พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรค และแคนดิเดตนายกรัฐมนตรีพรรคก้าวไกล (กก.) กล่าวถึง กรณีสภากลาโหมมีแผนปฏิรูปกองทัพโดยเตรียมลดอัตรากำลังพลลงภายในปี 2570 และอาจจะปรับไปสู่ระบบการเกณฑ์ทหารแบบสมัครใจได้
โดยพิธา กล่าวว่า เมื่อครั้งที่ตนเป็นกรรมาธิการงบประมาณ เมื่อปีที่แล้ว ตัวแทนจากกระทรวงกลาโหมเข้ามาชี้แจง ตนจึงได้มีโอกาสเห็นเอกสารระบุว่า ได้มีแผนปฏิรูปกองทัพซึ่งเตรียมจะทำไว้ตั้งแต่หลายปีก่อน ซึ่งสอดคล้อง กับข้อเสนอของพรรค ตั้งแต่ครั้งยังเป็นพรรคอนาคตใหม่
“เป็นกระดาษที่ทำให้เห็นภาพอยู่ว่าจะลดงบประมาณกองทัพเท่าไร ลดทหารเกณฑ์เท่าไหร่ แล้วมีการพูดถึงการปฏิรูปกองทัพมาหลายครั้ง ทั้งในและนอกห้องงบประมาณ แต่ปัญหาคือเรื่องเหล่านี้ไม่เคยเกิดขึ้น”
อย่างไรก็ตาม พิธา กล่าวว่า หากการที่สภากลาโหมออกมาแถลงครั้งนี้ เป็นความตั้งใจจริง ที่จะเปลี่ยนแผนในกระดาษ เป็นแผนปฏิบัติการที่เกิดขึ้นได้จริง ก็ถือว่าเป็นสิ่งที่น่าชื่นชม และเป็นการปรับตัวของกองทัพ ตามความคิดเห็นของประชาชนที่เห็นว่าความท้าทายของโลก และของประเทศนี้แตกต่างออกไปมากแล้ว
“หากทำให้กองทัพจิ๋วแต่แจ๋ว ทันสมัย มีความเป็นสากลมากขึ้น ก็น่าจะเป็นสิ่งที่ประชาชนชื่นชมไปด้วย ก็ขอให้ครั้งนี้เป็นนิมิตหมายที่แท้จริง หากเกิดขึ้นได้จริงแล้วการทำงานระหว่างพรรคก้าวไปและกระทรวงกลาโหม รวมถึงสภากลาโหม ก็จะเป็นทิศทางที่ดี และทำให้ประชาชนชื่นใจได้” พิธา กล่าว
ส่วนที่กองทัพแถลงปฎิรูปอัตรากำลังชั้นนายพล 50% จนทำให้ในโซเชียลมีเดีย วิจารณ์ว่าเป็นการดิ้นสู้นั้น พิธา กล่าวว่า ไม่ทราบข้อมูลตรงกันหรือไม่ แต่เท่าที่ดูจากข่าว แผนของสภากลาโหมที่มีความต้องการพลทหารปีละ 9 หมื่นคนจากเดิมปีละ 100,000 คน มองว่า 60,000 คนต่อปี น่าจะเพียงพอ แต่อย่างน้อยมีเจตจำนงมา เรื่องรายละเอียดสามารถพูดคุยกันได้ อย่างน้อยได้ทำให้กองทัพ มีความทันสมัยมากขึ้น ก็ถือเป็นนิมิตหมายที่ดี
ขณะที่ พิจารณ์ เชาวพัฒนวงศ์ รองหัวหน้าพรรคก้าวไกล กล่าวว่า การที่กองทัพมีแผนปฏิรูปลดจำนวนนายพลลง 50% และลดกำลังพลลง 12,000 นาย ภายในปี 2570 ป็นเรื่องน่ายินดีที่ทิศทางจากการประชุมสภากลาโหม (31 พฤษภาคม 2566) ที่ประกอบด้วยผู้บัญชาการ และเสนาธิการของเหล่าทัพต่างๆ มีนโยบายสอดรับกับการปฏิรูปกองทัพของพรรคก้าวไกล
