






พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรคก้าวไกล พร้อมแกนนำ และ ส.ส.พรรคก้าวไกล อาทิ อภิชาติ ศิริสุนทร ส.ส.บัญชีรายชื่อ, ณัฐชา บุญไชยอินสวัสดิ์ ส.ส.กรุงเทพฯ เขตบางขุนเทียน ร่วมจัดเวทีพบปะประชาชนที่จังหวัดน่าน นำเสนอนโยบายในหลายประเด็น โดยเฉพาะเรื่องปากท้อง เศรษฐกิจ และปัญหาฝุ่นควัน PM 2.5 ในพื้นที่ภาคเหนือ
พรรคก้าวไกลได้นำเสนอนโยบายรัฐสวัสดิการ โดยเฉพาะเรื่องเงินผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป ที่จะปรับจาก 600 บาทต่อเดือน ให้เป็น 3,000 บาทต่อเดือน พร้อมยืนยันสามารถทำได้ทันที หากได้รับความไว้วางใจจากประชาชน
ส่วนนโยบายปัญหาฝุ่น PM 2.5 ทางหัวหน้าพรรคก้าวไกล ชี้ให้เห็นถึงต้นตอของปัญหาที่แตกต่างกันไปตามสภาพพื้นที่ เช่น เขตเมือง ก็มักเกิดจากรถยนต์ โรงงาน และการก่อสร้าง ส่วนในพื้นที่ชนบท มักเกิดจากการเผาไหม้จากภาคเกษตร การใช้พลังงานถ่านหิน หรือการเผาป่าที่เกิดขึ้นในต่างประเทศ พร้อมระบุว่า ปัญหาของฝุ่น PM 2.5 เป็นความรับผิดชอบโดยตรงของอธิบดีกรมควบคุมมลพิษ แต่กลับไม่สามารถสั่งการให้หน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการปล่อยมลพิษ ออกมาตรการเพื่อระงับ PM 2.5 ทำได้เพียงการขอความร่วมมือ
ดังนั้น ต้องแก้ไขปัญหาในด้านโครงสร้างอำนาจ ด้วยการผ่าน พ.ร.บ.สิ่งแวดล้อม ฉบับใหม่ ที่ให้อำนาจอธิบดีกรมควบคุมมลพิษ สามารถบังคับใช้มาตรการควบคุมมลพิษได้ ส่วนปัญหาฝุ่นที่มีต้นตอในต่างประเทศ นายกรัฐมนตรีต้องมีความเป็นสากลเพื่อใช้กลไกอาเซียน เพื่อขับเคลื่อนการแก้ปัญหาร่วมกับชาติอาเซียน
นอกจากนี้ ต้องมีการเปลี่ยนแปลงในหลายด้าน อาทิ เปลี่ยนรถเมล์เก่าให้เป็นรถเมล์ไฟฟ้า (EV Bus) ทั้งหมดภายใน 7 ปี การส่งเสริมให้เกิด car free day ด้วยการงดเก็บค่าบริการขนส่งสาธารณะ เลิกการผลิตไฟฟ้าด้วยถ่านหินภายในปี 2580 กระจายอำนาจการดับไฟป่าไปให้ท้องถิ่น ไม่ให้อยู่ที่ส่วนกลางที่มีแต่ความไม่โปร่งใส และแก้ปัญหาร่วมกับประเทศเพื่อนบ้านที่มีปัญหาการเผาไหม้ป่า เป็นต้น
“เรื่องของฝุ่น PM 2.5 อาจกล่าวได้สั้นๆ ว่าเป็นปัญหาจากโครงสร้างอำนาจ ที่กรมควบคุมมลพิษไม่สามารถออกมาตรการเพื่อให้เกิดการแก้ปัญหาได้ การมีกฎหมายมารองรับให้อำนาจส่วนนี้จะช่วยแก้ปัญหาได้ในระดับหนึ่ง บวกกับการเพิ่มงบประมาณให้ท้องถิ่นมากขึ้น ให้สามารถออกแบบนโยบายที่เหมาะสมกับการแก้ปัญหาฝุ่น PM 2.5 ในแต่ละพื้นที่ได้ด้วยตัวเอง จะช่วยให้เกิดการกระจายการแก้ปัญหาของแต่ละพื้นที่ทำได้อย่างเป็นอิสระมากขึ้น แม้จะเป็นปัญหาที่ยาก แต่หลายประเทศสามารถทำให้ปัญหานี้ดีขึ้นได้ และประเทศไทยก็ต้องทำให้ดีขึ้นได้เช่นกัน” พิธา กล่าว
