นราพัฒน์ แก้วทอง รักษาการรองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ เปิดเผยถึงการดำเนินการหลังประชุมใหญ่วิสามัญเลือกหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ล่มไปว่า จะต้องมีปรับเปลี่ยนการสื่อสารใหม่ ทั้งภายในและภายนอก และหลังจากนี้ ก็คงจะเป็นไปตามข้อบังคับพรรค ซึ่งรักษาการกรรมการบริหารพรรคเรียกประชุม โดยจะเป็นก่อนวันที่ 13 ก.ค.หรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับรักษาการกรรมการบริหารพรรค เพื่อให้ดำเนินการให้ทัน ซึ่งระยะเวลา 60 วัน เป็นข้อบังคับพรรค ไม่ใช่ระเบียบคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ทั้งนี้ หากมีการพูดคุยปรับความเข้าใจกันได้ และพรรคเดินต่อไปได้ ซึ่งไม่จำเป็นต้องเป็นตน แต่เป็นใครก็ได้ หากใครเห็นด้วยกับแนวคิดของตนที่สามารถทำให้พรรคประชาธิปัตย์ กลับมาเข้มแข็งได้ ตนก็ยินดีขึ้นมาเป็นหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งขึ้นอยู่กับสมาชิกจะลงคะแนนให้
“วันนี้ถือเป็นเสน่ห์ของความเป็นประชาธิปไตยของพรรค ที่เป็นทั้งจุดอ่อนและจุดแข็งในเวลาเดียวกัน เพราะบางทีผมต้องเคารพเสียงในการตัดสินใจของสมาชิกพรรคประชาธิปัตย์ จะทำอะไรจะต้องฟังเสียงของสมาชิกว่าจะเดินไปในทิศทางไหน ซึ่งวันข้างหน้า ผมก็หวังว่าพรรคจะเป็นพรรค ‘วันเดโมแครต’ หรือ ‘วันประชาธิปัตย์’ ให้ได้” นราพัฒน์ กล่าว
ส่วนการแสดงจุดยืนแบบนี้แสดงว่าจะไม่ถอยใช่หรือไม่นั้น นราพัฒน์ ตอบว่า เจตนาของตนอยากเข้ามาบริหารจัดเปลี่ยนโครงสร้างข้อบังคับต่างๆ ในพรรค รวมถึงผนวกผู้อาวุโสกับคนรุ่นใหม่เข้าด้วยกัน ทั้งแนวความคิดและยุทธวิธีของคนรุ่นใหม่ ซึ่งตนคิดว่าอาจอยู่ในตำแหน่งไม่เกิน 2 ปี เพื่ออยากคืนอำนาจให้สมาชิกได้พิจารณาอีกครั้ง เพราะวันนี้ ในที่ประชุมได้พูดคุยกัยว่าสัดส่วน 70:30 นั้นไม่เป็นธรรม จึงถือเป็นโอกาสที่เราได้มาพูดคุยกันอีกครั้ง ให้กฎระเบียบกติกาเป็นธรรมกับทุกฝ่าย แต่หากวันนี้ เรายังเป็นแบบนี้ก็ถือว่าแพ้ภัยตัวเอง ฉะนั้น การสื่อสารภายในองค์กร ถือเป็นเรื่องที่สำคัญ
“ตนใช้เวลาตัดสินใจระยะหนึ่ง ที่เข้ามาเสนอตัวเข้ามาชิงตำแหน่งหัวหน้าพรรค ซึ่งตนคิดไว้อยู่แล้ว แต่มีผู้ใหญ่มาทาบทาม เสนอมุมมองและไอเดีย หาใครสักคนที่เป็นกลาง ที่สามารถพูดคุยกับทุกฝ่ายได้ เพื่อให้เรารวมกันเป็นหนึ่ง ตนจึงเห็นว่าเป็นเหตุผลที่สอดคล้องกันอยู่แล้ว และในวันข้างหน้า หากสามารถได้รับโอกาสจากสมาชิก สนับสนุนให้เป็นหัวหน้าพรรค ก็ยินดีที่จะมาเป็นคนที่ขับเคลื่อนกฎและร่างข้อบังคับ หรือกติกา ให้มีความทันสมัยต่อโลก” นราพัฒน์ กล่าว
“วันนี้ถือเป็นเสน่ห์ของความเป็นประชาธิปไตยของพรรค ที่เป็นทั้งจุดอ่อนและจุดแข็งในเวลาเดียวกัน เพราะบางทีผมต้องเคารพเสียงในการตัดสินใจของสมาชิกพรรคประชาธิปัตย์ จะทำอะไรจะต้องฟังเสียงของสมาชิกว่าจะเดินไปในทิศทางไหน ซึ่งวันข้างหน้า ผมก็หวังว่าพรรคจะเป็นพรรค ‘วันเดโมแครต’ หรือ ‘วันประชาธิปัตย์’ ให้ได้” นราพัฒน์ กล่าว
ส่วนการแสดงจุดยืนแบบนี้แสดงว่าจะไม่ถอยใช่หรือไม่นั้น นราพัฒน์ ตอบว่า เจตนาของตนอยากเข้ามาบริหารจัดเปลี่ยนโครงสร้างข้อบังคับต่างๆ ในพรรค รวมถึงผนวกผู้อาวุโสกับคนรุ่นใหม่เข้าด้วยกัน ทั้งแนวความคิดและยุทธวิธีของคนรุ่นใหม่ ซึ่งตนคิดว่าอาจอยู่ในตำแหน่งไม่เกิน 2 ปี เพื่ออยากคืนอำนาจให้สมาชิกได้พิจารณาอีกครั้ง เพราะวันนี้ ในที่ประชุมได้พูดคุยกัยว่าสัดส่วน 70:30 นั้นไม่เป็นธรรม จึงถือเป็นโอกาสที่เราได้มาพูดคุยกันอีกครั้ง ให้กฎระเบียบกติกาเป็นธรรมกับทุกฝ่าย แต่หากวันนี้ เรายังเป็นแบบนี้ก็ถือว่าแพ้ภัยตัวเอง ฉะนั้น การสื่อสารภายในองค์กร ถือเป็นเรื่องที่สำคัญ
“ตนใช้เวลาตัดสินใจระยะหนึ่ง ที่เข้ามาเสนอตัวเข้ามาชิงตำแหน่งหัวหน้าพรรค ซึ่งตนคิดไว้อยู่แล้ว แต่มีผู้ใหญ่มาทาบทาม เสนอมุมมองและไอเดีย หาใครสักคนที่เป็นกลาง ที่สามารถพูดคุยกับทุกฝ่ายได้ เพื่อให้เรารวมกันเป็นหนึ่ง ตนจึงเห็นว่าเป็นเหตุผลที่สอดคล้องกันอยู่แล้ว และในวันข้างหน้า หากสามารถได้รับโอกาสจากสมาชิก สนับสนุนให้เป็นหัวหน้าพรรค ก็ยินดีที่จะมาเป็นคนที่ขับเคลื่อนกฎและร่างข้อบังคับ หรือกติกา ให้มีความทันสมัยต่อโลก” นราพัฒน์ กล่าว