ปัจจัยสำคัญที่จะทำให้การปฏิรูปกองทัพได้สำเร็จตามแผน คือ เจตจำนงทางการเมืองของผู้บริหารประเทศ และ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เพราะสิ่งที่อยู่ในแผนที่กองทัพพูดไว้ไม่ใช่เรื่องใหม่ เป็นสิ่งที่ได้ยินมาตั้งแต่เริ่มเป็น ส.ส.เมื่อปี 2562
“4 ปีที่ผ่านมา ได้ยินแต่แผนที่เป็นเป้าหมาย แต่ไม่เคยเห็นรายละเอียดว่าการลดกำลังพล และลดนายพลลงครึ่งหนึ่ง จะมีวิธีการอย่างไร และแต่ละปีก็ไม่มีความคืบหน้า เวลาขอข้อมูลไปก็ไม่เคยได้” พิจารณ์ กล่าว
อย่างไรก็ตาม มีเรื่องที่รับทราบใหม่จากการแถลงของกองทัพ คือ การยุติแผนการเสริมสร้างกองพลทหารราบที่ 7 กองพลทหารม้าที่ 3 ของกองทัพบก ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าสนใจ แต่คงต้องลงไปดูในรายละเอียดว่ายุติแผนการเสริมสร้างแล้วเหตุใดจึงยังต้องคงกองพลเหล่านี้ไว้ หลังจากนี้จะสามารถพิจารณาไปถึงการยุบทั้ง 2 กองพลเลยได้หรือไม่
รองหัวหน้าพรรคก้าวไกล กล่าวต่อว่า การปฏิรูปกองทัพที่ยังไม่เห็นความชัดเจนจากการแถลงดังกล่าว ยังมีอีกหลายประเด็น เช่น ความโปร่งใสของธุรกิจกองทัพจากการใช้ประโยชน์ที่ราชพัสดุ ซึ่งอดีตผู้บัญชาการทหารบก (ผบ.ทบ.) ได้เคยทำ MOU ไว้กับกรมธนารักษ์ว่าจะเปิดเผยรายละเอียดที่ดินราชพัสดุทั้งหมดที่ถูกนำไปเป็นธุรกิจของกองทัพว่ามีอะไรบ้าง
ความคืบหน้าล่าสุดจากที่ตนได้ทราบ มีเพียงแค่ 3-4% เท่านั้น ที่ทำข้อตกลงกับกรมธนารักษ์ไปแล้ว ดังนั้น จึงอยากสื่อสารไปยังนายทหารที่เกี่ยวข้องรับผิดชอบ ให้เร่งรัดการทำข้อตกลงกับกรมธนารักษ์ให้ถูกต้องตามที่กฎหมายกำหนด
นอกจากนี้ ยังมีเรื่องทหารรับใช้ และการให้อดีตนายทหารยังสามารถอยู่บ้านในค่ายทหารได้ สิ่งเหล่านี้จะเป็นการปฏิรูปเพื่อสร้างความโปร่งใส และความเชื่อมั่นของประชาชนต่อกองทัพ
พิจารณ์ ยืนยันว่า ภายใต้รัฐบาลก้าวไกลเชื่อมั่นว่าจะสามารถแสวงหาความร่วมมือจากทุกฝ่ายในกองทัพ เพื่อเดินหน้าการปฏิรูปกองทัพได้อย่างแน่นอน
“เป็นเรื่องที่ดี ที่กองทัพจะเริ่มมีทิศทางอย่างจริงจัง เพื่อขานรับนโยบายของรัฐบาลพรรคก้าวไกล เราเชื่อมั่นว่านโยบายปฏิรูปกองทัพของพรรคก้าวไกล จะทำให้นายทหารที่รักในประชาธิปไตย และทำงานอย่างซื่อตรงต่อหน้าที่ของตัวเอง เข้าใจ และยินดีสนองนโยบายอย่างแน่นอน เราจะทำให้การใช้จ่ายงบประมาณของกองทัพมีประสิทธิภาพมากขึ้น และมีความโปร่งใส สามารถตรวจสอบได้ เราจะดูแลสวัสดิการและสวัสดิภาพของนายทหารชั้นผู้น้อยให้ดีขึ้น เราพร้อมที่จะร่วมทำงานกับทุกฝ่าย เพื่อเรียกคืนศักดิ์ศรี เกียรติยศ ความไว้วางใจของประชาชนต่อกองทัพ และสร้างกองทัพที่เข้มแข็ง ตามอย่างประเทศที่เป็นประชาธิปไตยสากล” พิจารณ์ กล่าว