พรรคก้าวไกลได้นำเสนอนโยบายรัฐสวัสดิการ โดยเฉพาะเรื่องเงินผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป ที่จะปรับจาก 600 บาทต่อเดือน ให้เป็น 3,000 บาทต่อเดือน พร้อมยืนยันสามารถทำได้ทันที หากได้รับความไว้วางใจจากประชาชน
ส่วนนโยบายปัญหาฝุ่น PM 2.5 ทางหัวหน้าพรรคก้าวไกล ชี้ให้เห็นถึงต้นตอของปัญหาที่แตกต่างกันไปตามสภาพพื้นที่ เช่น เขตเมือง ก็มักเกิดจากรถยนต์ โรงงาน และการก่อสร้าง ส่วนในพื้นที่ชนบท มักเกิดจากการเผาไหม้จากภาคเกษตร การใช้พลังงานถ่านหิน หรือการเผาป่าที่เกิดขึ้นในต่างประเทศ พร้อมระบุว่า ปัญหาของฝุ่น PM 2.5 เป็นความรับผิดชอบโดยตรงของอธิบดีกรมควบคุมมลพิษ แต่กลับไม่สามารถสั่งการให้หน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการปล่อยมลพิษ ออกมาตรการเพื่อระงับ PM 2.5 ทำได้เพียงการขอความร่วมมือ
ดังนั้น ต้องแก้ไขปัญหาในด้านโครงสร้างอำนาจ ด้วยการผ่าน พ.ร.บ.สิ่งแวดล้อม ฉบับใหม่ ที่ให้อำนาจอธิบดีกรมควบคุมมลพิษ สามารถบังคับใช้มาตรการควบคุมมลพิษได้ ส่วนปัญหาฝุ่นที่มีต้นตอในต่างประเทศ นายกรัฐมนตรีต้องมีความเป็นสากลเพื่อใช้กลไกอาเซียน เพื่อขับเคลื่อนการแก้ปัญหาร่วมกับชาติอาเซียน
นอกจากนี้ ต้องมีการเปลี่ยนแปลงในหลายด้าน อาทิ เปลี่ยนรถเมล์เก่าให้เป็นรถเมล์ไฟฟ้า (EV Bus) ทั้งหมดภายใน 7 ปี การส่งเสริมให้เกิด car free day ด้วยการงดเก็บค่าบริการขนส่งสาธารณะ เลิกการผลิตไฟฟ้าด้วยถ่านหินภายในปี 2580 กระจายอำนาจการดับไฟป่าไปให้ท้องถิ่น ไม่ให้อยู่ที่ส่วนกลางที่มีแต่ความไม่โปร่งใส และแก้ปัญหาร่วมกับประเทศเพื่อนบ้านที่มีปัญหาการเผาไหม้ป่า เป็นต้น
“เรื่องของฝุ่น PM 2.5 อาจกล่าวได้สั้นๆ ว่าเป็นปัญหาจากโครงสร้างอำนาจ ที่กรมควบคุมมลพิษไม่สามารถออกมาตรการเพื่อให้เกิดการแก้ปัญหาได้ การมีกฎหมายมารองรับให้อำนาจส่วนนี้จะช่วยแก้ปัญหาได้ในระดับหนึ่ง บวกกับการเพิ่มงบประมาณให้ท้องถิ่นมากขึ้น ให้สามารถออกแบบนโยบายที่เหมาะสมกับการแก้ปัญหาฝุ่น PM 2.5 ในแต่ละพื้นที่ได้ด้วยตัวเอง จะช่วยให้เกิดการกระจายการแก้ปัญหาของแต่ละพื้นที่ทำได้อย่างเป็นอิสระมากขึ้น แม้จะเป็นปัญหาที่ยาก แต่หลายประเทศสามารถทำให้ปัญหานี้ดีขึ้นได้ และประเทศไทยก็ต้องทำให้ดีขึ้นได้เช่นกัน” พิธา กล่าว