 ตามข้อบังคับพรรค โดยสัดส่วนคะแนน 70 เปอร์เซ็นต์ จะขึ้นอยู่กับ 25 ส.ส. ส่วนน้ำหนักคะแนนอีก 30 เปอร์เซ็นต์ ขึ้นอยู่กับอดีต ส.ส., อดีตรัฐมนตรี, อดีตผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองอื่นๆ และอดีตหัวหน้พรรคฯ ประกอบกับ ส.ส.ปัจจุบัน ประมาณ 20 คน จากทั้งหมด 25 คน มีท่าทีที่จะสนับสนุน นราพัฒน์ แก้วทอง รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ที่ได้รับการสนับสนุนจากกลุ่ม เฉลิมชัย ศรีอ่อน เลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์
ดังนั้น ในการประชุมช่วงบ่าย จึงทำให้สมาชิกหลายคนไม่ได้อยู่ร่วมองค์ประชุมด้วย โดยเฉพาะ สาธิต ปิตุเตชะ รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ที่ให้การสนับสนุน อภิสิทธิ์ ทั้งนี้ ชวน หลีกภัย อดีตประธานสภาที่ปรึกษาหัวหน้าพรรคฯ จะเป็นผู้เสนอชื่อ อภิสิทธิ์ ต่อที่ประชุมด้วยตนเอง แต่ นราพัฒน์ ก็ยืนยันพร้อมที่จะท้าชิง ดังนั้น จึงมีความกังวลว่า ผลคะแนนที่ออกมาจะไม่เป็นธรรม และทำให้ นราพัฒน์ ได้รับการเลือกตั้งเป็นหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ คนใหม่