โดยพิธา กล่าวว่า เมื่อครั้งที่ตนเป็นกรรมาธิการงบประมาณ เมื่อปีที่แล้ว ตัวแทนจากกระทรวงกลาโหมเข้ามาชี้แจง ตนจึงได้มีโอกาสเห็นเอกสารระบุว่า ได้มีแผนปฏิรูปกองทัพซึ่งเตรียมจะทำไว้ตั้งแต่หลายปีก่อน ซึ่งสอดคล้อง กับข้อเสนอของพรรค ตั้งแต่ครั้งยังเป็นพรรคอนาคตใหม่
“เป็นกระดาษที่ทำให้เห็นภาพอยู่ว่าจะลดงบประมาณกองทัพเท่าไร ลดทหารเกณฑ์เท่าไหร่ แล้วมีการพูดถึงการปฏิรูปกองทัพมาหลายครั้ง ทั้งในและนอกห้องงบประมาณ แต่ปัญหาคือเรื่องเหล่านี้ไม่เคยเกิดขึ้น”
อย่างไรก็ตาม พิธา กล่าวว่า หากการที่สภากลาโหมออกมาแถลงครั้งนี้ เป็นความตั้งใจจริง ที่จะเปลี่ยนแผนในกระดาษ เป็นแผนปฏิบัติการที่เกิดขึ้นได้จริง ก็ถือว่าเป็นสิ่งที่น่าชื่นชม และเป็นการปรับตัวของกองทัพ ตามความคิดเห็นของประชาชนที่เห็นว่าความท้าทายของโลก และของประเทศนี้แตกต่างออกไปมากแล้ว
“หากทำให้กองทัพจิ๋วแต่แจ๋ว ทันสมัย มีความเป็นสากลมากขึ้น ก็น่าจะเป็นสิ่งที่ประชาชนชื่นชมไปด้วย ก็ขอให้ครั้งนี้เป็นนิมิตหมายที่แท้จริง หากเกิดขึ้นได้จริงแล้วการทำงานระหว่างพรรคก้าวไปและกระทรวงกลาโหม รวมถึงสภากลาโหม ก็จะเป็นทิศทางที่ดี และทำให้ประชาชนชื่นใจได้” พิธา กล่าว
ส่วนที่กองทัพแถลงปฎิรูปอัตรากำลังชั้นนายพล 50% จนทำให้ในโซเชียลมีเดีย วิจารณ์ว่าเป็นการดิ้นสู้นั้น พิธา กล่าวว่า ไม่ทราบข้อมูลตรงกันหรือไม่ แต่เท่าที่ดูจากข่าว แผนของสภากลาโหมที่มีความต้องการพลทหารปีละ 9 หมื่นคนจากเดิมปีละ 100,000 คน มองว่า 60,000 คนต่อปี น่าจะเพียงพอ แต่อย่างน้อยมีเจตจำนงมา เรื่องรายละเอียดสามารถพูดคุยกันได้ อย่างน้อยได้ทำให้กองทัพ มีความทันสมัยมากขึ้น ก็ถือเป็นนิมิตหมายที่ดี
ขณะที่ พิจารณ์ เชาวพัฒนวงศ์ รองหัวหน้าพรรคก้าวไกล กล่าวว่า การที่กองทัพมีแผนปฏิรูปลดจำนวนนายพลลง 50% และลดกำลังพลลง 12,000 นาย ภายในปี 2570 ป็นเรื่องน่ายินดีที่ทิศทางจากการประชุมสภากลาโหม (31 พฤษภาคม 2566) ที่ประกอบด้วยผู้บัญชาการ และเสนาธิการของเหล่าทัพต่างๆ มีนโยบายสอดรับกับการปฏิรูปกองทัพของพรรคก้าวไกล
ปัจจัยสำคัญที่จะทำให้การปฏิรูปกองทัพได้สำเร็จตามแผน คือ เจตจำนงทางการเมืองของผู้บริหารประเทศ และ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เพราะสิ่งที่อยู่ในแผนที่กองทัพพูดไว้ไม่ใช่เรื่องใหม่ เป็นสิ่งที่ได้ยินมาตั้งแต่เริ่มเป็น ส.ส.เมื่อปี 2562
“4 ปีที่ผ่านมา ได้ยินแต่แผนที่เป็นเป้าหมาย แต่ไม่เคยเห็นรายละเอียดว่าการลดกำลังพล และลดนายพลลงครึ่งหนึ่ง จะมีวิธีการอย่างไร และแต่ละปีก็ไม่มีความคืบหน้า เวลาขอข้อมูลไปก็ไม่เคยได้” พิจารณ์ กล่าว
อย่างไรก็ตาม มีเรื่องที่รับทราบใหม่จากการแถลงของกองทัพ คือ การยุติแผนการเสริมสร้างกองพลทหารราบที่ 7 กองพลทหารม้าที่ 3 ของกองทัพบก ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าสนใจ แต่คงต้องลงไปดูในรายละเอียดว่ายุติแผนการเสริมสร้างแล้วเหตุใดจึงยังต้องคงกองพลเหล่านี้ไว้ หลังจากนี้จะสามารถพิจารณาไปถึงการยุบทั้ง 2 กองพลเลยได้หรือไม่
รองหัวหน้าพรรคก้าวไกล กล่าวต่อว่า การปฏิรูปกองทัพที่ยังไม่เห็นความชัดเจนจากการแถลงดังกล่าว ยังมีอีกหลายประเด็น เช่น ความโปร่งใสของธุรกิจกองทัพจากการใช้ประโยชน์ที่ราชพัสดุ ซึ่งอดีตผู้บัญชาการทหารบก (ผบ.ทบ.) ได้เคยทำ MOU ไว้กับกรมธนารักษ์ว่าจะเปิดเผยรายละเอียดที่ดินราชพัสดุทั้งหมดที่ถูกนำไปเป็นธุรกิจของกองทัพว่ามีอะไรบ้าง
ความคืบหน้าล่าสุดจากที่ตนได้ทราบ มีเพียงแค่ 3-4% เท่านั้น ที่ทำข้อตกลงกับกรมธนารักษ์ไปแล้ว ดังนั้น จึงอยากสื่อสารไปยังนายทหารที่เกี่ยวข้องรับผิดชอบ ให้เร่งรัดการทำข้อตกลงกับกรมธนารักษ์ให้ถูกต้องตามที่กฎหมายกำหนด
นอกจากนี้ ยังมีเรื่องทหารรับใช้ และการให้อดีตนายทหารยังสามารถอยู่บ้านในค่ายทหารได้ สิ่งเหล่านี้จะเป็นการปฏิรูปเพื่อสร้างความโปร่งใส และความเชื่อมั่นของประชาชนต่อกองทัพ
พิจารณ์ ยืนยันว่า ภายใต้รัฐบาลก้าวไกลเชื่อมั่นว่าจะสามารถแสวงหาความร่วมมือจากทุกฝ่ายในกองทัพ เพื่อเดินหน้าการปฏิรูปกองทัพได้อย่างแน่นอน
“เป็นเรื่องที่ดี ที่กองทัพจะเริ่มมีทิศทางอย่างจริงจัง เพื่อขานรับนโยบายของรัฐบาลพรรคก้าวไกล เราเชื่อมั่นว่านโยบายปฏิรูปกองทัพของพรรคก้าวไกล จะทำให้นายทหารที่รักในประชาธิปไตย และทำงานอย่างซื่อตรงต่อหน้าที่ของตัวเอง เข้าใจ และยินดีสนองนโยบายอย่างแน่นอน เราจะทำให้การใช้จ่ายงบประมาณของกองทัพมีประสิทธิภาพมากขึ้น และมีความโปร่งใส สามารถตรวจสอบได้ เราจะดูแลสวัสดิการและสวัสดิภาพของนายทหารชั้นผู้น้อยให้ดีขึ้น เราพร้อมที่จะร่วมทำงานกับทุกฝ่าย เพื่อเรียกคืนศักดิ์ศรี เกียรติยศ ความไว้วางใจของประชาชนต่อกองทัพ และสร้างกองทัพที่เข้มแข็ง ตามอย่างประเทศที่เป็นประชาธิปไตยสากล” พิจารณ์ กล่าว